KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนาธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
หน้า: 1 2 3 [4]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต  (อ่าน 100213 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #45 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2014, 10:17:05 PM »



"การดูกิเลสและแสวงธรรม ท่านทั้งหลายอย่ามองข้ามใจ
ซึ่งเป็นที่อยู่ของกิเลสและเป็นที่สถิตย์อยู่แห่งธรรมทั้งหลาย กิเลสก็ดี ธรรมก็ดี
มิได้ขึ้นอยู่กับกาลสถานที่ใดๆ ทั้งสิ้น แต่อยู่ที่ใจ คือเกิดขึ้นที่ใจ และดับลงที่ใจดวงรู้ๆ นี้เท่านั้น..."

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #46 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2014, 11:01:25 PM »

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พยากรณ์อายุ เรื่องการต่ออายุจาก 60 ปี มาเป็น 80 ปี
ท่าน พระอาจารย์มั่น ได้เล่าไว้หลายสถานที่ หลายโอกาส หลายวาระ ปีนั้นท่านจำพรรษาที่อำเภอพร้าว
จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ที่ราบไม่ใช่ภูเขา กับพระมหาทองสุก สุจิตโต ปีนั้นพอเริ่มเข้าพรรษา ท่านมีอาการเจ็บป่วย
 พระผู้พยาบาลก็พระมหาทองสุกนั้นล่ะ ท่านมีความรู้ทางยาด้วย ท่านพระอาจารย์กำหนดรู้แล้วว่า
ท่านถึงอายุขัย จะสิ้นชีพปีนี้แน่ แต่มีข้อแม้ว่า ถ้าท่านมีอิทธิบาทอันเจริญดีแล้ว สามารถอยู่ต่อไปได้อีก 20 ปี เป็น 80 ปี เท่าพระพุทธเจ้า
ท่านจึงมาพิจารณาดูว่า อยู่กับตายอย่างไหนมีค่ามาก รู้ว่าอยู่มีค่ามาก
เพราะสานุศิษย์ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตหวังเฉพาะให้ท่านอยู่ แต่คำว่าอิทธิบาทอันเจริญดีแล้ว
เจริญขึ้นขั้นไหน อย่างไร ธรรมทั้งหลายที่ปรากฏแล้ว ทั้งโลกิยธรรมและโลกุตรธรรม นำมาพิจารณา
ก็ไม่ขัดข้อง ไม่สงสัย แต่ก็ยังไม่ได้ความ อาการป่วยจะดีขึ้นก็ไม่ใช่ จะหนักก็ไม่เชิง
แต่เที่ยวบิณฑบาตได้ทุกวัน อาการที่สำคัญ คือ คอมองซ้ายมองขวายาก เดือนที่ 2 ผ่านไป

 อาการดีขึ้น และได้ความรู้เกิดขึ้น ซึ่งไม่เคยได้ยินได้ฟังว่า
นาญฺญตฺตร โพชฺฌาตปสา นาญฺญตตร ปฏินิสฺสคฺคา นาญฺญตฺตร อินฺทริยสํวรา
แปลได้ความว่า อิทธิบาท 4 อันอบรมดีแล้ว ก็คือ การพิจารณาโพชฌงค์ 7 นี้เอง
ท่านฯ อธิบายว่า เจริญให้มาก ทำให้มาก ก็เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ พร้อมความดับสนิท
(หมายถึงอวัยวะที่ชำรุดในร่างกาย แล้วเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ด้วยฌาน) แล้วท่านยังอุปมาเปรียบเทียบว่า
เมื่อพระมหาโมคคัลลาน์และพระมหากัสสปะได้ฟังพระดำรัสนี้ ก็หายจากอาพาธ
แม้ในกาลบางคราวพระพุทธองค์ก็ยังให้พระสาวกสวดถวาย แต่คำว่า ผู้มีอิทธิบาท 4 อันเจริญดีแล้ว
 ขอเล่าเท่าที่จำได้ ท่านฯ ว่า "เราพิจารณาปุพพภาคปฏิปทา ตั้งแต่จิตเรารวมเป็นสมาธิโดยลำดับ
ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน แล้วเข้าอรูปฌานต่อเป็นอากาสาฯ ลฯ จนถึง เนวฺสญฺญานาสญฺญายตน
หน่อยหนึ่งก็ไม่มีแล้ว ถอยจิตออกมาอยู่ในสญฺญาเวทยิตฺนิโรธ อุปมาเหมือนหนทาง 3 แพร่ง ท่านว่า
จิตเราอยู่ในท่ามกลางทาง 3 แพร่ง แพร่งหนึ่งไปอรูปพรหมโลก แพร่งหนึ่งไปรูปพรหมโลก
คือ จตุตถฌาน อีกแพร่งหนึ่งเข้าสู่พระนิพพาน จิตอยู่ขั้นนี้
และเราได้อธิษฐานว่า เราจะมีชีวิตอยู่ต่อไป แล้วก็ถอยจิตออกจากทาง 3 แพร่งนั้น มาพักที่จตุตถฌาน
จะพักนานเท่าไรก็แล้วแต่ พอมีกำลังแล้วจิตจะถอยออกสู่ ตติยฯ ทุติยฯ พอมาถึงปฐมฌาน ก็อธิษฐานรู้ว่า

"เราจะอยู่ไปอีกเท่านั้นปี เท่านี้ปี" กว่าจะมาถึงขั้นนี้ ก็เป็นเวลาเดือนสุดท้ายแห่งการจำพรรษาแล้ว
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ผู้ที่มีอิทธิบาทอันเจริญดีแล้ว สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เป็นกัปป์หรือเกินกว่า
เป็นความจริง ท่านฯ ว่า ท้าวสักกะแก่กลายเป็นท้าวสักกะหนุ่มก็ด้วยอิทธิบาทนี้ แต่ท้าวสักกะยังมีกิเลส
ไม่ได้ฌานด้วยตัวเอง แต่ด้วยพระพุทธานุภาพ ทรงนำกระแสพระทัยของท้าวสักกะ
ให้ผ่านขั้นตอนจนเป็นอิทธิบาทอันเจริญดีแล้ว ที่ถ้ำอินทสาร ท้าวสักกะแก่จึงเป็นท้าวสักกะหนุ่มได้ ด้วยพระพุทธานุภาพดังนี้

จากหนังสือ "รำลึกวันวาน" โดย หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #47 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2015, 11:13:22 AM »

หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ

“ขึ้นชื่อว่ากิเลสตัวเป็นมารของธรรมแล้ว ต้องเป็นมารของสัตว์โลกไม่มีทางสงสัย การแสดงออกของมัน มีแต่การหลอกลวงสัตว์โลก ให้เข้าสู่หลุมถ่านเพลิง คือกองทุกข์ไม่มีประมาณ โดยถ่ายเดียว หาที่พอเชื่อถือและยึดเป็นที่อาศัยชั่วระยะเดียวก็ไม่ได้ ผลเต็มไปด้วยฟืนด้วยไฟทุกกิ่งทุกแขนง ไม่มีเกาะมีดอนพอให้หายใจด้วยมันได้ ปราชญ์ท่านจึงตำหนิติเตียนมาตลอดทุกยุคทุกสมัย ไม่เคยยกยอบ้างเลยว่า กิเลสก็ทำให้โลกร่มเย็น กิเลสก็เป็นธรรม ให้ความเสมอภาคยุติธรรมแก่โลกเป็นต้น นอกจากกลหลอกลวงเต็มตัวของมันมาทุกยุคทุกสมัย ไม่เคยทิ้งลวดลายแห่งการปลิ้นปล้อนหลอกลวงสัตว์โลกผู้โง่เขลาที่น่าสงสารบ้างเลย...”

จากหนังสือประวัติหลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัด หนองบัวลำภู
โดยท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสมปนฺโน
(พ.ศ. ๒๔๓๑ – ๒๕๒๖)
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #48 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2015, 03:01:39 PM »




หลวงปู่มั่นพบพระพุทธเจ้าในพระนิพพาน

มีเรื่องเล่ากันนานปีมาแล้ว ว่าท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ

ท่านเคยเล่า ว่าคืนหนึ่งขณะท่านปฏิบัติอยู่ในป่า ใจร่ำร้องกราบพระพุทธบาทสมเด็จพระบรมศาสดา ขอประทานพระมหาเมตตาให้ท่านพระอาจารย์ท่านรู้วิธีปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสมปรารถนาได้พ้นทุกข์

และสมเด็จพระบรมศาสดาก็ทรงพระเมตตาเสด็จลงให้ท่านพระอาจารย์ ได้เฝ้าพระพุทธบาทรับประทานวิธีปฏิบัติธรรมไปสู่ความไกลกิเลสได้สิ้นเชิง

ท่านพระอาจารย์ท่านเล่าว่าสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จลงให้ท่านได้เฝ้าพระพุทธบาทได้เห็นพระพุทธองค์ ดั่งได้เฝ้าพระองค์จริงขณะทรงดำรงพระชนมายุสังขารอยู่ฉะนั้น

ไม่ทราบว่าท่านพระอาจารย์ท่านบอกหรือเปล่า ว่าท่านมีความปีติโสมนัสเพียงไรในบุญวาสนาของท่านที่ไม่น่าเป็นไปได้ในชีวิตผู้ใดแต่ได้เกิดแก่ชีวิตท่านพระอาจารย์ท่านแล้วจริง

โปรดประทานพระมหากรุณาให้ท่านพระอาจารย์ท่านรู้วิธีเดินจงกรม วิธีปฏิบัติจิตใจ

จนในที่สุดท่านพระอาจารย์ท่านก็ได้เป็นดั่งองค์ แทนศิษยานุศิษย์ผู้สามารถปฏิบัติธรรมดำเนินถึงความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง ได้เป็นพระอาจารย์สายปฏิบัติธรรมองค์สำคัญที่สุดอยู่ในยุคนี้ เป็นที่รู้กันอยู่ในบรรดาผู้ใส่ใจในการปฏิบัติธรรมทุกถ้วนหน้า

เรื่องนี้ ที่ท่านพระอาจารย์ท่านได้เล่าไว้ ไม่เพียงทำให้ท่านได้เป็นอาจารย์ผู้สอนธัมมะสำคัญแก่ศิษยานุศิษย์มากหลาย แต่ทำให้ได้ความเข้าใจที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อนเลย ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ว่าเมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จอยู่ในเมืองพระนิพพานแน่ ยังทรงได้รู้ ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง ที่ควรแก่การได้รับพระพุทธเมตตา เช่นท่านอาจารย์มั่นท่านนั่นเอง ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นท่านควรที่สุดแน่นอนแล้วที่จะได้รับพระมหากรุณา ผู้ปฏิบัติธรรมหรือผู้ศึกษาธรรมทั้งหลายย่อมเห็นด้วยกับความจริงนี้แน่นอน.


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
แสงส่องใจ วิสาขบูชา ๒๕๕๐
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #49 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2015, 09:13:28 AM »

"...คนที่ขี้เกียจ อ่อนแอ เห็นทีจะเอาดีไม่ได้ และไม่เคยมีใครทำสำเร็จ
หรือบรรลุธรรมด้วยการอยู่ไป กินไป นอนไป ตามใจชอบ โดยไม่มีการศึกษาฝึกจิต ทรมานใจเลย..."

...พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #50 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2015, 09:14:10 AM »

“ มีพระรูปหนึ่งซึ่งมีนิสัยไม่ค่อยสุภาพนัก ไปพำนักอยู่กับท่านชั่วคราว... ”

๕๗. สำรวมระวังกาย สำรวมระวังใจ

เรื่องการพูดคุยอะไรกับท่านแบบไร้สติ ว่าควรอย่างไรไม่ควรอย่างไรบ้าง นี่เคยโดนท่านดุมามากราย บางรายถึงกับเสียสติในวาระต่อไปก็มี

มีพระรูปหนึ่งซึ่งมีนิสัยไม่ค่อยสุภาพนักไปพำนักอยู่กับท่านชั่วคราว เวลาท่านพูดอะไรขึ้นมาเธอชอบพูดไปตามท่านเสมอ ตอนไปอยู่ใหม่ ๆ ท่านเคยเตือนบ่อยให้สนใจในหน้าที่ของตัว โดยมีสติระวังรักษาใจที่จะคิดจะพูดในเรื่องต่าง ๆ ไม่สนใจกับเรื่องของผู้อื่น นักปฏิบัติต้องรู้จักวิธีปฏิบัติตัวโดยถูกทาง ผู้มีสติอยู่กับตัวย่อมเห็นความบกพร่องของใจที่แสดงออก แต่เธอนั้นคงมิได้สนใจคิดเรื่องท่านให้อุบายสั่งสอนเท่าที่ควร จึงชอบเป็นไปตามนิสัยเสมอ

วันหนึ่งเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ท่านพระอาจารย์มั่นท่านมีนิสัยที่ใคร ๆ สังเกตได้ยาก เวลาเดินไปไหนมาไหนท่านมองเห็นอะไร เช่นสัตว์ต่าง ๆ หรือผู้คนตลอดเด็ก ๆ ท่านมักจะเอาเรื่องที่ได้เห็นนั้น ๆ มาพิจารณาและพูดของท่านไปคนเดียว ดังที่เคยเขียนไว้บ้างแล้ว

วันนั้นขณะที่กำลังบิณฑบาต ท่านได้เห็นลูกวัวมีรูปร่างน่ารักที่กำลังวิ่งเพลินอยู่กับแม่ของมัน ขณะพระเดินไป มันยังมองไม่เห็นท่าน พอพระเดินไปจวนถึงตัวมันจึงหันหน้ามามองอย่างตกใจ และกระโดดวิ่งอ้าวไปหาแม่แล้วเอาหลังหนุนคอแม่ไว้ หันหน้าออกมาสู่พระ นัยน์ตาบอกว่ากลัวมาก ส่วนแม่พอเห็นลูกวิ่งไปหาก็รีบหันหน้ามองมาทางพระ พอรู้แล้วก็ทำเฉยตามนิสัยของสัตว์ที่เคยกับพระมาจำเจแล้ว แต่ลูกของมันยืนตาจับจ้องอยู่ใต้คางแม่อย่างไม่ไว้ใจ..

..เมื่อท่านอาจารย์เห็นอาการของทั้งแม่ทั้งลูกที่แสดงอาการต่างกันเช่นนั้น จึงพูดขึ้นลอย ๆ ว่า..

“ แม่ไม่เห็นแสดงอาการกลัว แต่ลูกทำไมกลัวจนจะแบกแม่ทั้งตัววิ่งหนีไปได้ (ท่านเห็นมันอยู่ใต้คอแม่อันเป็นลักษณะแบกแม่ถึงได้พูดอย่างนั้น) พอเหลือบเห็นพระเท่านั้นก็ทั้งเผ่นทั้งร้องหาแม่ให้ช่วย

คนเราก็เหมือนกันต้องวิ่งหาที่พึ่ง ถ้าอยู่ใกล้แม่ก็วิ่งพึ่งแม่ อยู่ใกล้พ่อก็วิ่งพึ่งพ่อ อยู่กับใครก็มักจะพึ่งคนนั้น จะคิดพึ่งตัวเองไม่ค่อยมี ตอนยังเล็กก็คิดหวังพึ่งผู้อื่นแบบหนึ่ง โตขึ้นมาคิดหวังพึ่งผู้อื่นไปอีกแบบหนึ่ง แก่ตัวลงไปคิดหวังพึ่งผู้อื่นอีกแบบหนึ่ง จะย้อนจิตเข้ามาใช้อุบายหาทางพึ่งตัวเองไม่ค่อยจะมีกัน..

..ฉะนั้น คนเราจึงมักทำตัวให้อ่อนแอ อยู่ในวัยใดก็หวังพึ่งแต่ผู้อื่น อยู่ที่ใดไปที่ใดก็หวังพึ่งแต่ผู้อื่น เลยไม่เป็นตัวของตัวเองได้ตลอดกาล

พระเราก็เหมือนกันบวชมาในศาสนาจะศึกษาก็เกียจคร้าน จะปฏิบัติก็กลัวเป็นทุกข์ลำบาก เพราะความขี้เกียจไม่ยอมให้ทำ คิดอะไรที่จะเป็นประโยชน์บ้าง พอคิดจะลงมือทำความขี้เกียจก็มาคอยกันท่าไว้เสีย เลยไม่มีอะไรสำเร็จได้ เมื่อไม่มีทางช่วยตัวเองได้จำต้องหวังพึ่งผู้อื่น ไม่เช่นนั้นก็ครองตัวไปไม่ได้

คำว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ เลยไม่มีประโยชน์สำหรับคนไม่มีจมูกหายใจ เราผู้บวชเป็นพระและเป็นนักปฏิบัติจึงไม่ควรทำตนเป็นคนไม่มีจมูก คอยหายใจจากผู้อื่นอยู่เรื่อยไป ครูอาจารย์สั่งสอนอะไรควรนำไปคิดและพยายามทำตาม ไม่ให้หลุดมือตกสูญหายไปเปล่า ๆ พยายามคิดและทำตามท่านจนเกิดประโยชน์ขึ้นมาแก่ตนจนได้ จะต้องไม่หวังพึ่งท่านตลอดไป จมูกทางหายใจคือความรู้ความฉลาดทางระบายทุกข์น้อยใหญ่ออกจากใจก็พอมีทางอาศัยตนได้ ชื่อว่าเป็นพระขึ้นมาโดยลำดับ จนกลายเป็นพระสมบูรณ์แบบและพึ่งตนเองได้อย่างเต็มที่ ”

ท่านพูดเป็นเชิงสอนพระหรือสอนใครก็สุดแต่ผู้จะพิจารณานำมาสอนตน คำพูดท่านยังไม่จบเรื่องซึ่งพอจะแทรกขึ้นในระหว่างท่านหยุดชั่วคราว แต่พระองค์ไม่ค่อยพิจารณานักก็พูดพล่ามไปตามท่าน โดยมิได้สำนึกตัวว่าควรหรือไม่ควรเพียงไร ความบ้าของเธออาจจะเข้าไปกระทบธรรมภายในท่านอย่างแรง จึงทำให้ท่านหันหน้ากลับมาชำระเสียบ้าง พอให้พระองค์ที่มีสังวรธรรมพลอยตกตะลึงกลัวไปตาม ๆ กัน ใจความว่า..

“ท่านนี้จะบ้าเสียแล้วกระมังนี่ พอตามองเห็นค้อนเห็นไม้ที่ใครโยนมาแต่ทิศใดแดนใดก็คอยแต่จะโดดกัดร่ำไปเหมือนสุนัขบ้า ไม่มองดูใจที่กำลังจะบ้าอยู่ขณะนี้บ้างเลย ผมว่าท่านจะบ้าแล้วนะ ถ้ายังขืนปล่อยให้น้ำลายไหลออกแบบไม่มีสติดังที่เป็นอยู่ขณะนี้”

..ว่าเท่านั้นก็หันกลับและเดินเข้าที่พักไม่พูดอะไรต่อไปอีก..

มองดูพระองค์นั้นหน้าตาพิกลอย่างพูดไม่ออก ตอนมาถึงที่พักแล้ว ขณะฉันก็เห็นเธอฉันนิดเดียว พอเห็นอาการอย่างนั้น ต่างองค์ก็ต่างนิ่งเฉย ทำเหมือนไม่รู้และไม่เกี่ยวข้องกับเธอ เกรงว่าจะอาย เวลาอื่นก็ทำเหมือนไม่มีอะไร ต่างองค์ต่างอยู่และบำเพ็ญภาวนาไปตามที่เคยปฏิบัติมา

พอตกกลางคืนเงียบ ๆ ได้ยินเสียงร้องโวยวายขึ้นแบบคนไม่มีสติ พูดไม่ได้ศัพท์ได้แสง พอทราบเหตุต่างองค์ต่างก็รีบไปดูที่เสียงปรากฏขึ้น ก็ได้เห็นพระองค์นั้นนอนร่ายมนต์บ่นเพ้อทิ้งเนื้อทิ้งตัวอยู่บริเวณที่พักนั้นแบบคนไม่มีสติเอาเลย แต่พอจับใจความได้เป็นบางตอนว่า..

“เสียใจที่ได้ล่วงเกินท่านอาจารย์โดยไม่รู้กาลเทศะ”

ใครก็ตกตะลึงพรึงเพริดไปตาม ๆ กัน และต้องรีบไปตามชาวบ้านมาช่วยพยาบาลรักษา คือหายาแก้ลมเป็นต้น มาให้เธอฉัน คนนั้นบีบคนนี้นวดตามบริเวณร่างกายอยู่พักหนึ่ง จากนั้นก็สงบและนอนหลับได้จนสว่าง

พอวันรุ่งขึ้นก็มีคนมารับเธอไปหาหมอฉีดหยูกยาให้เธอ อาการก็พอลดลงบ้าง แต่ยังมีการกำเริบเป็นคราว ๆ พอค่อยยังชั่วบ้างก็ส่งเธอกลับบ้าน หลังจากนั้นก็ไม่ทราบว่าโรคหายหรือเป็นตายอย่างไร ผู้เขียนก็ทราบจากพระที่อยู่ด้วยกันกับเธอในเวลานั้นเล่าให้ฟัง

ทั้งนี้พูดเรื่องโดนดุ ถ้าโดนพอเบาะ ๆ ก็พอให้ผู้ถูกดุได้สติและระวังตัวต่อไป ถ้าหาเรื่องให้ถูกโดนดุอย่างหนักและผู้ถูกดุ ไม่มีสติปัญญาพอจะถือเอาประโยชน์ได้ มักมีทางเสียได้ดังที่ปรากฏมา

..ฉะนั้น ผู้อยู่กับท่านจึงอยู่ด้วยความระวังสำรวมอย่างยิ่ง จะตีสนิทคุ้นเคยในฐานะว่าเคยอยู่กับท่านมานานย่อมไม่ได้ เพราะนิสัยท่านเป็นนิสัยที่ไม่คุ้นกับใครเอาง่าย ๆ แต่ไหนแต่ไรมา ผู้อยู่กับท่านจึงนอนใจไม่ได้ แม้ระวังตัวอยู่เหมือนแม่เนื้อระวังนายพรานก็ยังถูกโดนยิงจนได้..

เท่าที่ทราบจากครูอาจารย์ที่เคยอยู่กับท่านมาก่อนว่า ถ้ามีเฉพาะท่านที่มีภูมิจิตใจสูงอยู่กับท่าน การวางตัวท่านก็ปล่อยตามนิสัยที่รู้จักท่านดีแล้ว คือแสดงกิริยามรรยาทธรรมดาสบาย ๆ เหมือนผู้ใหญ่อยู่ด้วยกัน ไม่ค่อยเข้มงวดกวดขันนัก แต่การเปลี่ยนแปลงมรรยาท ท่านรู้สึกเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วจนตามแทบไม่ทัน อยู่สถานที่แห่งหนึ่งเป็นอย่างหนึ่ง สถานที่แห่งหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่ง ตามแต่เหตุการณ์ที่ควรเปลี่ยนแปลงไปตามสถานที่บุคคลนั้น และเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วทั้งไม่ซ้ำรอยกันเลย

..นับว่าเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดสำหรับผู้ไม่สามารถทำอย่างท่านได้..

หนังสือประวัติ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
โดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #51 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2015, 11:21:43 PM »

หลวงปู่มั่นท่านฟังเทศน์อยู่ตลอดเวลา
ครูบาอาจารย์ชั้นปรมาจารย์อย่างท่านหลวงปูใหญ่ปู่มั่น ท่านว่า
“ฟังเทศน์อยู่ตลอดเวลา เพราะว่าอายตนะทั้ง ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันรับอยู่ตลอดเวลา มีแต่เขามาแสดงธรรมให้ฟัง
นี่ไม่จำเป็นจะต้องฟังอะไรมากมายก่ายกอง ฟังแล้วก็น้อมเข้าไปสอนจิตใจตัวเอง สอนเจ้าของเองนั่นหละ
ทั้งๆ ที่ไม่รู้จักตัวมัน เรื่องของจิต เป็นการกระตุ้นเตือนจิตใจตนเองอยูตลอดเวลา มันก็ได้ประโยชน์
เราอย่าส่งไปตามอารมณ์ภายนอก ดึงมันเข้ามาหาตัวเจ้าของเอง เพราะว่าต้นเหง้าเค้ามูลมันอยู่กับตัวของเรา”
อันนี้ก็เรียกว่าวิธีฟังเทศน์ทั่วๆ ไป เพราะว่าเครื่องรับของเรามีอยู่ทุกๆ คน อายตนะภายในมี
ภายนอกก็ต้องมีเท่าๆ กัน มีดีกับชั่ว ๒ อัน เรื่องของความไม่ดีเราก็พยายามลดละ
เรื่องของความดีก็พยายามบำเพ็ญ ให้เกิดให้มีขึ้น มันก็หมดเท่านั้น
ฟังอยู่ตลอดเวลา ได้ยินอยู่ตลอดเวลา เห็นอยู่ตลอดเวลา รู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา ก็ล้วนแต่เป็นธรรมะ
เวลาเรานั่งสมาธิ สังเกตดูในร่างกาย จิตใจของเรา ก็เรียกว่า “ดูธรรม”
มันจะมีปฏิกิริยาแบบไหน แสดงขึ้นมาในร่างกาย เราก็รู้อยู่ทุกระยะ ถ้าหากมีสติกำหนดจดจ่อ
ดูอยู่ในเรื่องของตัวเอง มันไม่ส่งไปทางอื่น เรื่องอารมณ์ทางนอกพักไปเสียก่อน ไม่ต้องเกี่ยว
มารู้อยู่ในตัวของเราเอง เพื่อรวบรวมพลังของใจให้มันเป็นก้อนใหญ่สักหน่อยจนกว่ามันจะมีความสงบ
คำว่าสงบในที่นี้ สงบจากอารมณ์ภายนอก มาสังเกตดูอยู่ในปฏิกิริยาซึ่งแสดงออกทางกาย
วาจา และจิตใจของเรา มารู้อยู่ในส่วนภายในอันนี้ ก็เรียกว่า “เป็นผู้ตั้งสติไว้”
สติคือความระลึกรู้ เป็นธรรมะชนิดหนึ่ง เป็นคู่ของใจ ประเภทรู้เหมือนกัน แต่ใจมันรู้ไปข้างหน้า
มันไม่รู้ถอยหลัง ถ้าไม่มีกำหนดจดจ่อไว้ อุปมาเหมือนกับเรือ เรือไม่มีคนพายก็ไปตามเรื่องของมัน
 แต่ก็ไปได้เหมือนกัน ขวางลำไปตามเรื่อง เรือใหญ่ก็มีหางเสือ ถ้าหางเสือไม่ทำงาน มันก็ไปตามเรื่อง
ขวางหน้าขวางหลังไปหละ ลักษณะมีสติคือ หางเสือทำงาน ไม้พายก็ทำงานตามหน้าที่
ทำให้เรือไปตามเป้าหมายที่เราต้องการ นี่ฉันใด การตั้งสติ กำหนดกับจิต ก็คล้ายๆ ทำนองเดียวกันฉันนั้น

จากหนังสือพระศรี มหาวีโร
พระผู้มากล้นตัวด้วยบุญบารมี
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #52 เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2015, 07:39:16 PM »

หลวงปู่มั่นนิพพานต่างคนก็ต่างไป

เมื่อถวายเพลิงศพท่านผ่านไปแล้ว พระกรรมฐานที่มีหลักใจมั่นคง ก็ปลงอนิจจังตามหลักสามัญญตา ส่วนพระกรรมฐานที่ขาดหลักใจ เป็นเรื่องยากที่จะปลงใจเช่นนั้นได้ จึงอยู่ในภาวะระส่ำระสายกระวนกระวายอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ต่างก็ซมซานตะเกียกตะกาย ระหกระเหินระเหเร่ร่อน ไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นและจบลงในทิศทางใด

...เหมือนปุยนุ่นอยู่บนอากาศ ไม่ทราบจะปลิวว่อนไปตามแรงลมในทิศทางใด

...เหมือนเด็กน้อยไร้ญาติที่พ่อแม่เพิ่งตายจากไปได้ไม่นาน จะเอาความรู้ความสามารถ ที่ไหนมาปกครองตนเองได้

...เหมือนฟ้าดินถล่มต่อหน้าต่อตา จะรักษาชีวิตจิตใจไว้ได้อย่างไร

...เหมือนดั่งว่าใจจะละลาย จะประสานอย่างไรให้กลับมาเป็นดั่งเดิม

การนิพพานของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ในคราวนั้น เป็นมหาวิปโยคสำหรับศิษยานุศิษย์ของท่านอย่างแท้จริง

สรุปความว่า พระเณรต่างองค์ก็ต่างไปตามครูบาอาจารย์ที่ตนศรัทธา โดยส่วนมากรายนั้น ก็ยังไม่ไปไกลจากเขตจังหวัดสกลนครและจังหวัดใกล้เคียง ส่วนเราเดินธุดงค์รอนแรมอยู่ตามเทือกเขาภูพาน หาที่สงบสงัดรักษาโรคใจอยู่เพียงลำพัง เทือกเขาภูพานนี้เป็นที่น่ารื่นรมย์สำหรับพระป่ากรรมฐาน เป็นดินแดนสร้างตำนานพระอริยเจ้าอย่างแท้จริง สำหรับเราแล้วเหมาะสำหรับใจที่กำลังว้าเหว่ เลื่อนลอย ซบเซาเหงาหงอย เมื่อคิดถึงหลวงปู่ใหญ่ปู่มั่นทีไร ก็ได้แต่รำพึงรำพันบ่นเพ้อภายในใจว่า

“ท่านหลวงปู่ใหญ่หลวงปู่มั่นนิพพานแล้ว กิเลสก็ยังมีอยู่ภายในจิตใจ ปัญหาธรรมที่มี ใครหนอจะช่วยแก้ไข ใครหนอจะช่วยตอบช่วยสอน ใครหนอจะช่วยดุช่วยด่าว่ากล่าวตักเตือน ช่วยปราบช่วยปราม บุคคลที่น่าเกรงขามและทรงคุณธรรมอย่างท่าน ที่ปราบปรามใจดวงคึกคะนองของเราให้หายพยศลดลง ก็คงหาได้ยากยิ่งนัก”

แต่สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นคำสอนสั่งก่อนท่านนิพพานนั้นก็คือ “ให้รักษาเอาแต่ใจ อย่าหนีจากรากฐาน คือผู้รู้ภายในจิตใจ ทำใจตนให้พ้นจากความวุ่นวาย ปิดตา ปิดหู ไม่ใส่ใจใคร ไม่ฟังใคร ใครจะว่าอะไรก็ว่าไป ปล่อยวางจากเรื่องนอกทั้งหมด” เราก็จับเอาแต่หลักอันนี้มาประพฤติปฏิบัติเสมอมา

จากหนังสือพระศรี มหาวีโร
พระผู้มากล้นตัวด้วยบุญบารมี
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #53 เมื่อ: ตุลาคม 15, 2015, 09:00:06 AM »



“อัจฉริยลักษณะและอดีตชาติของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต”

ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านเป็นผู้มีอัจฉริยลักษณะและอัจฉริยนิสัยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์
มีปฏิปทามักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลีระคนด้วยหมู่ แสวงหาวิเวก ปรารภความเพียร ตั้งแต่วันอุปสมบทมา
จนกระทั่งวาระสุดท้าย ธุดงควัตร ที่ท่านปฏิบัติเป็นประจำตลอดชีวิต คือ บิณฑบาตเป็นวัตร ...
ฉันในบาตรเป็นวัตร ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร อยู่ในป่าเป็นวัตร ถือนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร

ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านเป็นผู้ที่มีลักษณะสมบูรณ์แบบทั้งภายนอกและภายใน ท่านเกิดมาเพื่อเป็นปรมาจารย์
แม้รูปกายและกิริยาของท่านก็เป็นลักษณะของท่านผู้มีบุญใหญ่ คือ “คิ้ว” ของท่านมีไฝตรงกลางระหว่างคิ้ว
ลักษณะคล้ายกับอุณาโลมของพระพุทธเจ้า ไฝนี้เป็นจุดดำเล็ก ๆไม่ได้นูนขึ้นมา มีขนอ่อน ๓ เส้น ไม่ยาวมาก
เป็นเส้นละเอียดอ่อนมาก ถ้าไม่สังเกตให้ดีจะไม่เห็น “หู” ของท่านมีลักษณะหูยาน เป็นหูของนักปราชญ์ “จมูก” โด่งรับกับใบหน้า
เข้ารูปลักษณะชายชาติอาชาไนย “ตา” ของท่านแหลมคมเหมือนตาไก่ป่า คือ ตาดี รวดเร็ว คือ มีแววตาเป็นวงแหวนในตาดำ
เป็นตาของจอมปราชญ์ “นิ้วมือ” ของท่านนิ้วชี้จะยาวกว่า แล้วไล่ลงมาถึงนิ้วก้อย “นิ้วเท้า” ก็เหมือนกัน นิ้วชี้จะยาวกว่า
แล้วไล่ลงมาถึงนิ้วก้อย “ฝ่าเท้า” ของท่านจะเป็นลายก้นหอยสองอัน และมีรอยอยู่กลางฝ่าเท้าเหมือนกากบาท
เวลาท่านเดินไปไหน ท่านเดินก่อน สานุศิษย์ไม่เหยียบรอยท่าน พอท่านเดินผ่านไปแล้ว
ชาวบ้านจะไปยืนมุงมองดูจะเห็นเป็นลายตารางปรากฏอยู่ทั้งสองฝ่าเท้า “รอยนิ้วเท้า” ก็เป็นก้นหอยเหมือนกัน
จะเรียกก้นหอยหรือวงจักรก็ได้ มีอันใหญ่กับอันเล็ก ๒ อัน เป็นลักษณะพิเศษของท่าน “ฝ่ามือ” ของท่านเวลาสานุศิษย์นวดเส้นถวาย
ได้พลิกฝ่ามือของท่านดูปรากฏว่า มีเส้นกากบาทเต็มฝ่ามือทั้งสองข้าง “เสียง” ของท่านเสียงกังวาน ไพเราะ ฟังเพลิน
ฟังเหมือนเสียงฟ้าดินถล่ม ผู้ฟังไม่อิ่มไม่เบื่อ แรงแต่ไม่เป็นอันตราย “คำพูด” ของท่านเหมือนถอดจากหัวใจดวงหนึ่งไปสู่หัวใจอีกดวงหนึ่ง
แม้ท่านเทศน์จบแล้วผู้ฟังก็ยังอยากฟังต่อไปอีก แม้คนละเชื้อชาติภาษาท่านก็สามารถสอนให้เข้าใจได้ “วาจา”
ของท่านเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีลาภ ยศ อามิสเจือวาจาของท่าน เทศน์จึงขลังดี พูดถูกธรรม
ตรงไป ตรงมา ไม่เห็นแก่หน้าบุคคลและอามิส “ฤทธิ์” ท่านไม่ชอบแสดงฤทธิ์
ท่านชอบภาวนาให้สิ้นกิเลส ฤทธิ์ทั้งหลายเกิดด้วยกำลังสมถะ ฌานสมาบัติทั้งนั้น ใช้วิปัสสนาอย่างเดียวไม่มีฤทธิ์สำเร็จอรหันต์

ท่านพระอาจารย์มั่นท่านเล่าเรื่อง ในอดีตชาติท่านได้พิจารณาร่างกระดูกมาถึง ๕๐๐ ชาติ ได้พิจารณาวัฏฏะอีกถึง ๕๐๐ ชาติ
เริ่มตั้งแต่เกิดเป็นเสนาบดีเมืองกุรุรัฐ ชมพูทวีป ประเทศอินเดีย ผู้เกี่ยวข้องในครั้งนั้น คือ ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)
คือ พระปทุมราชา ผู้ครองแคว้นกุรุ เป็นพี่ชาย ในชาตินั้นท่านได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเฉพาะพระพักตร์ ปฏิญาณตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัย
ตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าต่อหน้าพระพักตร์ แต่ยังไม่ได้รับพุทธทำนาย ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า
พระพุทธองค์ตรัสธรรมแก่ท่านซึ่งเป็นอุบาสกในครั้งนั้นว่า....
อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง น่าเกลียด คือ
อุบาสกเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑
เป็นผู้ทุศีล ๑
เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม ๑
แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนา ๑
ทำการสนับสนุนในที่นอกศาสนานั้น ๑
ส่วนอุบาสกแก้วก็มีนัยตรงกันข้ามกับอุบาสกเลวนี้

ท่านบอกว่าจิตท่านมั่นคงในพระรัตนตรัย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา อีกชาติหนึ่งท่านเกิดที่ลังกาทวีป ประเทศศรีลังกา
ได้บวชเป็นพระ ได้เข้าร่วมสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๔ ปรารภให้พระศาสนาประดิษฐานมั่นคงในลังกาทวีป พระสงฆ์ ๖๘,๐๐๐ รูป
มีพระมหินทเถระเป็นประธานและเป็นผู้ถาม พระอริฏฐะเป็นผู้วิสัชนา ประชุมที่ถูปาราม เมืองอนุราชบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖
โดยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะเป็นศาสนูปถัมภ์ สิ้นเวลา ๑๐ เดือนจึงเสร็จ จากนั้นท่านได้มาเกิดที่มณฑลยูนานประเทศจีน
ในตระกูลขายผ้าขาว มีน้องสาวคนหนึ่งเคยช่วยเหลือกัน มาชาตินี้ คือ นางนุ่ม ชุวานนท์ คหปตานีชาวสกลนคร
ผู้สร้างวัดป่าสุทธาวาสถวายและท่านก็ได้สงเคราะห์ด้วยธรรมแก่เธอมาโดยตลอด ชาติหนึ่งท่านไปเกิดที่โยนกประเทศ
ปัจจุบันคือเมืองเชียงตุง ประเทศพม่า ในตระกูลช่างทำเสื่อลำแพน ท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นนายช่างใหญ่
ท่านพระอาจารย์มั่นเป็นผู้จัดการ ส่วนพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธฺโล) เป็นคนเดินตลาด

ท่านพระอาจารย์มั่นสอนท่านพ่อลีต่อไปอีกว่า ผู้ปฏิบัติต้องรู้ที่จะแก้จิตของตน ให้รู้จักภพของตนที่จะไปเกิด
ต้องผ่านความผิดมาเสียก่อน จึงปฏิบัติถูก ความผิดเป็นเหตุ ความถูกเป็นผลของความดีทั้งหลาย
ต้องเดินมรรค ๘ ให้ถูกจึงจะแก้ได้ เดินตามสายหนทางของพระอริยเจ้า ใช้ตบะอย่างยิ่งคือความเพียร จึงจะสอนตนได้
โลกีย์ โลกุตระ ๒ อย่าง ประจำอยู่ในโลก ๓ ภพ
และท่านพระอาจารย์มั่นได้แสดงธรรมโดยยกธรรมชาติมาเปรียบเทียบให้ฟังในหลายคราว มีใจความย่อดังนี้ว่า
“....ธรรมะ หรือ ธัมโม ต้องเรียนเอามาจากธรรมชาติ เห็นความเกิด ความแปรปรวน ของสังขารประกอบด้วยไตรลักษณ์
เป็นนักปฏิบัติกรรมฐานอย่าเชื่อหมอมากนัก ให้เชื่อธรรม เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม จึงจะดี ธรรมะทั้งหมดชี้เข้าที่กายกับจิต
เพราะกายและจิตนั่นแหละ เป็นคัมภีร์เดิม เป็นคัมภีร์ธรรมะที่แท้จริง ภูเขา ทะเล สายน้ำ แผ่นดิน แผ่นฟ้า
เห็นไปดูไปก็ไม่มีความหมาย ให้เห็นแต่ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ เท่านั้นแล

ทิฐิมานะนั่นแหละ เป็นภูเขาสูงหาที่ประมาณมิได้
โลกสันนิวาส มีความแปรปรวนตั้งเที่ยงอยู่เช่นนั้น แต่จิตของเรารักษาไว้ให้ดี อย่าให้ติด ถ้าไม่ติดก็ได้ชื่อว่าเป็นสุข
พิจารณาค้นกาย ตรวจกายถูกดีแล้ว ค้นดูกายถึงหลัก แลเห็นอริยสัจของจริงแล้ว เดินตามมรรคเห็นตัวสมุทัย เห็นทุกขสัจ
ต้องทำจิตให้เป็นเอก ต้องสงเคราะห์ธรรมให้เป็นเอกเสมอ
พระอรหันต์มีคุณอนันต์นับหาประมาณมิได้ พระอรหันต์ตรัสรู้ในตัวเห็นในตัว มีญาณแจ่มแจ้งดี ล้วนแต่เล่าเรียนธรรมชาติทั้งนั้น”

คัดลอกจากหนังสือชีวประวัติและปฏิปทา “ท่านพ่อลี ธมฺมธโร พระอริยเจ้าผู้มีพลังจิตแก่กล้า”
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #54 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2015, 07:09:10 AM »

บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #55 เมื่อ: มกราคม 20, 2016, 09:24:44 AM »

อานิสงค์ของการรักษาศีล ๕ ปฐมบทแห่งธรรมและความดี

การรักษาศีลมีอานิสงส์โดยหลักใหญ่ ๆ ซึ่งปรากฏในคำกล่าวสรุปหลังจากที่พระท่านให้ศีลว่ามี ๓ ประการ คือ
๑.ศีลเป็นเหตุให้ไปสู่สุคติ (สีเลนะ สุคติง ยันติ)
หมายความว่าเมื่อผู้ใดรักษาศีลได้เป็นปรกติ ก็เป็นปัจจัยให้ได้ไปเกิดในที่ๆเป็นสุข อันมีเทวโลกสวรรค์เป็นต้น
หากได้เกิดเป็นมนุษย์อีกก็จะเกิดในที่ๆดีมีความสุข
๒.ศีลเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ (สีเลนะ โภคะสัมปะทา)
หมายความว่าศีลเป็นปัจจัยให้มีทรัพย์สมบัติเงินทอง ผู้ที่รักษาศีลให้มีความเป็นปรกติจะมีทรัพย์สินเงินทอง
แม้ไม่รวยก็จะไม่ยากจนข้นแค้นมีความเป็นอยู่สบายเป็นปรกติสุข ในข้อนี้ผู้รักษาศีลจะมีการให้ทานด้วยเป็นปรกติ
 เพราะตัวทานเป็นปัจจัยสำคัญให้มีทรัพย์สินเงินทองมาก
๓.ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน (สีเลนะ นิพพุติง ยันติ)
หมายความว่าศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ศีลจะเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพานได้อย่างไรก็ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อศีลบริสุทธิ์จิตใจก็สะอาด ไปเจริญสมาธิจิตก็ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วไปเจริญวิปัสสนา ก็เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริงตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา สามารถถ่ายถอนกิเลสได้ตามลำดับ และในที่สุดก็จะเข้าสู่พระนิพพานอันเป็นบรมสุขเที่ยงแท้ได้แน่นอน

ศีล ๕ (ข้อปฎิบัติของผู้ที่เป็นฆราวาส) มีดังต่อไปนี้

ข้อที่ 1. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
งดเว้นทางการฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต เบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบ คนและสัตว์ทั้งหลาย
ข้อที่ 2.อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
งดเว้นการลักทรัพย์ การเอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตัวเองโดยมิชอบ การแสวงหาทรัพย์ในทางที่มิชอบ
ข้อที่ 3.กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม การผิดผัวผิดเมีย แย่งชิงคนรักของคนอื่น
ข้อที่ 4.มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
งดเว้นทางการพูดปด มดเท็จ พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ ด่าทอผู้อื่นด้วยคำหยาบคายให้ได้เคืองใจ
ข้อที่ 5 .สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
งดเว้นทางการดื่มน้ำเมา ของมึนเมา หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นการทำลายสติสัมปชัญญะ

การรักษาศีลมีหลายระดับ
-การรักษาศีล 5 ของผู้ที่เริ่มต้นในชั้นนี้จิตใจของผู้นั้นจะยังมีความคุ้นเคยกับบาปอยู่มาก
ยังมีอารมย์ละเมิดศีลอยู่เป็นปรกติ จิตใจยังหยาบอยู่มากยังมีความชั่วเป็นตัวบงการคือยังคิดว่าการละเมิดศีลเป็นเรื่องปกติทำได้ไม่เป็นไร
แต่เมื่อจะทำผิดศีลก็จะมีความเกรงกลัวผลของบาปที่เกิดขึ้นก็จักหักห้ามใจไว้ หรือหากพลั้งเพลอทำผิดไปก็จะรู้สึกสำนึกและ
เกรงกลังผลของบาปกรรม แบบนี้คือศีลของผู้ที่เริ่มต้นการรักษาศีลในระดับเริ่มต้น

ส่วนผู้ที่รักษาศีลแต่เฉพาะตอนที่ไปวัด เมื่อพระท่านให้อาราธนารับศีลพอออกจากวัดแล้วก็กลับมาทำผิดทำบาปเหมือนเดิมอันนี้ไม่มีผล
ถือเป็นสีลัพพตปรามาส เป็นการปรามาสศีลเป็นบาปติดตัว มีบาปซ้อนเข้ามาอีกตัวหนึ่งคือบาปที่ไม่เคารพศีล
-การรักษาศีลในระดับกลาง ในชั้นนี้ผู้รักษาศีลจะมีความรู้สึกว่าศีลกับตัวเราเป็นสิ่งคู่กัน ตัวเรานี้จะขาดศีลไปไม่ได้
 มีความพอใจในการรักษาศีลให้บริสุทธิ์เป็นปรกติ หากมีเหตุให้ผิดศีลก็จะรู้สึกว่าขัดแย้งมาก รู้สึกว่าเรายอมตายดีกว่าให้ศีลขาด
-การรักษาศีลในระดับสูง ในชั้นนี้เป็นศีลของผู้ที่ปฎิบัติธรรมได้ในขั้นสูง หรือศีลที่เป็นของพระอริยเจ้า ในชั้นนี้จิตใจของผู้ปฎิบัติจะเป็นศีลเองโดยอัตโนมัติหรือที่เรียกว่าศีลใจ ความละเมิดนั้นไม่มี เจตตาที่จะละเมิดก็ไม่มี เพราะตัวจิตได้ถึงความบริสุทธิ์ในระดับที่เพียงพอแล้ว
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #56 เมื่อ: มีนาคม 19, 2016, 08:29:41 AM »



ภาพนี้เป็นภาพเหตุการณ์ที่ ลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น พาองค์หลวงปู่ออกจากวัดป่าบ้านหนองผือ
ไปพักอาพาธที่วัดป่ากลางโนนภู่ และไปมรณภาพที่วัดป่าสุทธาวาส
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #57 เมื่อ: มีนาคม 19, 2016, 08:30:28 AM »



ดูรูปเกี่ยวกับหลวงปู่มั่น ได้เพิ่มเติมที่ => http://kammatan.com/gallary/index.php?x=browse&category=98
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 19, 2016, 08:32:16 AM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #58 เมื่อ: เมษายน 06, 2016, 03:24:29 PM »

"...หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านมักจะพูดเสมอเรื่องค่าของศูนย์ ท่านเปรียบถึงพระนิพพาน นิพฺพานํ ปรมํ สุญญํ พระนิพพานเป็นสูญอย่างยิ่ง
"ศูนย์ทำไมจึงมีอยู่ ทองคำ(หมายถึงหลวงปู่ทองคำ จารุวัณโณ พระอุปัฏฐากสมัยอยู่วัดบ้านนามน และวัดบ้านหนองผือ) ลองเขียนดูซิ"
๑-๒-๓-๔-๕-๖-๗-๘-๙-๐ ธรรมดาเลขนั้นมีอยู่เก้าตัวใช่ไหม ที่มันนับได้ บวกลบคูณหารกันได้ ส่วนเลขศูนย์มันอ่านได้ มันมีอยู่แต่ไม่มีค่า
ฉะนั้นเอาไปบวกลบคูณหารกับเลข ๑ ถึง ๙ ก็ไม่ทำให้เลขจำนวนนั้นมีค่าสูงขึ้น แต่ศูนย์ก็ยังมีอยู่ เมื่อนำไปต่อกับเลขอื่น
เช่น ๑ ก็จะกลายเป็น ๑๐ แต่ศูนย์อยู่ตามลำพังก็จะไม่มีค่า
เปรียบเหมือน ฐิติภูตัง คือ จิตดวงเดิมที่มีอยู่เป็นอยู่ แต่ถูกห่อหุ้มด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เมื่อชำระด้วย ศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว
เป็น ฐิติญาณัง จิตคือผู้รู้ว่าสูญจากอาสวะ และรู้ว่าสูญจากอาสวะก็เป็นบรมสุข พ้นจากทุกข์ทั้งปวง ดังคำว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง เป็นคู่กันกับ นิพฺพานํ ปรมํ สุญญํ
พระพุทธเจ้ารวมทั้งพระสาวก หลายหมื่นหลายแสนองค์ เข้าสู่พระนิพพาน เพราะพระนิพพานไม่มีที่เต็ม ว่างอยู่ตลอด
อย่ากลัวพระนิพพานเต็ม พวกเราจงเร่งไปสู่พระนิพพานเหมือนกับพระพุทธเจ้าเถิด พระนิพพานไม่เต็มหรอก ท่านว่าอย่างนั้น
มีแต่พวกขี้เกียจ กุสิโต หีน วิริโย
ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย ไม่มีที่สิ้นสุด แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตกคาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้แขวนคำนำต่องแต่ง แก้บ่พ้นคาก้นย่างยาย
คาย่างยายเวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภาพทั้งสามเป็นเฮือนเจ้าอยู่ ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตายไม่มีที่สิ้นสุด
เหมือนกับศัพท์บาลีที่ว่า สงฺสาเร อนมตฺตคฺเค ในสงสารมีเบื้องต้นและที่สุด อันใครๆ ก็ตามไปรู้ไม่ได้แล้ว
นอกจากพระสัพพัญญูเจ้าเท่านั้นจะรู้ได้ เพราะอาศัยอะไร เพราะอาศัยอวิชชาตัวนี้แหละหุ้มห่อ จึงไม่รู้..."

โอวาทธรรมคำสอนของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บันทึกธรรมโดย หลวงปู่ทองคำ จารุวัณโณ
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3604


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #59 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2016, 11:13:59 AM »

"เรื่องศพที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พาปฏิบัติ"

ครั้งหนึ่ง มีเหตุเด็กผู้ชายป่วยไข้ตายลง ชื่อเด็กชาย นงค์ นามสกุล จันทะวงษา อายุประมาณ ๖ ขวบ เป็นไข้ตายอยู่ที่กระท่อมเถียงนา เพราะเป็นหน้ากำลังดำนากัน ตามปกติพ่อแม่ในชนบทบ้านนอกทางภาคอีสานสมัยนั้น เมื่อถึงหน้าฤดูทำนาก็ต้องหอบลูกจูงหลานไปนาด้วย แม้ลูกหลานจะป่วยไข้ แต่พอเอาไปได้ก็ต้องเอาไป เพื่อจะได้เยียวยารักษากันไป พร้อมกับทำนาไปด้วยเพื่อจะเร่งงานนาให้เสร็จทันกับฤดูกาล แต่วันนั้นบังเอิญเด็กมีไข้ขึ้นสูง เยียวยาไม่ทัน ในที่สุดก็ตาย ทำให้พ่อแม่พี่น้องมีความเศร้าโศกเสียใจมาก

เมื่อตายแล้วพ่อแม่ญาติพี่น้องต้องการจะให้นำศพเด็กเข้าไปทำบุญที่บ้าน แต่มาขัดข้องเรื่องของความคิดเห็นตามประเพณีโบราณว่า คนที่ตายในทุ่งในป่าห้ามไม่ให้เอาผ่านเข้าบ้าน โบราณท่านถือ และอีกอย่าง คนตายโหงหรือตายอย่างกะทันหัน เช่น ตายจากอุบัติเหตุ ผูกคอตาย ฆ่ากันตาย ยิงกันตาย เหล่านี้เป็นต้น โบราณท่านห้าม ไม่ให้หามผ่านเข้าบ้าน และห้ามเผา ให้ฝังครบสามปีแล้วจึงขุดเอากระดูกขึ้นมาเผาได้ เลยทำให้ชาวบ้านหนองผือสมัยนั้นถกเถียงกันไปถกเถียงกันมา ในที่สุดญาติโยมจึงนำปัญหานี้ไปปรึกษาสอบถามกับท่านพระอาจารย์มั่น

ท่านได้แก้ความสงสัยนี้ให้แก่ญาติโยมบ้านหนองผือ ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่า

“พวกหมูป่า อีเก้งกวาง ที่ยิงตายในกลางป่ายังเอามาเข้าบ้านเรือนได้ นี่มันคนตายแท้ๆ ทำไมจะเอาเข้าบ้านเข้าเรือนไม่ได้”

ดังนั้น ญาติโยมชาวบ้านจึงนิ่งเงียบไป ทำให้หูตาสว่างขึ้นมา สุดท้ายก็นำเอาศพเด็กชายคนนำเข้าไปทำบุญที่บ้าน และเผาเหมือนกันกับศพของคนตายตามปกติธรรมดาทุกอย่าง ภายหลังต่อมาชาวบ้านหนองผือจึงไม่ค่อยถือในเรื่องนี้เป็นสำคัญ คนตายทุกประเภทจึงทำเหมือนกันหมด

สมัยที่ท่านพระอาจารย์มั่นพำนักอยู่สำนักวัดป่าบ้านหนองผือช่วงระยะ ๕ พรรษานั้น มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น คือมีพระที่จำพรรษาอยู่ด้วยท่านมรณภาพลง ๒ รูป คือ พระอาจารย์สอ กับ พระอาจารย์เนียม แต่มรณภาพลงคนละเดือน โดยเฉพาะพระอาจารย์เนียมมรณภาพเมื่อตอนเช้าด้วยอาการสงบ ท่านพระอาจารย์มั่นก็ทราบเรื่องทุกอย่าง พอตอนเช้า ท่านพระอาจารย์มั่นก็พาพระเณรไปบิณฑบาตภายในหมู่บ้านตามปกติ ในขณะที่ท่านกำลังบิณฑบาตอยู่นั้น ท่านพูดขึ้นเป็นสำเนียงอีสานว่า

“ท่านเนียมฮู้แล้วน้อ พ่อออกแม่ออก ท่านเนียมฮู้แล้วน้อ”

ท่านพูดอย่างนั้นไปเรื่อย ๆ กับกลุ่มญาติโยมที่รอใส่บาตรทุกกลุ่ม จนสุดสายบิณฑบาต คำพูดของท่านนั้นหมายความว่า พระอาจารย์เนียมอยู่กับที่แล้ว ไม่กระดุกกระดิกแล้ว หรือตายแล้ว ซึ่งญาติโยมตอนนั้นบางคนก็เข้าใจ บางคนก็ไม่เข้าใจความหมาย ภายหลังจึงเข้าใจชัดว่าพระอาจารย์เนียมมรณภาพแล้วเมื่อเช้านี้

เมื่อญาติโยมทั้งหลายได้ทราบอย่างนั้นแล้วจึงบอกต่อ ๆ กันไป แล้วพากันเตรียมตัวไปที่วัดในเช้าวันนั้น

สำหรับท่านพระอาจารย์มั่นพร้อมทั้งพระเณรบิณฑบาตเสร็จแล้วกลับถึงวัด ล้างเท้าขึ้นบนศาลาหอฉัน วางบาตรบนเชิงบาตร ลดผ้าห่ม คลี่ผ้าสังฆาฏิที่ซ้อนออก ห่มเฉพาะจีวรเฉวียงบ่าเรียบร้อยแล้วพับเก็บผ้าสังฆาฏิ จึงเข้าประจำที่ฉัน เตรียมจัดแจกอาหารลงบาตร เพราะมีโยมตามส่งอาหารที่วัดด้วย เสร็จแล้วอนุโมทนายถาสัพพีตามปกติ จึงพร้อมกันลงมือฉัน

ฝ่ายพวกชาวบ้านญาติโยมภายในหมู่บ้านที่จะมาวัดในเช้าวันนั้น ก็กำลังบอกกล่าวป่าวร้องให้ผู้คนประชาชนไปที่วัด เพื่อจะได้จัดเตรียมเอาเครื่องใช้ไม้สอยและอุปกรณ์จำเป็นในการที่จะทำงานฌาปนกิจศพตามประเพณี ทั้งคนเฒ่าคนแก่ หนุ่ม ๆ แข็งแรงก็ให้ไปด้วย ผู้มีมีดพร้า ขวานจอบ เสียม ก็ให้เอาไปด้วยเช่นกัน เพื่อจะได้ไปปราบพื้นที่ที่จะทำเป็นที่เผาศพชั่วคราว สำหรับพวกที่มีพร้ามีขวานให้ไปตัดไม้ที่มีขนาดให้หน่อย ยาวประมาณ ๒ วากว่า ๆ มาทำเป็นไม้ข่มเหง (ไม้ข่มเหง สำหรับพาดข้างหีบศพบนเชิงตะกอนเพื่อกันไม่ให้ศพตกจากเชิงตะกอนว่าไม้ข่มเหง) หรือไม้ข่มหีบศพที่อยู่บนกองฟอนไม่ให้ตกลงมาจากกองฟอนขณะไฟกำลังลุกไหม้อยู่

ส่วนคนเฒ่าคนแก่รู้หลักในการที่จะทำเกี่ยวกับศพ ก็เตรียมฝ้ายพื้นบ้านพร้อมด้ายสายสิญจน์เพื่อนำไปมัดตราสัง ภูไท (ชื่อชนกลุ่มหนึ่งของจังหวัดสกลนครที่อพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง มีนิสัยรักสงบ อยู่กันเป็นกลุ่มตามเชิงเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์ ผิวขาวเหลือง มีภาษาพูดเฉพาะ เข่น ชาวบ้านหนองผือ เป็นต้น) เรียกว่า มัดสามย่าน (คือห่อศพด้วยเสื่อแล้วมัดเป็นสามเปลาะ โดยมัดตรงคอ ตรงกลางและตรงข้อเท้า) นอกจากนั้นก็มีธูปเทียน ดอกไม้ กะบองขี้ไต้ น้ำมันก๊าด พร้อมทั้งหม้อดินสำหรับใส่กระดูกหลังจากเผาเสร็จ เป็นต้น

ส่วนท่านพระอาจารย์มั่นนั้น เมื่อฉันจังหันเสร็จและทำสรีรกิจส่วนตัวเรียบร้อยแล้ว ได้ลุกจากอาสนะที่นั่ง เดินลงจากศาลาหอฉันไปที่กุฏิศพพระอาจารย์เนียม พระเณรทั้งหลายก็ติดตามท่านไปด้วย ไปถึงท่านก็สั่งการต่างๆ ตามที่ท่านคิดไว้แล้ว คือคล้าย ๆ กับว่าท่านจะเอาศพของพระอาจารย์เนียมเป็นเครื่องสอนคนรุ่นหลัง หรือทอดสะพานให้คนรุ่นหลัง ๆ ทั้งพระเณร พร้อมทั้งญาติโยมชาวบ้านหนองผือเอาเป็นคติตัวอย่าง

ท่านจึงไปยืนทางด้านบนศีรษะของศพแล้วก้มลงใช้มือทั้งสองจับมุมเสื่อทั้งสองข้างของศพ ทำท่าทางจะยกศพขึ้นอย่างขึงขังจริงจัง พระเณรทั้งหลายเห็นกิริยาอาการของท่านอย่างนั้นแล้ว จึงเข้าใจความหมายว่าท่านต้องการจะให้ยกศพหามไปที่กองฟอนเดี๋ยวนั้น โดยไม่ต้องตกแต่งศพหรือทำโลงใส่เลย

ดังนั้น พระเณรทั้งหลายจึงพากันกรูเข้าไปช่วยยกศพนั้นจากมือท่าน หามไปที่กองฟอนซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวัด เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นเห็นว่าพระเณรทั้งหลายเข้าช่วยหามมากแล้ว ท่านจึงปล่อยให้พระจัดการหามกันเอง ท่านเพียงแต่คอยสั่งการตามหลังเท่านั้น แล้วท่านก็เดินตามหลังขบวนหามศพนั้นไป ในตอนนี้พวกญาติโยมชาวบ้านกำลังทยอยเข้ามาที่บริเวณวัด

ขณะที่ท่านพระอาจารย์มั่นกำลังเดินไปอยู่นั้น ได้มีโยมผู้ชายคนหนึ่งเดินถือฝ้ายพื้นบ้านเข้ามาหาท่าน ท่านเห็นจึงหยุดเดินและถามขึ้นว่า

“พ่อออก ฝ้ายนั่นเอามาเฮ็ดอีหยัง..? ” (หมายความว่าโยมจะเอาฝ้ายนั้นมาทำอะไร)

โยมนั้นก็ตอบท่านว่า “เอามามัดสามย่านแหล่วข้าน้อย” (มัดตราสัง)

ท่านพูดขึ้นทันทีว่า “ผูกมัดมันเฮ็ดอีหยัง มันสิดิ้นรนไปไส มันฮู้พอแฮงแล้ว ให้เก็บฝ้ายนั้นไว้ใช้อย่างอื่นสิยังมีประโยชน์กว่าเอามาเผาไฟทิ่มซะซือ”

(หมายความว่า ผูกมัดทำไม ศพมันจะดิ้นไปไหนเพราะตายแล้ว ให้เก็บฝ้ายนั้นไว้ใช้อย่างอื่นยังจะมีประโยชน์กว่าเอามาเผาไฟทิ้งเสียเปล่าๆ)

โยมคนนั้นก็เลยหมดท่า พูดจาอะไรไม่ออก เก็บฝ้ายนั้นแล้วเดินตามหลังท่านพระอาจารย์มั่นเข้าไปยังที่ที่เผาศพพระอาจารย์เนียม

เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นเดินไปถึงที่เผาศพแล้ว มีโยมหนุ่ม ๆ แข็งแรงกำลังแบกหามท่อนไม้ใหญ่พอประมาณ ยาว ๒ วากว่าๆ (ทางนี้เรียกว่าไม้ข่มเหง) มาที่กองฟอน ท่านพระอาจารย์มั่นเหลือบไปเห็นจึงพูดขึ้นทันทีว่า

“แบกมาเฮ็ดหยังไม้นั่น... ? ” (หมายความว่า แบกมาทำไมไม้ท่อนนั้น)

พวกโยมก็ตอบท่านว่า “มาข่มเหงแหล่วข้าน้อย” (หมายความว่า เอาไม้นั้นมาข่มศพบนกองฟอนเพื่อไมให้ศพตกออกจากกองไฟ)

ท่านจึงพูดขึ้นอีกว่า “สิข่มเหงมันเฮ็ดหยังอีก ตายพอแฮงแล้ว ย่านมันดิ้นหนีไปไส” (หมายความว่า จะไปข่มเหงทำไมอีกเพราะตายแล้ว กลัวศพจะดิ้นหนีไปไหน)

พวกโยมได้ฟังเช่นนั้นก็เลยวางท่อนไม้เหล่านั้นทิ้งไว้ที่พุ่มไม้ข้าง ๆ นั้นเอง แล้วมานั่งลงคอยสังเกตการณ์ต่อไป

ก่อนเผานั้น ท่านพระอาจารย์มั่นสั่งให้พลิกศพตะแคงขวา แล้วตรวจตราดูบริขารในศพโดยที่ไม่ได้ตบแต่งศพแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงมีจีวรของศพปกปิดอยู่เท่านั้น แล้วท่านก็เหลือบไปเห็นสายรัดประคดเอวของศพ จึงดึงออกมาโยนไปให้พระที่อยู่ใกล้ ๆ พร้อมกับพูดว่า

“นี่ประคดไหม ใครไม่มีก็เอาไปใช้เสีย”

แล้วท่านก็พาพระเณรสวดมาติกาบังสุกุล จนจบลง แล้วจึงให้ตาปะขาวจุดไฟใส่กระบองแล้วยื่นให้ท่าน เมื่อท่านรับแล้วพิจารณาครู่หนึ่งจึงไปวางไฟลงใต้ฟืนในกองฟอน ไม่นานไฟก็ติดลุกไหม้ขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นเปลวโพลงสูงขึ้น สูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็วในที่สุดไฟเริ่มใหม่ทั้งฟืนทั้งศพ ทำให้ศพที่ถูกไฟไหม้อยู่นั้นมีน้ำมันหยดหยาดย้อยถูกเปลวไฟเป็นประกายวูบวาบพร้อมกับเสียงดังพรึบ ๆ พรั่บ ๆ ไปทั่ว จนที่สุดคงเหลือแต่เถ้าถ่านกับกองกระดูกเท่านั้น เอง

ส่วนท่านพระอาจารย์มั่น เมื่อเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยแล้วจังหันหน้าเดินออกมาข้างนอก ปล่อยให้ญาติโยมดูแลเอง ในขณะที่ท่านกำลังเดินออกมา ท่านเหลือบไปเห็นโยมผู้ชายคนหนึ่งถือหม้อดินใหญ่ขนาดกลางกำลังเดินเข้ามาหาท่าน ท่านจึงถามโยมคนนั้นทันทีว่า

“พ่อออก เอาหม้อนั้นมาเฮ็ดหยัง” (หมายความว่า โยมเอาหม้อดินนั้นมาทำอะไร)

โยมคนนั้นตอบท่านว่า “เอามาใส่กระดูกแหล่วข้าน้อย” (หมายความว่า เอามาใส่กระดูกขอรับ)

ท่านจึงชี้นิ้วลงบนพื้นดินพร้อมกับถามโยมคนนั้นว่า “อันนี้แม่นหยัง” (หมายความว่า อันนี้คืออะไร)

โยมตอบท่านว่า “ดินขอรับ”

ท่านจึงชี้นิ้วไปที่หม้อดินที่โยมถืออยู่พร้อมกับถามอีกว่า “นั่นเด้..เขาเอาอีหยังเฮ็ด” (หมายความว่า นั้นเขาทำด้วยอะไร)

โยมตอบท่านว่า “ดิน ข้าน้อย”

ท่านจึงสรุปลงพร้อมกับชี้นิ้วทำท่าทางให้ดูว่า “นั่นก็ดิน นี่ก็ดิน ขุดลงนี้แล้วจึงกวาด..ลงนี่ มันสิบ่ดีกว่าหรือ” (หมายความว่าหม้อใบนั้นก็ทำด้วยดิน ตรงพื้นนี้ก็ดิน ขุดเป็นหลุมแล้วให้กวาดกระดูกและเถ้าถ่านต่าง ๆ ลงด้วยกันจะไม่ดีกว่าหรือ) ท่านจึงบอกให้โยมนั้นเอาหม้อไปเก็บไว้ใช้ โดยบอกว่า

“ให้เอาหม้อใบนั้นไปใช้ต้มแกงอย่างอื่นยังจะมีประโยชน์กว่าที่จะเอามาใส่กระดูก”

เมื่อโยมได้ฟังเช่นนั้น จึงนำหม้อดินไปเก็บไว้ใช้ประโยชน์อย่างอื่นต่อไป
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ทัวร์พม่า | JR Pass
หน้า: 1 2 3 [4]
พิมพ์
กระโดดไป: