แสดงกระทู้
หน้า: 1 [2]
16  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: คำสอนหลวงปู่ปาน วีดบางนมโค อุทัยธานี เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 03:22:54 PM
ตอจากคำสอนที่ 01
     "พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสไว้ว่า สัตว์ก็ดี คนก็ดี หรือสิ่งที่ไม่มีชีวิตก็ดี มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วมีความเปลี่ยนแปลงไปในระหว่างกลาง ที่สุดมันก็แตกทำลายหมด ถ้าเป็นสัตว์เป็นบุคคลก็ตายในที่สุด ถ้าเป็นของวัตถุธาตุ ก็แตกทำลายในที่สุด ไอ้บ้านเรือนโรงภูเขา ลำเนาป่า อะไรมันก็เหมือนกัน ภูเขามันเป็นหินแข็งแต่ว่านานๆ เข้าก็เป็นหินผุกลายเป็นดินไป ที่นี้ไอ้คนหรือสัตว์ก็เหมือนกัน มันเกิดขึ้นมาในตอนต้น มันตัวเล็กๆ แล้วมันก็เปลี่ยนแปลง มันเปลี่ยนสภาพเข้ามาทุกทีๆ ถึงความเป็นคน เป็นบุคคลใหญ่ เป็นหนุ่ม เป็นสาว แล้วก็แก่ ในระหว่างนั้นสภาพของร่างกายก็ไม่ปกติ โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน นี่เป็นอาการเปลี่ยนแปลง จัดเป็นอนิจจัง ทีนี้ตัวอนิจจังไม่เที่ยง มีความทุกข์ก็บังเกิดขึ้น ไอ้ความทุกข์มันเกิดขึ้นก็เพราะตัวอนิจจังนี่แหละ ไม่มีใครต้องการให้มันเป็น "นิจจัง" คือมันเที่ยงแน่นอน มีสภาพปกติ แต่อนิจจังมันขับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เคลื่อนไปจากความปกติ ให้มีความเปลี่ยนแปลง แปรสภาพเสื่อมโทรมลงไปเป็นธรรมดา แล้วในเมื่อความเสื่อมโทรมมันปรากฏ ความทุกข์ใจของเจ้าของร่างกายก็ปรากฏ คือโรคภัยไข้เจ็บมันก็เกิดขึ้น ความทุกข์ใจของเจ้าของร่างกายก็ปรากฏ นี่มันเป็นตัวทุกข์ อนิจจังมันทำให้ทุกข์ ไม่มีใครจะห้ามความตาย ไม่มีใครจะห้ามความเสื่อมความสูญ ความสลายตัวได้ คนทุกคนเกิดมาแล้วเป็นอย่างนั้น สัตว์ทุกตัวเกิดมาแล้วเป็นอย่างนั้น สภาพของวัตถุต่างๆ เป็นอย่างนั้น ตรงตามความเป็นจริงทุกอย่าง ซึ่งมนุษย์ทุกคนที่เกิดมาในโลกยากนักที่จะคิดอย่างนี้ที่จะเห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้" ยังมีต่อ 03
17  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / คำสอนหลวงปู่ปาน วีดบางนมโค อุทัยธานี เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 03:21:22 PM
คำสอนที่ 01

     " ร่างกายของคนและสัตว์มันเป็นอนิจจัง มีสภาพไม่เที่ยง เวลาอยู่ก็เป็นทุกข์ แต่ในที่สุดก็เป็นอนัตตาคือตาย ใครบังคับบัญชาไม่ได้ เวลาเผาศพอย่าตั้งหน้าตั้งตาเผาเขา เวลาเราไปเผาศพก็เผากิเลสในใจของเราเสียด้วย กิเลสส่วนใดที่มันสิงอยู่ที่เรา คิดว่าเราจะไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตายน่ะ เผามันเสียให้หมดไป เราคิดว่า วันนี้เราเผาเขา ไม่ช้าเขาก็เผาเรา คนเกิดมาแล้วตายอย่างนี้เราจะเกิดมันทำไม ต่อไปข้างหน้าเราไม่เกิดดีกว่า เราไปพระนิพพานนั่นละดีที่สุด เรื่องอัตภาพร่างกายสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่มีอะไรเป็นความหมาย ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง ตายแล้วหาสาระหาแก่นสารไม่ได้ หาประโยชน์ไม่ได้ ให้ทุกคนเตรียมพร้อมที่จะตายได้ ให้ขยันหมั่นเพียร ชำระจิตใจให้สะอาด มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ จงวางภาระว่า เราของเรา เสียให้สิ้นด้วยไม่มีอะไรเลยเป็นของเรา แม้แต่ร่างกายก็มีเจ้าของคือ มรณภัยมันมาทวงคืน ให้คิดว่าเราไม่มีอะไรเป็นของเรา เราไม่ต้องการมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เรามีนิพพานเป็นที่ไป " (ยังมีต่อ 02)

***ที่มา : คำสอน หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค (จากหนังสือ รวมคำสอนพระสุปฏิปันโนเล่ม 5)
18  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / แนะนำวัดเก่า พาเที่ยววัด และตำนาน ประวัติของวัด / ประวัติและความเป็นมาของวัดวีระโชติธรรมาราม เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 03:19:22 AM
     วัดวีระโชติธรรมาราม ตั้งอยู่ เลขที่ ๓๒ หมู่ที่ ๔ ตำบล คลองหลวงแพ่ง (คลองลำวังคา) อำเภอ เมือง จังหวัด ฉะเชิงเทรา รหัสไปรษณีย์ ๒๔๐๐๐ สำนักสงฆ์ แห่งนี้เดิมชื่อ “สำนักสงฆ์ทองธรรมโชติ” โดยมีคุณโยมระเบียบ โชติบรรยง (ปัจจุบัน ถึงแก่กรรมแล้ว) คุณโยมทวี (ซึ่งเป็นน้องชาย) คุณโยมลออ(ภรรยาคุณโยมทวี) โชติบรรยง ได้มีจิตศรัทธาถวายที่ดิน จำนวน ๓๐ ไร่ ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๖ และในเวลาต่อมาปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้ถวายเพิ่มอีก จำนวน ๖ ไร่ รวมเป็นจำนวน ๓๖ ไร่ เพื่อจะทำการก่อสร้างให้เป็นวัดขึ้นตามเจตนารมณ์ที่ศรัทธา จึงได้มอบที่ดินให้คณะสงฆ์ในเขตนั้น และมีพระภิกษุอยู่จำพรรษาตามกำลังที่จะอยู่ได้ เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมนั้น ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะเป็นชาวมุสลิม ๗๐ – ๘๐ เปอร์เซ็น มีชาวไทยพุทธอยู่เป็นจำนวนน้อย  จึงลำบากในการพัฒนาเท่าที่ควร

     จนปี พุทธศักราช ๒๕๔๕ คุณโยมทวี คุณโยมลออ โชติบรรยง ซึ่งเป็นเจ้าของที่ ที่มีจิตศรัทธาถวาย ได้มากราบพระอาจารย์ องอาจ อาภากโร ซึ่งในขณะนั้นอยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดกระทุ่มเสือปลา แขวง ประเวศ เขต ประเวศ กรุงเทพมหานคร ได้ปรารถนาเรื่องสร้างวัดให้ฟังถึงความยากลำบากในการพัฒนา จึงมากราบอาราธนา พระอาจารย์ องอาจ อาภากโร ไปดูสถานที่ เมื่อมาดูแล้วเห็นว่าภายภาคหน้าสถานที่นี้จะเป็นที่รุ่งเรืองได้ จึงรับปากจะช่วยพัฒนาตามกำลังที่พึงจะมี

     ใน เบื้องต้น พระอาจารย์ องอาจ อาภากโร จึงกล่าวกับคุณโยมทั้ง ๒ ท่าน ที่ว่าจะต้องเปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานที่ วันนั้นตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕ เวลาประมาณ เวลา ๑๗.๐๐ น. ภายในพระอุโบสถวัดสระเกศ เขตปัอมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร จึงได้ไปกราบทูลรายงานต่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรวิหาร ถึงการเปลี่ยนชื่อ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ จึงประทานชื่อให้ เอาชื่อเจ้าของที่ดินทั้ง ๒ ท่าน และนามสกุลมาตั้งให้สมกับที่เจริญศรัทธาแก่ท่านเจ้าของที่ โดยใช้ชื่อใหม่ว่า “สำนักสงฆ์วีระโชติธรรมาราม” ซึ่งแยกออกเป็นดังนี้ คำว่า “วีระ”  หมายความถึงชื่อของคุณโยมระเบียบ คุณโยมทวี โชติบรรยง (วี+ระ) และชื่อจริงของพระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) หรือ พระมหาวีระ ถาวโร วัดจันทาราม (ท่าซุง) ตำบล น้ำซึม อำเภอ เมือง จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ ของท่านอาจารย์ องอาจ อาภากโร คำว่า “โชติ”  หมายความถึง คำนำหน้านามสกุลของคุณโยมทวี คุณโยมลออ โชติบรรยง ดังนั้นแล้ว จึงริเริ่มพัฒนามาโดยลำดับ ตามกำลังตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
     ในปีพุทธ ศักราช ๒๕๕๑ ทางคุณโยม ส.พุ่มพวง ชาวบ้านแถบประเวศ ได้มีจิตศรัทธาเป็นเจ้าภาพหล่อพระหลวงพ่อโต วัดบางพลี ขนาดหน้าตัก ๔ ศอก ขึ้นอีก ๑ องค์ และมีศรัทธาช่วยทำนุบำรุงวัดวีระโชติธรรมารามแห่งนี้ให้เจริญรุ่งเรือง สืบไป
19  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / แนะนำวัดเก่า พาเที่ยววัด และตำนาน ประวัติของวัด / วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) พิษณุโลก เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 03:14:36 AM
แนะนำวัดบ้านเกิดเมืองนอนของผมครับ

วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

     ชาวบ้านส่วนใหญ่มักเรียกขานกันว่า วัดใหญ่ หรือวัดพระศรี กันจนติดปาก แม้นพระประธานองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานในวิหารคือ พระพุทธชินราช ชาวเมืองพิษณุโลกก็นิยมเรียกกันว่า หลวงพ่อใหญ่ ตามไปด้วย วัดใหญ่นับเป็นพระอารามหลวงที่สำคัญของจังหวัด เพราะเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวเมืองและชาวไทยทั้งประเทศ ตั้งอยู่ที่ถนนพุทธบูชา ตำบลในเมือง ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองเมื่อปี พ.ศ. 1900

ภายในวัดสิ่งโบราณสถานโบราณวัตถุล้ำค่ามากมาย อาทิ

1. พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว และสูง 7 ศอก ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศ เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง พระหัตถ์มีปลายนิ้วทั้งสี่เสมอกัน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเรียกว่า ทีฒงฺคุลี ซุ้มเรือนแก้วทำด้วยไม้แกะสลักสร้างในสมัยอยุธยา แกะสลักเป็นรูปมกร (ลำตัวคล้ายมังกร มีงวงคล้ายช้าง) อยู่ตรงปลายซุ้ม และตัวเหรา (คล้ายจระเข้) อยู่ตรงกลาง และมีเทพอสุราคอยปกป้ององค์พระอยู่ 2 องค์ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) แห่งกรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศน์เทพวรารามและวัดบวรนิเวศวิหารตามลำดับ

2. บานประตูประดับมุก ที่ทางเข้าพระวิหารด้านหน้า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2299 เป็นฝีมือช่างหลวงสมัยอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมโกศ ตรงกลางประตูมีสันอกเลาประดับลวดลายพุ่มข้าวบิณฑ์ สองข้างเป็นลายกนกก้านแย่ง ช่วงกลางอกเลามีรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เรียกว่า นมอกเลา เป็นรูปบุษบก มีรูปพระอุณาโลมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์ประดิษฐานบนบัลลังก์อยู่ในบุษบก สองข้างเป็นรูปชุมสายซึ่งเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง เป็นรูปฉัตรสามชั้น ใต้ฐานบุษบกมีหนุมานแบกฐานไว้ ส่วนเชิงล่างของอกเลาทำเป็นรูปกุมภัณฑ์ยืนถือกระบองท่าสำแดงฤทธิ์ ส่วนลวดลายบานประตูเป็นลายกนกที่มีภาพสัตว์หิมพานต์ เช่น ราชสีห์ คชสีห์ เหมราช ครุฑ กินรีรำ และภาพสัตว์อื่น ๆ และยังมีลาย อีแปะ ด้านละ 9 วงมัดนกหูช้างประกอบช่องไฟระหว่างวงกลม หรือวงกลมเป็นลายกรุยเชิง มีลายประจำยามก้ามปูประดับขอบรอบบานประตู เดิมบานประตูวิหารพระพุทธชินราชทำด้วยไม้สักแกะสลัก เมื่อทำบานประตูประดับมุกเสร็จแล้ว บานประตูเก่าได้นำไปประดับประตูวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์

3. พระเหลือ พระยาลิไทรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือจากการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา มารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็ก เรียกว่า พระเหลือ และพระสาวกยืนอีก 2 องค์ ส่วนอิฐที่ก่อเตาสำหรับหลอมทองได้นำมารวมกันบนฐานชุกชี พร้อมกับปลูกต้นมหาโพธิ์ 3 ต้นบนชุกชี เรียกว่า โพธิ์สามเส้า ระหว่างต้นโพธิ์ได้สร้างวิหารน้อยขึ้นหนึ่งหลัง อัญเชิญพระเหลือกับพระสาวกไปประดิษฐาน เรียกว่า วิหารพระเหลือ
 
4. พระอัฏฐารส เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติด้านหลังพระวิหาร สูง 18 ศอก สร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธชินราช ราว พ.ศ. 1811 เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารใหญ่แต่วิหารได้พังไปจนหมด เหลือเพียงเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ 3-4 ต้น เรียกว่า เนินวิหารเก้าห้อง

5. พระปรางค์ประธาน ศิลปสมัยอยุธยาตอนต้น ฐานย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ เดิมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัยแท้ ต่อมาถูกแปลงให้เป็นพระปรางค์ในสมัยอยุธยา

6. วิหารแกลบ
        พระเจ้าเข้านิพพาน เป็นโบราณวัตถุสมัยอยุธยา นับว่าเป็นชิ้นสำคัญของวัดพระศรีรัตนมหาวรวิหาร ถือว่าเป็นการจำลองสังเวชนียสถานของพระพุทธเจ้า คาดว่ามีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะเป็นหีบบรรจุพระบรมศพ ทำด้วยศิลาตั้งอยู่บนจิตราการ ประดับด้วยลวดลายลงรักปิดร่องกระจกสวยงาม ที่ปลายหีบมีพระบาททั้งสองยื่นออกมา และบริเวณด้านหน้า หรือด้านท้าย หีบพระบรมศพ มีพระมหากัสสปะเถระ นั่งนมัสการพระบรมศพ
        วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เปิดทุกวัน เวลา 6.30-18.00 น. ส่วนพิพิธภัณฑ์ในวัดเปิดเวลา 8.30-16.30 น.

20  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: อริยประเพณี อริยปฏิปทา โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 01:23:38 AM
ได้อ่านทุกคำสอน ได้อะไร ๆ เยอะมาก ขอบคุณสำหรับข้อมูลคำสอนดี ๆ ครับ  ยิงฟันยิ้ม
21  ความสำคัญของพระพุทธศาสนา และทุกอย่าง เกี่ยวกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า / ประวัติของพระพุทธสาวก สมัยพุทธกาล / Re: พระยสเถระ หรือ พระยสะเถระ เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2013, 03:55:32 PM
ได้อ่านแล้ว ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

สาธุ........
22  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ประวัติของพระอริยสงฆ์ สาวกที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รวมทั้งปฏิปทาในการปฏิบัติ / ประวัติ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ( บทที่ 1 ) เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2013, 03:47:00 PM
     เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ เดิมชื่อสังเวียน เป็นบุตรคนที่ ๓ ของนายควง นางสมบุญ สังข์สุวรรณ เกิดที่ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีพี่น้อง ๕ คน เมื่ออายุ ๖ ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นประถมปีที่ ๔ เมื่ออายุ ๑๕ ปี เข้ามาอยู่กับท่านยายที่บ้านหน้าวัดเรไร อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี ในสมัยนั้น และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ อายุ ๑๙ ปี เข้าเป็นเภสัชกรทหารเรือ สังกัดกรมการแพทย์ทหารเรือ พออายุครบบวช

     อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ วัดบางนมโค โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิหารกิจจานุการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เล็ก เกสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อายุ ๒๑ ปี สอบได้นักธรรมตรี อายุ ๒๒ ปี สอบได้นักธรรมโท อายุ ๒๓ ปี สอบได้ นักธรรมเอก

     ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑ ได้ศึกษาพระกรรมฐาน จากครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิเช่นหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค, หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก, พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค, พระครูรัตนาภิรมย์ วัดบ้านแพน, พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า, หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ, หลวงพ่อเนียม วัดน้อย, หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) และหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ พ.ศ. ๒๔๘๑ เข้ามาจำพรรษาที่วัดช่างเหล็ก อำเภอตลิ่งชัน ธนบุรี เพื่อเรียนบาลี ต่อมา สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดอนงคาราม หลังจากนั้นได้เป็นรองเจ้าคณะ ๔ วัดประยูรวงศาวาส เป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโค และย้ายไปอยู่อีกหลายวัด พ.ศ. ๒๕๑๑ จึงมาอยู่วัดท่าซุง บูรณะซ่อมสร้างและขยายวัดท่าซุง จากเดิมมีพื้นที่ ๖ ไร่เศษ จนกระทั่งเป็นวัดที่มีบริเวณพื้นที่ประมาณ ๒๘๙ ไร่ พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระสุธรรมยานเถร" พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ "พระราชพรหมยาน ไพศาลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

     มรณภาพ          ตุลาคม ๒๕๓๕ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)ได้อาพาธด้วยโรคปอดบวมอย่างแรง และติดเชื้อในกระแสโลหิต เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และมรณภาพที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๕ เวลา ๑๖.๑๐ น. ตลอดระยะเวลาที่อุปสมบทอยู่ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) ได้ทำหน้าที่ของพระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ

     ทางด้านชาติ ได้สร้างโรงพยาบาล , สร้างโรงเรียน , จัดตั้งธนาคารข้าว , ออกเยี่ยมเยียน ทหารหาญของชาติและตำรวจตระเวณชายแดนตามหน่วยต่างๆ เพื่อปลุกปลอบขวัญและกำลังใจ และ แจกอาหาร , ยา , อุปกรณ์อำนวยความสะดวก และวัตถุมงคลทั่วประเทศ

     ทางด้านพระศาสนา ได้สั่งสอนพุทธบริษัทศิษยานุศิษย์ให้มุ่งพระนิพพานเป็นหลัก โดยให้ประพฤติปฏิบัติกาย , วาจา , ใจ , ในทาน , ในศีลและในกรรมฐาน ๑๐ ทัศ และมหาสติปัฏฐานสูตร ได้พิมพ์หนังสือคำสอนกว่า ๑๕ เรื่อง และบันทึกเทปคำสอนกว่า ๑,๐๐๐ เรื่อง นอกจากนี้ยังได้แสดงธรรม เทศนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นครั้งคราว นอกจากนี้ ยังเดินทางไปสงเคราะห์คณะศิษย์ในต่างจังหวัดและต่างประเทศทุกๆ ปี

     ทางด้านวัตถุ ท่านได้ช่วยสร้างพระพุทธรูปและถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนามากกว่า ๓๐ วัด รวมทั้งการบูรณะฟื้นฟูวัดท่าซุงด้วยเงินกว่า ๖๐๐ ล้านบาท ได้สร้างพระไตรปิฎก , หนังสือมูลกัจจายน์ และถวายผ้าไตรแก่วัดต่างๆ ปีละไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ ไตร

     ทางด้านพระมหากษัตริย์ท่านได้สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ศูนย์ฯ นี้ได้ดำเนินการสงเคราะห์ราษฎรในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ งานของศูนย์ฯ รวมทั้งการแจกเสื้อผ้า , อาหาร และยารักษาโรคแก่ราษฎรผู้ยากจน , การช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ , การส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกรักษาพยาบาลราษฎรผู้เจ็บป่วย , การให้ทุน นักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน , การบริจาคทุนทรัพย์ให้แก่มูลนิธิและโรงพยาบาลต่างๆ ฯลฯ

     นับได้ว่าพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) เป็นปูชนียบุคคลผู้อยู่ด้วยความกรุณา เป็นปกติ พร่ำสอนธรรมะและสิ่งทีเป็นประโยชน์และสงเคราะห์เกื้อกูลมหาชนด้วยเมตตามหาศาลสมกับ เป็น ศากยบุตรพุทธชิโนรส แท้องค์หนึ่ง

ข้อมูล : เว็บศิษย์หลวงพ่อ
23  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / แนะนำวัดเก่า พาเที่ยววัด และตำนาน ประวัติของวัด / ประวัติวัดและสถานที่สำคัญภายในวัดท่าซุง (ตอนที่ 1) เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2013, 07:58:25 AM
     เริ่มแรกเดิมทีเมื่อ "พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร) ได้มาบูรณะวัดท่าซุงนับตั้งแต่ ปี พ.ศ ๒๕๑๑ นั้น วัดอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมาก และมีพื้นที่เพียง ๖ ไร่เศษ ทั้งๆ ที่แต่เดิมเคยมีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณริมแม่น้ำสะแกกรังถึงกว่า ๓๗๐ ไร่

ต่อมาท่านได้เป็นผู้นำคณะศิษยานุศิษย์ในยุคแรกนั้นค่อยๆ ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์และพัฒนาวัด จนเจริญรุ่งเรืองมีเนื้อที่กว่า ๒๘๙ ไร่ มีอาคาร วิหาร มณฑปต่างๆ มากมายดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน จวบจนกระทั่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อได้มรณะภาพ ใน วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ และในปัจจุบันท่านเจ้าอาวาสองค์ต่อมา คือ ท่านพระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ พร้อมคณะสงฆ์วัดท่าซุง ได้ดำเนินการบูรณะซ่อม สร้าง และขยายวัดท่าซุงจนในปัจจุบันมีพื้นที่กว่า ๕๐๐ ไร่

ทั้งนี้ โดยศาลา อาคาร วิหาร มณฑปต่างๆได้จำแนกออกเป็นกลุ่มๆจำนวน ๑๓ กลุ่ม ดังต่อไปนี้คือ

กลุ่มที่ ๑. หอสวดมนต์-ศาลาการเปรียญเก่า

กลุ่มที่ ๒. อาคารกลุ่มชายน้ำแม่น้ำสะแกกรัง
อันประกอบไปด้วย
- หอกรรมฐาน หรือ “หอขาว”
- อาคารกรมยุทธการทหารอากาศสงเคราะห์ (ปัจจุบันก่อสร้างเป็นโรงครัววัด)
- ศาลาหลวงพ่อ ๕ พระองค์ (กำลังก่อสร้างใหม่)

กลุ่มที่ ๓. กลุ่มอาคารฝั่งพระอุโบสถหลังใหม่
อันประกอบไปด้วย
- พระอุโบสถใหม่
- มณฑปหลวงพ่อปาน
- มณฑปหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (เดิมเรียกหลวงพ่อใหญ่)
- มณฑปหลวงพ่อเส็ง (หลวงพ่อขนมจีน)
- มณฑปหลวงพ่อสีวลี
- ศาลานวราชบพิตร
- พลับพลาจตุรมุข
- หอระฆัง-หอกลอง
- โรงเรียนพระพินิจอักษร (ทองดี) พ.ศ. ๒๕๑๙
- อาคารรัตนพฤกษ์ (เรือนกระเหรี่ยง)
- เรือนผีเสื้อ (สร้างแทน "กุฏิเดิม" ของหลวงพ่อ)
- กุฏิ ๑๐ หลัง (ชุดแรก)
- กุฏิเจ้าอาวาส (กุฏิมุมเศรษฐี)
- อาคารธรรมสถิตย์ (ที่พักฆราวาสที่เป็นสตรี)
- ห้องพักชาย (สำหรับนาค, และฆราวาส)


กลุ่มที่ ๔. กลุ่มอาคารด้าน "ตึกอำนวยการ" และอนุสาวรีย์ต่างๆ อันประกอบไปด้วย
- พระจุฬามณี
- อนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
- อนุสาวรีย์เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)
- ศาลาท่านปู่-ท่านย่า
- ตึกอำนวยการ ด้านข้างมีห้องน้ำ - ห้องสุขา
- ศาลาพระนอน
- อนุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราช
- เมรุ และ ห้องน้ำ - ห้องสุขา

กลุ่มที่ ๕. กลุ่มศาลา ๒ ไร่, ๓ ไร่, ๔ ไร่, ๑๒ ไร่ อันประกอบไปด้วย
- ศาลา ๒ ไร่
- ศาลา ๓ ไร่
- ศาลา ๔ ไร่
- ศาลา ๑๒ ไร่

กลุ่มที่ ๖. กลุ่มวิหารสมเด็จองค์ปฐม, ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก), วิหาร, พระชำระหนี้สงฆ์ อันประกอบไปด้วย
- วิหารสมเด็จองค์ปฐม
- ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)
- พระชำระหนี้สงฆ์
- พระยืน ๘ ศอก
- มณฑปพระศรีอาริยเมตไตรย
- ศาลท่านท้าวเวหน

กลุ่มที่ ๗. กลุ่มโรงพยาบาลแม่และเด็กฯ อันประกอบไปด้วย
- โรงพยาบาลแม่และเด็กฯ
- ตึกปฐมราชานุสรณ์
- ตึกปัญจมราชานุสรณ์
- อนุสาวรีย์ในโรงพยาบาล
องค์กลาง “พระพินิจอักษร” (ทองดี)
องค์ซ้าย “สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑”
องค์ขวา “สมเด็จพระปิยะมหาราช”


กลุ่มที่ ๘. กลุ่มพระมหาวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร อันประกอบไปด้วย
- พระประธาน (พระพุทธชินราช)
- พระอรหันต์อสีติมหาสาวก ๗ องค์
- เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
- รูปปั้นหลวงพ่อยืนถือไม้เท้า
- บุษบกหลวงพ่อฯ

กลุ่มที่ ๙. กลุ่มมณฑปและอนุสาวรีย์ หน้ามหาวิหาร ๑๐๐ เมตร อันประกอบไปด้วย
- มณฑปพระปัจเจกพุทธเจ้า
- มณฑปหลวงพ่อปาน
- พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ทรงเครื่องพระมหากษัตริย์และทรงผนวช)
- พระราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๑
- พระราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๕
- พระราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๖
- พระราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๗
- ป้ายอักษรฯ รัชกาลที่ ๙
- พระมหาวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร
- ศาลามิตรศรัทธา


กลุ่มที่ ๑๐. กลุ่มหอพระไตรปิฎกและพระยืน ๓๐ ศอก อันประกอบไปด้วย
- ด้านหน้าพระยืน ๓๐ ศอก (หลวงพ่อเงินไหลมาเทมา) ด้านหลังเป็นหอพระไตรปิฎก
- เจดีย์พุดตาน

กลุ่มที่ ๑๑. กลุ่มโรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา อันประกอบไปด้วย
- โรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา
- มณฑปหลวงพ่อ, พระพุทธรูป, และท่านปู่ท่านย่า

กลุ่มที่ ๑๒. กลุ่มมณฑปแก้ว (พระองค์ที่ ๑๐-๑๒), ตึกรับแขก, ฝั่งริมแม่น้ำฯ อันประกอบไปด้วย
- มณฑปแก้ว (พระองค์ที่ ๑๐-๑๒)
- ตึกรับแขก (จำหน่ายวัตถุมงคล)
- หอฉัน
- หอกรรมฐานเก่า (ข้างหอฉัน ปัจจุบันทำใหม่ ๒ ชั้น)
- โรงครัวใหม่ (ด้านหลังหลวงพ่อ ๕ พระองค์)
- ตึกกองทุน
- แพปลา (วังมัจฉา)
- ตึกอินทราพงษ์
- หน้าตึกริมน้ำ (อยู่ข้างโรงครัวเก่าใต้ต้นโพธิ์)
- ตึกเสริมศรี-เฉิดศรี ศุขสวัสดิ์


กลุ่มที่ ๑๓. กลุ่มฝั่งโบสถ์เก่าฯ
- พระอุโบสถหลังเก่า
- วิหารหลวงพ่อใหญ่ (หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์)
- หอไตรกลางน้ำ
- วิหารพระองค์ที่ ๑๐-๑๒
- มณฑปท้าวมหาราชทั้ง ๔
- กุฏิเก่าหลวงพ่อ (เพิงหมาแหงน)
- เมรุเก่า (หน้าตึกรับแขก)
- โรงลิเกเก่า (ปัจจุบันเป็นที่เก็บของ)

กลุ่มที่ ๑๔. กลุ่มมูลนิธิฯ และศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนฯ
- ป้ายศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในแดนทุรกันดารฯ บริเวณหน้าพระอุโบสถใหม่
- ธนาคารข้าวฯ ตั้งเมื่อ ๑๑ เม.ย. ๒๕๒๑ (เดิมอยู่ด้านหน้าศาลา ๕ พระองค์ ปัจจุบันรื้อไปหมดแล้ว เพื่อขยายสร้างศาลาหลวงพ่อ ๕ พระองค์)
- โรงสีข้าวพระสุธรรมยานเถระ ตั้งเมื่อ ๑๑ ม.ค. ๒๕๓๑ แห่งที่ ๒ บริเวณสวนไผ่
หน้า: 1 [2]