KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐานคุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอมพิธีทอดผ้าป่า กับ พิธีทอดกฐิน ต่างกันอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: พิธีทอดผ้าป่า กับ พิธีทอดกฐิน ต่างกันอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร  (อ่าน 81956 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 11:24:52 AM »

เรื่องพิธีทอดผ้าป่า
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิริวรรณ วงษ์ทัต
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์




         สวัสดีค่ะท่านผู้ฟัง ใกล้จะออกพรรษาแล้ว ท่านผู้ฟังคงจะมีการเตรียมสิ่งของทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ในวันออกพรรษาที่เราเรียกกันว่า “ตักบาตรเทโว” แต่วันนี้จะขอนำเสนอเรื่องของการทำบุญหลังการออกพรรษาอีกลักษณะหนึ่งซึ่ง เป็นพิธีทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญพิธีหนึ่งคือ พิธีทอดผ้าป่า

         พิธีทอดผ้าป่าเป็นการทำบุญอีกอย่างหนึ่งของพุทธศาสนิกชน คล้ายกับพิธีทอดกฐิน แต่พิธีทอดผ้าป่าไม่มีกำหนดระยะเวลาจำกัด จะทอดเมื่อไรก็ได้ และวัดหนึ่ง ๆ ในแต่ละปีจะจัดให้มีการทอดผ้าป่ากี่ครั้งก็ได้เช่นกัน อีกทั้งยังไม่เจาะจงเกี่ยวกับพระภิกษุที่จะรับผ้าป่าแต่อย่างใด

         ประวัติความเป็นมาของพิธีทอดผ้าป่ากล่าวไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับจีวรจาก ชาวบ้าน พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อนที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าห่อศพ เป็นต้น เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยพอแก่ความต้องการแล้ว จึงนำมาซักทำความสะอาด ตัดเย็บ ย้อม เพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง การทำจีวรของพระภิกษุในสมัยพุทธกาลจึงค่อนข้างลำบากยุ่งยากและเป็นงานใหญ่ ภิกษุทั้งหลายต้องร่วมมือร่วมใจช่วยกันอย่างขะมักเขม้น ครั้นชาวบ้านทั้งหลายเห็นความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์ ต้องการจะนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาตโดยตรง จึงนำผ้าไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่าง ๆ เช่น ในป่า ตามป่าช้า หรือข้างทางเดิน เมื่อพระภิกษุสงฆ์มาพบ เห็นว่าเป็นผ้าที่ผู้เป็นเจ้าของทอดอาลัยแล้วคือไม่ต้องการ ก็นำเอามาทำเป็นสบง จีวร พิธีการทอดผ้าป่าจึงมีขึ้นด้วยสาเหตุนี้

         พิธีการทอดผ้าป่าพุทธศาสนิกชนชาวไทยได้ปฏิบัติกันมาแต่โบราณ ดังปรากฏหลักฐานในวรรณคดีไทยเรื่องนิราศเดือน วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ว่า

                   บ้างก็แห่ผ้าป่าพฤกษาปัก มีเรือชักเซ็งแซ่แลสลอน
                   ขับประโคมดนตรีมีละคอน อรชรรำร่าอยู่หน้าเรือ
                   บ้างก็ร้องสักวาใส่หน้าทับ ลูกคู่รับพร้อมเพราะเสนาะเหลือ
                   ฟังสำเนียงสตรีไม่มีเครือ เป็นใยเยื่อจับในน้ำใจชาย

         ในอดีตการทอดผ้าป่าคือ การนำผ้าไปทิ้งไว้ดังที่กล่าวแล้ว แต่ในปัจจุบันนิยมทำในรูปแบบต่าง ๆ แตกต่างกันไป จึงมีชื่อเรียกเป็น 3 อย่าง คือ 1. ผ้าป่าหางกฐิน หรือผ้าป่าแถมกฐิน 2. ผ้าป่าโยง และ 3. ผ้าป่าสามัคคี แต่ละชนิดมีรายละเอียดดังนี้คือ
        
         1. ผ้าป่าหางกฐิน ได้แก่ ผ้าป่าชนิดที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้นต่อจากการทอดกฐิน คือเมื่อทำพิธีทอดกฐินเสร็จแล้ว ก็ให้มีการทอดผ้าป่าด้วยเลย จึงเรียกว่าผ้าป่าหางกฐิน หรือผ้าป่าแถมกฐิน
         2. ผ้าป่าโยง ได้แก่ ผ้าป่าที่จัดทำรวม ๆ กันหลายกอง นำบรรทุกเรือแห่ไปทอดตามวัดต่าง ๆ ที่อยู่ริมแม่น้ำ จึงเรียกว่า ผ้าป่าโยง จะมีเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพก็ได้
         3. ผ้าป่าสามัคคี คือ ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตามบุคคล สถานที่ต่าง ๆ ให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกัน จะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอดจะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัดอย่างสนุกสนาน บางทีจุดประสงค์ก็เพื่อร่วมกันหาเงินสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ในปัจจุบันการจัดทำการทอดป่าชนิดนี้จะเห็นว่าเป็นที่นิยมทำกันมากเพื่อรวม เงินสร้างสิ่งก่อสร้าง หรือจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น อาคารที่พักคนป่วยในโรงพยาบาล อาคารเรียน อุปกรณ์การศึกษา อุปกรณ์ทางการแพทย์

         ในการทำพิธีทอดผ้าป่านั้น เริ่มแรกเจ้าภาพต้องไปแจ้งความประสงค์กับเจ้าอาวาสวัดที่ต้องการจะนำผ้าป่า มาทอด เรียกว่า เป็นการจองผ้าป่า เมื่อกำหนดวันเวลาเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ทำการตั้งองค์ผ้าป่า สิ่งสำคัญที่ต้องมีคือ 1. ผ้า 2. กิ่งไม้สำหรับพาดผ้า และ 3. ให้อุทิศถวายไม่เจาะจงพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง

         ในการตั้งองค์ผ้าป่า เจ้าภาพต้องจัดหาผ้าสำหรับพระภิกษุผืนหนึ่ง อาจเป็นสบง จีวร สังฆาฏิ หรือทั้งสามอย่างแล้วแต่ศรัทธาเพราะไม่มีข้อกำหนด นำกิ่งไม้ไปปักไว้ในภาชนะขนาดพอสมควร เพื่อใช้เป็นที่พาดผ้าป่า และใช้สำหรับนำสิ่งของเครื่องใช้ที่จะถวายพระ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ผ้าอาบน้ำฝน รองเท้า ร่ม สมุด ดินสอ ปากกา มีดโกน หลอดไฟ เป็นต้น สำหรับเงินหรือปัจจัยนั้นนิยมเสียบไม้ปักไว้กับต้นกล้วยเล็ก ๆ ในกองผ้าป่านั้น

         ส่วนการนำผ้าป่าไปทอดนั้น ในสมัยโบราณไม่ต้องมีการจองผ้าป่า เมื่อเจ้าภาพนำองค์ผ้าป่าไปถึงวัดแล้ว ก็จุดประทัดหรือส่งสัญญาณด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งให้พระภิกษุรู้ว่ามีผ้าป่า เป็นอันเสร็จพิธี หรือจะอยู่รอให้พระท่านมาชักผ้าป่าด้วยก็ได้ แต่ในปัจจุบันการทอดผ้าป่านับว่าเป็นงานค่อนข้างใหญ่ ต้องมีการจองผ้าป่าเพื่อแจ้งให้ทางวัดทราบกำหนดการ จะได้จัดเตรียมต้อนรับ เมื่อถึงกำหนดก็จะมีการแห่แหนองค์ผ้าป่ามาด้วยขบวนเถิดเทิงกลองยาวหรือแตรวง เป็นที่สนุกสนานครึกครื้น ยิ่งถ้าเป็นผ้าป่าสามัคคีต่างเจ้าภาพต่างแห่มาพบกันที่วัด จนกลายเป็นมหกรรมย่อย ๆ มีการละเล่นพื้นบ้านหรือร้องรำทำเพลง ร่วมรำวงกันเป็นที่สนุกสนาน บางทีก่อนวันทอดก็จะจัดให้มีมหรสพฉลองที่บ้านของเจ้าภาพ

         ในการทำพิธีการทอดผ้าป่า ผู้ทอดนำผ้าป่าไปวางต่อหน้าพระภิกษุสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้าป่า จากนั้นพระสงฆ์รูปหนึ่งผู้ได้รับฉันทานุมัติจากหมู่สงฆ์ก็จะลุกขึ้นเดินถือ ตาลปัตรมาชักผ้าบังสุกุลที่องค์ผ้าป่าพร้อมทั้งกล่าวคาถา ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะสวดอนุโมทนาในผลบุญ เจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลก็เป็นอันเสร็จพิธี

         การทอดผ้าป่าเป็นการทำบุญอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยดำรงพระพุทธศาสนาให้คง อยู่ต่อไป และยังเป็นบุญกุศลอย่างใหญ่หลวงทั้งแก่ผู้ทำและผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หลังออกพรรษาปีนี้อย่าลืมร่วมกันทำบุญทอดผ้าป่านะคะ



เอกสารอ้างอิง
ธนากิต. ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2539.
นิราศเดือน. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, 2522.
ที่มา

http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=2595

ขอให้เจริญในธรรม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 18, 2011, 04:32:28 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 11:25:32 AM »

ประเพณีทอดกฐิน แปลว่าอะไร มีความสำคัญอย่างไร 



ภาพวาดแนวเซน ที่แฝงไว้ด้วยธรรม ของพระพุทธเจ้า

            ประเพณี การทอดกฐิน ในแต่ละปีกำหนดให้มีการจัดทอดกฐินขึ้นภายใน ๑ เดือน หลังประเพณีออกพรรษา โดยวัดที่จะสามารถรับกฐินได้ ต้องมีพระภิกษุจำพรรษาโดยไม่ขาดพรรษาเลย ไม่ต่ำกว่า ๕ รูป และแต่ละวัดสามารถรับกฐินได้ปีละ ๑ ครั้ง
การทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน

กฐินแปลว่าอะไร?

            คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อนแล้วจึงเย็บเพราะ ช่างยังไม่มี ความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอเหมือนจักรเย็บผ้า ในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตรพระมหาโมคคัลลานะพระมหากัสสปะแม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมา ช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)



ภาพวาดแนวเซน ที่แฝงไว้ด้วยธรรม ของพระพุทธเจ้า

ผู้ประสงค์จะทอดกฐินจะทำอย่างไร

         พุทธศาสนิกชนทั่วไป ย่อมถือกันว่า การทำบุญทอดกฐินเป็นกุศลแรง เพราะเป็นกาลทาน ทำได้เพียงปีละ 1 ครั้งและต้องทำในกำหนดเวลาที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ดังนั้นถ้ามีความเลื่อมใสใคร่จะทอดกฐินบ้างแล้ว พึ่งปฏิบัติดังต่อไปนี้

           จองกฐิน เมื่อจะไปจองกฐิน ณ วัดใด พอเข้าพรรษาแล้ว พึงไปมนัสการสมภารเจ้าอาวาสวัดนั้น กราบเรียนแก่ท่านว่าตนมีความประสงค์จะขอทอดกฐิน แล้วเขียนหนังสือปิดประกาศไว้ ณ วัดนั้น เพื่อให้รู้ทั่ว ๆ กัน การที่ต้องไปจองก่อนแต่เนิ่น ๆ ก็เพื่อให้ได้ทอดวัดที่ตนต้องการ หากมิเช่นนั้นอาจมีผู้อื่นไปจองก่อน นี้กล่าวสำหรับวัดราษฎร์ ซึ่งราษฎรมีสิทธิจองได้ทุกวัด แต่ถ้าวัดนั้นเป็นวัดหลวง อันมีธรรมเนียมว่าต้องได้รับกฐินหลวงแล้ว ทายกนั้น ครั้นกราบเรียนเจ้าอาวาสท่านแล้ว ต้องทำหนังสือยื่นต่อกองสัมฆการีกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ขอเป็นกฐินพระราชทาน ครั้นคำอนุญาตตกไปถึงแล้ว จึงจะจองได้

           เตรียมการครั้นจองกฐินเรียบร้อยแล้ว เมื่อออกพรรษาแล้ว จะทอดกฐินในวันใด ก็กำหนดให้แน่นอน แล้วกราบเรียนให้เจ้าอาวาสวัดท่านทราบวันกำหนดนั้น ถ้าเป็นอย่างชนบท สมภารเจ้าวัด ก็บอกติดต่อกับชาวบ้านว่าวันนั้นว่านี้เป็นวันทอดกฐิน ให้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดหาอาหารไว้เลี้ยงพระ และเลี้ยงผู้มาในการทอดกฐิน ครั้น กำหนดวันทอดกฐินแล้ว ก็เตรียมจัดหาเครื่องผ้ากฐิน คือไตรจีวร พร้อมทั้งเครื่องบริขารอื่น ๆ ตามแต่มีศรัทธามากน้อย (ถ้าจัดเต็มที่มักมี 3 ไตร คือ องค์ครอง 1 ไตร คู่สวดองค์ละ 1 ไตร)

             วันงาน พิธีทอดกฐินเป็นบุญใหญ่ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้น โดยมากจึงจัดงานเป็น 2 วัน วันต้นตั้งองค์พระกฐินที่บ้านของเจ้าภาพก็ได้ จะไปตั้งที่วัดก็ได้ กลางคืนมีการมหรสพครึกครื้นสนุกสนาน ญาติพี่น้องและมิตรสหายก็มักจะมาร่วมอนุโมทนา รุ่งขึ้นเป็นที่วัดทอด ถ้าไปทางบก ก็มีแห่ทางขบวนรถหรือเดินขบวนกันไป มีแตรวงหรืออื่น ๆ เป็นการครึกครื้น ถ้าไปทางเรือก็มีแห่งทางขบวนเรือสนุกสนาน โดยมากมักแห่ไปตอนเช้า และเลี้ยงพระเพล การทอดกฐิน จะทอดในตอนเช้านั้นก็ได้ ทอดเพลแล้วก็ได้ สุดแล้วแต่สะดวก การเลี้ยงพระ ถ้าเป็นอย่างในชนบท ชาวบ้านจัดภัตตาหารเลี้ยงด้วย เจ้าของงานกฐินก็จัดไปด้วย อาหารมากมายเหลือเฟือ แม้ข้อนี้ ก็สุดแต่กาละเทศะแห่งท้องถิ่น
อนึ่ง ถ้าตั้งองค์กฐินในวัดที่จะทอดนั้น เช่น ในชนบทตอนเย็น ก็แห่งองค์พระกฐินไปตั้งที่วัด กลางคืนมีการฉลองรุ่งขึ้น เลี้ยงพระเช้าแล้ว ทอดกฐิน ถวายภัตตาหารเพล

               การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้ากฐินนั้น คือ เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพ อุ้มผ้ากฐินนั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน 3 จบ ถ้าเป็นกฐินสามัคคีก็มักเอาด้วยสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน เมื่อจับได้ทั่วถึงกัน แล้วหัวหน้านำว่าคำถวาย ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า สาธุ เจ้าภาพก็ประเคนผ้าไตรกฐินแก่ภิกษุผู้เถระ ครั้นแล้วประเคนเครื่องบริขารอื่น ๆ เสร็จแล้ว พระสงฆ์ก็ทำพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเถระ มีจีวรเก่า รู้ธรรมวินัย ครั้นเสร็จแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดกฐินเพียงนี้



ที่มา
http://www.radompon.com/resourcecenter/?q=node/29
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 18, 2011, 04:34:59 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2011, 04:30:30 PM »



งานกฐินวัดศรีทวี อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

ต้องขอบพระคุณหลวงพี่มาลา ที่ได้ชักชวนไปร่วมงานกฐินสามัคคี ในปี 2554 ของวัดศรีทวี อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
ไปในครั้งนี้ก็ได้ไปร่วมงานบุญกับพี่นัท พี่ปิ่น พ่อกับแม่ของพี่ปิ่นด้วย รวมทั้งพี่จอก พี่จิ๊บ พี่ภา และญาติโยมในเมืองนครศรีธรรมราช

ผมรู้สึกประทับใจในความศรัทธาของชาวบ้านที่นี่ ที่มีต่อบวรพระพุทธศาสนา ที่นี่มากครับผม เป็นภาพที่เห็นแล้วเกิดความปิติเป็นอย่างมาก
ลองดูภาพกันเลยแล้วกันนะครับผม


ในช่วงออกพรรษา มีการถวายผ้า เพื่อคล้องผ้าให้พระพุทธรูป เพื่อความเป็นศิริมงคล


เจ้าอาวาสวัดศรีทวี หลวงพ่อเจ้าคุณพระพุทธิสารเมธี ในงานสมโภชกองกฐิน ในคืนวันที่ 14 ตุลาคม 2554


พระชั้นผู้ใหญ่ ที่มาร่วมในงาน สมโภชกองกฐิน ในคืนวันที่ 14 ตุลาคม 2554


แสงธรรมส่องโลก


สายใยแห่งธรรม


ขอบพระคุณรูปจาก : golfreeze[at]packetlove[dot]com และ http://www.kammatan.com
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2011, 04:31:30 PM »


แสงธรรม



ญาติโยมเยอะมากๆ


จุดประสงค์หลัก เพื่อบูรณะกำลังวัด และ ซุ้มประตูวัดศรีทวี


ความศรัทธาของญาติโยม

บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2011, 08:17:25 PM »


แช่มชื่นมาก ขออนุโมทนาครับ
 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2011, 09:13:32 AM »


แช่มชื่นมาก ขออนุโมทนาครับ
 

สาธุ ครับพี่ต่าย
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: