KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิขันธ์ 5 มีอะไรบ้าง คืออะไร สำคัญอย่างไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ขันธ์ 5 มีอะไรบ้าง คืออะไร สำคัญอย่างไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง  (อ่าน 376587 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2008, 11:45:35 AM »



ขันธ์ 5 คืออะไร

สรรพสิ่งทั้งหลายในอนันตจักรวาลนั้น แยกประเภทได้เป็น 3 ส่วน (ดูแผนผังด้านล่างประกอบ) คือ

1.) ส่วนที่เป็นวัตถุทั้งหลาย ได้แก่ สสารทั้งหลาย แสง สีทั้งหลาย เสียง กลิ่น รส ความเย็น ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง ความหย่อน ความตึง อาการเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ ช่องว่างต่างๆ อากาศ ดิน น้ำ ไฟ ลม สภาพแห่งความเป็นหญิง เป็นชาย เนื้อสมองและระบบของเส้นประสาททั้งหลาย อันเป็นฐานให้จิตเกิด รวมทั้งอาการแห่งความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมไป ดับไปของวัตถุทั้งหลายด้วย
ซึ่งรวมเรียกว่ารูปขันธ์ (ขันธ์ = กอง หมวด หมู่)

2.) ส่วนที่เป็นความรู้สึกนึกคิด และความคิดทั้งหลาย รวมเรียกว่านามขันธ์ แยกได้ 4 ชนิดคือ

2.1) เวทนาขันธ์ คือความรู้สึกเป็นสุขทางกาย ทุกข์ทางกาย โสมนัส(สุขทางใจ) โทมนัส(ทุกข์ทางใจ) อุเบกขาหรืออทุกขมสุขเวทนา(เป็นกลางๆ ไม่สุขไม่ทุกข์)

2.2) สัญญาขันธ์ คือความจำได้หมายรู้ในสิ่งต่างๆ คือส่วนที่ทำหน้าที่ในการจำนั่นเอง (ไม่ใช่เนื้อสมอง แต่เป็นส่วนของความรู้สึกนึกคิด เนื้อสมองนั้นจัดเป็นรูปขันธ์ เนื้อสมองเป็นเหมือนสำนักงาน ส่วนนามขันธ์ทั้งหลายเหมือนผู้ที่ทำงานในสำนักงานนั้น)

2.3) สังขารขันธ์ คือส่วนที่ปรุงแต่งจิต คือสภาพที่ปรากฎของจิตนั่นเอง เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ทาน(สภาพของจิตที่สละสิ่งต่างๆ ออกไป) ความเมตตา กรุณา มุทิตา สมาธิ ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ท้อถอย ความง่วง ความละอาย ความเกรงกลัว ความไม่ละอาย ความไม่เกรงกลัว เจตนาในการทำสิ่งต่างๆ ความลังเลสงสัย ความมั่นใจ ความเย่อหยิ่งถือตัว ความเพียร ปิติ ความยินดีพอใจ ความอิจฉา ความตระหนี่ ศรัทธา สติ ปัญญา การคิด การตรึกตรอง

2.4) วิญญาณขันธ์ หรือจิต คือผู้ที่รับรู้สิ่งทั้งปวง คือรับรู้ความรู้สึกต่างๆ
ตั้งแต่ ข้อ 2.1 จนถึงข้อ 2.3 และเป็นผู้รับรู้ถึงส่วนที่เป็นรูปขันธ์ทั้งหลายด้วย อันได้แก่เป็นผู้รับรู้สิ่งทั้งหลาย ที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง รวมถึงเป็นผู้รับรู้ในสภาวะแห่งนิพพานด้วย

3.) นิพพาน คือสภาวะที่พ้นจากรูปขันธ์และนามขันธ์ทั้งปวง
หรือสภาวะจิตที่พ้นจากความยึดมั่นผูกพันธ์ในสิ่งทั้งปวง รวมถึงไม่ยึดมั่นในนิพพานด้วย
นิพพาน = นิ + วาน (ในภาษาบาลีนั้น ว. กับ พ. ใช้แทนกันได้ วาน จึงเท่ากับ พาน)
นิ = พ้น
วาน = สิ่งที่เกี่ยวโยงไว้ ได้แก่ ตัณหาคือความทะยานอยาก และอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง
นิวาน หรือนิพพาน แปลตามตัวจึงหมายถึงความพ้นจากเครื่องเกี่ยวโยง(ตัณหาและอุปาทาน) นั่นเอง

สรุปแล้วขันธ์ 5 ประกอบด้วย

1.) รูปขันธ์
2.) เวทนาขันธ์
3.) สัญญาขันธ์
4.) สังขารขันธ์
5.) วิญญาณขันธ์


โดยที่เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์รวมเรียกว่าเจตสิก ซึ่งแปลว่าเป็นสิ่งที่เกิดร่วมกับจิตเสมอ (ในภาษาบาลีนั้นสระ อิ กับสระ เอ ใช้แทนกันได้ เจต จึงเท่ากับ จิต นั่นเอง) คือจิตและเจตสิกจะเกิดและดับพร้อมกันเสมอ จะแยกกันเกิดไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่ เพียงแต่ว่าตอนนั้นนามขันธ์ตัวไหนจะแสดงตัวเด่นกว่าตัวอื่นเท่านั้นเอง

ที่มา http://www.geocities.com/TMCHOTE/Thumma/General/gn001.htm

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 17, 2011, 03:00:26 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2008, 11:45:47 AM »

ตอนที่ ๑๒

            เรื่องขันธ์ มหาสติปัฏฐานสูตรในกายานุปัสสนาก็ดี เวทนานุปัสสนาหรือว่าจิตตานุปัสสนาถึงข้อนิวรณ์ 5 อันนี้ เป็นสมถกรรมฐาน ตอนที่ว่าด้วยขันธ์นี่เป็นวิปัสสนากรรมฐาน ขันธ์ก็แปลว่ากอง ขันธ์ 5 แปลว่า มีอยู่ 5 กอง คือ 1 รูป 2 เวทนา 3 สัญญา 4 สังขาร 5 วิญญาณ คำว่าวิญญาณตัวนี้ไม่ใช่จิต เป็นวิญญาณที่เกาะอยู่กับขันธ์ 5 เรียกว่าประสาท การพิจารณาขันธ์ 5 นี่เป็นปัจจัยให้ได้โสดา สกิทา อนาคา อรหันต์ ในอริยสัจ 4 ก็เหมือนกัน อริยสัจ 4 ก็เป็นการพิจารณาขันธ์ 5 คือทุกข์หรือว่าสมุทัยที่เกิดกับขันธ์ 5 ขันธ์ 5 เป็นปัจจัยแห่งพระนิพพาน คือคนที่จะบรรลุพระโสดา สกิทา อนาคา อรหันต์ อาศัยขันธ์ 5 เป็นปัจจัย
            มีพระสูตรหนึ่ง สูตรนี้ก็มีอยู่ในพระธรรมบทขุททกนิกาย หรือว่ามาจากพระไตรปิฎก เรื่องมีอยู่ว่า สมัยหนึ่งบรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายที่บวชใหม่ เข้าไปกราบทูลลาองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งใจจะไปเจริญพระกรรมฐานในป่า หวังให้บรรลุมรรคผล ตอนนั้นองค์สมเด็จพระทศพลจึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสถามว่า "ภิกขเว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไปลาพระสารีบุตรแล้วหรือยัง" บรรดาพระทั้งหลายเหล่านั้นจึงกราบทูลว่ายังพระพุทธเจ้าข้า พระพุทธจ้าจึงทรงมีพระบัญชาว่า อย่างนั้นก่อนที่เธอจะไปเธอจงไปลาพระสารีบุตรเสียก่อน พระเหล่านั้นก็รับคำแล้วก็ลาพระพุทธเจ้าออกไปจากพระมหาวิหารเข้าไปหาพระสารี บุตร พอเข้าไปถึงพระสารีบุตร พระสารีบุตรให้โอวาทอื่นพอสมควร แล้วพระทั้งหลายเหล่านั้นจึงได้ถามพระสารีบุตรว่า พวกกระผมเป็นปุถุชน ถ้าจะปฏิบัติตนให้เป็นพระโสดาบันจะ ทำยังไงขอรับ พระสารีบุตรก็บอกว่า ถ้าพวกเขาทั้งหลายปรารถนาเป็นพระโสดาบัน ก็จงพิจารณาขันธ์ 5 ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา ปลงให้ตกจนกว่าจะเลิกสังโยชน์ 3 ได้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพตปรามาส เมื่อปลงขันธ์ 5 อย่างเดียวสังโยชน์ 3 มันจะขาดไปเอง เมื่อสังโยชน์ 3 ขาดลงไปแล้ว พวกเธอก็จะได้เป็นพระโสดาบัน พระพวกนั้นก็เลยถามต่อไปว่า เมื่อผมเป็นพระโสดาบันแล้วจะเป็นพระสกิทาคามีจะ ทำยังไง ท่านก็บอกว่าพิจารณาขันธ์ 5 ตามแบบนั้นแหละพิจารณาละเอียดลงไปก็จะเป็นพระสกิทาคามีเอง พระพวกนั้นก็ถามต่อไปว่า เมื่อพวกกระผมเป็นพระสกิทาคามีแล้ว จะเป็นพระอนาคามีจะ ทำยังไง ท่านก็บอกว่าปลงขันธ์ 5 นั่นเองทำอย่างว่านั้นแหละ แล้วกามฉันทะกับปฏิฆะ คือการกระทบกระทั่งจิต การโกรธ ความพยาบาท มันก็จะสิ้นไปเอง ก็จะเป็นพระอนาคามี ท่านพวกนั้นก็ถามต่อไปว่า ถ้าผมเป็นพระอนาคามีแล้ว ผมจะเป็นอรหันต์จะต้องทำอย่างไร ท่านบอกว่าพิจารณาขันธ์ 5 ตามที่บอกมานั่นแหละก็เป็นพระอรหันต์ไปเอง สังโยชน์ 10 ก็ จะขาดไป พระพวกนั้นก็จะถามว่า เมื่อเป้นพระอรหันต์ละสังโยชน์ 10 ได้แล้วการพิจารณาขันธ์ 5 ไม่ต้องทำต่อไปใช่ไหมขอรับ พระสารีบุตรตอบว่าไม่ใช่ พระอรหันต์นี่แหละทำหนัก ยิ่งพิจารณาหนักเพื่อความอยู่เป็นสุข ขันธ์ 5 ตัวเดียวเท่านั้นแหละเป็นเหตุละกิเลสได้ทุกตัว ในขันธวรรคแห่งพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าบอกว่า ธรรมะส่วนหนึ่ง หรือธรรมะอย่างหนึ่ง กองหนึ่ง ที่สามารถทำลายกิเลสได้ทั้งหมด             เรื่องขันธ์ในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อีกข้อหนึ่งภิกษุทั้งหลาย คือ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อันได้แก่อุปาทานขันธ์ 5 อย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย จึงชื่อว่าภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอันได้แก่อุปาทานขันธ์ 5 อย่างนี้คือภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่ารูปอย่างนี้ รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้
            รูปนี่ เราสามารถจะเห็นได้ด้วยตาเนื้อ เกิดขึ้นด้วยอำนาจของธาตุ 4 มีอาการ 32 มหาสติปัฏฐานต้องมองย้อนไปย้อนมาว่า คือรูปมันก็มีหนังกำพร้ามีเนื้อมีรูป มีตับไตพังผืดไส้ปอด ไม่ต้องพรรณนาอาการ 32 ครบถ้วนเป็นรูป ทีนี้รูปร่างนี้มันเกิดขึ้นได้ยังไงก็ต้องไปดูธาตุ 4 อาศัยธาตุ 4 มาประชุมกัน ตั้งขึ้นมาตั้งแต่เล็กแล้วก็โตมาทีละน้อย ๆ อาศัยอาการเปลี่ยนแปลงเจริญเติบโตขึ้น การเจริญขึ้น ก็หมายถึงการเสื่อมลงนั่นเอง เดินไปหาความพังของมันแล้วในที่สุด ก็เต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ร่างกายเป็นโรคะนิทัง เป็นรังของโรค คำว่าโรคะหรือโรค แปลว่าอาการเสียดแทง ทำให้ไม่สบายกายไม่สบายใจ แล้วในที่สุดมันก็เสื่อมลง ๆ แล้วก็สลายตัว คือตาย
            ว่าด้วยเรื่องรูป ในอาการ 32 ที่ว่าด้วยปฏิกูลบรรพพิจารณาอาการ 32 มาแล้ว พิจารณาธาตุ 4 รูป คือกายคตานุสติกรรมฐาน คืออาการ 32 เป็น อนิจจังไม่เที่ยง ทุกขัง เต็มไปด้วยความทุกข์ อนัตตา มีความสลายตัวไปในที่สุด
            เวทนาก็ คืออารมณ์ อารมณ์ที่เป็นสุข อารมณ์ที่เป็นทุกข์ อารมณ์ที่ไม่สุขไม่ทุกข์ อาการเกิดของเวทนาเป็นยังไง ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย มันเป็นเวทนาทั้งนั้น เป็นทุกขเวทนา การอยากได้ของที่ชอบใจเป็นสุขเวทนา รู้ว่าเวทนามันเกิดขึ้นแล้วก็สลายตัวไป ไม่มีอะไรคงที่ มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเหมือนกัน
            สังขาร คือสภาพที่ ปรุงแต่งจิต หมายความถึงอารมณ์ของจิต อารมณ์ที่เข้ามาแทรกจิต ท่านกล่าวว่า อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร สังขารมี 3 ปุญญาภิสังขาร คือ อารมณ์ที่มีความสุข อปุญญาภิสังขาร ได้แก่อารมณ์ที่มีความทุกข์ อารมณ์ที่มีความสุขก็คือบุญ อารมณ์ที่มีความทุกข์ก็คือบาป ความชั่ว และอเนญชาภิสังขาร คืออารมณ์ที่วางเฉยเป็นอารมณ์กลางได้แก่อุเบกขารมณ์ เป็นอารมณ์ว่างจากกิเลส ว่างจากความสุขหรือความทุกข์ อันนี้เป็นอารมณ์ที่ปรารถนาพระนิพพาน ถ้าเป็นอารมณ์ฝ่ายกุศลก็มีความสุขใจ ถ้าเป็นอารมณ์ฝ่ายอกุศลก็มีความทุกข์ใจกลัดกลุ้มใจ ถ้าเป็นอารมณ์พระนิพพานก็มีแต่ความเยือกเย็น อารมณ์อย่างนี้มันเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป มันไม่คงสภาพ เดี๋ยวเกิด เดี๋ยวดับ ไม่คงที่ เดี๋ยวมีอารมณ์อย่างนี้ เดี๋ยวมีอารมณ์อย่างนั้น ข้อนี้เป็นวิปัสสนาญาณ ให้พิจารณาว่ามันเป็นอนัตตา ไม่มีอะไรทรงตัว
            สัญญา คือความจำ จำได้บ้าง จำไม่ได้บ้าง จำได้นิด ๆ หน่อย ๆ แล้วก็สลายไป ตั้งอยู่ไม่ได้นาน
            วิญญาณ ที่รับรู้สภาพของอากาศ ดินฟ้าอากาศ ความร้อน ความหนาว ความหิว ความกระหาย ความเจ็บ ความปวด ความอ่อน ความแข็ง นี่เป็นอาการของวิญญาณ คือประสาท สัมผัสรู้ว่าอ่อน รู้ว่าแข็ง รู้ว่าเย็น รู้ว่าร้อน แล้วก็เลิกสัมผัส ไม่มีอะไรแน่นอน
            การที่มาพิจารณาเรื่องขันธ์ 5 ก็เพื่อละ อุปาทานขันธ์ 5 อุปาทาน แปลว่าเข้าไปยึดถือ ขันธ์ 5 ว่าเป็นเรา ว่าเป็นของเรา เรามีขันธ์ 5 ขันธ์ 5 มีในเรา การที่เราจะเป็นใคร มียศฐาบรรดาศักดิ์ใหญ่ขนาดไหน ก็ไม่มีความมั่นคงแน่นอน เราต้องทุกข์เพราะขันธ์ 5 เป็นอย่างมาก ไม่ว่าในเรื่องของการปวดท้อง หิวข้าว มีเวทนาต่าง ๆ การปวดเมื่อย เราไปห้ามไม่ได้ และสิ่งต่าง ๆ ก็สลายไปในที่สุด ไปยึดถืออะไรไม่ได้ ไม่มีความจีรังยั่งยืน เราคือ จิต จิตเราชั่ว เราก็ต้องหาที่เกิดต่อไป นี้คือ วิปัสสนาญาณ และสมถะ ก็อย่าทิ้ง ถ้าทิ้งก็ตายเพราะเป็นลมหายใจเข้าออก เป็นการทรงสติสัมปชัญญะ

ที่มา http://www.larnbuddhism.com/grammathan/sati12.html
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
teenggg1
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 19


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2010, 11:35:20 AM »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

phonsak
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 05:11:40 PM »

คุณ  golfreeze ครับ


ขอประทานโทษนะครับ  ผมไม่เห็นด้วยกับคุณที่ว่า สรรพสิ่งที่ปวง ประกอบด้วย รูปขันธ์ นามขันธ์ และนิพพาน   ส่วนชาร์ตที่คุณนำมาแสดงก็ถูกเผยแพร่โดยสมมุติสงฆ์ฝ่ายปริยัติ สรรพสิ่งที่ปวง = ปรมัตถธรรม

ปรมัตถธรรม
      ปรมัตถธรรม คือ สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์ สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด ได้แก่
      ๑. จิต กล่าวคือ สภาพที่คิด สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์
      ๒. เจตสิก กล่าวคือ สภาวะที่ประกอบกับจิต คุณสมบัติ และอาการของจิต
      ๓. รูป กล่าวคือ สภาวะที่เป็นร่าง พร้อมทั้งคุณและอาการ
      ๔. นิพพาน กล่าวคือ สภาวะที่สิ้นกิเลสและทุกข์ทั้งปวง สภาวะที่ปราศจากตัณหา

จิต
      คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ สภาพที่นึกคิด ความคิด ใจหรือวิญญาณ เป็นนามธาตุไม่มีตัวตน เป็นของกายสิทธิ์ ไม่มีผู้ใดจะสามารถอธิบายการเกิดดับ และการเจริญพัฒนาของจิตได้โดย ไม่อาศัยรูป เวทนา สัญญา และสังขาร
      ธรรมทั้งหลายมีจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน โลกทั้งโลก จักรวาลทั้งจักรวาลอยู่ที่จิต ถ้าจิตไม่มี ก็ไม่มีการรู้ว่ามีโลกมีจักรวาล ถ้าปราศจากจิต โลกและจักรวาลมีอยู่ก็เหมือนไม่มี......
คัดจาก http://www.wfb-hq.org/specth1.htm


จิต ที่เป็นนามธาตุตัวนี้ เป็นวิญญาณธาตุ ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ ตามที่คุณหรือสมมุติสงฆ์ฝ่ายปริยัติ เข้าใจ   

ขันธ์ 5 คือ กาย  = รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์ หรือระบบประสาท ตา หู จมูก ลิ้น กาย อารมณ์ใจใน่งกาย

จิต คือ  วิญญาณธาตุ  หรือ กายทิพย์ หรือ อาทิสมานกาย หรือ นามกาย    สิ่งเหล่านี้คือตัว ผี, โอปาติกะ, เทวดา, พรหม, เปรต ฯลฯ ที่เข้ามาสิงสู่ในตัวคุณตอนเกิด  พอมันสิงสู่เสร็จ  มันก็เปลี่ยนวิญญาณธาตุของมันให้เหมือนกับร่างที่มันสิง  และcopyระบบความจำ ความรู้สึก ความคิด

พอคุณตาย = ขันธ์ 5 ของคุณที่มีวิญญาณขันธ์  ตาย    ปลดปล่อยไอ้ตัววิญญาณธาตุ  หรือ กายทิพย์ หรือ อาทิสมานกาย หรือ นามกาย    ออกมาเพื่จะไปรับผลกรรมในสุขคติภูมิ หรือ ทุกคติภูมิ  ตามบุญตามกรรมที่มันสร้างมา

สรุป

สรรพสิ่งที่ปวง ประกอบด้วย จิตในปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน  จิตในปฏิจจสมุปบาท คือ จิตสังขาร หรือวิญญาณธาตุ  ไอ้ตัวจิตสังขาร หรือวิญญาณธาตุ  เป็นตัวสร้างนามรูป ขึ้นมาครับ   

กล่าวอีกนัยหนึ่ง  สรรพสิ่งที่ปวง ประกอบด้วย (จิต เจตสิก รูป)= วิญญาณธาตุ+นิพพาน  เพราะถ้าคุณบอกว่า สรรพสิ่งที่ปวง ประกอบด้วย รูปขันธ์ นามขันธ์ และนิพพาน   เท่ากับคุณยังไม่เข้าใจปฏิจจสมุปบาท วิญญาณ(ธาตุ) เป็นปัจจัยสร้างนามรูป  แล้วพอในชาติภพต่อไป ไอ้นามรูปนี่แหละจะเป็นตัวสร้างหรือตบแต่งวิญญาณธาตุใหม่จากประสพการณืที่มันเรื่องรู้ในชาติภพปัจจุบัน  สืบต่อเป็นอย่างนี้เรื่อยไป  พระพุทธเจ้าจึงเรียกว่า เวียนว่ายตายเกิด หรือสังสารวัฏฏ์

ถ้าคุณจะโต้ว่า รูปมีแต่ธาตุดินน้ำลมไฟ(มหาภูตรูป (4)    ผมต้องบอกคุณว่า  ในรูปร่างกายของคนเรานี้ มีธาตุอยู่ ๖ ธาตุ คือ
ธาตุดิน,ธาตุน้ำ,ธาตุลม,ธาตุไฟ,อากาศธาตุ,วิญญาณธาตุ(จิต)    วิญญาณธาตุ(จิต) มันสร้างรูปขึ้นมาได้ด้วย  เรียกว่า "นามกาย"  ก็อย่างเทวดา เปรต พรหม  รูปกายของพวกเขาเกิดขึ้นได้เองจากจิต+อกุศลหรือกุศลกรรม ที่ทำไว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 04, 2010, 05:40:07 PM โดย phonsak » บันทึกการเข้า
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2010, 10:02:26 AM »

ขอบพระคุณมากครับท่าน phonsak

 
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2014, 08:52:11 AM »

           

                ครั้งหนึ่ง พระคิริมานันทะอาพาธหนัก พระอานนท์ทราบเรื่องนี้แล้วทูลอาราธนาให้พระศาสดาเสด็จไปเยี่ยม เนื่องจากพระพุทธองค์ยังทรงมีภารกิจบางอย่างอยู่ จึงเสด็จไปมิได้ แต่ทรงให้พระอานนท์เรียนสัญญา ๑๐ ประการแล้วไปสาธยายให้พระคิริมานันทะฟัง พระอานนท์ครั้นเรียนสัญญา ๑๐ ประการอย่างแม่นยำแล้ว ก็ไปสู่สำนักของพระคิริมานันทะ สาธยายสัญญา ๑ ประการให้ฟังโดยใจความดังนี้

           "รูป คือก้อนทุกข์ก้อนหนึ่ง ซึ่งประกอบขึ้นจากธาตุทั้ง ๔ กล่าวคือ ดิน น้ำ ลม และไฟ เป็นไปโดยจักร ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน อันรวมเรียกว่าอิริยาบถ มีทวาร ๙ คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑ อันเป็นที่หลั่งไหลออกแห่งตัวปลวก คือสิ่งโสโครกต่างๆ ขี้ตาไหลออกจากตา ขี้หูไหลออกจากช่องหู ฯลฯ ทั่วสารพางค์มีรูเล็กๆ เป็นที่หลั่งไหลออกแห่งสิ่งสกปรกอันหมักหมมอยู่ภายใน พระศาสดาจึงเปรียบรูปกายนี้เหมือนจอมปลวกบ้าง เหมือนหม้อดินบ้าง

           เวทนาคือความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เฉยๆ บ้าง

           สัญญา คือความทรงจำได้หมายรู้ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพารมณ์ คือสิ่งซึ่งถูกต้องได้ด้วยกาย

           สังขาร คือสภาพที่ปรุงแต่งจิตให้บ้างกุศลบ้าง อกุศลบ้าง เป็นกลางๆ บ้าง

           วิญญาณ คือการรับรู้อารมณ์อันผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย

           ทั้งหมดนี้รวมเรียกว่าขันธ์ ๕ ล้วนมีสภาพเป็นทุกข์ เพราะทนอยู่ไม่ได้ ไม่เที่ยงเพราะปรวนแปรอยู่เสมอ เป็นอนัตตาเพราะฝืนไม่ได้ ไม่เป็นไปตามปรารถนาว่าจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าเป็นอย่างนั้นเถิด ทั้งหมดที่กล่าวมานี้พระผู้มีพระภาครวมเรียกว่าอนิจจสัญญาและอนัตตสัญญา

           เพื่อให้สัญญาทั้งสองประการได้การอุปถัมภ์ พระพุทธองค์ทรงสอนให้พิจารณาอสุภสัญญา คือความไม่งามแห่งกายนี้ โดยอาการว่า กายนี้ตั้งแต่ปลายผมลงไป ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นมา เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ กล่าวคือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อใย กระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ น้ำมันข้อ น้ำมันเหลว น้ำตา น้ำลาย น้ำไขข้อ น้ำมูตร

           อาหารหรือสิ่งดังกล่าวมานี้ ย่อมให้ทุกข์ให้โทษเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง เป็นบ่อเกิดแห่งโรคนานาชนิด เช่น โรคตา โรคหู โรคในจมูก โรคลำไส้ โรคไต โรคปอด โรคม้าม โรคตับ โรคเกี่ยวกับอุจจาระ ปัสสาวะ ฯลฯ การพิจารณาเห็นโทษแห่งสิ่งเหล่านี้ว่า เป็นรังของโรคนั่นแล เรียกว่า อาทีนวสัญญา



           ร่างกายนี้เป็นที่นำมา คือเป็นสื่อแห่งความตรึกในเรื่องกามบ้าง เรื่องพยาบาทบ้าง เรื่องเบียดเบียนบ้าง วิตกทั้ง ๓ นี้ เมื่อจะตั้งลงก็ตั้งลงในกายนี้ การกำหนดใจประหารกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก เรียกว่าปหานสัญญา

           เมื่อประหารได้แล้ว ความกำหนัดพอใจในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดพอใจก็คลายลง พอใจในการที่จะสำรอกราคะเสีย เรียกว่า วิราคสัญญา

           การดับกิเลสทั้งมวลให้ประสบความสงบเยือกเย็นได้ เรียกว่า นิโรธ ความพอใจกำหนดใจในนิโรธนั้น เรียกว่า นิโรธสัญญา

           ความรู้สึกว่าโลกนี้เป็นที่ตั้งที่เกิดแห่งความวุ่นวายนานาประการ หาความสงบสุขได้โดยยาก ไม่เพียงแต่ในโลกนี้เท่านั้น แม้โลกทั้งปวงก็ตกอยู่ในสภาพเช่นเดียวกัน ร้อนระอุอยู่ด้วยเพลิงภายในคือกิเลส แล้วไม่ปรารถนาโลกไหนๆ เรียกว่า สัพพโลเก อนภิรติสัญญา

           การกำหนดใจไม่ปรารถนาสังขารทั้งปวง ไม่ว่ามีใจครองหรือไม่มีใจครอง ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวางซึ่งสิ่งที่เคยยึดถือไว้ ย่อมประสบความเบากาย เบาใจ เหมือนคนปลงภาระหนักลงเสีย การกำหนดใจดังนี้เรียกว่า สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา

           การกำหนดลมหายใจเข้าออก มีสติตั้งไว้ที่ลมหายใจ เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ว่ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ว่าสั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทากามราคะ และความหลงใหล เรียกว่า "อานาปานสติ"

           พระคิริมานันทะส่งกระแสจิตไปตามธรรมบรรยายของพระอานนท์ รู้สึกซาบซึ้งซึมทราบ ปีติปราโมชเกิดขึ้นเป็นปฏิกิริยาแห่งธัมโมชปัญญา สามารถข่มอาพาธหนักเสียได้ ท่านหายจากอาพาธนั้นด้วยฟังสัญญา ๑๐ ประการจากพระพุทธอนุชา

           นอกจากบรรพชิตแล้ว ยังมีคฤหัสถ์อีกมากมายซึ่งพระอานนท์ได้ช่วยเหลือในยามเจ็บป่วย เป็นต้นว่า ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี และคฤหบดีนามว่า สิริวัฑฒะ ชาวเมืองราชคฤห์ และคฤหบดีนามว่า มานทินนะ ชาวเมืองราชคฤห์เช่นเดียวกัน

           แน่นอนทีเดียว การอุปการะช่วยเหลือผู้อื่นคราวอาพาธนั้น ย่อมเป็นสิ่งประทับใจอยู่ตลอดกาล ทั้งแก่ผู้รับและแก่ผู้ให้ โรคเป็นศัตรูของชีวิต การช่วยกำจัดโรคเท่ากับช่วยกำจัดศัตรูของชีวิต ทำนองเดียวกับกิเลสเป็นศัตรูของจิตใจ การช่วยกำจัดกิเลสจึงเท่ากับช่วยกำจัดศัตรูของจิต พระบรมศาสดาและพระพุทธอนุชาอานนท์นั้น เป็นกัลยาณมิตรแห่งมวลชน เป็นที่พึ่งได้ทั้งกายและทางจิต จะหากัลยาณมิตรใดเล่าเสมอเหมือน หรือยิ่งกว่าท่านผู้ทรงคุณอันประเสริฐนี้.
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: