KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไรใบไม้ 1กำมือในพระหัตถ์
หน้า: 1 [2] 3
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ใบไม้ 1กำมือในพระหัตถ์  (อ่าน 55493 ครั้ง)
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2010, 02:34:41 AM »

ผมว่ามันก็อร่อยดีนะ แก้เลี่ยน...เจอแต่หวานๆ นิ่มๆ...บริโภคบ่อยๆก็เอียน เปลี่ยนรสชาติบ้าง...(แกล้งตามใจกิเลสมันบ้าง)...ก็พอได้นะครับ... ยิ้ม
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 08:54:06 PM »

แจ๋วเลย

ที่ปล่อยให้กิเลสแสดงตัว

เพื่อ ใช้เป็นการบ้าน ฝึกจิตใหมีสติ(กำหนด)รู้...แต่ถ้าลืมกำหนดหรือกำหนดช้า ก็เสียคะแนนไปตาม ความช้านั่นเอง

และถ้าทำเป็นไปต่อต้าน/สนใจ มัน ละก็

คล้ายไปเติมพลังให้  ..ก๋ามัน..อีทีนี้ก็ ปราบกันไม่หวาดไหว ..แหล๋ว ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 12:15:29 PM »

ติวเข้ม

จากบทสวดธัมมจักกัปวัฏตนสุตตัง(แปล)

พระอานนท์ กล่าวถึง พุทธประวัติเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ว่า

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม

*เรื่อง แรก มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลางเพื่อปฏิบัติให้พ้นทุกข์คือ มรรค 8
 
ที่พระองค์กล่าวว่าควรทำ

และพระองค์ได้ทำแล้ว

-**เรื่องที่ สอง ทรงกล่าวถึง ทุกข์(กาย+ใจ

               ที่พระอวค์กล่าวว่า ควรกำหนดรู้
 
             และพระองค์กำหนดรู้แล้ว

***เรื่องที่สาม เหตุของทกข์

ที่พระองค์กล่าวว่า ควรละ

และพระองค์ได้ทรงละแล้ว
 
****เรื่องที่สี่  ความพ้นทุกข์

ที่พระองค์กล่าวว่า ควรทำให้เจริญ

และพระองค์ได้ทรงทำให้เจริญแล้ว

-----------------

พระอัญญาโกณฑัญญะรู้ตามว่า เมื่อมีสิ่งใดเกิดแล้วย่อมดับเป็นธรรมดา

(ทุกข์ของรูป+นาม เกิดแล้วดับ ที่ว่าใช้ความเร็วของจิตจับ/ตรวจดูจึงจะเห็นได้....เท่านั้น)

บรรลุพระโสดาบัน
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 12:51:56 PM »

หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน

วันรุ่งขึ้น จะมีการสังคายนาพระไตรปิฎกโดยพระอรหันต์

ซึ่งมีเพียงพระอานนท์ ที่ยังทรงเป็นพระโสดาบันเพียงรูปเดียว

คืนนั้น ท่านจึง เคร่งครัดกับตนเอง อย่างยิ่งยวด

ด้วยการ เดินจงกรม สลับ นั่งสมาธิ

จนใกล้แจ้ง เหนื่อยอ่อน กำลังล้า จึงคิดละ(ความอยากบรรลุพระอรหันต์)

ได้เดินมา เพื่อเอนกายลงนอน เพียงเท้าลอยจากพื้น ก็สำเร็จพระอรหันต์  ในท่าที่เรียกว่ากึ่งนั่งกึ่งนอน หรือท่าเอนกายได้ เล็กน้อย

...........

ถ้าเปรียบเทียบ ดูจะเห็นว่า ท่านถึงที่สุดแห่งทุกข์ เมื่อ ทำสมาธิจนเข้มข้นถึงที่สุด แล้ว ถอยจิต ลงมานิดนึง

จิตจึงแจ้ง(มีวิชชา)ได้อย่างแท้จริง หรือเป็นการวางทั้งกุศลและอกุศล

เนื่องจาก ความคร่ำเคร่งในการทำสมาธิ ยังจัดว่าเป็นกุศลอยู่/สลับกับกุศล ยังไม่เป็นกลางอย่างแท้จริง ตามหลักของทางสายกลาง

...หรือ  ข้ามผ่าน สังขารขันธุ์ มาเป็น วิชชา (ตามวงจรของปฏิจจสมุปปบาท) ซึ่งหัวโจกของ วงจรคือ ความไม่รู้ (ในอริยสัจ 4) ยิงฟันยิ้ม

สบายแล้วท่านอวตาร/ท่านกอล.. อดนอน สัก 1คืน ..ก็ ...จบ   ..ได้

(ถ้ามี องค์ประกอบ 5 อย่างบริบูรณ์ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ) ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
mankho2001
กัลยาณมิตร ลำดับที่ 1
**

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 2
กระทู้: 64


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #19 เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 02:33:01 AM »

ขอตอบตามปัญญาที่มีน้อยนิดเคยอ่านมาในพระไตรปิฎกมาเหมือนกัน
ตอนที่ตรัสนั้นเหมือนกับว่าพระพุทธองค์ทรงประทับอยู่กับพระสาวกที่มีจำนวนน้อยๆไม่ได่สนทนาธรรมที่เป็นข้อหนักๆ ท่านต้องการบอกว่าอานนท์ความรู้ที่เราตถาคต(และพระพุทธเจ้าทุกพระองค์)มีนั้นมันมากมายสุดจะคณานับได้เปรียบเหมือนใบไม้ทั้งป่าแต่ความรู้ที่เป็นไปเพื่อการฝึกตนขัดเกลากิเลสและหลุดพ้นนั้นก็มีจำนวนเปรียบเทียบแค่ใบไม้ในพระหัตถ์เท่านั้นเองนอกจากนั้นไม่เป็นไปเพื่อที่สุดแห่งพรมจรรย์เลย (พระพุทธองตรัสว่าจักรวาลนี้มีหมื่นโลกธาตุย่อมมีวิวัฒนาการที่ต่างกันออกไปเพียงแค่พระพุทธองค์ใช้ญาณก็สามารถรู้ได้ หรือไม่ก็ใช้ปัญญาบารมีที่พระพุทธองค์มีก็ได้ไม่ต้องพึ่งใคร)หรือผิดถูกอย่างไรขออภัยและช่วยแสดสงความคิดเห็นด้วยครับ
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #20 เมื่อ: ธันวาคม 22, 2010, 01:40:56 AM »

พระจุลนายก (สุชาติ อภิชาโต)  วัดญาณสังวรารามฯ

กัณฑ์ที่ ๓๖๒       ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๐

ใบไม้ในกำมือ
การฟังเทศน์ฟังธรรมมีคุณมีประโยชน์มาก เป็นสิริมงคลอย่างแท้จริง เพราะฟังแล้วจะเกิดกุศลความฉลาด  ความรู้ทางธรรมะมีความสำคัญต่อการอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข  ปราศจากความทุกข์ ความวุ่นวายใจต่างๆ ความรู้ทางโลกแม้จะมีมากเพียงใดก็ตาม ก็เป็นความรู้แบบท่วมหัวเอาตัวไม่รอด เพราะดับความทุกข์ใจ ความวุ่นวายใจ ความกังวลใจไม่ได้  มีแต่ความรู้ในทางธรรมเท่านั้นที่จะดับได้ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้พวกเราศึกษาพระธรรมคำสอนอยู่เรื่อยๆ แล้วนำเอาไปปฏิบัติ เพื่อผลดีงามที่จะตามมาต่อไป  ไม่ต้องสนใจความรู้ทางโลกมากจนเกินไป ไม่ต้องเสียใจถ้าไม่ได้เรียนจบปริญญา ไม่ได้เรียนสูงๆ  เรียนไปก็เท่านั้น  สู้เรียนทางธรรมไม่ได้  จะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข ไม่ว่าจะยากดีมีจน ถ้ามีธรรมะแล้ว ถึงแม้จะยากจนไม่ได้เรียนจบปริญญา ก็จะมีความสุขมากกว่าได้เรียนจบปริญญา มีความร่ำรวยระดับมหาเศรษฐี แต่ไม่มีธรรมะ  พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนแต่ธรรมะ  ทั้งๆที่ทรงรู้เรื่องอื่นมาก แต่ไม่ทรงนำเอามาสั่งสอน เพราะไม่เกิดประโยชน์ ไม่ได้นำไปสู่ความดับทุกข์ สู่การสิ้นสุดแห่งการเวียนว่ายตายเกิด  ทรงหยิบใบไม้ขึ้นมากำมือหนึ่งแล้วทรงถามพระภิกษุว่า ใบไม้ที่อยู่ในมือของตถาคต กับใบไม้ที่อยู่ในป่าทั้งหมด ส่วนไหนจะมากกว่ากัน พระภิกษุก็ทูลตอบไปว่า ใบไม้ในกำมือมีเพียงนิดเดียว จะไปมากกว่าที่มีอยู่ในป่าได้อย่างไร พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสว่า ความรู้ที่ตถาคตรู้ก็เป็นเหมือนใบไม้ในป่า มีเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ได้นำเอามาสั่งสอน สิ่งที่สอนเป็นเหมือนใบไม้ในกำมือ แต่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการดูแลรักษาจิตใจ ให้อยู่เหนือความทุกข์ต่างๆ ให้สนใจธรรมะคำสอนก็พอแล้ว ไม่ต้องสนใจความรู้อื่นๆ ไม่เกิดประโยชน์อะไร  เป็นความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด  ความรู้ที่ตถาคตสอนมีอยู่เพียง ๗ ข้อเท่านั้นเอง   ให้เรียนรู้จนเข้าใจ แล้วนำเอาไปปฏิบัติ  เพื่อป้องกันไม่ให้ความทุกข์ ความวุ่นวายใจ ความกังวลใจ มาเหยียบย่ำทำลายจิตใจ  ความรู้ทั้ง ๗ ข้อมีดังต่อไปนี้คือ  ๑. รู้เหตุ   ๒. รู้ผล  ๓. รู้ตน  ๔. รู้บุคคล  ๕. รู้สังคม  ๖. รู้กาลเทศะ  ๗. รู้ประมาณ  ถ้ารู้แล้วปฏิบัติตามได้ ก็จะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ความเจริญก้าวหน้าโดยถ่ายเดียว จะไม่มีความทุกข์ ความวุ่นวายใจ ความกังวลใจเลย  จึงควรจะศึกษาความรู้ทั้ง  ๗ ข้อนี้ให้ดี แล้วปฏิบัติให้ถูก 

 

ข้อที่ ๑. ทรงสอนให้รู้เหตุ  คือการกระทำทางกายวาจาใจ   ทำแล้วจะมีผลตามมา  รู้ว่าต้องมีเหตุก่อนผลถึงจะตามมา การกระทำทำได้  ๓ วิธีด้วยกัน ทำดี ทำไม่ดี ทำที่ไม่ใช่ดีและไม่ใช่ไม่ดี  เมื่อทำแล้วก็จะมีผลตามมา ๓ ประการเช่นเดียวกันคือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำไม่ดีไม่ชั่วได้ไม่ดีไม่ชั่ว เรียกว่ารู้  เหมือนกับการปลูกต้นไม้  ถ้าปลูกต้นมะม่วงผลก็จะต้องเป็นมะม่วง  ถ้าปลูกส้มผลก็จะต้องเป็นส้ม จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้  ฉันใดการกระทำที่เป็นเหตุก็เป็นเช่นนั้น  ทำดีย่อมได้ดี  ทำชั่วย่อมได้ชั่ว  ไม่ทำดีหรือชั่ว  ย่อมไม่ได้ผลดีหรือชั่ว ถ้าต้องการความสุขความเจริญก็ต้องทำความดี ถ้าไม่ต้องการความทุกข์ความเสื่อมเสีย ก็ต้องละการกระทำความชั่ว นี่คือรู้เหตุและรู้ผล เมื่อรู้แล้วก็ต้องนำเอาไปปฏิบัติ เช่นอยากจะได้ความสุขความเจริญ  ก็ต้องทำความดี เช่นมีความกตัญญูกตเวที มีสัมมาคารวะ มีการเสียสละ มีการให้ มีความเมตตากรุณา ทำไปแล้วจะมีแต่ผลดีตามมา ทั้งที่เกิดภายในใจและจากผู้อื่น  ทำความดีแล้วจะมีความสุขใจภูมิใจ ผู้อื่นก็ยินดีสนับสนุนยกย่องสรรเสริญ  ส่วนการกระทำบาป ทำความชั่ว ทำไม่ดี ก็จะนำผลที่ไม่ดีมาให้เกิด  เช่นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  ลักทรัพย์  ประพฤติผิดประเวณี  พูดปดมดเท็จ  เสพสุรายาเมา  จะนำมาซึ่งความทุกข์ ความเสื่อมเสีย จะเป็นที่น่ารังเกียจ น่าประณาม น่าจับไปลงโทษ ไม่น่ายกย่องสรรเสริญ

 

นี่คือการรู้เหตุรู้ผล ให้คิดให้จำไว้เสมอว่าผลเกิดจากเหตุ  ผลดีเกิดจากการทำความดี  ผลไม่ดีเกิดจากการทำไม่ดี ไม่ได้เกิดจากผู้อื่น เกิดจากการกระทำของเราทั้งนั้น ถ้าต้องการผลที่ดีก็ต้องทำความดี ไม่ต้องไปขอจากใคร ไม่ต้องไปขอจากพระวิเศษ เพราะท่านให้เราไม่ได้  ให้ได้อย่างมากก็คืออวยพร  ให้มีความสุขมีความเจริญ แต่ไม่ได้เป็นเหตุที่จะทำให้สุขให้เจริญ  คำอวยพรเป็นเพียงการแสดงความปรารถนาดีเท่านั้น  ไม่ได้ทำให้สุขและเจริญ  ต้องเกิดจากการทำความดีเท่านั้น ถ้าไม่ต้องการความเสื่อมเสียความหายนะ ก็ต้องละเว้นจากการทำบาป  ถ้าไม่ทำบาปแล้วจะไม่มีความเสื่อมเสียตามมา ไม่มีความทุกข์ตามมา  ยังมีเหตุอีกอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนก็คือ เหตุที่จะทำให้เกิดความทุกข์ เหตุที่จะทำให้ความทุกข์ดับ เหตุที่จะทำให้เกิดความทุกข์ก็คือความอยากต่างๆ ถ้ามีความอยากแล้วใจจะไม่นิ่ง ไม่สงบ ไม่อิ่ม ไม่พอ ต้องดิ้นรนหาสิ่งที่อยาก  พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้รู้เหตุของความทุกข์ใจ ว่าเกิดจากความอยาก อยากในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ  อยากมีอยากเป็น อยากไม่มีอยากไม่เป็น เวลาอยากจะออกไปเที่ยวแล้วไม่ได้ออกไปก็จะมีความทุกข์ความวุ่นวายใจ เวลาอยากเป็นอะไรแล้วไม่ได้เป็น ก็จะเกิดความทุกข์ความวุ่นวายใจ เช่นอยากเป็นสส. เป็นนายกฯ เป็นกำนัน เป็นผู้ใหญ่บ้าน พอไม่ได้เป็นก็จะเสียใจ  เวลาอยากไม่เป็นอะไรแล้วต้องเป็นก็เกิดความทุกข์ความวุ่นวายใจเช่นเดียวกัน เช่นอยากไม่แก่แล้วต้องแก่ก็จะเสียใจ อยากไม่เจ็บไข้ได้ป่วยแล้วต้องเจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องเสียใจ อยากไม่ตายเมื่อถึงเวลาที่จะต้องตายก็จะต้องเสียใจ นี่คือต้นเหตุ ของความทุกข์ 

 

ทรงสอนให้รู้เหตุที่จะดับความทุกข์ ก็คือการไม่อยากนั่นเอง  ถ้าไม่อยากเสียอย่างเดียวปัญหาต่างๆก็จบ  ถ้าไม่อยากออกไปเที่ยว อยู่บ้านเฉยๆได้ ก็มีความสุข ถ้าไม่อยากเป็นผู้ใหญ่บ้าน เป็นกำนัน เป็นสส. เป็นนายกฯ  เวลาไม่ได้เป็นก็ไม่เดือดร้อนอะไร สบายใจ  ถ้าเลิกไม่อยากแก่เจ็บตายได้ คือพร้อมที่จะแก่ พร้อมที่จะเจ็บ พร้อมที่จะตาย เวลาแก่เวลาเจ็บเวลาตายก็จะรู้สึกเฉยๆ เพราะผู้ที่แก่เจ็บตาย กับผู้ที่ไม่อยากแก่ไม่อยากเจ็บไม่อยากตาย เป็นคนละคนกัน  ผู้ที่แก่เจ็บตายก็คือร่างกาย  ผู้ที่ไม่อยากแก่ไม่อยากเจ็บไม่อยากตายก็คือใจ   แต่ใจไม่ได้แก่ไม่ได้เจ็บไม่ได้ตายไปกับร่างกาย เพียงแต่ใจไม่รู้ เพราะหลงนั่นเอง ใจไม่มีธรรมะ ไม่มีกุศล ไม่ได้ศึกษา ไม่ได้ยินได้ฟังธรรมะ จึงไม่เข้าใจ จึงหลงคิดว่าใจเป็นร่างกาย พอร่างกายเป็นอะไร ใจก็ไม่อยากจะให้เป็น ก็เลยเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา   ถ้าใจรู้ว่าใจไม่ได้เป็นร่างกาย  เวลาร่างกายแก่เจ็บตาย  ใจก็ไม่ได้แก่เจ็บตายไปด้วย  ก็จะเลิกไม่อยากแก่ไม่อยากเจ็บไม่อยากตายได้  พอไม่อยากแล้วความทุกข์ใจก็ไม่มีตามมา  นี่คือเรื่องของการรู้เหตุและการรู้ผล เป็นอย่างนี้ ให้นำเอาไปพินิจพิจารณาและปฏิบัติดู  รับรองได้ว่าจะมีแต่ความสุขความเจริญ จะอยู่ห่างไกลจากความทุกข์ความวุ่นวายใจต่างๆ

 

๓. รู้ตน รู้จักตัวเราเอง ว่าเป็นอะไร เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ถ้าไม่รู้ก็จะทำผิด  เช่นเป็นผู้หญิงแต่ทำตัวเป็นผู้ชาย เป็นผู้ชายแล้วทำตัวเป็นผู้หญิง แสดงว่าไม่รู้ตน ก็จะเกิดความวุ่นวาย จะต้องไปแปลงเพศ ตัดส่วนนี้ต่อส่วนนั้น วุ่นวายไปหมด แทนที่จะอยู่อย่างมีความสุข กลับต้องทุกข์วุ่นวาย เพราะไม่รู้ตนนั่นเอง ไม่รู้ว่าตนเป็นหญิงหรือเป็นชาย เป็นหญิงแล้วอยากจะเป็นชายก็วุ่นวาย เป็นชายแล้วอยากจะเป็นหญิงก็วุ่นวาย นอกจากตนเองจะวุ่นวายแล้ว ยังไม่เป็นที่รักของผู้อื่นด้วย พ่อแม่ก็ต้องเสียอกเสียใจ ทำไมลูกของเราถึงเป็นอย่างนี้  ถ้ารู้ตนก็จะปฏิบัติถูก จะอยู่อย่างสุขอย่างสบาย   เป็นชายก็อยู่แบบชาย  เป็นหญิงก็อยู่แบบหญิง เรื่องความรู้สึกนี้มันแก้ได้เปลี่ยนได้  อย่าให้อยู่เหนือเหตุผล เหนือความเป็นจริง เช่นความอยากต่างๆก็เป็นความรู้สึก พอมีความอยากแล้วก็จะมีความทุกข์ตามมา  ถ้าระงับดับความอยากได้ ความทุกข์ต่างๆก็ดับไปเช่นเดียวกับเป็นหญิงแล้วอยากเป็นชาย เป็นชายแล้วอยากเป็นหญิง ก็ดับความอยากนั้นเสีย  ความทุกข์ก็จะหายไป อยู่อย่างชายอย่างหญิงได้อย่างสบาย ไม่มีปัญหาอะไร ปัญหาอยู่ที่ใจที่หลง ไม่รู้ตนนั่นเอง เห็นผิดเป็นชอบ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว  เป็นชายแล้วอยากเป็นหญิง  เป็นหญิงแล้วอยากเป็นชาย เรียกว่ามิจฉาทิฐิความหลงผิด  จึงต้องเอาธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้ามาแก้ไข ด้วยการรู้ตน  รู้ว่าเราเป็นอะไร ต้องปฏิบัติตามฐานะ  เป็นหญิงก็ต้องทำตัวให้เป็นหญิง  เป็นชายก็ต้องทำตัวให้เป็นชาย  เป็นพระก็ต้องทำตัวให้เป็นพระ  เป็นฆราวาสก็ต้องทำตัวให้เป็นฆราวาส  ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นปัญหาได้  เป็นพระแล้วทำตัวเป็นฆราวาสก็จะถูกจับสึก เป็นฆราวาสแล้วทำตัวเป็นพระ ก็จะถูกว่าเป็นพวกมือถือสากปากถือศีล  จึงต้องรู้จักตัวเรา ว่าเราเป็นอะไร และปฏิบัติให้เหมาะสมกับฐานะ จะไม่มีปัญหาตามมา  จะมีแต่ความสุขสบายใจ 

 

๔. รู้บุคคล นอกจากรู้ตัวเราแล้ว ต้องรู้คนอื่นที่เราเกี่ยวข้องด้วย มีหลายประเภท มีคนที่สูงกว่าเรา คนที่เท่าเรา คนที่ต่ำกว่าเรา การปฏิบัติต่อคนประเภทต่างๆย่อมแตกต่างกัน  คนที่สูงกว่าเรา เช่นพ่อแม่ครูบาอาจารย์  ก็ต้องให้ความเคารพ ความกตัญญูกตเวที คนที่เสมอเราก็ต้องปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง  มีเมตตาไมตรีจิตต่อกัน หยอกล้อกันได้ ไม่ต้องกราบไหว้กัน คนที่ต่ำกว่าเช่นลูกหลาน ก็ต้องให้ความเอ็นดู สงสาร ดูแลช่วยเหลือ ต้องรู้ว่าคนในสังคมมีฐานะต่างกัน  จะถือว่าเป็นคนเหมือนกัน แล้วปฏิบัติเหมือนกันหมดไม่ได้ จะไปลูบศีรษะพ่อแม่ไม่ได้ ลูบศีรษะลูกได้  กราบลูกไม่ได้ ต้องกราบพ่อกราบแม่ 

 

๕. รู้สังคม คือขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม เช่นสังคมไทยมีประเพณีเวลาไปจะลาเวลามาจะไหว้  มีการยกมือไหว้ทักทายกัน  ถ้าไปอยู่อีกประเทศหนึ่งก็มีประเพณีที่ต่างกันไป   ถ้าเป็นฝรั่งก็จับมือทักทายกัน แทนที่จะยกมือไหว้  ถ้าเป็นญี่ปุ่นก็จะก้มโค้งศีรษะกัน การปฏิบัติของแต่ละสังคมจึงไม่เหมือนกัน  จึงต้องศึกษาให้เข้าใจ ไม่เชื่อก็ไม่ควรลบหลู่ ไม่ควรทำผิดประเพณี  เขาทำอย่างไรก็ทำตามไป เป็นชาวพุทธแล้วไปเข้าโบสถ์ของชาวคริสต์  ก็ควรทำตามเขาไป เพราะเป็นกิริยาเท่านั้นเอง ทำเพื่อรักษามารยาท รักษาน้ำใจ  ดีกว่าไม่ทำ ถ้าไม่ทำจะดูน่าเกลียด  อย่าเข้าไปดีกว่า  ถ้าจำเป็นต้องเข้าไปก็ควรทำตาม  ไม่ได้หมายความว่าจะเข้ารีตหรือนับถือศาสนาเขา แต่ทำเพื่อไม่ให้เสียมารยาท เพื่อรักษาน้ำใจกันเท่านั้นเอง 

 

๖. รู้กาลเทศะ รู้เวลาและสถานที่ต่างๆ ว่าควรจะทำอย่างไร เช่นเวลามาวัดควรจะมาเวลาไหน แต่งกายอย่างไร พอมาถึงศาลาแล้วเขากำลังทำอะไรกันอยู่ กำลังตักบาตร ถวายอาหารคาวหวาน หรือกำลังฟังเทศน์ฟังธรรม กำลังทำพิธี  กำลังรับศีลรับพร  ต้องรู้จักกาลเทศะ ไม่ใช่กำลังฟังเทศน์ฟังธรรมกันอยู่ แต่เราจะถวายข้าวปลาอาหาร จะตักบาตร ก็ทำไปโดยไม่สนใจว่าเขากำลังทำอะไรกันอยู่ อย่างนี้เรียกว่าไม่รู้จักกาลเทศะ ทำไปแล้วเท่ากับประกาศความโง่ของตนให้ผู้อื่นได้เห็น ว่าเป็นคนหูหนวกตาบอด ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา  ถ้าทำตัวให้เหมาะกับกาลเทศะแล้ว ก็จะไม่เป็นคนเชย ไม่เป็นคนโง่ นี่คือการรู้กาลเทศะ     

 

๗. รู้ประมาณ คือรู้ความพอดี ไม่มากไป ไม่น้อยไป ไม่ใหญ่ไป ไม่เล็กไป เช่นรองเท้าที่เราใส่ ต้องไม่ใหญ่เกินเท้า เพราะใส่แล้วจะหลวม  ใส่ไม่สบาย ถ้าเล็กไปก็จะคับ จะเจ็บเท้า ไม่ดี ไม่พอดี ต้องให้พอดี ทุกอย่างต้องพอดี ไม่ว่ารองเท้า เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย อาหารก็ต้องรับประทานให้พอดี ไม่มากจนเกินไป ไม่น้อยจนเกินไป มากไปก็จะอ้วนน้ำหนักเกิน มีโรคภัยต่างๆเบียดเบียน น้อยไปก็จะผอมแห้งแรงน้อย มีโรคภัยเบียดเบียนเช่นกัน ต้องกินให้พอดี คือพออิ่ม พออิ่มแล้วก็หยุด อย่ากินต่อ ทั้งๆที่อยากจะกิน อย่ากินตามความอยาก กินตามความต้องการของร่างกาย พอรู้สึกอิ่มแล้วให้หยุดทันที อย่าขอต่ออีกคำสองคำ เพราะจะไม่เป็นคำสองคำ แต่จะเป็นจานสองจาน  ให้รู้จักพอดี ให้รู้จักฐานะ ใช้จ่ายตามฐานะ อย่าใช้เกินตัว  อย่าใช้มากกว่าที่หามาได้ จะมีปัญหาตามมา จะต้องเป็นหนี้เป็นสิน จะต้องเดือดร้อนไปเรื่อยๆ

 

รวมทั้งหมดแล้วก็มี ๗ ข้อด้วยกันคือ รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้บุคคล รู้สังคม รู้กาลเทศะ  รู้ประมาณ  ถ้ารู้ทั้ง ๗ ข้อนี้แล้วปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องแล้ว ก็จะฉลาดกว่าคนที่เรียนจบปริญญาเอกเสียอีก  เพราะคนที่เรียนจบปริญญาเอกแต่ไม่มีความรู้ทั้ง ๗ ข้อนี้แล้ว มักจะเอาตัวไม่รอด จะมีความทุกข์ความวุ่นวายใจตามมาอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น  แต่คนที่มีความรู้ทั้ง ๗ ข้อและปฏิบัติตามได้แล้ว จะอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข มีแต่ความเจริญก้าวหน้า ปราศจากความทุกข์ความวุ่นวายใจทั้งหลาย นี่คือความรู้ที่สำคัญแก่ชีวิตของเรา อยู่ที่ความรู้ทางศาสนานี้ มีอยู่ ๗ ข้อดังที่ได้แสดงไว้แล้ว  จึงขอให้นำเอาไปพินิจพิจารณาและปฏิบัติ  เพื่อประโยชน์สุขที่จะตามมาต่อไป การแสดงก็เห็นว่าสมควรแก่เวลา จึงขอยุติไว้เพียงเท่านี้

 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #21 เมื่อ: ธันวาคม 25, 2010, 11:12:13 PM »

แหะ แหะ ท่าน

 ;Dเอามาจากไหนกันนักกันหนา น้อ
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #22 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2010, 02:25:17 AM »

เปิดใจ...แล้วมองโลกกว้างอย่างเป็นกลาง
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #23 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2010, 11:19:38 PM »

กลาง  แค่ไหน ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #24 เมื่อ: ธันวาคม 27, 2010, 12:45:08 AM »

ตรงที่เดินทางแห่ง โพชฌงค์ 7 โดยถูกทางแล้ว...จึงจะเป็นกลางจริงอย่างถ่องแท้
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #25 เมื่อ: ธันวาคม 27, 2010, 01:03:09 PM »

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #26 เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 07:35:05 PM »

ใบไม้ในกำมือ
เรียบเรียงจาก "พระอานนท์พุทธอนุชา"

วศิน อินทสระ

เป็นหลักธรรมที่นำมาจากบาลีพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฏก ผู้อ่านจะได้ทั้งความเพลิดเพลินในทั้งเนื้อหาสาระ และได้หลักธรรมที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ตรงประเด็นตลอดถึงสามารถเป็น คำตอบที่จะแก้ความสงสัยที่เป็นปัญหาตรงกับใจของคนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
สมัยหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ ณ ป่าไม้ประดู่ลาย เขตเมืองโกสัมพี ครั้งนั้น พระพุทธองค์ทรงใช้ฝ่าพระหัตถ์ถือเอาใบประดู่ลาย แล้วทรงตรัสถามพระภิกษุทั้งหลายว่า ใบประดู่ลายในฝ่าพระหัตถ์กับที่อยู่บนต้น อย่างไหนมีมากกว่ากัน พระภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลว่า ใบประดู่ลายที่อยู่บนต้นนั้นมีมากกว่า
พระพุทธองค์ทรงตรัสอธิบายว่า ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงหยั่งทราบด้วยพระปัญญาอันยิ่งนั้น มีมากกว่าธรรมที่พระองค์ทรงประกาศ เปรียบดังใบประดู่ลายที่อยู่บนต้นนั้น มีมากกว่าในฝ่าพระหัตถ์ แล้วพระพุทธองค์ทรงแสดงเหตุผลว่า เพราะเหตุใดจึงไม่ทรงแสดงธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งเปรียบดังใบประดู่ลายบนต้นนั่นก็เพราะธรรมเหล่านั้น ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์ ความสงบ ระงับ ความรู้ยิ่ง การตรัสรู้ และพระนิพพาน


๑.ศีล สมาธิ ปัญญา

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลเป็นพื้นฐาน เป็นที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ ประหนึ่งแผ่นดินเป็นที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลายทั้งที่มีชีพ และหาชีพมิได้ เป็นต้นว่า พฤกษาลดาวัลย์ มหาสิงขร และสัตว์จตุบททวิบาท นานาชนิด บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจย่อมอยู่สบาย มีความปลอดโปร่ง เหมือนเรือนที่มีบุคคลปัดกวาด เช็ดถูเรียบร้อย ปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลนี้เองเป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิ คือ ความสงบใจ สมาธิที่มีศีลเป็นเบื้องต้นเป็นพื้นฐาน เป็นสมาธิที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่อย่างสงบ เหมือนเรือนที่มีฝาผนัง มีประตูหน้าต่างปิดเปิดได้เรียบร้อย มีหลังคาสำหรับป้องกันลม แดด และฝน ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ฝนตกก็ไม่เปียก แดดออกก็ไม่ร้อนฉันใด บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิดีก็ฉันนั้น ย่อมสงบอยู่ได้ไม่กระวนกระวาย
เมื่อลม แดด และฝน กล่าวคือ โลกธรรม แผดเผากระพือพัดซัดสาดเข้ามาครั้งแล้วครั้งเล่า สมาธิอย่างนี้ย่อมก่อให้เกิดปัญญาในการฟาดฟันย่ำยีและเชือดเฉือนกิเลสอาสวะต่าง ๆ ให้เบาบางและหมดสิ้นไป เหมือนบุคคลผู้มีกำลังจับศาสตราอันคมกริบแล้วถางป่าให้โล่งเตียนก็ปานกัน
"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ปัญญาซึ่งมีสมาธิเป็นรากฐานนั้นย่อมปรากฏดุจไฟดวงใหญ่กำจัดความมืดให้ปลาสนาการ มีแสงสว่างรุ่งเรืองอำไพ ขับฝุ่นละออง คือกิเลสให้ปลิวหาย ปัญญาจึงเป็นประดุจประทีปแห่งดวงใจ"
"อันว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติที่ผ่องใสอยู่โดยปกติ แต่เศร้าหมองไปเพราะคลุกเคล้าด้วยกิเลสนานาชนิด ศีล สมาธิ และปัญญา เป็นเครื่องฟอกจิตใจให้ขาวสะอาดดังเดิม จิตที่ฟอกแล้วด้วยศีล สมาธิ และปัญญา ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง"
"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ย่อมพบกับปีติปราโมทย์อันใหญ่หลวง รู้สึกตนว่าได้พบขุมทรัพย์มหึมา หาอะไรเปรียบมิได้ เอิบอาบซาบซ่านด้วยธรรม ตนของตนเองนั่นแลเป็นผู้รู้ว่า บัดนี้ กิเลสานุสัยต่าง ๆ ได้สิ้นไปแล้ว ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว เหมือนบุคคลผู้ตัดแขนขาด ย่อมรู้ด้วยตนเองว่า บัดนี้แขนของตนได้ขาดแล้ว"

๒.มรรคอริยสัจ

"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บรรดาทางทั้งหลาย มรรคมีองค์แปด ประเสริฐสุด บรรดาบททั้งหลาย บทสี่คืออริยสัจ ประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคะ คือ การปราศจากความกำหนัดยินดีประเสริฐที่สุด บรรดาสัตว์สองเท้า พระตถาคตเจ้า ผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด
มรรคมีองค์แปด นี่แลเป็นไปเพื่อทรรศนะอันบริสุทธิ์ หาใช่ทางอื่นไม่ เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์แปด นี้ อันเป็นทางที่ทำมารให้หลงติดตามมิได้ เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติ เพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไป ความเพียรพยายามเธอทั้งหลายต้องทำเอง ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น เมื่อปฏิบัติตนดังนี้ พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร"

๓.ความทุกข์และเหตุแห่งทุกข์

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ทั้งมวลมีมูลรากมาจากตัณหา อุปาทาน ความทะยานอยากดิ้นรน และความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราเป็นของเรา รวมถึงความเพลินใจในอารมณ์ต่าง ๆ
สิ่งที่เข้าไปเกาะเกี่ยวยึดถือไว้โดยความเป็นตน เป็นของตนที่ไม่ก่อทุกข์ก่อโทษให้นั้นเป็นไม่มี หาไม่ได้ในโลกนี้ เมื่อใดบุคคลมาเห็นสักแต่ว่าได้เห็น ฟังสักแต่ว่าได้ฟัง รู้สักแต่ว่าได้รู้ เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เพียงสักว่า ๆ ไม่หลงใหลพัวพันมัวเมา เมื่อนั้นจิตก็จะว่างจากความยึดถือต่าง ๆ ปลอดโปร่งแจ่มใสเบิกบานอยู่"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า มีสติอยู่ทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฏฐิ คือ ความยึดมั่นถือมั่นเรื่องตัวตนเสีย ด้วยประการฉะนี้ เธอจะเบาสบายคลายทุกข์คลายกังวล ไม่มีความสุขใดยิ่งไปกว่าการปล่อยวางและการสำรวมตนอยู่ในธรรม"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เป็นความจริงประการหนึ่งที่ชีวิตทุกชีวิตจะต้องประสบไม่มากก็น้อย ความทุกข์ที่กล่าวนี้มีอะไรบ้าง ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดเป็นความทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ ความตายก็เป็นความทุกข์ ความแห้งใจหรือความโศก ความร่ำไรรำพันจนน้ำตานองหน้า ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งของอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับบุคคลหรือสิ่งของอันไม่เป็นที่พอใจ ปรารถนาอะไรมิได้ดังใจหมาย ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความทุกข์ ที่บุคคลต้องประสบทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยสรุป การยึดมั่นในขันธ์ห้าด้วยตัณหาอุปาทานนั่นเอง เป็นความทุกข์อันยิ่งใหญ่"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวว่าความทุกข์ทั้งมวลย่อมสืบเนื่องมาจากเหตุ ก็อะไรเล่าเป็นเหตุเกิดความทุกข์นั้น เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ตัณหา คือ ความทะยานอยากดิ้นรน ซึ่งมีลักษณะเป็นสาม คือ ดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนาเรียกว่า กามตัณหา อย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากเป็นนั่นเป็นนี่เรียก ภวตัณหา อย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากผลักสิ่งที่มีอยู่แล้ว เป็นแล้ว เรียก วิภวตัณหาอย่างหนึ่ง นี่แล คือ สาเหตุแห่งความทุกข์ขั้นมูลฐาน
ภิกษุทั้งหลาย การสลัดทิ้งโดยไม่เหลือซึ่งตัณหาประเภทต่าง ๆ ดับตัณหา คลายตัณหาโดยสิ้นเชิงนั่นแล เราเรียกว่า นิโรธ คือ ความดับทุกข์ได้"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 24, 2011, 02:24:02 AM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #27 เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 08:45:21 PM »

ผมก็ชอบอ่าน งานเขียนของ อาจารย์วศิน นะครับ

ท่านเขียนอธิบายได้ลึกซึ้ง ดี อาจเป็นเพราะถูกจริตด้วยละมั้ง

บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #28 เมื่อ: มกราคม 24, 2011, 02:27:01 AM »

๔.ความสงบ

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ ความสุขชนิดนี้สามารถหาได้ในตัวเรานี้เอง ตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นแสวงหาความสุขจากที่อื่น เขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริงเลย มนุษย์ได้สรรค์สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นไว้เพื่อล่อให้ตัวเองวิ่งตาม แต่ก็ตามไม่เคยทัน การแสวงหาความสุขโดยปล่อยใจให้ไหลเลื่อนไปตามอารมณ์ที่ปรารถนานั้น เป็นการลงทุนที่มีผลไม่คุ้มเหนื่อย เหมือนบุคคลลงทุนวิดน้ำในบึงใหญ่เพื่อต้องการปลาเล็ก ๆ เพียงตัวเดียว มนุษย์ส่วนใหญ่มัววุ่นวายอยู่กับเรื่องกาม เรื่องกิน และเรื่องเกียรติ จนลืมนึกถึงสิ่งหนึ่ง ซึ่งสามารถให้ความสุขแก่ตนได้ทุกเวลา สิ่งนั้นคือ ดวงจิตที่ผ่องแผ้ว
เรื่องกามเป็นเรื่องที่ต้องดิ้นรน
เรื่องกินเป็นเรื่องที่ต้องแสวงหา
และเรื่องเกียรติเป็นเรื่องที่ต้องแบกไว้
เมื่อมีเกียรติมากขึ้น ภาระที่จะต้องแบกเกียรติเป็นเรื่องใหญ่ยิ่งของมนุษย์ผู้หลงตนว่าเจริญแล้ว ในหมู่ชนที่เพ่งมองแต่ความเจริญทางด้านวัตถุนั้น จิตใจของเขาเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลาไม่เคยประสบความสงบเย็นเลย เขายินดีที่จะมอบตัวให้จมอยู่ในคาวของโลกอย่างหลับหูหลับตาเขาพากันบ่นว่าหนักและเหน็ดเหนื่อย พร้อม ๆ กันนั้นเขาได้แบกก้อนหินวิ่งไปบนถนนแห่งชีวิตอย่างไม่รู้จักวาง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! คนในโลกส่วนใหญ่เต็มไปด้วยความกลับกลอกและ หลอกลวง หาความจริงไม่ค่อยได้ แม้แต่ในการนับถือศาสนา ด้วยอาการดังกล่าวนี้ โลกจึงเป็นเสมือนระงมอยู่ด้วยพิษไข้อันเรื้อรังอยู่ตลอดเวลา ภายในอาคารมหึมาประดุจปราสาทแห่งกษัตริย์ มีลมพัดเย็นสบาย แต่สถานที่เหล่านั้น มักบรรจุเต็มไปด้วยคนซึ่งมีจิตใจเร่าร้อนเป็นไฟอยู่เป็นอันมาก ภาวะอย่างนั้นจะมีความสุขสู้ผู้มีใจสงบอยู่โคนไม้ได้อย่างไร”

๕.ความสุขทางใจ

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! การแสวงหาทางออกอย่างพวกเธอนี้เป็นเรื่องประเสริฐแท้ การแก่งแย่งกันเป็นใหญ่เป็นโตนั้น ในที่สุดทุกคนก็รู้เองว่าเหมือนแย่งกันเข้าไปกอดกองไฟ มีแต่ความเร่าร้อนกระวนกระวาย เสนาบดีดื่มน้ำด้วยภาชนะทองคำ กับคนจน ๆ ดื่มน้ำด้วยภาชนะที่ทำด้วยกะลามะพร้าว เมื่อมีความพอใจย่อมมีความสุขเท่ากัน
นี่เป็นข้อยืนยันว่า ความสุขนั้น...อยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญ อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ความพอใจแม้กระท่อมจะมุงด้วยใบไม้ ก็รู้สึกมีความสุขกว่าอยู่ในพระราชฐานอันโอ่อ่า แน่นอนทีเดียวคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนั้นมิใช่คนใหญ่คนโต แต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตนมีความสุข สงบเยือกเย็น ปราศจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย”

๖.ลาภและยศ

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ลาภและยศนั้นเป็นเหยื่อของโลกที่น้อยคนนักจะสละและวางได้ หรือได้แล้วไม่เมา จึงมีเรื่องแย่งลาภแย่งยศกันอยู่เสมอเหมือนปลาที่แย่งเหยื่อกันกิน แต่หารู้ไม่ว่าเหยื่อนั้นมีเบ็ดเกี่ยวอยู่ด้วย หรือเหมือนไก่ที่แย่งไส้เดือนกัน จิกตีกัน ทำลายกันจนพินาศกันไปทั้งสองฝ่าย น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก
ถ้ามนุษย์ในโลกนี้ลดความโลภลง มีการเผื่อแผ่เจือจานโอบอ้อมอารี ถ้าเขาลดโทสะลง มีความเห็นอกเห็นใจกัน มีเมตตากรุณาต่อกัน และลดโมหะลง ไม่หลงงมงาย ใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาและดำเนินชีวิต โลกนี้จะน่าอยู่อีกมาก แต่ช่างเขาเถิด หน้าที่โดยตรง และเร่งด่วนของเธอ คือ ลดความโลภ ความโกรธ และ ความหลงของเธอเองให้น้อยลง แล้วจะประสบความสุขเยือกเย็นมากขึ้น เหมือนคนลดไข้ได้มากเท่าใด ความสบายกายก็มีมากขึ้นเท่านั้น”

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 25, 2011, 02:33:45 PM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #29 เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 02:41:39 PM »


๗.ทาส

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ทำไมมนุษย์จึงยอมตัวอยู่ภายใต้การจองจำของสังคม ซึ่งมีแต่ความหลอกหลอน สับปรับและแปรผัน ทำไมมนุษย์จึงยอมตัวเป็นทาสของสังคมจนแทบจะกระดิกกระเดี้ยตัวมิได้ จะทำอะไร จะคิดอะไร ก็ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของสังคมไปเสียหมด สังคมจึงกลายเป็นเครื่องจองจำชนิดหนึ่งที่มนุษย์ซึ่งสำคัญตัวว่าเจริญแล้วช่วยกันสร้างขึ้น เพื่อผูกมัดตัวเองให้อึดอัดรำคาญ มนุษย์ยิ่งเจริญขึ้นก็ดูเหมือนจะมีเสรีภาพน้อยลงทั้งทางกายและทางใจ
ดู ๆ แล้วความสะดวกสบายและเสรีภาพของมนุษย์จะสู้สัตว์เดรัจฉานบางประเภทไม่ได้ที่มันมีเสรีภาพที่จะทำอะไรตามใจชอบอยู่เสมอ ดูอย่างเช่นฝูงวิหคนกกา มนุษย์เราเจริญกว่าสัตว์ตามที่มนุษย์เราเองชอบพูดกัน แต่ดูเหมือนพวกเราจะมีความสุขน้อยกว่าสัตว์ ภาระใหญ่ที่ต้องแบกไว้คือ เรื่องกาม เรื่องกิน และเรื่องเกียรตินั้น เป็นภาระหนักยิ่งของมนุษยชาติ
สัตว์เดรัจฉานตัดไปได้อย่างหนึ่ง คือ เรื่องเกียรติ คงเหลือแต่เรื่องกามและเรื่องกิน นักพรตอย่างพวกเธอนี้ตัดไปได้อีกอย่างหนึ่ง คือ เรื่องกาม คงเหลือแต่เรื่องกินอย่างเดียว ปลดภาระไปได้อีกมาก แต่การกินอย่างนักพรต กับการกินอย่างผู้บริโภคกามก็ดูเหมือนจะมีข้อแตกต่างกันอยู่ ผู้บริโภคกาม และยังหนาแน่นอยู่ด้วยความรู้สึกทางโลกียวิสัย เมื่อกิน บางทีก็กินเพื่อยั่วยุกามให้กำเริบ จะต้องกินอย่างมีเกียรติ กินให้สมเกียรติ มิใช่กินเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้อย่างสมณะ ความจริงร่างกายคนเรามิได้ต้องการอาหารอะไรมากนัก เมื่อหิว ร่างกายก็ต้องการอาหารเพียงเพื่อบำบัดความหิวเท่านั้น แต่เมื่อมีเกียรติเข้ามาบวกด้วย จึงกลายเป็นเรื่องกินอย่างมีเกียรติยศ และแล้วก็มีภาระตามมาอย่างหนักหน่วง คนจำนวนมากเบื่อเรื่องนี้ แต่จำต้องทำเหมือนโคหรือควาย ซึ่งเหนื่อยหน่ายต่อแอกและไถ แต่จำใจต้องลากมันไป...ลากมันไป อนิจจา!”

๘.เครื่องจองจำ

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! การครองเรือนเป็นเรื่องยาก เรือนที่ครองไม่ดีย่อมก่อทุกข์ให้มากหลาย การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นความทุกข์อย่างยิ่ง”
“ภิกษุทั้งหลาย! เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือกเหล็กหรือโซ่ตรวนใด ๆ เราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย แต่เครื่องจองจำ คือ บุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัตินี่แล ตรึงรัดมัดผูกสัตว์ทั้งหลายให้ติดอยู่ในภพอันไม่มีที่สิ้นสุด เครื่องผูกที่ผูกหย่อน ๆ แต่แก้ได้ยาก คือ บุตร ภรรยา และทรัพย์สมบัตินี่เอง รูป เสียง กลิ่นรส และโผฏฐัพพะนั้นเป็นเหยื่อของโลก เมื่อบุคคลยังติดอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น เขาจะพ้นจากโลกมิได้เลย ไม่มีรูปใดที่รัดตรึงใจของบุรุษได้มากเท่ารูปแห่งสตรี”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ผู้ยังตัดอาลัยในสตรีไม่ได้ ย่อมจะต้องเวียนเกิด เวียนตายอยู่ร่ำไป แม้สตรีก็เช่นเดียวกัน ถ้ายังตัดอาลัยในบุรุษไม่ได้ ย่อมประสบทุกข์บ่อย ๆ กิเลสนั้นมีอำนาจควบคุมอยู่โดยทั่ว ไม่เลือกว่าในวัยใด และเพศใด”

๙.อำนาจ

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! มนุษย์ผู้หลงใหลอยู่ในโลกียารมณ์ผู้เพลินอยู่ในความบันเทิงสุขอันสืบเนื่องมาจากความมึนเมาในทรัพย์สมบัติชาติตระกูล ความหรูหราฟุ่มเฟือย ยศศักดิ์และเกียรติ อันจอมปลอมในสังคม ที่อยู่อาศัยอันสวยงาม อาหารและเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ต้องใจ อำนาจและความทะนงตน ทั้งหมดนี้ทำให้บุคคลมีนัยน์ตาฝ้าฟาง มองไม่เห็นความงามแห่งพระสัทธรรม ความเมาในอำนาจเป็นแรงผลักดันที่มีพลังมากพอ ทำให้คนทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้มีอำนาจยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น พร้อม ๆ กันนั้นมันทำให้เขาลืมทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่แยแสต่อเสียงเรียกร้องของศีลธรรม หรือ มโนธรรมใด ๆ มันค่อย ๆ ระบายจิตใจของเขาให้ดำมืดไปทีละน้อย ๆ จนเป็นสีหมึก ไม่อาจมองเห็นอะไร ๆ ได้อีกเลย หัวใจที่เร่าร้อนอยู่แล้วของเขา ถูกเร่งเร้าให้เร่าร้อนมากขึ้นด้วยความทะยานอยากอันไม่มีขอบเขต ไม่ทราบว่าจะไปสิ้นสุดลงที่ตรงไหน
วัตถุอันวิจิตรตระการตานั้นช่วยเป็นเชื้อให้ความทะยานอยากโหมแรง กลายเป็นว่ายิ่งมีมาก ยิ่งอยากใหญ่ แม้จะมีเสียงเตือน และเรียกร้องอยู่ตลอดเวลาว่าศีลธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนสังคมและคุ้มครองโลก แต่บุคคลผู้รับรู้และพยายามประคับประคองศีลธรรมมีน้อยเกินไป สังคมมนุษย์จึงวุ่นวายและกรอบเกรียมกันจนน่าวิตก”

๑๐.การเกิด

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ผู้ตื่นอยู่มิได้หลับเลยย่อมรู้สึกว่าราตรีหนึ่งยาวนาน ผู้ที่เดินทางจนเมื่อยล้าแล้ว ย่อมรู้สึกว่าโยชน์หนึ่งเป็นหนทางที่ยืดยาว แต่สังสารวัฏฏ์ คือ การเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์ผู้ไม่รู้พระสัทธรรมยังยาวนานกว่านั้น”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! สังสารวัฎฎ์นี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ที่พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อย ๆ”....
การเกิดใด ๆ นั้น ตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาก็คือความชรา ความเจ็บปวดทรมาน และความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่ขึ้นจากดิน และนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเหมือนโคซึ่งเทียมเกวียนแล้วจะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเมื่อเกิดมาก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วยตราบที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว”

 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
หน้า: 1 [2] 3
พิมพ์
กระโดดไป: