KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับพระไตรปิฏก : พระอภิธรรม พระสูตร พระคัมภีร์พระอภิธรรมปิฏกลักษณะที่ อาจจะทำให้เข้าใจผิดในธรรม
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ลักษณะที่ อาจจะทำให้เข้าใจผิดในธรรม  (อ่าน 10313 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2009, 02:01:39 PM »

วัญจกธรรม (ธรรมเป็นเครื่องหลอกลวง) ๓๘ ประการ

๑.  อปฺปฏิกูลสญฺญามุเขน  กามมจฺฉนฺโท  วญฺเจติ.

ความพอใจในกาม  ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นอปฏิกูลสัญญา. (ลวงว่าสะอาด)


๒.  ปฏิกฺกูลสญฺญาปฏิรูปตาย  พฺยาปาโท  วญฺเจติ.

ความพยาบาท  ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นปฏิกูลสัญญา.


๓.  สมาธิมุเขน  ถีนมิทฺธํ  วญฺเจติ.

ถีนมิทธะ(ความท้อถอย ง่วงเหงา)  ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นสมาธิ.


๔.  วิริยารมฺภมุเขน  อุทฺธจฺจํ  วญฺเจติ.

อุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน)  ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นการปรารภความเพียร.


๕.  สิกฺขากามตามุเขน  กุกฺกุจฺจํ  วญฺเจติ.

กุกกุจจะ(ความรำคาญใจ)  ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา.


๖.  อุภยปกฺขสนฺตีรณมุเขน  วิจิกิจฺฉา  วญฺเจติ.

วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)  ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีการพิจารณาทั้งสองฝ่าย




๗.  อิฏฺฐานิฏฺฐสมุเปกฺขนมุเขน  สมฺโมโห  วญฺเจติ.

ความหลงพร้อม(ไม่รู้)  ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีการวางเฉยต่ออารมณ์

ที่น่าปราถนาและไม่น่าปราถนา

(เช่น ไม่รู้ จึงไม่รักหรือไม่ชัง  จึงดูเหมือนวางเฉย เพราะรู้สึกเฉยๆ)


๘.  อตฺตญฺญุตามุเขน  อตฺตนิ  อปริภเวน มาโน  วญฺเจติ.

มานะ(ความสำคัญตน)  ย่อมลวงโดยความไม่ดูหมิ่นตน เหมือนกับว่าเป็นผู้รู้จักตน

(เช่น คนมีมานะแต่มักบอกว่าตนไม่มีมานะ...หลงในคุณธรรมของตน)


๙.  วีมํสามุเขน  เหตุปฏิรูปกปริคฺคเหน  มิจฺฉาทิฏฺฐิ  วญฺเจติ.

มิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด)  ย่อมลวงด้วยการถือเอาเหตุอันสมควร

เหมือนกับว่ามีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา


๑๐.  วิรตฺตตาปฏิรูปฏาย  สตฺเตสุ  อทยาปนฺนตา  วญฺเจติ.

ความเป็นผู้ไม่ถึงความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย

ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดยินดี.


๑๑.  อนุญฺญาตปฏิเสวนปฏิรูปตาย  กามสุขลฺลิกานุโยโค  วญฺเจติ.

กามสุขัลลิกานุโยค(การประกอบเนืองๆ ซึ่งความหมกมุ่นอยู่ในกาม)

ย่อมลวงเหมือนกับว่าเสพในสิ่งที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้.


๑๒.  อาชีวปาริสุทฺธิปฏิรูปตาย  อสํวิภาคสีลตา  วญฺเจติ.

ความเป็นผู้มีปกติไม่แบ่งปัน  ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีการเลี้ยงชีพที่บริสุทธิ์

(เช่น ภิกษุบิณฑบาตมาแต่ไม่แบ่งบรรพชิตด้วยกัน แล้วคิดว่าตนเลี้ยงชีพบริสุทธิ์)




๑๓.  สํวิภาคสีลตาปฏิรูปตาย  มิจฺฉาชีโว  วญฺเจติ.

มิจฉาอาชีวะ  ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้มีปกติแบ่งปัน.


๑๔.  อสํสคฺควิหาริตาปฏิรูปตาย  อสงฺคหสีลตา  วญเจติ.

ความเป็นผู้มีปกติไม่สงเคราะห์  ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยการไม่คลุกคลี.


๑๕.  สงฺคหสีลตาปฏิรูปตาย  อนนุโลมิกสํสคฺโค  วญฺเจติ.

ความคลุกคลีที่ไม่สมควร  ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้มีปกติสงเคราะห์.


๑๖.  สจฺจวาทิตาปฏิรูปตาย  ปิสุณวาจา  วญฺเจติ.

ปิสุณวาจา(กล่าวส่อเสียด)  ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้กล่าวคำจริง.


๑๗.  อปิสุณวาทิตาปฏิรูปตาย  อนตฺถกามตา  วญฺเจติ.

ความเป็นผู้ใคร่ในสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์

ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้ไม่กล่าวส่อเสียด.


๑๘.  ปิยวาทิตาปฏิรูปตาย  ปาตุกมฺยตา  วญฺเจติ.

ความเป็นผู้กระทำการประจบ

ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้กล่าวถ้อยคำอันเป็นที่รัก.



ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=11091  เว็บบ้านธรรมะ ครับ
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2009, 02:03:55 PM »

๑๙.  มิตภาณิตาปฏิรูปตาย  อสมฺโมทนสีลตา  วญฺเจติ.

ความเป็นผู้ไม่ชื่นชมยินดี(กับผู้อื่น)

ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้พูดพอประมาณ (ตระหนี่คำสรรเสริญ)



๒๐.  สมฺโมทนสีลตาปฏิรูปตาย  มายาสาเถยฺยญฺจ  วญฺเจติ.

มายาและสาไถย  ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้มีปกติชื่นชมยินดี(กับผู้อื่น)



๒๑.  นิคฺคยฺหวาทิตาปฏิรูปตาย  ผรุสวาจา  วญฺเจติ.

ผรุสวาจา(กล่าวคำหยาบ)  ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้พูดข่ม.



๒๒.  ปาปครหิตาปฏิรูปตาย  ปรวชฺชานุปสฺสิตา  วญฺเจติ.

ความเป็นผู้เพ่งโทษผู้อื่น  ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้ติเตียนบาป.



๒๓.  กุลานุทฺทยตาปฏิรูปตาย  กุลมจฺฉริยํ  วญฺเจติ.

ความตระหนี่ตระกูล  ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีความประพฤติเกื้อกูลต่อตระกูล.



๒๔.  อาวาสจิรฏฺฐิติกามตามุเขน  อาวาสมจฺฉริยํ  วญฺเจติ.

ความตระหนี่อาวาส

ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้ใคร่เพื่อให้อาวาสตั้งอยู่ตลอดกาลนาน.


 

๒๕.  ธมฺมปริพนฺธปริหรณมุเขน  ธมฺมมจฺฉริยํ  วญเจติ.

ความตระหนี่ธรรม  ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นการรักษาพระธรรมไว้ให้ดำรงมั่น.



๒๖.  ธมฺมเทสนาภิรติมุเขน  ภสฺสารามตา  วญฺเจติ.

ความเป็นผู้ยินดีในการพูดคุย  ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้ยินดียิ่งในการแสดงธรรม.



๒๗.  อผรุสวาจตาคณานุคฺคหกรณมุเขน  สงฺคณิการามตา  วญฺเจติ.

ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ

ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้ไม่กล่าวคำหยาบและกระทำการอนุเคราะห์แก่หมู่คณะ.



๒๘.  ปุญฺญกามตาปฏิรูปตาย  กมฺมรามตา  วญฺเจติ.

ความเป็นผู้ยินดีในการงาน  ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้ใคร่ซึ่งบุญ.



๒๙.  สํเวคปฏิรูเปน  จิตฺตสนฺตาโป  วญฺเจติ.

ความเร่าร้อนแห่งจิต  ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นการสลดสังเวช.



๓๐.  สทฺธาลุตาปฏิรูปตาย  อปริกฺขตา  วญฺเจติ.

ความเป็นผู้ไม่พิจารณาอย่างรอบคอบ  ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้มากไปด้วยศรัทธา.




๓๑.  วีมํสนาปฏิรูเปน  อสฺสทฺธิยํ  วญฺเจติ.

ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา  ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา.



๓๒.  อตฺตาธิปเตยฺยปฏิรูเปน  ครูนํ  อนุสาสนิยา  อปฺปทกฺขิณคฺคาหิตา  วญฺเจติ.

ความเป็นผู้ไม่รับเอาคำพร่ำสอนของครูทั้งหลายโดยเคารพ

ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีตนเป็นใหญ่.



๓๓.  ธมฺมาธิปเตยฺยปฏิรูเปน  สพฺรหฺมจารีสุ  อคารวํ  วญฺเจติ.

ความไม่เคารพในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย

ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีธรรมเป็นใหญ่.



๓๔.  โลกาธิปเตยฺยปฏิรูเปน  อตฺตนิ  ธมฺเม  จ  ปริภโว  วญฺเจติ.

ความดูหมิ่นตนและดูหมิ่นธรรม  ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีโลกเป็นใหญ่.



๓๕.  เมตฺตายนามุเขน  ราโค  วญฺเจติ.

ราคะ(ความยินดีติดข้อง)  ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีเมตตา.



๓๖.  กรุณายนาปฏิรูเปน  โสโก  วญเจติ

ความเศร้าโศก  ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีความกรุณา.




๓๗.  มุทิตาวิหารปฏิรูเปน  ปหาโส  วญฺเจติ.

ความร่าเริง  ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยมุทิตา.


๓๘.  อุเปกฺขาวิหารปฏิรูเปน  กุสเลสุ  ธมฺเมสุ  นิกฺขิตฺตฉนฺทตา  วญฺเจติ.

ความเป็นผู้ทอดทิ้งฉันทะ(ความพอใจ)ในกุศลธรรมทั้งหลาย

ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยอุเบกขา.



ข้อความจาก...อรรถกถาเนตติปกรณ์ ยุตติหารวิภังควรรณนา

แปลและเรียบเรียงโดย... มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: