KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับความสำคัญของพระพุทธศาสนา และทุกอย่าง เกี่ยวกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกอย่างที่เกี่ยวกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานไตรภูมิ
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ไตรภูมิ  (อ่าน 8341 ครั้ง)
samarn
Global Moderator
กัลยาณมิตร ลำดับที่ 2
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 7
กระทู้: 215


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2008, 02:46:29 PM »

ไตรภูมิ หมายถึง สามโลก ซึ่งเป็นคติเกี่ยวกับโลกสันฐานตามความเชื่อในพุทธศาสนา โดย ไตรภูมินั้น ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ


1. กามภูมิ
กามภูมิแบ่งเป็น 11 ส่วนย่อยได้แก่
ทุคติภูมิ 
1.นรกภูมิ 2.เปรตภูมิ 3.อสูรกายภูมิ 4.เดรัจฉานภูมิ

สุคติภูมิ 
5.มนุสสภูมิ 6.จาตุมหาราชิกา 7.ดาวดึงส์ 8.ดุสิต 9.ยามา 10.นิมมานรดี 11.ปรมิตวสวัตตี


2. รูปภูมิ
รูปภูมิแบ่งเป็น 16 ชั้น เป็นที่สถิตของพระพรหม (ตามคติของพุทธ)


3.อรูปภูมิ
อรูปภูมิแบ่งเป็น 4 ชั้น เป็นที่สถิตของพระพรหมระดับสูงซึ่งไม่มีรูปกาย
มนุษย์และเวไนยสัตว์ทั้งหลายก็จะต้องเวียนว่ายตายเกิดในไตรภูมินี้ จนกว่าจะสำเร็จมรรคผล


ความสัมพันธ์ระหว่างไตรภูมิกับสถาปัตยกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เขมร
คติความเชื่อเรื่องไตรภูมิที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ปรากฏมากมายในวัฒนธรรมเขมร เมื่อมาสมัยการสร้างเมืองพระนครของพระเจ้ายโศวรมันที่ 2 ก็ได้มีการนำคติไตรภูมิซึ่งสืบต่อมาจากอินเดียคือ มีภูเขาศักดิสิทธิ์อยู่กลางเมืองเป็นสัญลักษณ์แทนเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่ประทับของเทวดา โดยพระเจ้ายโศวรมันทรงเลือกเขาพนมบาแค็งเป็นศูนย์กลางแห่งเมืองพระนคร และสร้างปราสาทพนมบาแค็งเป็นปราสาท 5 หลังซึ่งมีหลังหนึ่งอยู่ตรงกลางและอีก 4 หลังอยู่ 4 มุมนั้น แสดงถึงยอด 5 ยอดของเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่ประทับของเทวดา บนยอดเขาพระสุเมรุนั้นเป็นที่ประทับของเทวดา 33 องค์ คือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ศาสตราจารย์ฟิลลิโอซาต์ได้ตั้งข้อสังเกตว่าเขาพนทบาแค็งนั้น ถ้าเรามองดูจากเฉพาะฐานแต่ละด้านเราจะเห็นเฉพาะปราสาท 33 หลัง สำหรับปราสาทที่เหลือนั้นจะมองไม่เห็น ดังนั้นเขาพนมบาแค็งจึงเป็นเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่ประทับของเทวดาและศูนย์กลางของมนุษยโลก

ลาว
ความเชื่อเรื่องศูนย์กลางจักรวาลของเขาพระสุเมรุอันหมายถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็ปรากฏคติความเชื่อนี้ที่ลาวด้วย เช่นในเรื่องของยอดจั่วหัวท้ายของอุโบสถที่เรียกว่า สิม (ที่ภาคกลางก็คือช่อฟ้านั่นเอง) สิมทำเป็นรูปปราสาทและที่สำคัญคือประดับอยู่สันหลังคาโดยมีความหมายถึงปราสาทของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สิมจึงเสมือนเป็นศูนย์กลางจักรวาลนั่นเอง


พม่า
คติความเชื่อเรื่องไตรภูมิที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ก็ปรากฏมายมายที่พม่าด้วยเช่นเดียวกัน เห็นได้จากการสร้างเมือง การสร้างปราสาทราชวังที่มีคูน้ำล้อมรอบอันแสดงถึงความเป็นศูนย์กลางจักวาลที่มีมหานทีสีทันดอนล้อมรอบด้วย เช่น พระราชวังมัณฑเลย์ที่สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2400-2402 โดยพระเจ้ามินดงเพื่อเป็นศูนย์กลางของจักรวาลตามคติพุทธศาสนา

นอกจากนี้ ก็ปรากฏคติความเชื่อเรื่องศูนย์กลางแห่งจักรวาลในงานศิลปกรรมอีกมากมายในงานสถาปัตยกรรมต่างๆ เช่น การสร้างเจดีย์ของพม่าส่วนใหญ่ก็จะสร้างในคติการสร้างเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเกศธาตุและพระเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้า คือเจดีย์จุฬามณีที่พระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตัวอย่างเช่น อุบาลีเถียน เมืองพุกาม ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นอาคารในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังก่อด้วยอิฐ ภายในมีพระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่ง ภายนอกอาคารมีเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กประดับอยู่ที่กลางสันหลังคา ซึ่งอาจมีความหมายถึงเจดีย์จุฬามณีที่ประดิษฐานพระเกศธาตุและพระเขี้ยวแก้ว พระอินทร์สร้างไว้บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างอีกที่ เจดีย์สินพยุเมที่เมืองมินคุนซึ่งพระเจ้าพะคยีดอทรงสร้างใน พ.ศ. 2359 ก่อนที่จะเสวยราชย์ เจดีย์องค์นี้เปรียบเสมือนพระเจดีย์จุฬามณีซึ่งตั้งอยู่เหนือเขาพระสุเมรุอันป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลตามความเชื่อถือเกี่ยวข้องกับไตรภูมิในพุทธศาสนา คือ มีแผนผังเป็นรูปวงกลมประกอบด้วยลานซ้อนขึ้นไป 7 ชั้น ลานเหล่านี้มีผนังเตี้ยๆทำเป็นรูปคล้ายรูปคลื่นโดยรอบ เหนือลานชั้นบนมีฐานรูปทรงกระบอกซึ่งมีห้องไว้พระพุทธรูปอยู่ภายใน ยอดเป็นรูปเจดีย์ตามแบบพม่า

อาจกล่าวได้ว่าชนชาติพม่าเป็นชนชาติที่ดูจะเคร่งครัดกับพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ คติความเชื่อเรื่องไตรภูมิที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจึงสืบต่อลงมาอย่างเหนียวแน่น ดังเห็นจากงานศิลปกรรมในรุ่นหลังๆที่ยังคงรักษาคตินี้ไว้



อ้างอิง

- สุภัทรดิศ ดิศกุล, ประวัติศาสตร์เมืองพระนครของขอม. กรุงเทพ : มติชน, 2543
- สุภัทรดิศ ดิศกุล และ สันติ เล็กสุขุม, เที่ยวดงเจดีย์ที่พม่าประเทศทางประวัติศาสตร์ศิลปะและวัฒนธรรม, . กรุงเทพ : มติชน, 2545

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 19, 2008, 02:48:49 PM โดย samarn » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: