KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับ
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
มีนาคม 29, 2024, 02:18:41 AM

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ความสำคัญของวันออกพรรษา => http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=92.0
8400 กระทู้ ใน 1469 หัวข้อ โดย 1855 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: Moon888
* หน้าแรก | ช่วยเหลือ | ค้นหา | เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก
+  KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับ
|-+  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน
| |-+  นั่งสมาธิ แนว กสิณ10 คืออะไร
| | |-+  ทำอย่างไรไม่ให้คิด ขณะปฏิบัติสมาธิ
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำอย่างไรไม่ให้คิด ขณะปฏิบัติสมาธิ  (อ่าน 38745 ครั้ง)
phonsakw
กัลยาณมิตร ลำดับที่ 1
**

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 2
กระทู้: 94


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2012, 09:06:14 AM »

ทำอย่างไรไม่ให้คิด ขณะปฏิบัติสมาธิ

คุณต้องรู้ก่อนว่า  การที่คนเราฟุ้งซ่าน คิดโน่น คิดนี่  ไม่สามารถทำสมาธิได้ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากเจ้ากรรมนายเวรของเรา ทำการรบกวน  ถ้าคนที่ทำสมาธิแผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวียนที่ตามเบียดเบียนอยู่ทุกครั้งที่ทำสมาธิ  และพยายามทำบุญอุทิศกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรเรื่อยๆ  เขาก็จะทำสมาธิได้ดีขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน

เรื่องข้างต้นสามารถอธิบายได้อีกอย่างหนึ่งคือ ความฟุ้งซ่าน คิดโน่น คิดนี่ มาจากกิเลสตัณหาและความยึดมั่นถือมั่น  เราต้องค่อยๆขจัดหรือละลายกิเลสตัณหาและความยึดมั่นถือมั่นก่อน  ด้วยการทำบุญและทำสมาธิ แผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวรของเรา ซึ่งก็คือการละลายกิเลสตัณหาและความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง

เรื่องข้างต้น  ผมยังไม่พบว่าอยู่ในคำสอนของท่านผู้รู้คนใด  ผมจึงอธิบายเรื่องนี้
บันทึกการเข้า
Admax
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 1
กระทู้: 1


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2013, 04:32:51 PM »

วิธีดับความวิตก ตรึกนึก คิดฟุ้งซ่าน ไม่เป็นสมาธิ

หลายครั้งที่ผมนั่งสมาธิแล้วชอบ วิตก ตรึกนึกฟุ้งซ่านไม่เป้นสมาธิ เข้าไม่ได้แม้ขณิกสมาธิ ทั้งๆที่เมื่อก่อนเคยทำสมาธิได้ถึงความสงบว่างมีสติแลดูอยู่ มีจิตจดจ่อได้นาน สามารถเข้าสมาธิจิตเมื่อไหร่ ตอนไหนก็ได้
มาเมื่อมาถึง 2 ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นแก่ผมทำให้ผมไม่อาจเข้าสมาธิได้เลยคือ

1. ประสบพบเจอกับความทุกข์กายใจ ที่ขณะนั้นสำหรับผมมันหนักมาก ทำให้ผมไม่ได้ทำสมาธิต่อ เดี๋ยวนี้พอจะเข้าสมาธิก็เข้าไม่ได้เพราะจิตมัวหลงไปกับความ รัก โลภ โกรธ หลง ที่เกิดขึ้นแก่จิตอยู่ขณะนั้นๆทำให้จิตใจฟุ้งซ่านกระสับกระส่าย ระส่ำระส่ายไปหมด
2. พอมีคนมาสอนให้พิจารณาในวิปัสนา(บอกผมเจริญแต่วิปัสนาส่วนเดียว) ยิ่งทำให้ผมตรึกนึกคิดมากขึ้น ยิ่งรู้เห็นมากก็ยิ่งตรึกนึกคิดมากไม่เป็นสมาธิ แม้พิจารณาธรรมในวิปัสนามันก็เป็นได้แค่วิปัสนึก ไม่เห้นจริง ไม่รู้จริง จิตไม่มีกำลังมากพอจะพิจารณาใดๆ มีแค่ความคิดตนเองที่อนุมานเอาเท่านั้น

ทางแก้ไขวิตกจริต ตรึกนึกคิดขณะทำสมาธิ ทั้งด้วยกิเลสหรือติดในอนุมานจากการเรียนวิปัสนานี้ ผมได้พบเจอตามที่หลวงปู่มั่นสอนไว้ และ พบที่เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้
1. อาปานานสติ
2. กำหนดนิมิตขึ้นมาพิจารณา
3. พิจารณาธรรม


-------------------------------------------------------------------------------------------


1. อาปานานสติ

- สิ่งแรกที่พระพุทธเจ้ารู้ ก็คือลมหายใจนี้แหละ และ พระพุทธก็มีอาปานานุสสติกรรมฐานเป็นอันมาก ดั่งที่พระราชพรหมญาณ (หลวงปู่ฤๅษีลิงดำ)ท่านสอนว่า
- แม้พระอรหันต์ก็ไม่ทิ้งลมหายใจ
- แม้พระพุทธเจ้าก็ตรัสแก่พระสารีบุตรว่า "สารีบุตรดูก่อน สารีบุตรเราเองก็เป็นผู้มากไปด้วยอานาปานุสสติกรรมฐาน" คำว่า "มาก" ก็หมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นปกติ ทั้งนี้เพราะอานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานระงับกายสังขาร คือเป็นกรรมฐานคลายอารมณ์เครียดของจิตใจ และเป็นกรรมฐานคลายอารมณ์เครียดทางร่างกาย มีทุกขเวทนา เป็นต้น
- เราทรงอานาปานุสสติกรรมฐานได้ ก็เหมือนกับคนฉีดมอร์ฟีน เป็นยาระงับ ระงับเวทนา อานาปานุสติกรรมฐานจงทำให้มาก จงอย่าละ ถ้าใครแสดงอาการเลว แสดงว่าคนนั้นทิ้งกำหนดลมหายใจเข้าออก
- ถ้าการกำหนดลมหายใจเข้าออกว่างเกินไป ก็ใช้คำภาวนาควบ เวลาหายใจเข้านึกว่า "พุท" เวลาหายใจออกนึกว่า "โธ" พยายามกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไว้เป็นปกติ

1.1 ให้ทิ้งความรู้ทั้งหมดใส่หีบไว้ก่อน ดั่งที่หลวงปู่มั่นพระอาจารย์ใหญ่ท่านกล่าวสอนไว้

1.2 กำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออก หายใจเข้ายาว-หายใจออกยาวก้รู้ หายใจเข้าสั้น-หายในออกสั้นก็รู้ หายใจเข้ายาว-หายใจออกสั้นก็รู้ หายใจเข้าสั้น-หายใจออกยาวก็รู้ มีสติรู้ลมจดจ่ออยู่จิตจะสงบ

1.3 ไม่ส่งจิตออกนอก คือ ไม่เอาจิตปล่อยไปตามอดีต ไม่ปล่อยไปตามอนาคต มีสติรู้ปัจจุบัน

      1.3.1 สิ่งใดๆที่มันผ่านไปแล้ว มันจบไปแล้ว เราจักไม่เอาจิตไม่ย้ำคิดคำนึงถึงใน รูปใด เสียงใด กลิ่นใด รสใด โผฐฐัพพะใด ธัมมารมณ์ใด หรือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ใดๆที่ล่วงเลยมาแล้ว
      1.3.2 สิ่งใดๆที่มันยังมาไม่ถึง เราจักไม่เอาจิตไม่ย้ำคิดคำนึงถึงใน รูปใด เสียงใด กลิ่นใด รสใด โผฐฐัพพะใด ธัมมารมณ์ใด หรือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ใดๆที่ยังมาไม่ถึง สิ่งที่มายังไม่ถึงมันเป็นได้แค่ความคิดปรุงแต่งคาดคะเนอนุมานเอาเท่านั้น
      1.3.3 พึงรู้ในปัจจุบันขณะ รู้ลมหายใจเข้า-ออก
1.4 ไม่เอนไหวไปตามสัญญา คือ ความจำได้จำไว้ หรือ ความสำคัญมั่นหมายใดๆของใจ
      1.4.1 ไม่เผลอไผลตามสัญญาจนเกิดเป็นความปรุงแต่งเป็นเรื่องราวต่างๆนาๆทั้งที่พอใจยินดี-ไม่พอใจยินดี  และ ทั้งที่ใจปารถนา-ทั้งที่ใจไม่ปารถนาใดๆ
      1.4.2 ความตรึกนึกคิดปรุงแต่งเรื่องราวใดๆทั้งที่เป็น อดีต และ อนาคต ทั้งหลายนี้เพราะมีสัญญาเป็นที่สุด มีสัญญาเป็นใหญ่
      1.4.3 เมื่อเราเอาจิตใจเข้าไปเสพย์ในสัญญาใดๆที่ทำให้อกุศลเกิดขึ้นแล้ว ความปรุงแต่งเรื่องราวต่างๆก็เกิดขึ้นตามที่พอใจยินดี-ไม่พอใจยินดี เมื่อความโสมนัสเกิด-ก็ปารถนาใคร่ได้ เมื่อความโทมนัสเกิด-ก็ไม่ชอบอยากจะผลักหนีให้ไกลตน ต้องละความติดข้องใจในสัญญานั้นๆด้วยหาประโยชน์ไม่ได้นอกจากทุกข์ ไม่เข้าไปยึดเอาสัญญานั้นๆมาอีก รู้กายรู้ใจในปัจจุบันว่ากำลังทำอะไรอยู่
      1.4.4 พึงระลึกในสิ่งที่ดีเป็นกุศลใดๆที่ทำให้จิตใจของเรานั้นแจ่มใส เบิกบาน เป็นสุขโดยปราศจากความเพลิดเพลินติดใจยินดี แล้วน้อมมารู้กายใจในปัจจุบันขณะนั้นว่ากำลังทำสมาธิอยู่ และ นี่ก็คือมหากุศลกรรมอันมีอานิสงส์เป็นอันมากแก่ตนเอง คนในครอบครัว และ คนอื่น พึงตั้งเจตนาในกุศลกรรมที่กำลังกระทำอยู่นั้น
      1.4.5 พึงรู้ในปัจจุบันขณะ รู้ลมหายใจเข้า-ออก

จากข้อที่ 1.1-1.3 จะเห็นว่าการส่งจิตออกนอกทั้งหลายนั้น มีสัญญาเป็นใหญ่ เอาความปรุงแต่งจิตที่เป็นสัญญา คือ ความจำได้ จำไว้ ความสำคัญมั่นหมายใดๆของใจมาตั้งเสพย์อารมณ์นั้นๆ ทั้งๆที่มันผ่านมาแล้ว ทั้งที่ยังมาไม่ถึง ทั้งที่ปรุงต่อเรื่องราวไปเอง อนุมานเอาไปเอง การรู้เห็นในปัจจุบันนี้เป็นธรรมอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเพื่อไม่หลงไป ฟุ้งไป


2. กำหนดนิมิตขึ้นมาเพื่อพิจารณา

2.1 กำหนดจิตพิจารณาอสุภกรรมฐาน ให้เห็นเป็นอาการทั้ง 32 อาการแยกเป็นส่วนๆไม่มีตัวตนบุคคลใด เห็นส่วนใดก่อนให้พิจารณาส่วนนั้นส่วนเดียวจนเห็นจริงค่อยย้ายไปที่อื่น จิตจะยังความสงบลงเป็นสมาธิ

                พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระสุภัททะเถระก่อนจะปรินิพพานว่า
- สุภัททะ … เธอจงพิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ...รูป และนามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง คือ ความเปลี่ยนแปลงเน่าเปื่อยไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ของเขา ไม่ใช่ตัวตนของเขา

2.2 กำหนดจิตพิจารณา มหาภูตธาตุ คือ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ หรือ พิจารณาธาตุ ๕ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ หรือ พิจารณาธาตุ๖ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ จนเห็นแยกเป็นธาตุไม่มีตัวตนบุคคลใด จนแยกเห็นเป็นเพียงรูปและนาม

                 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
                 มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ มหาราหุโลวาทสูตร
                 เรื่องพระราหุล  ภาวนาเสมอด้วยธาตุ ๕

             [๑๔๐] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนา (อบรมจิต) เสมอด้วยแผ่นดินเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงที่แผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
             [๑๔๑] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลายล้างของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงในน้ำ น้ำจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำ ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
             [๑๔๒] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล เปรียบเหมือนไฟที่เผาของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ไฟจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
             [๑๔๓] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลมเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตของเธอได้ ดูกรราหุล เปรียบเหมือนลมย่อมพัดต้องของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลมจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลม ฉันนั้น เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
             [๑๔๔] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล เปรียบเหมือนอากาศไม่ตั้งอยู่ในที่ไหนๆ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศ ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

2.3 กำหนดนิมิตพิจารณาใน ฐีติภูตัง คือ จิตดั้งเดิม

         การเจริญปฏิบัติแล้วบรรลุธรรมในเวลาอันสั้นของพระสุภัททะเถระก่อนพระพุทธเจ้าจะทรงปรินิพพาน
 - แสงจันทร์นวลผ่องสุกสกาวเมื่อครู่นี้ดูจะอับรัศมีลง สุภัททะภิกษุแหงนขึ้นดูท้องฟ้า เมฆก้อนใหญ่กำลังเคลื่อนเข้าบดบังแสงจันทร์จนมิดดวงไปแล้ว แต่ไม่นานนัก เมฆก้อนนั้นก็เคลื่อนคล้อยไป แสงโสมสาดส่องลงมาสว่างนวลดังเดิม
           ทันใดนั้นดวงปัญญาก็พลุ่งโพลงขึ้นในดวงใจของสุภัททะภิกษุ เพราะนำดวงใจไปเทียบด้วยดวงจันทร์
           "อา!" ท่านอุทานเบาๆ "จิตนี้เป็นธรรมชาติที่ผ่องใส มีรัศมีเหมือนจันทร์เจ้า แต่อาศัยกิเลสที่จรมาเป็นครั้งคราว จิตนี้จึงเศร้าหมอง เหมือนก้อนเมฆบดบังดวงจันทร์ให้อับแสง"               

            มุตโตทัยกัณฑ์ที่ ๖. มูลการของสังสารวัฏฏ์
         ฐีติภูตํ อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา อุปาทานํ ภโว ชาติ
คนเราทุกรูปนามที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์ล้วนแล้วแต่มีที่เกิดทั้งสิ้น กล่าวคือมีบิดามารดาเป็นแดนเกิด ก็แลเหตุใดท่านจึงบัญญัติปัจจยาการแต่เพียงว่า อวิชฺชา ปจฺจยา ฯลฯ เท่านั้น อวิชชา เกิดมาจากอะไรฯ ท่านหาได้บัญญัติไว้ไม่ พวกเราก็ยังมีบิดามารดาอวิชชาก็ต้องมีพ่อแม่เหมือนกัน ได้ความตามบาทพระคาถาเบื้องต้นว่า ฐีติภูตํ นั่นเองเป็นพ่อแม่ของอวิชชา ฐีติภูตํ ได้แก่ จิตดั้งเดิม เมื่อฐีติภูตํ ประกอบไปด้วยความหลง จึงมีเครื่องต่อ กล่าวคือ อาการของอวิชชาเกิดขึ้น เมื่อมีอวิชชาแล้วจึงเป็นปัจจัยให้ปรุงแต่งเป็นสังขารพร้อมกับความเข้าไปยึดถือ จึงเป็นภพชาติคือต้องเกิดก่อต่อกันไป ท่านเรียก ปัจจยาการ เพราะเป็นอาการสืบต่อกัน วิชชาและอวิชชาก็ต้องมาจากฐีติภูตํเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อฐีติภูตํกอปรด้วยวิชชาจึงรู้เท่าอาการทั้งหลายตามความเป็นจริง นี่พิจารณาด้วยวุฏฐานคามินี วิปัสสนา รวมใจความว่า ฐีติภูตํ เป็นตัวการดั้งเดิมของสังสารวัฏฏ์ (การเวียนว่ายตายเกิด) ท่านจึงเรียกชื่อว่า "มูลตันไตร" (หมายถึงไตรลักษณ์) เพราะฉะนั้นเมื่อจะตัดสังสารวัฏฏ์ให้ขาดสูญ จึงต้องอบรมบ่มตัวการดั้งเดิมให้มีวิชชารู้เท่าทันอาการทั้งหลายตามความเป็นจริง ก็จะหายหลงแล้วไม่ก่ออาการทั้งหลายใดๆ อีก ฐีติภูตํ อันเป็นมูลการก็หยุดหมุน หมดการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ด้วยประการฉะนี้
                 จิตเดิมในที่นี้คือ จิตประภัสสร คือจิตที่ปราศจากกิเลศนิวรณ์ครับ แต่ยังมีกิเลศอนุสัยนอนเนื่องอยู่ในจิตสันดาน ถ้าจิตหมดกิเลศ พระพุทธเจ้าเรียกว่า จิตเกษม
                 หลวงปู่มั่น= "พระอรหันต์ทั้งหลาย จิตไม่มี มีแต่สติ เพราะจิตสังขารมันเป็นตัวสังขาร สังขารไม่มีในจิตของพระอรหันต์"

      2.3.1 กำหนดนิมิตรู้ถึง จิตดั้งเดิม เป็นแก้วใสสว่างปราศจากความปรุงแต่งจิตใดๆ และ ความคิดอารมณ์ความรู้สึกปรุงแต่งใดๆนั้นเป็นคนละส่วนกับจิต แค่เข้ามาปรุงแต่งประกอบเกิด-ดับพร้อมกับจิต (อภิธรรมปรมัตถสังคหะ คือ เจตสิก)
      2.3.2 พึงระลึกกำหนดเห็นเข้าถึง จิตที่ปราศจากการปรุงแต่งใดๆ เมื่อจะเกิดความปรุงแต่งใดๆไม่ว่าจะเป็น กุศลจิต หรือ อกุศลจิต เข้ามาในจิต ก็ระลึกเ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 16, 2013, 04:53:35 PM โดย Admax » บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 07, 2016, 12:52:09 PM »

สาธุธรรมครับ
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!