แสดงกระทู้
หน้า: [1] 2
1  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / ปัตตานุโมทนามัย... อนุโมทนากับคนที่ทำบุญ เมื่อ: ธันวาคม 15, 2008, 09:21:29 PM


ผู้ถาม : มีคนฝากให้มาถามหลวงพ่อว่า พ่อแม่ไม่ค่อยทำบุญแต่เป็นคนดี คนซื่อ ถ้าบุตรหลานทำให้แล้วจะใส่ชื่อเขาด้วย อยากทราบว่า ท่านจะได้หรือไม่ครับ

หลวงพ่อ : เขาโมทนาด้วยหรือเปล่า ถ้าลูกไปบอกว่า "พ่อ(หรือแม่) ฉันทำบุญให้แล้ว ถ้าท่านยินดีด้วย ท่านได้แน่นอน ถ้าบอก กูไม่รู้โว้ย ด่าตะเพิด อันนี้ไม่ได้แน่


ผู้ถาม : อย่างเวลาเลิกพระกรรมฐานแล้ว ก็มีคนไปถวายสังฆทานกับหลวงพ่อ แต่หนูไม่มีของก็ยกมืออนุโมทนาด้วย อย่างนี้จะมีอานิสงส์ไหมคะ...?

หลวงพ่อ : อานิสงส์ที่จะพึงได้ก็คือ ปัตตานุโมทนามัย เป็นผลกำไรจากการเจริญพระกรรมฐานไม่ต้องลงทุน ถ้าตั้งใจจริงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ เจ้าของได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เราได้ครั้งละ 90 ผ่านไป 10 คนเราได้ 900 มากกว่าเจ้าของ เอ้า! เยอะจริงๆ มันทำบารมีให้เต็มเร็ว เร็วมาก

การโมทนา เขาแปลว่า ยินดีด้วย ต้องยินดีด้วยความจริงใจนะ สักแต่ว่า สาธุ มันไม่ได้อะไร คำว่า "สาธุ" ไม่จำเป็นต้องออกเสียง ไม่จำเป็นต้องยกมือไหว้ก็ได้ เอาใจยินดีใช้ได้เลย
และการแสดงความยินดีมันก็คือ มุทิตา เป็นตัวหนึ่งใน พรหมวิหาร 4 นี่บุญตัวใหญ่ ที่พระพุทธเจ้าบอกว่า "จิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกังขา" ถ้าก่อนตายจิตผ่องใส ก็ไปสู่สุคติ หมายถึง สวรรค์ ก็ได้ พรหมก็ได้ นิพพานก็ได้ สุดแล้วแต่กำลังใจเรา

และการโมทนานี่ทำให้ชุ่มชื่นใจ ใช่ไหม....เขาทำดีเรายินดีด้วย ยินดีกับความดีของเขา ไม่ช้าเราก็ดีตามเขา เพราะเราเห็นเขาดี เราก็ชอบดีใช่ไหม... แต่อย่าไปชอบดีเฉยๆ นะ ต้องทำดีด้วยนะ ทำบุญด้วยตนเองบ้าง


ผู้ถาม : หลวงพ่อครับ ปัตตานุโมทนามัย กับ ไวยาวัจจมัย นี่เหมือนกันไหมครับ

หลวงพ่อ : ไวยาวัจจมัย เขาแปลว่า ขวนขวายในกิจการงาน เช่น เขาส่งสตางค์มาทำบุญ เราช่วยส่งต่อ หรือพวกที่ช่วยขนสังฆทานนี่ ก็พลอยได้บุญไปด้วย มีอานิสงส์ต่ำกว่าบวรเณรนิดหนึ่ง ไม่เบานะ
แต่ ปัตตานุโมทนามัย ไม่ต้องลงทุน แต่พวกถือมานี่ ยังต้องออกแรงนะ พวกโมทนานี่ไม่ต้องออกแรงเลย แต่อย่าลืมนะเอาแค่โมทนาอย่างเดียวไม่ดีนะ ต้องอาศัยคนต้นตลอด ถ้าไม่ได้อาศัยคนต้นจริงๆ จะสำเร็จมรรคผลไม่ได้ เช่นเดียวกับ พระนางพิมพา ต้องอาศัยพระพุทธเจ้าตลอด


ที่มา

http://board.palungjit.com/showthread.php?t=4717
2  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / ทำไมคนเรามีสีผิวต่างกัน..? เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2008, 05:10:33 PM
๑) ผิวขาวเผือด เกิดจากการมีความโกรธเบาบาง ไม่ค่อยผูกพยาบาท ทว่า
ขณะเดียวกันก็เมตตาแบบงั้นๆ คือไม่ได้มีความรักเอ็นดูในเพื่อนร่วมทุกข์ทั้งคน
และสัตว์สักเท่าไร
๒) ผิวขาวอมชมพู เกิดจากการมีจิตฝักใฝ่ในเมตตาธรรม และเป็นเมตตา
ที่ทอรัศมีออก มาจากความเอ็นดูรักใคร่คนและสัตว์อย่างลึกซึ้ง ขอให้สังเกตว่า
คนผิวขาวสวย มักมีเนื้อหนังนุ่มแน่นและเนียนละเอียดเหมือนแผ่นหยกด้วย ผู้มี
ความสมบูรณ์แบบทางผิวพรรณชนิดไร้ที่ติประเภทนี้ จะสะท้อนอดีตกรรมในปางก่อน คือเต็มเปี่ยมด้วยเมตตาอย่างไร้ที่ติตลอดชีวิต จึงมีกำลังส่งจากกรรมเก่าคุมรูป
ให้ขาวสวยอย่างยืดเยื้อยาวนาน แม้พลาดพลั้งทำบาปอกุศลก็ไม่เห็นผลเปลี่ยนแปลงเป็นความเสื่อมโทรมคล้ำหมองของผิวง่ายนัก
๓) ผิวดำขำ เกิดจากการมีเมตตาที่เจืออยู่ด้วยโทสะอ่อนๆ ขอให้นึกถึง
คนปากร้ายใจดี ซึ่งก็แยกย่อยได้อีกหลายแบบ ปากร้ายน้อยใจดีมาก ปากร้ายมาก
ใจดีน้อย ถ้าปกติใจดีแบบเยือกเย็น ก็จะเป็นตัวกำหนดความเนียนของผิวมาก
เป็นพิเศษ
๔) ผิวดำน่าเกลียด เกิดจากการมีแต่โทสะท่าเดียว หาเมตตาทำยายาก ขอให้นึกถึงคนใจร้าย มักโกรธ โกรธง่ายหายช้า คุณจะไม่นึกไม่ออกเลยว่าจิตใจเขา
มีความสว่างหรือมีความเย็นกับใครได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใจร้ายแล้วปากยังพ่น
เป็นแต่คำหยาบคาย ชาติถัดมาจะมีผิวพรรณทรามถึงขั้นรู้สึกเป็นปมด้อย หรือกระทั่งเป็นโรคผิวหนังบางอย่างที่ส่งกลิ่นเหม็นผิดปกติ ชำระให้สะอาดหรือประพรมให้หอมได้ยาก ขอให้สังเกตว่าบางคนทั้งผิวทั้งกลิ่นปากจะน่ารังเกียจควบคู่กัน นั่นก็เพราะกรรมทางวาจาบางอย่างมีวิบากแรง แสดงผลทั้งทางผิวหนังและกลิ่นปากอย่างชัดเจน นอกจากนี้ แม้หันมาใฝ่ใจทำทานรักษาศีล ก็อาจต้องใช้เวลา หรือต้องใช้กำลังใจ
มากหน่อย ผิวพรรณจึงจะดูเปล่งปลั่งขึ้นได้ด้วยรัศมีบุญใหม่
๕) ผิวไม่ดำไม่ขาว ไม่งามไม่น่าเกลียด คือเป็นกลางๆ เกิดจากการมีเมตตาและพยาบาทในแบบที่คาดเดาได้ เรียกว่าสถานการณ์เป็นอย่างไรก็ใจดีใจร้ายตามกระแสโลกไปเรื่อย ไม่มีการควบคุมตัวเอง ไม่มีหลักการใดเป็นพิเศษ เช่น ถ้าโดนด่าแรงๆก็จะโกรธแรงและผูกใจเจ็บแรง พอเขามาง้อหรือขอโทษก็ค่อยอโหสิให้
แตกต่างจากพวกใจดี ที่แม้โดนเล่นงานก่อนก็ทำใจอภัยได้เอง โดยไม่ต้องมีใครมาขอโทษ แล้วก็แตกต่างจากพวกใจร้าย ที่แม้ใครทำดีให้ก็อาจหมั่นไส้ จับผิดเพ่งโทษได้ สำหรับผิวเป็นกลางๆนี้ก็คือคนทั่วไปในระดับเฉลี่ย แปรปรวนตามกรรมใหม่ง่าย
คือถ้าทำบาปมากๆผิวอาจแปรเป็นหมองคล้ำอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าทำบุญใหญ่ๆผิวอาจผุดผาดขึ้นทันตา
นอกจากนี้ยังอาจมีกรณียกเว้นที่ไม่เข้าข่ายข้างต้น เช่นบางคนมีผิวดำสนิท
ทั้งที่จิตใจดีงามมาก ไม่มีเค้าเลยว่าจะเคยเป็นพวกเจ้าโทสะ นั่นเป็นเพราะอดีตชาติเคยเห็นแล้วชอบใจในผิวสีแบบนั้น เป็นกรรมทางใจที่ส่งให้ไปเสวยภพของคนผิวดำสนิทได้เหมือนกัน พูดง่ายๆคือโลภะพาไป และในทางตรงข้าม หากชอบให้ของ
ชอบให้อภัย ชอบช่วยคน มีความโลภน้อยยิ่ง ถึงแม้ขี้หงุดหงิดขึ้งเคียดเก่งก็อาจจะยังมีบุญฝ่ายขาวคุ้มผิวให้ขาวได้อยู่
อีกพวกคือไม่ได้เจ้าโทสะ แต่จมปลักอยู่กับความหม่นหมองเศร้าสร้อย
เป็นนิตย์ อันนี้ก็มีสิทธิ์เกิดเป็นคนผิวดำคล้ำหมองไม่น่าดูได้เหมือนกัน พูดง่ายๆคือโมหะพาไป และในทางตรงข้าม หากฝึกที่จะมีสติตื่นตัวสดใส เป็นอยู่ด้วยความกระตือรือร้น เกิดปัญหาแล้วใช้ปัญญามากกว่าอารมณ์ อันนี้แม้อารมณ์บูดอยู่เรื่อยๆ
ก็ไม่ถึงขั้นทำให้ผิวพรรณหยาบกร้านนัก
ขอตั้งข้อสังเกตอีกแง่หนึ่ง คือการบำรุงผิวและการรู้จักเคล็ดลับออกกำลังกายให้เลือดลมเดินดี อาจทำให้ผิวงามขึ้น แต่จะขาดรัศมีหรือกระแสทางใจที่ก่อให้เกิดความรู้สึกด้านดี คล้ายคุณเห็นหุ่นขี้ผึ้งของยอดฝีมือไร้ที่ติ พอสัมผัสใกล้ชิดก็รู้สึกว่าขาดชีวิตจิตใจ แห้งแล้ง ไม่ชุ่มชื่น แตกต่างจากความงามที่เปล่งออกมาจากแรงบุญ ซึ่งชวนให้เกิดความชื่นใจ รู้สึกมีชีวิตชีวาได้ยิ่งกว่ากันมาก

(หยิบยกมาจาก เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว ของดังตฤณ)
3  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / การรักษาใจ กับ การข่มใจ โดย หลวงพ่อจรัญ เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2008, 05:05:51 PM

วันนี้จะบรรยายธรรม อนุสาวรีย์ของสมเด็จพระบรมศาสดา
แสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ซึ่งเป็นหลักแห่งพระศาสนาที่นับถือของตน
คนเราจะต้องมีพระศาสนาเป็นเครื่องจูงใจ
จึงจะทำความรู้และความประพฤติของตนให้ประกอบด้วยประโยชน์
การนับถือพระศาสนาต้องเคารพนับถือพระพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของ
ประพฤติตามธรรมคำสั่งสอนของพระองค์
นับถือพระสงฆ์เป็นผู้ปกครองรักษา เช่นเดียวกับอาณาจักร
อย่างพวกทหารเคารพนับถือสมเด็จพระมหากษัตริย์
และประพฤติตามวินัยที่ทรงบัญญัติ
สำหรับหมู่คณะของตนไม่ฝ่าฝืน
นับถือนายที่เป็นผู้ใหญ่เหนือตน
อันได้รับการศึกษาคุ้นเคยในกิจการ
ซึ่งสมเด็จพระมหากษัตริย์ทรงวางพระทัย
แต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับบัญชา
ฉะนั้นพระศาสนา ปฏิบัติให้ถูกทางแล้ว
ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่บุคคลทุกจำพวก
แม้พวกข้าราชการทหารก็ต้องยึดธรรมเป็นหลัก
จึงจะนับว่าเป็นทหารที่ดี

ธรรมที่ทหารควรยึดถือเป็นหลักนั้น
จะยกขึ้นกล่าวในที่นี้ ๒ ประการคือ
๑ ความรักษาใจ
๒. ความข่มใจ

ธรรม ๒ ประการนี้เป็นของสำคัญ
เพราะใจเป็นเครื่องกระทบอยู่รอบข้าง
ถ้าไม่มีธรรมกำกับอยู่ด้วย
มักจะเพลิดเพลินไปในอารมณ์ที่ล่อให้มัวเมา
และสะดุ้งหวาดหวั่น ด้วยอำนาจอารมณ์ที่ขู่ให้ตกใจ
เมื่อใจแชเชือนไปเช่นนั้น
การพูดการทำก็ย่อมเชือนไปตามกัน
เมื่อความประพฤติเสีย แม้จะมีวิทยาความรู้สักเพียงไร
ก็ไม่เป็นประโยชน์ กลับจะใช้ความรู้ในทางที่ผิด
เป็นดังนี้ ก็ด้วยอำนาจความคิดอันวิปริต
สมดังสุภาษิตโบราณท่านกล่าวไว้ว่า
ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ข้อนี้ ต้องจำใส่ใจไว้

ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=11263
4  การปฏิบัติของผู้ที่ได้ ฌาณ / ประสบการณ์ของผู้ที่ได้ไปนรกภูมิ / ตายจากพระสงฆ์ไปเกิดเป็นเต่า เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 02:57:16 AM


"..มีเต่าตัวใหญ่ตัวหนึ่ง เจ้าของมีความรู้สึกว่าเต่าอยากจะมาหาหลวงพ่อ จึงพามาที่บ้านสายลม วันแรกมาถึงเจ้าของจับใส่ไว้ในกล่อง เต่าอยากตะกายออกจากกล่องท่าเดียว พอพ้นออกมาได้ก็คลานมาหาอาตมาทันที วันรุ่งขึ้นเจ้าของพามาอีก ขณะที่หลวงพ่อเทศน์และให้นั่งเจริญพระกรรมฐานตอนกลางคืน เต่าอยู่นิ่งไม่คลานไปไหน มองตลอดเวลา พอเจริญพระกรรมฐานเสร็จ มองดูเต่า เต่ายื่นหัวออกมาจากกระดองจนสุดแล้วก้มหัวติดพื้น เต่านํ้าตาไหล อาตมาบอกว่า "เต่าตัวนี้ตายคราวนี้ไปเกิดเป็นเทวดาชั้นดาวดึงส์"พอเห็นภาพนั้นก็นึกในใจว่าอยากจะรู้กฎของกรรมว่าเป็นเพราะอะไร
พอตอนเย็นขึ้นพักอาบนํ้าแล้วก็นอน วันนี้เพลียมากใจสั่นอารมณ์ไม่ทรงตัวนัก คุมอารมณ์แบบนี้มันก็จะแถไปแบบโน้น แต่มันไม่ลงตํ่ามันอยู่สูง แต่มันไม่ไปตามที่เราชอบ นึกในใจถ้ามีเรื่องอะไรจะต้องรู้ต้องเป็นแบบนี้ ถ้าคุมอารมณ์ทรงตัวเราจะไม่รู้เรื่องนั้น ถ้าเรื่องจำเป็นจะต้องรู้มีอยู่ จะคุมอารมณ์ทรงตัวไม่ได้ จะเป๋ไปไม่เข้าทางตามที่เราต้องการนัก ก็เลยหยุด พอหยุดปั๊บก็มีเสียงบอก "ให้ทำฌานสมาบัติ" พอจับก็อยู่ เมื่ออยู่แล้วจิตก็นึกถึงเต่าว่า "เต่ามีความเป็นมาอย่างไรจึงสนใจพระ สนใจคน สนใจกับสิ่งที่เป็นกุศลมาก"
พระท่านก็บอกว่า "เต่าตัวนี้ก่อนที่จะมาเป็นเต่าเป็นพระสงฆ์"
เป็นอันว่าเต่าตัวนี้มาจากพระสงฆ์ ถามท่านว่า "เป็นพระตายแล้วน่าจะเป็นเทวดาเป็นพรหม" ท่านบอก "แน่นักหรือ พระนี่ไปอบายภูมิมากกว่าเกิดเป็นคน พระที่มาเกิดเป็นคนก็น้อยกว่าที่ไปเกิดเป็นเทวดา พระที่ไปเกิดเป็นเทวดาก็ยังน้อยกว่าที่ไปเกิดเป็นพรหม"ได้ถามความเป็นมาตอนต้นเขามีความประพฤติดี รักษาศีล รักษาธรรม ทำทาน รู้สึกดีมากในเกณฑ์ของศีลไม่ใช่สมาธิ สมาธิมีเล็กน้อย มีการเสียสละ มีการให้ทาน มีการก่อสร้าง เห็นประวัติเขาดีมากแต่ว่าตอนปลายมือจิตมัวไปหน่อย ตอนใกล้จะตายก็มีบริวารมากขึ้น มีลูกศิษย์ลูกหามากขึ้น ก็ทำดีบ้างไม่ดีบ้าง อารมณ์ก็เลยรักลูกศิษย์มากไป ลูกศิษย์ทำไม่ดีก็ไปโกรธ โกรธจนฝังใจ โกรธประเดี๋ยวเลิกมันก็ไม่ค่อยดีอยู่แล้ว แต่นี่โกรธค้างคืน ก็พอดีเวลาตายอารมณ์เศร้าหมองก็ไปเกิดเป็นเต่า เป็นเต่าแค่ชาติเดียวตายแล้วก็จะไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตอนพูดถึงเต่าหันหน้ามานํ้าตาไหล อาตมาเลยสงสาร
รวมความว่า อย่าลืมอารมณ์โทสะ ทุกคนต้องมีแต่พยายามฝึกอย่าให้มันค้างนาน แต่รายนี้ไม่ได้โกรธจะฆ่าใครหรอก แค่ลูกศิษย์บางคนทำไม่ดี จิตก็ไปเกาะมากเกินไป ต้องคิดว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า "อักขาตาโร ตถาคตา"แปลว่า "ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก" บอกแล้วทำดีเราก็คบหาสมาคม เมื่อไม่ทำดีเราก็เฉย หมดเรื่องกันไป คำว่าเฉยหมายความว่าไม่คบ ถ้าหนักเกินไปก็ลงพรหมทัณฑ์ ก็ต้องถือว่าตัวใครตัวมัน นี่เป็นเหตุเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง ถ้าพูดตามส่วนก็ถือว่าโทษไม่มาก
แต่จิตไปเศร้าหมองไปขุ่นมัวเมื่อลูกศิษย์ทำชั่ว และก็มีอารมณ์ขัง เมื่อตอนจะตายมันกระตุกขึ้นมา นึกถึงไอ้เจ้านั่นขึ้นมา อารมณ์จึงมัวและก็ตายตอนนั้น จึงมาเกิดเป็นเต่า.."

ที่มา
http://board.palungjit.com/showthread.php?t=153946
5  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / รวมบทสวดมนต์ เพือทำสมาธิ ทำจิตใจให้สงบ / อานุภาพอันอัศจรรย์ของคาถาพาหุง (พุทธชัยมงคลคาถา) เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 02:53:14 AM
อานุภาพอันอัศจรรย์ของคาถาพาหุง (พุทธชัยมงคลคาถา)

พุทธชัยมงคลคาถา (คาถาพาหุงแปดบท)




พระคาถาพาหุง แปดบทนี้ แม้ว่าผู้ใดได้สวดประจำสม่ำเสมอทุกวันแล้ว จะเกิดศิริมงคล และแคล้วคลาด ทั้งปวง เป็นสิ่งที่เป็นมงคลแห่งชีวิต และมีอานุภาพแยกกันไปทั้งแปดบท แต่ละบทนั้นได้ได้แตกต่างกันออกไป ดังจะสาธยาย ดังนี้>>

(๑) พาหุงสะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง

ครีเมขะลังอุทิตะโฆระสะเสนะมารัง

ทานาทิธัมมะวิธินาชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ





ปราบมาร ด้วยทานบารมี พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์พระยาวัสสวดีมาราธิราช ได้ขี่ช้างคิรีเมขลังยกทัพมารที่ดุร้ายมุ่งผจญข่มขู่พระโพธิสัตว์ แต่ด้วยบุญบารมีของพระโพธิสัตว์ทำให้พระแม่ธรณีปรากฏกายขึ้นบิดมวยผม เกิดน้ำท่วมใหญ่พัดพากองทัพมารแตกพ่ายไป




การสวดพระคาถาพาหุงบทที่ ๑ นี้ ใช้สำหรับข่มศัตรูที่เหนือกว่าด้วยกำลังและบารมี คอยแต่กดขี่ข่มเหงเราด้วยความไม่เป็นธรรม หากเป็นเช่นนี้ ให้สวดบูชาพระทุกวัน ๆ ละ ๓ จบ แล้วแผ่เมตตาไปยังผู้ที่กดขี่ข่มเหงเรา บุคคลผู้นั้นจะพินาศไปในทันที แต่มีข้อแม้ว่า เราผู้ถูกข่มเหงจะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์และไม่เป็นฝ่ายผิดที่คิดร้ายต่อเขา ก่อน หากจำเป็นจริง ๆ จึงทำ เพราะด้วยบารมีแห่งสัจจะกิริยา และพรพาหุงบทที่ ๑ จะทำให้ผู้ที่คิดร้ายมีอันเป็นไปต่าง ๆ นานา





(๒)มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง

โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินาชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

ปราบยักษ์ ด้วยขันติธรรมพระพุทธเจ้าเสด็จไปปราบอาฬวกยักษ์ซึ่งสำแดงฤทธิ์ ถีบยอดเขาไกรลาศ แล้วร้องเรียกยักษ์บริวารมาล้อมวิมาน ยิงศาสตราวุธ๗ ประการใส่พระพุทธเจ้า อาวุธนั้นกลับกลายเป็นดอกไม้บูชาพระพุทธองค์อาฬะวะกะยักษ์แพ้ฤทธิ์แล้ว พระองค์จึงเทศนาโปรด จนยักษ์ถึงแก่พระโสดา


การได้สวดภาวนาพระคาถาพาหุงบทที่ ๒ ก่อนนอน ๓ จบ จะป้องกันภูตผีปีศาจร้ายไม่ให้กล้ำกรายเขตบ้านเรือน แม้แต่ยักษ์มารทั้งหลายก็เกรงบารมี จะเดินทางเข้าป่าเข้าพง นอนในที่กันดาร แปลกที่แปลกถิ่น ให้ภาวนาก่อนนอน ๓ จบ จะป้องกันภัยได้อย่างแท้จริง อวมงคล อันเกิดจากปีศาจหลอนจะไม่มี กินน้ำกินท่า กินอาหารแปลกถิ่น กลัวจะท้องเสีย เสกอาหาร เสกน้ำนั้นด้วยการสวดคาถาพาหุงบทที่ ๒ จะป้องกันโรค ป้องกันท้องเสียและคุณไสยได้เป็นอย่างดี หากผีเข้าคน ให้เสกเจ็ดคาบ เป่าลงไปในน้ำ เอาหญ้าคา ต้นตะไคร้ ต้นข่า ใส่ลงไปในน้ำ รดแล้วฟาดด้วยหญ้าคา หรือต้นตะไคร้ ต้นข่าก็ได้ ผีหนีไปไกลแล






(๓) นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง

ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะสุทารุณันตัง

เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท




ตันเตชะสา ภะวะตุเตชะยะมังคะลานิ

ปราบช้าง ด้วยเมตตาธรรมพระพุทธองค์ทรงทรมานช้างนาฬาคีรีครั้งนั้นพระเทวทัตคิดฆ่าพระพุทธเจ้า จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรูขอให้เอาเหล้ากรอกช้างนาฬาคีรี แล้วปล่อยไปตามถนน ที่พระพุทธองค์เสด็จออกบิณฑบาตพระพุทธเจ้าทรงทรมานช้างนาฬาคีรีให้หายเมาเหล้า แล้วตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมณ์

คาถาพาหุงบทที่ ๓ มีอุปเท่ห์การใช้ดังนี้ (๑) สวดภาวนาก่อนจะเดินทางออกจากบ้าน ๓ จบ เป็นการป้องกันเขี้ยวงาจากสัตว์ร้ายทั้งปวงไม่ให้มากล้ำกรายได้ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์บก สัตว์น้ำและงูพิษต่าง ๆ เข้าป่าภาวนาก่อนเข้าจะปลอดภัย จะลุยข้ามน้ำ ข้ามห้วยหนองคลองบึง ภาวนา ๓ จบ วักน้ำสาดไปข้างหน้า จะป้องกันพรายน้ำและจระเข้ (๒) จะทำให้สัตว์เชื่อง เสกข้าว เสกน้ำให้สัตว์กิน ทำติดต่อกัน ๗ วัน ก็จะเชื่อง จะฝึกสัตว์ให้คล่อง ภาวนาก่อนฝึก ๓ จบ จะฝึกสัตว์ให้ง่ายขึ้น หากสัตว์ร้ายวิ่งเข้ามาจะกัด จวนตัวหนีไม่ทัน ให้ตั้งมั่นรำลึกถึงพระบารมีพระพุทธองค์ และภาวนาคาถาพาหุงบทที่ ๓ มันอ้าปากไม่ขึ้นแล (๓) สัตว์เป็นโรคระบาดให้บูชาพระด้วยดอกไม้ธูปเทียน เอาน้ำใส่ขั้น เสกน้ำให้เป็นน้ำมนต์ด้วยพระคาถาพาหุงบทที่ ๓ สามจบ เอาไปให้สัตว์กิน เอาไปประพรมคอก จะบรรเทาโรคระบาดได้ดี (๔) สัตว์เลี้ยงชอบกัดกันเป็นประจำ เบียดเบียนกัน เสกน้ำด้วยคาถาพาหุงบทที่ ๓ ให้เป็นน้ำมนต์ ๓ จบ ให้แต่ละตัวแบ่งกันกิน สัตว์จะไม่กัดกันอีกต่อไป





(๔)อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง

ธาวันติโยชะนะปะถัง คุลิมาละวันตัง

อิทธีภิสังขะตะมะโนชิตะวา มุนินโท






ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ





ปราบมหาโจร ด้วยอิทธิฤทธิ์ พระพุทธเจ้าทรงโปรดองคุลิมาลเมื่อพระพุทธองค์กลับจากบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีพบองคุลิมาลองคุลิมาลเห็นเข้าจึงจับอาวุธไล่ตามพระพุทธองค์ แต่ไล่ตามไม่ทันพระพุทธองค์ตรัสให้ องคุลิมาลได้คิด ?เราหยุดแล้ว แต่ท่านสิไม่หยุด? องคุลิมาลเลื่อมใส ขอบวช และตามเสด็จกลับไปกรุงสาวัตถี พักอยู่ ณ เชตวนาราม

อุปเท่ห์การใช้คาถาพาหุงบทที่ ๔ (๑) ภาวนา ๓ จบ ก่อนออกจากบ้าน แล้วอธิษฐานให้แคล้วคลาดจากศัตรูหมู่พาล สันดานหยาบ และหมู่พวกโจรทั้งหลาย จะแคล้วคลาดจากโจรร้าย และภัยจากการประทุษร้ายจนกลับถึงบ้าน (๒) ภาวนาทำน้ำมนต์คนไข้ที่ถูกผีตายโหงสิงก็ดีนัก แต่เมื่อจะทำน้ำมนต์มาใช้ ให้รำลึกถึงองคุลีมาลจอมโจรผู้เข่นฆ่าแล้วกลับมาเป็นสงฆ์ ขอให้ทำลายภูตผีปีศาจให้กระจายไป รดไปเถิด รดจากหัวถึงเท้าผีเข้าก็ออกแล (๓) ก่อนนอนสวดระลึกถึง ๓ จบ ตั้งใจให้เป็นกำแพงคุ้มครองบ้านเรือน เมื่อโจรเข้าบ้านจะตื่นก่อนแล


   



(๕) กัตวานะกัฎฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา


จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ

สันเตนะโสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ








ปราบหญิงแพศยา ด้วยสันติธรรมพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เชตุพนใกล้เมืองสาวัตถี ครั้งนั้นเกิดลาภสักการะในพระพุทธศาสนามากพวกเศรษฐีให้นางจิญจมาณวิกา ทำอุบาย เข้าออกในพระเชตุพนเนืองๆแล้วเอาท่อนไม้ผูกท้องเข้าในผ้านุ่ง ไปยืนแสดงตนขณะพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาร้องตู่ว่าพระองค์ทำให้นางมีครรภ์ พระอินทร์และเทพยดา ๔ องค์นิมิตลงมาเป็นหนูกัดเชือกผูกท่อนไม้ขาดแล้วแผ่นดินก็สูบนางจิญจมาณวิกาลงไปในนรก

คาถาบทนี้ มีอุปเท่ห์ในการใช้ดังนี้ ใช้ขับลูกที่ตายในท้อง หรือ คลอดยาก ให้ท่องคาถาบทที่ ๔ พอมาถึงท่อนที่ว่า ?อิวะคัพภินียาจิญจายะ? ให้เปลี่ยนคำว่า ?คัพ? เป็น ?ขับ? อันหมายถึงการขับ ทำน้ำมนต์สวด ๓ จบแล้ว เป่าลมปราณลงไป เอาไปให้คนไข้กิน เหลือเอาลูบหัว จะเกิดลมเบ่งช่วยให้คลอดลูกได้ ใช้แทนคาถา ?ยะโตหัง? อันเป็นคาถาองคุลีมาลได้เป็นอย่างดี


   


(๖) สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง

วาทาภิโรปิตะมะนังอะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

ปราบเจ้าลัทธิ ด้วยปัญญาพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในมหาวันใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นมีสัจกนิครนถ์บุตร อาศัยในเมืองเวสาลี ถือมิจฉาทิฐิตั้งตนเป็นปราชญ์ มีความรู้มาก ต้องทำแผ่นเหล็กรัดท้อง เพราะกลัววิชาจะทำลายท้องแตกวันหนึ่งพบพระอัสชิ จึงถามปัญหาแก่ท่าน ต่อมาได้ชวนพญาลิจฉวีทั้ง ๕๐๐ ไปป่ามหาวันถามปัญหาแก่พระพุทธเจ้า ขณะนั้นพระอินทร์นิมิตเป็นยักษ์ถือฆ้อน ลอยอยู่บนอากาศเหนือศีรษะของสัจกนิครนถ์ สัจกนิครนถ์นั้นได้ฟังพระธรรมเทศนา จากพระพุทธเจ้าก็ละมิจฉาทิฐิ แล้วตั้งตนอยู่ในพระไตรสรณคมณ์

โบราณจารย์ ได้บอกอุปเท่ห์การใช้พระคาถาพาหุงบทที่ ๖ นี้ ไว้ดังต่อไปนี้คือ แก้การใส่ไคล้โดยไม่เป็นจริง เฉพาะผู้ที่กล่าวใส่ร้ายเป็นชาย กรรมวิธีเป็นแบบเดียวกับคาถาพาหุงบทที่ ๕ ?นางจิญจามาณวิกา? ทุกประการ ใช้ในการเอาชนะทางด้านการพูด การละเล่น เมื่อจะไปโต้วาทีหรือแสดงการละเล่นประชัน ตลอดจนการแข่งขันที่ต้องใช้โวหารทั้งปวง ให้สวดคาถาพาหุงลำดับที่ ๖ สามจบ ก่อนจะออกไปกระทำการดังกล่าว ระลึกเอาพระบารมีที่ชนะสัจจะกะนิครนถ์เป็นที่ตั้ง เสกน้ำหนึ่งแก้วเป็นน้ำมนต์กินก็ยิ่งดีใหญ่ เมื่อไปถึงสถานที่ที่จะต่อสู้แล้ว ให้ภาวนาคาถานี้ ๑ จบ จะเต้น จะรำ จะโต้วาที ก็ทำเถิดจะเกิดชัยชนะทุกเมื่อแล

คาถาบทที่ ๖ นี้ ใช้ปิดปากคนนินทาว่าร้ายเราได้อีกด้วย กล่าวคือ ท่านให้เอากระป๋องหรือกล่องโลหะที่มีฝาปิดมิดชิดมาหนึ่งใบ เขียนชื่อ นามสกุล คนที่ใส่ร้ายหรือนินทาว่าร้ายเรา โดยปราศจากความจริงด้วยความเท็จทั้งปวง ให้รำลึกถึงพระบารมีที่ทรงชนะต่อนางจิญจามาณวิกา และสัจจะกะนิครนถ์ เสกด้วยคาถาทั้งสองบทคือ บทที่ ๕ และบทที่ ๖ บทละ ๓ จบ เป่าลงไปที่ชื่อ นามสกุล แล้วแผ่เมตตาซ้ำลงไป อย่าไปผูกพยาบาทจองเวรเขา อธิษฐานให้คนผู้นั้นสงบปาก จากนั้นก็ม้วนกระดาษชื่อลงไปในกระป๋องหรือกล่องผนึกปากให้แน่นหนา เอาบูชาไว้ที่หิ้งพระสัก ๓ วัน แล้วเปิดกระป๋องขึ้นทีหนึ่ง หากยังไม่สงบปากให้ปิดต่อไปจนครบเจ็ดวัน ก็เปิดอีกทีหนึ่ง เขาจะสงบเงียบไปทันที หากยังขืนปากมากเป็นฝีที่ปากหรือที่ลิ้น จะแพ้ภัยไปเอง ห้ามทำเกินเจ็ดวันจะเข้าตัวแล




(๗) นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง

ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะทะมาปะยันโต

อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เตชะยะมังคะลานิ








ปราบพญานาคจอมพาลด้วยฤทธิ์สู้ฤทธิ์ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เหาะไปสู่เทวโลกพญานัน-โทปนันทนาคเห็นเข้า ก็โกรธว่าพระสมณะเหาะข้ามศีรษะจึงบันดาลขดกายใหญ่พันเขาพระสุเมรุ แผ่พังพานยังดาวดึงส์พระพุทธองค์ส่งพระโมคคัลานะไปปราบ ต่างสำแดงฤทธิ์เดชต่างๆ เป็นโกลาหลภายหลังพญานาคแพ้ฤทธิ์ แล้วตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมณ์

อุปเท่ห์การใช้มีดังนี้ ป้องกันอสรพิษและแมลงป่องทั้งหลาย เมื่อจะต้องไปทำไร่ทำนาดายสวน ดายไร่ บุกป่าดงที่มีอันตรายจากอสรพิษ และแมลงมีพิษต่าง ๆ ให้ตั้งนะโม ๓ จบ สวดพระคาถาพาหุงบทที่ ๗ สามจบ รำลึกถึงบารมีที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงมีชัยแก่นันโทปนันทะนาคราช ขอให้มาป้องกันตนเองด้วย จากนั้นก็เป่าลมพรวดไปที่ฝ่ามือทั้งสองแล้วเอาลูบไล้ที่แขนขาและบริเวณที่ ต้องสัมผัสกับความรกและบริเวณร่างกายที่น่าจะถูกกัดต่อยจากอสรพิษ แล้วยาตราไปเถิด จะแคล้วคลาดจากการขบกัดต่อยของสัตว์ร้าย แม้ไปเหยียบมัน มันก็อ้าปากไม่ขึ้นแล


(๘) ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง

พรัหมังวิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง

ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสาภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ





ปราบพกาพรหม ด้วยญาณพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นสู่พรหมโลกท้าวพกาพรหมเห็นพระพุทธองค์เสด็จมา จึงเรียกร้องด้วยคำกระด้าง แล้วกำบังกายแต่ก็มิสามารถกำบังกายได้ หมู่พรหมทั้งหลายก็หัวเราะเยาะเย้ยท้าวผกาพรหมได้รับความอับอายยิ่งนัก แล้วพระพุทธเจ้าจึงเทศนาธรรมทรมานท้าวพกาพรหมและพรหม ๑,๐๐๐ ให้สำเร็จมรรคผล



อุปเท่ห์การใช้คาถาบทที่ ๘ มีดังนี้ คือใช้ ปราบพยศคนดื้อดึง ให้ทำน้ำมนต์ เสกด้วยคาถาบทนี้ ๓ จบ แล้วเอาไปให้กิน คนที่ดื้อดึงถือดีจะลดพยศลง เด็กดื้อให้กินน้ำมนต์ก็จะหายดื้อ จะไปเจรจาปรับความเข้าใจกับคนที่เคยโกรธเคืองมีทิฐิร้าย ก็เสกน้ำมนต์ ๓ จบกินก่อนไปเจรจาและก่อนเจรจาก็ให้ท่องคาถาพาหุงบทที่ ๘ อีกหนึ่งจบ แล้วไปเจรจาเถิดดีนักแล>>


(๙) เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา

โย วาจะโน ทินะทิเนสะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ

โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะนะโร สะปัญโญ



คำแปลบทที่ ๙คนมีปัญญาสวดพุทธชัยมงคล คาถาทั้ง ๘ นี้เป็นประจำ โดยไม่เกียจคร้านพึงขจัดอุปัทวันตรายทั้งหลายได้ บรรลุถึงซึ่ง พระนิพพานอันเป็นสุข?



ฝอยพาหุง

ไหว้คุณพระสัตถา พระมหาอนัตตะคุณ
มีฤทธิ์อันสมบูรณ์ สืบบุราณมานานเมือง
พาหุงแปดบทต้นนั้น คุณอนันต์เอนกเมือง
ช่วยสัตว์ไม่ขัดเคือง ล้ำเลิศยิ่งทุกสรรพ์
ถ้าแม้นจะแก้คุณ ให้ดับสูญสิ้นเสียพลัน
ผีภูตปีศาจอัน ที่สมมุติมนุษย์ทำ
บทสองคือมารา ให้เสกยากินประจำ
มีคุณนั้นเลิศล้ำ สะเดาะโรคไม่ราคิน
อนึ่งจะเข้าสู่ไพรสณฑ์ จะผจญด้วยไพริน
สารพัดสัตว์กลัวสิ้น ด้วยนาฬาประเสริฐสม
อนึ่งจะจรไปต่างเมือง ให้รุ่งเรืองทั่วนิคม
ฝูงชนย่อมนิยม นะโมน้อมเป็นไมตรี
อุกขิตตะขัคให้ภาวนา เกิดลาภาเหมือนวารี
บูชาทุกดิถี มาสู่ที่สำนักตน
อนึ่งมีศัตรูหมาย มาทำร้ายจลาจล
จะให้จิตต์ผู้นั้นวน สามิภักดิ์มารักเรา
ให้รำลึกพระคาถา กัตวาแล้วนึกเอา
ผู้นั้นจะบรรเทา กลับใจจิตเป็นมิตรพลัน
อนึ่งจะพูดให้เขาเชื&
6  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / ต่อบุญบารมี...โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 02:50:28 AM


ทางด้านการภาวนา การภาวนานี้แปลว่าเจริญ คือใช้สติปัญญาให้เกิดขึ้น อันดับแรก ทำจิตให้เป็นสมาธิ ในเมื่อจิตเราพอใจในการให้ทาน พอใจในการรักษาศีล การพอใจและการนึกถึงอยู่เขาเรียกว่าสมาธิ เมื่อ สมาธิเกิดขึ้นปัญญาก็เกิด นี่ตัวภาวนานะ ตัวปัญญาก็เกิดว่าเรารักษาศีลเพราะอะไร ก็เพราะว่าเราเกิดมาแล้วไม่ได้อยู่ตลอดกาลตลอดสมัย ร่างกายของคนทุกคนและสัตว์ก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีเกิดขึ้นในเบื้องต้น และก็มีความแปรปวนในท่ามกลางมีการแตกสลายคือในที่สุด ในที่ความตายก็เข้ามาถึงเรา อันนี้เป็นมรณานุสสติกรรมฐาน ทำทีเดียวได้หลายอย่าง
ในเมื่อเราคิดอย่างนี้แล้วว่า ถ้าเราตายไปชาตินี้เราเป็นคนให้ทาน ทานจะเป็นปัจจัยให้เราได้มีความสุขในด้านทรัพย์สิน เราเป็นคนมีศีล ศีลจะทำให้เรามีความสุขในด้านร่างกายและความเป็นอยู่ตามที่กล่าวมาแล้ว การเจริญภาวนาเป็นเหตุทำให้คนมีปัญญา ถ้าปัญญาเราน้อยก็สามารถเกิดเป็นเทวดานางฟ้าก็ได้ เป็นพรหมก็ได้ตามความพอใจ ถ้ามีปัญญามีมากถึงที่สุดก็ไปนิพพานได้
ก็รวมความว่าทั้งสามอย่างนี้ให้มีไว้ในใจไว้เสมอ ทีนี้มาว่าถึงภาวนา จะใช้อะไร เมื่อ กี้ว่าภาวนาว่า พุทโธ เป็นการนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ การนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ การนึกถึงพระพุทธเจ้านี่บรรดาพุทธบริษัท ทุกคนนึกถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน เวลานี้พระพุทธเจ้าอยู่ที่นิพพาน ความรู้ทั้งหมดที่เราใช้เป็นของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ถ้าเรานึกพระพุทธเจ้า ก็ชื่อว่าเราเชื่อพระพุทธเจ้า มีศรัทธาท่าน มีความเชื่อท่าน ในเมื่อมีความเชื่อมีความศรัทธาในท่าน เราก็ปฏิบัติตามท่าน
1.การให้ทาน เราทำแล้ว
2.การสมาทานศีล เราทำแล้ว
3.การเจริญภาวนา เราทำแล้ว
และถ้าบุญบารมีของท่านยังอ่อนต้องเร่ ร่อนไปในวัฏสงสาร อย่างน้อยที่สุดก็เกิดเป็นคนรวย เป็นคนสวย เป็นคนมีปัญญา หรือมิฉะนั้นก็เป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นพรหม แต่ว่าเราเกิดทุกชาติเราจะไม่พลาดพระพุทธเจ้า ไม่พลาดจากพระพุทธศาสนา จะมีการต่อบุญบารมีกันเรื่อย


หนังสือคำสอนหลวงพ่อวัดท่าซุงเล่มที่22 หน้า 112-113บางส่วน
7  ความสำคัญของพระพุทธศาสนา และทุกอย่าง เกี่ยวกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า / ทุกอย่างที่เกี่ยวกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน / ลักษณะแห่งพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 02:47:36 AM
พระธรรมคือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อกล่าวโดยลักษณะท่านจัดออกเป็น ๔ ลักษณะ คือ.....

๑. สวากขาตธรรม เป็นพระธรรมอันพระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ดีแล้วทั้งที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต (ธรรมที่เป็นกลาง ๆ ไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล) เป็นพระธรรมอันมีความงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด สมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ

๒. สัลเลขธรรม เป็นพระธรรมที่ทำหน้าที่ขัดเกลาจิต หรือบาปอกุศลให้ออกไปจากจิต ตามคุณสมบัติแห่งองค์ธรรมนั้น เช่น ปัญญาขจัดความโง่เขลา เมตตาขจัดความพยาบาทความโกรธ เป็นต้น

๓. นิยยานิกธรรม เป็นธรรมที่นำสัตว์ผู้ปฏิบัติ ให้ออกจากอำนาจของกิเลส ทุกข์ และสังสารวัฎ นำออกจากเวรภัยในปัจจุบัน

๔. สันติธรรม เป็นพระธรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุขในชั้นนั้น ๆ ตามสมควรแก่ธรรมที่บุคคลได้เข้าถึงและปฏิบัติตาม จนถึงสันติสุขอย่างยอดเยี่ยมคือพระนิพพาน ดังที่ทรงแสดงไว้ว่า

นตฺถิ สนติ ปรํ สุขํ (สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี)

อย่างไรก็ตาม พระธรรมทั้งมวลที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้นทรงแสดงว่าเป็นธรรมที่มีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น คือจะเป็นกุศล อกุศลและอัพยากฤต และแม้แต่มรรคผลนิพพาน เป็นธรรมฐิติ ธรรมนิยามคือพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม พระธรรมคงมีสภาพเป็นอย่างนั้น พระองค์ได้ทรงค้นพบธรรมเหล่านี้ นำมาเปิดเผยชี้แจงแสดงแก่โลกตามความเป็นจริงแห่งธรรมเหล่านั้น

หน้าที่ของพระองค์ในฐานะผู้ค้นพบคือทรงแสดงธรรมเหล่านั้นให้ฟัง อันเป็นการชี้บอกทางที่ควรเดินและควรเว้นให้เท่านั้น ส่วนการประพฤติปฏิบัติเป็นหน้าที่ของผู้ฟัง จะต้องลงมือทำด้วยตนเอง ฉะนั้น อำนาจในการดลบันดาล การสร้างโลก เป็นต้น จึงไม่มีในพระพุทธศาสนา

อันที่จริงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้น ทำให้พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู คือ ทรงรู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริงโดยไม่มีส่วนเหลือ แต่ในการสอนนั้นทรงมีหลักการสอนดังกล่าวแล้วคือ ทรงมุ่งไปที่คนนั้น ๆ จะได้รับประโยชน์สามารถเกื้อกูลและอำนวยความสุขให้แก่ผู้ฟัง ธรรมที่พระองค์นำมาสอนจึงเป็นเพียงส่วนน้อย อุปมาเหมือนใบไม้ในป่ากับใบไม้ในฝ่ามือ คือที่ทรงรู้นั้นมากเหมือนใบไม้ในป่า แต่ที่ทรงนำมาสั่งสอนนั้นเหมือนใบไม้ในกำมือเท่านั้น.


(ที่มา-หนังสือความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดยภัทรวรรณ วันทนชัยสุข)


8  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / บันทึกธรรมภาษิต โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรัง เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 02:45:34 AM


(๑) ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ถ้ายังปฏิบัติไม่ถึงจิตถึงใจ ยังได้ชื่อว่าปฏิบัติไม่ถึงหลักธรรมของจริง เพราะธรรมทั้งหลายเกิดจากจิตจากใจอย่างเดียว

(๒) ความคิดนึกปรุงแต่ง สัญญาอารมณ์ทั้งปวง หรือสรรพกิเลสทั้งปวงเกิดจาก จิต นี้ทั้งนั้น เมื่อไม่มีสติควบคุมจิต แต่ตรงกันข้าม เมื่อมีสติควบคุมแล้วย่อมให้เกิดปัญญา

(๓) ผู้ไม่รู้เท่าเข้าใจที่ตั้งที่เกิดของ ขันธ์ห้า ขันธ์สี่ ขันธ์หนึ่ง ขันธ์ทั้งสามย่อมถูกกิเลสกลืนกินหรือครอบงำได้ นักปราชญ์ย่อมรู้เท่าเข้าใจที่ตั้งที่เกิดของขันธ์ห้า ขันธ์สี่ ขันธ์หนึ่ง แล้วท่านย่อมพ้นจากการครอบงำของมันได้

ขันธ์ห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ขันธ์สี่ ได้แก่ อรูปฌาน
ขันธ์หนึ่ง ได้แก่ สัญญาเวทยิตนิโรธ

(๔) กายคตาสติ ย่อมเป็นที่ตั้งของกัมมัฏฐานทั้งปวง กายอันนี้ถึงมันจะมีหรือไม่มี มันก็ถืออยู่ดีๆ นี้แหละ ยิ่งปฏิสนธิ ก็ยิ่งถือใหญ่ เจริญสมถะและวิปัสสนา ถ้าทิ้งกายเสียแล้ว จะไม่มีหลักเห็นชัดแจ้งในกัมมัฏฐานทั้งปวง

(๕) ผู้ใดไม่เห็นทุกข์ ผู้นั้นคือผู้ไม่เห็นธรรม ผู้ได้รับทุกข์ จนเหลือที่จะอดกลั้นแล้ว เมื่อหวนกลับเข้ามาถึงตัวนั่นแลจึงจะรู้จักว่าทุกข์นั้นแลคือ ธรรม ผู้เกลียดทุกข์เป็นผู้แพ้ ผู้พิจารณาทุกข์ คือ ผู้เจริญในทางธรรม

(๖) เมื่อสติตามกำหนดจิตแล้ว จิตจะไม่สับส่ายไปมา กิเลสทั้งหมดจะระงับได้ด้วย สติ ตัวเดียวเท่านี้

(๗) เมื่อสติตามกำหนดจิต รู้อยู่ทุกอิริยาบถ จิตจะค่อยรวมเข้าเป็นหนึ่ง นั่นคือ ใจ ซึ่งไม่มีการส่งส่ายไปมา มีแต่ผู้รู้เฉยๆ หรือเรียกว่าธาตุรู้ ก็ได้

(๘) ธาตุรู้เป็นผู้อยู่กลางๆ ไม่มีอาการใดๆ ทั้งหมด ฉะนั้นธาตุรู้จึงไม่มีความรู้สึกดีชั่วอะไร ธาตุรู้นี้ต้องมี สัญญา สังขาร อุปาทาน เข้าไปสัมปยุตจึงจะเกิดอาการต่างๆ ขึ้นมาได้ เช่น สังขารปรุงแต่งดีชั่วหยาบละเอียดต่างๆ จึงเกิดขึ้นมา เมื่อสังขารปรุงแต่งแล้ว ปัญญาเข้าไปตรึกตรองในสิ่งนั้นๆ จึงถอดเอาความดี ความชั่วออกมาตั้งไว้ให้ปรากฏเห็นชัดว่าอันนี้ดีอันนี้ชั่ว

(๙) นักปฏิบัติจิตทั้งหลาย จะปฏิบัติจิตเก่งที่สุดได้เพียงภวังคุปัจเฉทะเท่านั้น หรืออัปปนาฌาน มิฉะนั้นก็อัปปนาสมาธิ ทั้งสามอย่างนี้เป็นอาการจิตรวมคล้ายๆ กัน แต่มีอารมณ์เป็นเครื่องอยู่ต่างกันและรวมก็ต่างกัน ท่านจึงเรียกต่างกัน

ตัวอย่างเช่น ภวังคุปัจเฉทะ นั้น จิตจะรวมเป็นหนึ่งตัดอารมณ์ภายนอกทั้งปวงหมด แล้วก็ตั้งอยู่เป็นหนึ่งในที่เดียว จะไม่มีอารมณ์ใดๆ ทั้งหมดนอกจากอารมณ์ของภวังค์ อารมณ์ของของภวังค์นี้คล้ายๆ กับไปอยู่ในที่แจ้งแห่งหนึ่ง มีความรู้สึกแต่ในที่แจ้งนั้นจะเกิดนิมิตมีอาการต่างๆ เช่น เห็นรูปก็จะเพลินในรูปนั้น เห็นแสงสว่าง ก็จะเพลินในแสงสว่างนั้น เมื่อจิตถอนจากภวังคุปัจเฉทะแล้ว จะไม่รู้เรื่องอะไรทั้งหมด หรือรู้ก็เป็นลางๆ

อัปปนาฌาน เพ่งจิตอย่างเดียวจนจิตรวมเข้าเป็นหนึ่งเหมือนกันแล้วไม่รู้อะไรทั้งหมด เรียกว่า อัปปนาฌาน

อัปปนาสมาธินั้น เหมือนกับอัปปนาฌาน แต่รวมเข้าไปแล้วมีสติพิจารณาอารมณ์ของสมาธินั้นอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า อัปปนาสมาธิ

(๑๐) ผู้แสวงหาความสุข อยู่บนกองทุกข์แล้ว จะไม่เจอะความสุขเลยเด็ดขาด แต่ค้นหาความสุขในความทุกข์แล้ว ทุกข์นั้นจะหายไป

(๑๑) ถ้าคิดสิ่งที่เป็นธรรมแล้ว ต้องกลับเข้ามาหาตัวเอง ถ้าเป็นโลกแล้วจะมีแต่ส่งออกไปข้างนอกตลอดเวลา

(๑๒) ถ้าจะชนะโลกได้ ต้องเอาชนะตนเองเสียก่อน ความชนะโลกย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ไม่ชนะตนเอง

(๑๓) สันติสุขเป็นความชนะของผู้ชนะโลกนี้ ผู้มีอำนาจดับโลกแต่หาสันติไม่ได้ ได้ชื่อว่า ผู้แพ้อยู่ร่ำไป

(๑๔) หากความเข้าใจของหมู่ชนใด คณะใดก็ตาม หรือในโลกนี้ทั้งหมดเห็นว่า ผู้จะเอาชนะโลกนี้ได้ต้องชนะตนเองเสียก่อนด้วยสันติวิธี เขาหาว่า นั่นเป็นความโง่ที่สุดของโลกนิยม หรือผู้มีแสนยานุภาพอันเกรียงไกร อย่างนี้แล้วสัจธรรมก็ควรเก็บไว้ในตู้ล็อคกุญแจเสียดีกว่า

ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=816
9  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / รวมบทสวดมนต์ เพือทำสมาธิ ทำจิตใจให้สงบ / การไหว้ขอขมา 7 ครั้งก่อนนอนจากหลวงปู่โต เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 02:43:37 AM
img]http://img72.imageshack.us/img72/1923/somdettonj0.gif[/img]

1. ไหว้ครั้งแรก เพื่อบูชาและขอขมาพระพุทธเจ้า น้อมระลึกถึงคุณงามความดีของท่านที่ช่วยชี้ทางสว่างให้สัตว์โลก พร้อมสำนึกน้อมรับในสิ่งที่พระพุทธองค์ฝากเราไว้ให้ปฏิบัติได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา


2. ไหว้ครั้งที่สอง เพื่อบูชาและขอขมา พระธรรม น้อมระลึกถึงคุณงามความดีของพระธรรมคำสั่งสอนที่เป็นสัจธรรมที่ช่วยรื้อถอน กิเลสให้สัตว์โลกและนำพาสัตว์โลกสู่ความสุขอย่างแท้จริง พร้อมสำนึกและน้อมรับพระธรรมที่พอจะนึกออกมาพิจารณาเนือง ๆ


3. ไหว้ครั้งที่สาม เพื่อบูชาขอขมาพระสงฆ์ สาวกผู้มีพระคุณสานต่อจากพระพุทธเจ้าในการช่วยกันนำพาสัตว์โลกสู่ทางสว่าง ระลึกถึงพระที่ท่านเคารพรักนับถือแล้วอธิษฐานให้มาเป็นครูบาอาจารย์เพื่อปก ปักรักษาท่าน พร้อมสำนึกและน้อมรับในการช่วยส่งเสริมสถาบันสงฆ์ เพื่อช่วยการสานต่อศาสนาเช่น บำรุงสงฆ์ น้อมรับคำสอน ทำบุญตักบาตร และช่วยเผยแพร่ธรรม เป็นต้น


4. ไหว้ครั้งที่สี่ เพื่อกราบไหว้บูชาขอขมาพ่อแม่ ไม่ว่าท่านทั้งสองจะล่วงลับหรือยังอยู่ การกราบไหว้ท่านก่อนนอนเป็นประจำจะช่วยสร้างสิริมงคลให้ชีวิตและส่งเสริมให้ ผู้กราบได้บุตรที่ดีในอนาคต การงานและชีวิตส่วนตัวของผู้กราบจะเจริญรุ่งเรือง ด้วยอานุภาพแห่งความกตัญญู ขอให้ท่านน้อมระลึกถึงพระคุณของพ่อแม่ในขณะที่กราบพร้อมขอขมาท่านด้วยใจจริง น้อมสำนึกว่าจะไม่ทำความผิดต่อพ่อแม่อีกทั้งในภพนี้และภพหน้า


5. ไหว้ครั้งที่ห้า เพื่อกราบไหว้บูชาขอขมาพระสยามเทวาธิราชและพระมหากษัตริย์ ท่านเหล่านี้ล้วนมีบุญบารมีในการปกปักรักษาบ้านเมือง บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้บ้านเมืองของพวกเรา พึงกราบไหว้ก่อนนอนเพื่อขอขมาและขอบารมีท่านมาปกปักรักษาสร้างสิริมงคลให้ ชีวิต ขณะกราบพึงน้อมระลึกสำนึกในหน้าที่ที่ท่านต้องทำเพื่อประเทศชาติ สิ่งศักดิ์สิิทธิ์จะมาอนุโมทนาและคอยส่งเสริมกิจการงานท่านให้เจริญ รุ่งเรือง


6. ไหว้ครั้งที่หก เพื่อกราบไหว้บูชา ขอขมาครูบาอาจารย์ทั้งทางโลกและทางธรรมทั้งหลาย ไม่ว่าท่านเหล่านั้นจะมาในรูปแบบไหน ( เช่น เป็นเพื่อน เป็นครู เป็นคนรู้จัก เป็นเจ้านาย ฯลฯ ) พึงน้อมระลึกสำนึกในบุญคุณของพวกท่านเหล่านั้นและขอขมาต่อสิ่งที่ได้ทำผิด พลาดลงไป


7. ไหว้ครั้งที่เจ็ด เพื่อกราบไหว้ขอขมาเจ้ากรรมนายเวร ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และเป็นดวงวิญญาณจากหลายภพหลายชาติ ( แม้แต่สัตว์ที่ท่านทานเข้าไป ) ให้ท่านน้อมระลึกในความทุกข์ของท่านที่กำลังประสบอยู่ ยิ่งทุกข์มาก แสดงว่ากรรมท่านก็มาก เพราะเคยทำผิดไว้มาก ตามกฏแห่งกรรมธรรมดาโลก

ให้ท่านขอขมาเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่ท่านเคยล่วงเกินไว้ไม่ว่าจะในภพนี้ หรือภพที่ผ่านๆมา เพื่อขออโหสิกรรมจากเจ้ากรรมนายเวร พึงน้อมสำนึกว่าจะไม่ก่อกรรมร้ายใดๆอีกตราบเท่าที่จะพยายามทำได้เพื่อไม่ให้ เป็นภาระในกาลข้างหน้าอีก ( การไม่ก่อกรรมชั่ว คือการไม่สร้างหนี้สินให้ตัวเอง )


หลังจากไหว้ครบ 7 ครั้ง พึงน้อมจิตแผ่เมตตาดังนี้

? พรหมโลก เทวโลก มนุษยโลก นรกโลก มารโลก ตลอดทั่วขอบรอบจักรวาล ทุกรูปทุกนาม จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย ขอให้ทุกรุปทุกนาม จงมีแต่ความสุขกาย สุขใจ อย่าได้มีความทุกข์กายทุกใจเลย ขอให้ทุกรูปทุกนาม จงมีแต่ความสบายจิตสบายใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งหลายทั้งสิ้นเทอญ ?



** อานิสงค์จากการไหว้บูชาขอขมา 7 ครั้งก่อนนอน **

1. ทำให้เป็นที่รักใคร่ของมวลสัตว์โลก และโลกวิญญาณทั้งเบื้องล่างและเบื้องบน

2. หน้าที่การงานเจริญรุ่งเรือง ทำมาค้าขึ้น ยศตำแหน่งรุ่งเรือง เจ้านายเมตตา

3. สิ่งศักดิ์สิิทธิ์คุ้มครอง ไปที่ไหนก็แคล้วคลาดจากอันตรายต่าง

4. จิตแจ่มใส มีสติ มีความเมตตาและความอ่อนโยนอยู่เนือง ๆ

5. สติปัญญาดี ไม่อับจนหนทาง

6. ปราศจากเจ้ากรรมนายเวรอาฆาตพยาบาท

7. เงินทองไหลมาเทมาด้วยอานุภาพของสิ่งทั้ง 7 ที่กราบไหว้

8. จิตเกิดสมาธิได้เร็ว จิตไม่มีมารมาคอยทำให้ฟุ้งซ่าน

9. ปัญหาชีวิตคลี่คลาย จากหนักเป็นเบา

10. ครอบครัวเจริญรุ่งเรือง รักใคร่ปรองดอง
10  ความสำคัญของพระพุทธศาสนา และทุกอย่าง เกี่ยวกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า / ทุกอย่างที่เกี่ยวกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน / พระพุทธเจ้าสอนอะไร ธรรมใดที่ควรเจริญอันยิ่ง เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 02:37:50 AM
พระพุทธเจ้าสอนอะไร



คำนำ
สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ทรงมีพระปรารภว่านักเรียนนักศึกษา ตลอดถึงข้าราชการผู้ที่ไปศึกษาต่อหรือไปรับราชการ ณ ต่างประเทศ ควรจะมีหนังสือแนะแนวคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาเป็นคู่มือ สำหรับอ่านเพื่อให้เกิดความรู้เป็นแนวทางสำหรับปฏิบัติตนเอง และเพื่ออธิบายให้บรรดามิตรชาวต่างประเทศ ผู้ต้องการจะทราบเข้าใจได้ถึงหลักธรรมบางประการ ในพระพุทธศาสนา จึงอาราธนา พระสาสนโสภณ (สุวฑฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร ให้เรียบเรียงเรื่อง "พระพุทธ เจ้าทรงสั่งสอนอะไร" ในแนวความโดยพระประสงค์ในพากษ์ภาษาไทย และทรงอาราธนาให้พระขนติปาโล (Laurence C.R.Mills) วัดบวรนิเวศวิหาร กับพระนาคเสโน วัดเบญจมบพิตร แปลเป็นภาษาอังกฤษขึ้นก่อน และโปรดให้พระยาศรีวิสารวาจา พันตำรวจโท เอ็จ ณ ป้อมเพ็ชร์
และนายจอห์น โบลแฟลด์ ตรวจแปลเรียบเรียงขึ้นอีกโดยตลอด จนเป็นที่พอพระหฤทัยในพากษ์ภาษาอังกฤษแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดพิมพ์ขึ้น เนื่องในวาระดิถีวันคล้ายวันประสูติ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๐
วังสระปทุม
๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๐

เมื่อ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ได้มีมหาบุรุษท่านหนึ่ง เกิดขึ้นมาในโลก เป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และ พระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ซึ่งบัดนี้อยู่ใน เขตประเทศเนปาล มีพระนามว่า "สิทธัตถะ." ต่อมาอีก ๓๕ ปี พระสิทธัตถะได้ตรัสรู้ธรรม ได้พระนามตาม ความตรัสรู้ว่า "พุทธะ" ซึ่งไทยเราเรียกว่า "พระพุทธเจ้า." พระองค์ได้ ทรงประกาศพระธรรมที่ได้ตรัสรู้แก่ประชาชน จึงเกิดพระพุทธศาสนา (คำสั่งสอนของพระพุทธะ) และบริษัท ๔ คือ ภิกษุ (สามเณร) ภิกษุณี (สามเณรี) อุบาสก อุบาสิกา ขึ้นในโลก จำเดิมแต่นั้น. บัดนี้ ในเมืองไทยมีแต่ภิกษุ (สามเณร) อุบาสกและอุบาสิกา. ภิกษุนั้น คือ ชายผู้ถือบวช ปฏิบัติพระวินัย ของภิกษุ. สามเณรนั้น คือ ชายผู้มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปี หรือแม้อายุเกิน ๒๐ ปีแล้วเข้ามาถือบวช ปฏิบัติสิกขาของสามเณร. อุบาสก อุบาสิกานั้น คือ คฤหัสถ์ชายหญิงผู้นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ (ที่พึ่ง) และปฏิบัติอยู่ในศีลสำหรับคฤหัสถ์. บัดนี้ มีคำเรียกชายหญิงทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ผู้ประกาศตนถึง พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะว่า "พุทธมามกะ" "พุทธมามิกะ" แปลว่า "ผู้นับถือพระพุทธเจ้า ว่าเป็นพระของตน."

พระพุทธศาสนาได้แผ่ออกจากประเทศถิ่นที่เกิดในประเทศต่าง ๆ ในโลก.
หลัก เคารพสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ พระรัตนตรัย (รัตนะ ๓) ได้แก่ พระพุทธเจ้า คือ พระผู้ตรัสรู้พระธรรม แล้ว ทรงประกาศสั่งสอนตั้งพระพุทธศาสนาขึ้น. พระธรรม คือ สัจจธรรม (ธรรม คือ ความจริง) ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และได้ทรงประกาศสั่งสอนเป็นพระศาสดาขึ้น. พระสงฆ์ คือ หมู่ชนผู้ได้ฟังคำสั่งสอน ได้ปฏิบัติตน และได้รู้ตามพระพุทธเจ้า. บางพวกออกบวชตาม ได้ช่วยนำพระพุทธศาสนา และสืบต่อวงศ์การบวชมาจนถึงปัจจุบันนี้.
ทุกคนผู้เข้ามานับถือพระพุทธ ศาสนา จะเป็นคฤหัสถ์ ก็ตาม จะถือบวชก็ตาม ต้องทำกิจเบื้องต้น คือ ปฏิญาณตนถึงพระรัตนตรัยนี้เป็นสรณะ คือ ที่พึ่ง หรือดังที่เรียกว่า นับถือ เป็นพระของตน. เทียบกับทางสกุล คือ นับถือพระพุทธเจ้าเป็นพระบิดาผู้ให้กำเนิดชีวิต ในทางจิตของตน. พุทธศาสนิกชนย่อมสังคมกับผู้นับถือศาสนาอื่นได้ และย่อมแสดงความเคารพ สิ่งเคารพในศาสนาอื่นได้ ตามมรรยาทที่เหมาะสม เช่นเดียวกับแสดงความเคารพบิดาหรือมารดาหรือผู้ใหญ่ของคนอื่นได้ แต่ก็คงมีบิดาของตน. ฉะนั้น จึงไม่ขาดจากความเป็นพุทธศาสนิกชนตลอดเวลาที่ยังนับถือพระรัตนตรัยเป็นของตน เช่นเดียวกับเมื่อยังไม่ตัดบิดาของตน ไปรับบิดาของเขามาเป็นบิดา ก็คงเป็นบุตรธิดาของบิดาตนอยู่. หรือเมื่อยังไม่แปลงสัญชาติเป็นอื่น ก็คงเป็นไทยอยู่นั่นเอง. ฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงไม่คับแคบ. ผู้นับถือย่อมสังคมกับชาวโลกต่างชาติ ต่างศาสนาได้สะดวก. ทั้งไม่สอน ให้ลบหลู่ใคร. ตรงกันข้าม กลับให้เคารพต่อผู้ควรเคารพทั้งปวง และไม่ซ่อนเร้นหวงกันธรรมไว้โดยเฉพาะ. ใครจะมาศึกษาปฏิบัติก็ได้ทั้งนั้น โดยไม่ต้องมานับถือก่อน. ทั้งนี้ เพราะแสดงธรรมที่เปิดทางให้พิสูจน์ได้ว่าเป็นสัจจะ (ความจริง) ที่เป็นประโยชน์สุขแก่การดำรงชีวิตในปัจจุบัน. สัจธรรมที่เป็นหลักใหญ่ในพระพุทธศาสนา คือ อริยสัจ ๔

อริยสัจ แปลว่า "สัจจะของผู้ประเสริฐ (หรือผู้เจริญ)" "สัจจะที่ผู้ประเสริฐพึงรู้" "สัจจะที่ทำให้เป็นผู้ประเสริฐ" หรือแปลรวบรัดว่า "สัจจะอย่างประเสริฐ." พึงทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า มิใช่สัจจะตามชอบใจของโลกหรือของตนเอง แต่เป็นสัจจะทางปัญญาโดยตรง.

อริยสัจ ๔
๑) ทุกข์ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ซึ่งมีเป็นธรรมดาของชีวิต และความโศก ความระทม ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ซึ่งมีแก่จิตใจและร่างกายเป็นครั้งคราว ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบ ความปรารถนาไม่สมหวัง. กล่าวโดย ย่อก็คือ กายและใจนี้เองที่เป็นทุกข์ต่าง ๆ จะพูดว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์ต่าง ๆ ดังกล่าวก็ได้.
๒) สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตใจ คือ ดิ้นรน ทะยานอยาก เพื่อที่จะได้สิ่งปรารถนาอยากได้ ดิ้นรนทะยานอยากเพื่อจะเป็นอะไรต่าง ๆ ดิ้นรนทะยานอยากที่จะไม่เป็นในภาวะที่ไม่ชอบต่าง ๆ .
๓) นิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับตัณหา ความดิ้นรน ทะยานอยากดังกล่าว
๔) มรรค ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ ทางมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความ ดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ เพียรพยายามชอบ สติชอบ ตั้งใจชอบ.

ได้ มีบางคนเข้าใจว่า พระพุทธศาสนามองในแง่ร้าย เพราะแสดงให้เห็นแต่ทุกข์ และสอนสูงเกินกว่าที่คนทั่วไปจะรับได้ เพราะสอนให้ดับความดิ้นรนทะยานอยากเสียหมด ซึ่งจะเป็นไปยาก. เห็นว่าจะต้องมีผู้เข้าใจดังนี้ จึงต้องซ้อมความเข้าใจไว้ ก่อนที่จะแจกอริยสัจออกไป. พระพุทธศาสนามิได้มองในแง่ร้ายหรือแง่ดีทั้งสองอย่างเดียว แต่มองในแง่ของสัจจะ คือ ความจริง ซึ่งต้องใช้ปัญญาและจิตใจที่บริสุทธิ์ประกอบกันพิจารณา.

ตามประวัติ พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้ามิได้ทรงแสดงอริยสัจแก่ใครง่าย ๆ แต่ได้ทรงอบรมด้วยธรรมข้ออื่น จนผู้นั้นมีจิตใจบริสุทธิ์พอที่จะรับเข้าใจได้แล้ว จึงทรงแสดงอริยสัจ. ธรรมข้ออื่นที่ทรงอบรมก่อนอยู่เสมอสำหรับคฤหัสถ์นั้น คือ ทรงพรรณนาทาน พรรณนาศีล พรรณนาผลของทาน-ศีล ที่เรียกว่า "สวรรค์" (หมายถึง ความสุขสมบูรณ์ต่าง ๆ ที่เกิด จากทาน-ศีล แม้ในชีวิตนี้) พรรณนาโทษของกาม (สิ่งที่ผูกใจ ให้รักใคร่ปรารถนา) และอานิสงส์ คือ ผลดีของการที่พรากใจออกจากกามได้. เทียบด้วยระดับการศึกษาปัจจุบัน ก็เหมือนอย่างทรงแสดงอริยสัจแก่นักศึกษาชั้นมหาวิทยาลัย. ส่วนนักเรียนที่ต่ำลงมา ก็ทรงแสดงธรรมข้ออื่นตามสมควรแก่ระดับ. พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงแสดงธรรมที่สูงกว่าระดับของผู้ฟัง ซึ่งจะไม่เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย. แต่ผู้ที่มุ่งศึกษาแสวงหาความรู้ แม้จะยังปฏิบัติไม่ได้ ก็ยังเป็นทางเจริญความรู้ในสัจจะ ที่ตอบได้ตามเหตุผล และอาจพิจารณาผ่อนลงมาปฏิบัติ ทั้งที่ยังมีตัณหาคือความอยากดังกล่าวอยู่นั่นแหละ. ทางพิจารณานั้นพึงมีได้เช่นที่จะกล่าวเป็นแนวคิดดังนี้:

๑) ทุก ๆ คนปรารถนาสุข ไม่ต้องการทุกข์ แต่ทำไมคนเราจึงยังต้องเป็นทุกข์ และไม่สามารถจะแก้ทุกข์ของตนเองได้ บางทียิ่งแก้ก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก. ทั้งนี้ก็เพราะ ไม่รู้เหตุผลตามเป็นจริงว่า อะไรเป็นเหตุของทุกข์ อะไรเป็นเหตุของสุข. ถ้าได้รู้แล้ว ก็จะแก้ได้ คือ ละเหตุที่ให้เกิดทุกข์ ทำเหตุที่ให้เกิดสุข. อุปสรรคที่สำคัญอันหนึ่งก็คือใจของตนเอง เพราะคนเราตามใจตนเองมากไป จึงต้องเกิดเดือดร้อน.

๒) ที่พูดกันว่า ตามใจตนเองนั้น โดยที่แท้ก็คือตามใจตัณหา คือความอยากของใจ. ในขั้นโลก ๆ นี้ ยังไม่ต้องดับความอยากให้หมด เพราะยังต้องอาศัยความอยากเพื่อสร้างโลกหรือสร้างตนเองให้เจริญต่อไป. แต่ก็ต้องมีการควบคุมความอยากให้อยู่ในขอบเขตที่สมควร และจะต้องรู้จักอิ่ม รู้จักพอใจในสิ่งที่ควรอิ่มควรพอ. ดับตัณหาได้เพียงเท่านี้ก็พอครองชีวิตอยู่เป็นสุขในโลก. ผู้ก่อไฟเผาตนเองและเผาโลกอยู่ทุกกาลสมัยก็คือ ผู้ที่ไม่ควบคุมตัณหาของใจให้อยู่ในขอบเขต. ถ้าคนเรามีความอยากจะได้วิชา ก็ตั้งใจพากเพียรเรียน. มีความอยากได้ทรัพย์ ยศ ก็ตั้งใจเพียรทำงานให้ดีตามกำลังตามทางที่สมควร. ดังนี้แล้วก็ใช้ได้ แปลว่า ปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ในทางโลกและก็อยู่ในทางธรรมด้วย.

๓) แต่คนเราต้องการมีการพักผ่อน. ร่างกายก็ต้องมีการพัก ต้องให้หลับ ซึ่งเป็นการพักทางร่างกาย. จิตใจก็ต้องมีเวลาที่ปล่อยให้ว่าง. ถ้าจิตใจยังมุ่งคิดอะไรอยู่ ไม่ปล่อยความคิดนั้นก็หลับไม่ลง. ผู้ที่ต้องการมีความสุขสนุกสนานจากรูป-เสียงทั้งหลาย เช่น ชอบฟังดนตรีที่ไพเราะ หากจะถูกเกณฑ์ ให้ต้องฟังอยู่นานเกินไป. เสียงดนตรีที่ไพเราะที่ดังจ่อหูอยู่นานเกินไปนั้น จะก่อให้เกิดความทุกข์อย่างยิ่ง. จะต้องการหนีไปให้พ้น ต้องการกลับไปอยู่กับสภาวะที่ปราศจากเสียง คือ ความสงบ. จิตใจของคนเราต้องการความสงบดังนี้อยู่ทุกวัน วันหนึ่งเป็นเวลาไม่น้อย. นี้คือความสงบใจ. กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็คือความสงบความดิ้นรนทะยานอยากของใจ ซึ่งเป็นความดับทุกข์นั่นเอง. ฉะนั้น ถ้าทำความเข้าใจให้ดีว่า ความดับทุกข์ก็คือ ความสงบใจ ซึ่งเป็นอาหารใจ ที่ทุก ๆ คนต้องการอยู่ทุกวัน ก็จะค่อยเข้าใจใน นิโรธ นี้ขึ้น.

๔) ควรคิดต่อไปว่า ใจที่ไม่สงบนั้นก็เพราะเกิดความดิ้นรนขึ้น และก็บัญชาให้ทำ พูด คิด ไปตามใจที่ดิ้นรนนั้น. เมื่อปฏิบัติตามใจไปแล้ว ก็อาจสงบลงได้. แต่การที่ปฏิบัติไปแล้วนั้น บางที ชั่วเวลาประเดี๋ยวเดียวก็ให้เกิดทุกข์โทษอย่างมหันต์. บางทีเป็นมลทินโทษ ที่ทำให้เสียใจไปช้านาน. คนเช่นนี้ควรทราบว่า ท่านเรียกว่า "ทาสของตัณหา." ฉะนั้น จะมีวิธีทำอย่างไร ที่จะไม่แพ้ตัณหา หรือจะเป็นนายของตัณหาในใจของตนเองได้? วิธีดังกล่าวนี้ก็คือ มรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่

มรรคมีองค์ ๘
๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ คือ อริยสัจ ๔ หรือเห็นเหตุผลตามเป็นจริง แม้โดยประการที่ผ่อนพิจารณาลงดังกล่าวมาโดยลำดับ.

๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ คือ ดำริ หรือคิดออกจากสิ่งที่ผูกพันให้เป็นทุกข์. ดำริในทางไม่พยาบาทมุ่งร้าย. ดำริในทางไม่เบียดเบียน.

๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ แสดงในทางเว้น คือ เว้นจากพูดเท็จ. เว้นจากพูดส่อเสียดให้แตกร้าวกัน. เว้นจากพูดคำหยาบร้าย. เว้นจากพูดเพ้อเจ้อไม่เป็นประโยชน์.

๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ แสดงในทางเว้น คือ เว้นจากการฆ่า การทรมาน เว้นจากการลัก เว้นจากการประพฤติผิดในทางกาม.

๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือ เว้นจากมิจฉาอาชีวะ (อาชีพผิด) สำเร็จชีวิตด้วยอาชีพที่ชอบ.

๖. สัมมาวายามะ เพียรพยายามชอบ คือ เพียรระวังบาปที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น. เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว. เพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้น. เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม แต่ให้เจริญยิ่งขึ้น.

๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ระลึกไปในทางที่ตั้งของสติที่ดีทั้งหลาย เช่น ในสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม.

๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ คือ ทำใจให้เป็นสมาธิ (ตั้งมั่นแน่วแน่) ในเรื่องที่ตั้งใจจะทำในทางที่ชอบ.

11  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / เทวดามีอยู่ทั่วไปหรือไม่ ? เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 02:35:43 AM


ถาม:  ทุกสถานที่มีเทวดาอยู่หรือไม่ ? บ้านเรือน ศาลพระภูมิ หิ้งพระ ที่ปล่อยให้สกปรก จะมีเทวดาอยู่หรือไม่ ? และประกอบพิธีอัญเชิญเทวดาอย่างไร ?

ตอบ: เทวดาไม่ได้มีอยู่ทั่วไปในทุกสถานที่ เทวดานั้นมีทั้งรุกขเทวดา ภุมมเทวดา อากาศเทวดา (๖ ชั้น) รูปพรหม (๑๖ ชั้น) อรูปพรหม (๔ ชั้น) พระวิสุทธิเทพ (พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า) ตลอดจนสัมภเวสีและผีบางประเภท

เมื่อท่านไม่ได้มีอยู่ทั่วไป แต่บางประเภทเช่น ภุมมเทวดา ท่านมีเขตรับผิดชอบที่ดูแลอยู่ องค์ละหลายตารางกิโลเมตร โดยขึ้นตรงต่ออากาศเทวดาอีก ทีหนึ่ง หรือบรรดาผีบ้านผีเรือน ผีบรรพบุรุษที่อาศัยอยู่ตามบ้านเรือน จอมปลวก ซอกเขา ถนนหนทาง ฯลฯ ดังนั้นท่านที่อยู่เขตไหนหรืออาศัยอยู่ที่ไหน ก็จะมีความรับผิดชอบต่อเขตนั้น หรือมีความผูกพันต่อสถานที่นั้น ท่านทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีใครชอบความสกปรก หากทิ้งให้สถานที่สกปรกรกร้าง บรรดาเปรต อสุรกาย มักจะฉวยโอกาสเข้ามาอยู่อาศัยแทน และสร้างความเดือดร้อนให้ การประกอบพิธีอัญเชิญเทวดา (โดยเฉพาะพระภูมิเจ้าที่) ถ้าทำด้วยตนเองได้จะเป็นการดีที่สุด เนื่องจากเป็นการแสดงว่าเราเคารพท่านโดยตรง โดยจัดเครื่องบวงสรวงให้ครบถ้วน แล้วเปิดเทปชุมนุมเทวดาของหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง จากนั้นอธิษฐานขอแสดงความเคารพ และขอให้ท่านช่วยดูแลรักษาทั้งตัวเรา ครอบครัว และบ้านเรือน หากสิ่งใดที่ไม่เกินวิสัย ขอท่านได้โปรดช่วยสงเคราะห์ให้มีความสุขความเจริญในทุกด้านด้วย


ถาม: เวลาทำความชั่ว เทวดาอยู่กับเราหรือไม่ ?

ตอบ: เทวดาที่ว่าหมายถึงเทวดาประจำตัวที่คอยดูแลรักษาเราอยู่ ท่านจะพยายามป้องกันไม่ให้เรากระทำชั่ว และคอยดลใจให้เราทำความดีอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้ากำลังของอกุศลกรรมแรงจริงๆ ท่านไม่สามารถจะป้องกันเอาไว้ได้ ท่านก็จะปล่อยวาง (ให้เราทำชั่วไปตามอัธยาศัย) แต่จะรออยู่เสมอว่า เมื่อไรที่กุศลกรรมเข้ามาถึง ท่านก็จะสนับสนุนให้เรากระทำความดีต่อไป




สนทนากับพระเล็ก สุธมฺปญฺโญ
เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๕
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

12  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / ปกิณกะธรรม โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 02:34:19 AM


วิธีต่ออายุป้องกันอุปฆาตกรรม

ตามวิธีโบราณจารย์ ท่านสอนไว้อย่างนี้นะว่า วิธีต่ออายุใหญ่
คือ ถึงปีหนึ่ง ถ้าเป็นวันเกิดหรือเป็นวันสำคัญของเรา
วันไหนก็ได้ ทำกับข้าวทำอาหารพิเศษ ตามที่เราพอใจ
เท่าที่ทุนจะพึงมี จัดการใส่บาตรแก่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
แล้วก็ถ้าหากว่ามีเงิน ก็สร้างพระพุทธรูปสักองค์

พระพุทธรูปนี้จะเป็นพระดินเหนียวก็ได้
พระปูนซีเมนต์ก็ได้ เป็นปูนพลาสเตอร์ก็ได้
หรือพระโลหะก็ได้ไม่จำกัด
เพราะเป็นรูปพระแล้ว มีอานิสงส์เสมอกัน
แต่ต้องมีหน้าตักไม่น้อยกว่า ๔ นิ้ว
ถวายไว้เป็นสมบัติของสงฆ์

หลังจากนั้นก็เอาสัตว์ที่จะพึงถูกฆ่าตาย
อย่างที่เขานำเอามาขาย เพื่อแกงหรือที่เขาทอดแหสุ่มปลาได้
ถ้ามีสตางค์ก็ไปซื้อเขาสักตัวสองตัวตามกำลัง แล้วปล่อยไป
และก็อุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร
และเทวดาที่ปกปักรักษาชีวิตเรา

ท่านบอกว่าถ้าทำอย่างนี้เป็นนิจ
คำว่าอุปฆาตกรรม คือ กรรมที่เข้ามาลิดรอนก่อนอายุขัยก็ดี
และอกาลมรณะ การที่จะตายก่อนอายุขัยก็ดี
จะไม่มีสำหรับผู้ที่ทำแบบนี้
แต่ทว่าถ้ากรรมอย่างนี้เข้ามาถึง แค่ป่วยไม่มากก็เป็นของธรรมดา


ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=12139
13  การปฏิบัติของผู้ที่ได้ ฌาณ / ประสบการณ์ของผู้ที่ได้ไปนรกภูมิ / เกิดเป็นเปรตกินอุจจาระ เพราะ ปากเสีย สั เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 02:32:51 AM
เกิดเป็นเปรตกินอุจจาระ เพราะ ปากเสีย



สังคมปัจจุบันมีการใส่ร้ายป้ายสี กันมาก ไม่ว่าจะเป็นผู้แทนของประชาชนก็ตาม จนทำให้สังคมเกิดความสับสันว่าอะไรคือความจริง ความเท็จ รวมทั้งผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่มักพูดคำหยาบ คำส่อเสียด คำเพ้อเจ้อ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดศีล เพราะฉะนั้นทุกคนจึงต้องระมัดระวังคำพูดให้มาก ผู้ไม่สำรวมระวังในการพูด ตายแล้วจะไปเกิดเป็นเปรต ดังตัวอย่างในครั้งพุทธกาล เรื่องมีอยู่ว่า

ภิกษุประมาณ ๑๒ รูป หลังจากเรียนกรรมฐานกับพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เดินทางไปแสวงหาสถานที่ที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมตอนช่วงใกล้จะเข้า พรรษา ได้พากันเดินทางไปถึงป่าแห่งหนึ่งซึ่งน่ารื่นรมย์ และอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านเท่าใดนัก จึงพากันปักกลดปฏิบัติธรรมอยู่ในป่านั้น หนึ่งคืน รุ่งเช้าก็ออกไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน

ช่างหูก ๑๑ คน ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนั้น เมื่อเห็นพระมาบิณฑบาตในหมู่บ้าน ก็เกิดความปีติยินดี จึงนิมนต์เข้ามา ที่บ้าน แล้วถวายภัตตาหารอันประณีต และเรียนถามว่า พระคุณเจ้าจะไปที่ไหน เมื่อบรรดาภิกษุบอกว่ากำลังแสวงหา ที่เหมาะๆ สำหรับการปฏิบัติธรรม พวกช่างหูกจึงได้นิมนต์ภิกษุทั้งหลายให้อยู่จำพรรษา ในหมู่บ้าน และพากันสร้างกระท่อมในป่าถวาย พวกภิกษุทั้งหมดจึงได้จำพรรษาอยู่ ณ ที่นั้น

ในบรรดาช่างหูกเหล่านั้น หัวหน้าช่างหูกได้รับอุปัฏฐากภิกษุ ๒ รูป ด้วยความยินดียิ่ง ส่วนช่างหูกคนอื่นๆได้ อุปัฏฐากภิกษุคนละรูป ฝ่ายภรรยาหัวหน้าช่างหูก เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา เป็นมิจฉา-ทิฏฐิ มีความตระหนี่ ไม่สนใจ ที่จะอุปถัมภ์ภิกษุเลย ดังนั้น หัวหน้าช่างหูกจึงได้พาน้องสาวของภรรยามาอยู่ด้วย เพราะนางเป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส นางได้ ปรนนิบัติภิกษุทั้งหลายด้วยความยินดียิ่ง ช่างหูกทุกคนพร้อมภรรยาได้ถวายผ้าสาฎกแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษารูปละผืน ยกเว้นภรรยาของหัวหน้าช่างหูก ซึ่งได้ด่าสามีของตนว่า

?ทานที่ท่านถวายแก่พวกพระสงฆ์ จะเป็นข้าว เป็นน้ำก็ดี จงบังเกิดเป็นอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นหนองและเลือดแก่ท่านในโลกหน้า ผ้าสาฎกก็จงเป็นแผ่นเหล็กร้อนลุกโพลงเถิด?

ต่อมาหัวหน้าช่างหูกตายลง และไปเกิดเป็นรุกขเทวดา ในป่า ที่พวกพระมาปฏิบัติธรรม แต่ภรรยาที่ปากพล่อย เมื่อตายแล้วไปเกิดเป็นนางเปรต อยู่ไม่ไกลจากที่อยู่ของ รุกเทวดาเท่าใดนัก นางเปรต นั้นอยู่ในสภาพเปลือยกาย รูปร่างขี้ริ้วขี้เหร่ มีความหิวกระหายอยู่ตลอดเวลา นางเปรตได้เดินไปหารุกขเทวดาแล้วบอกว่า

?นาย.. ฉันไม่มีผ้านุ่งและหิวกระหายเหลือเกิน ขอผ้านุ่ง ข้าว และน้ำให้ฉันหน่อยเถิด?

รุกขเทวดาจึงได้ให้ ข้าวและน้ำอันเป็นทิพย์แก่นางเปรต แต่สิ่งของต่างๆ อันเป็นทิพย์ที่รุกขเทวดาได้ให้แก่นางไปนั้น ได้กลับกลายเป็นอุจจาระ เป็นหนอง และเลือด ผ้านุ่งก็กลาย เป็นแผ่นเหล็กร้อนลุกโพลงอยู่ตลอดเวลา!! นางเปรตจึงร้องไห้คร่ำครวญด้วยทุกข์อย่างมหันต์

ขณะนั้นมีภิกษุรูปหนึ่ง หลังจากออกพรรษาแล้ว ก็เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า โดยอาศัยไปกับหมู่เกวียนหมู่ใหญ่ พวกหมู่เกวียนได้เดินทางทั้งกลางวันและกลางคืน เมื่อไปถึงป่าแห่งนั้นตอนกลางวัน เห็นความอุดมสมบูรณ์ของป่า มีร่มเงาเย็นสบาย จึงปลดเกวียนแล้วนั่งพักอยู่ใต้ร่มไม้ ฝ่ายภิกษุก็แยกไปหาที่สงบ ปูผ้าลงที่ใต้ต้นไม้อันร่มรื่น กะว่าจะนอนพักสักครู่ แต่จู่ๆ ก็ม่อยหลับไป เพราะเหน็ดเหนื่อย จากการเดินทางมาตลอดทั้งคืน ส่วนหมู่เกวียนพอพักจนหายเหนื่อยแล้วก็ออกเดินทางต่อ โดยลืมภิกษุที่มาด้วยกัน ซึ่งหลับอยู่ใต้ร่มไม้

ภิกษุรูปนั้นหลับไปจน กระทั่งเย็น เมื่อตื่นขึ้นมาไม่เห็น ใคร จึงออกเดินทางต่อไปเรื่อยๆ เพียงลำพัง จนกระทั่งไปถึงต้นไม้ที่เทวดาสิงสถิตอยู่ ฝ่ายรุกขเทวดาเห็นภิกษุเดินมุ่งหน้ามาที่ต้นไม้ ก็แปลงร่างเป็นคนธรรมดาเข้าไปไหว้ และนิมนต์ให้เข้าไปพักใต้ต้นไม้อันเป็นวิมานของตน ถวายยาทาแก้ปวดเมื่อยแก่ท่าน

ขณะเดียวกันนั่นเอง นางเปรตผู้มีความหิวโหยก็เข้ามาขอข้าว น้ำ และเสื้อผ้า รุกขเทวดาก็ได้ให้ตามที่ขอ แต่พอนางรับไป ทุกอย่างก็กลับกลายเป็นอุจจาระ ปัสสาวะ หนอง เลือด และแผ่นเหล็กร้อนอันลุกโชน เหมือนที่เคยเป็นมา ฝ่ายภิกษุเห็นเหตุการณ์นั้นจึงเกิดความสลดสังเวชใจเป็นยิ่งนัก จึงถามรุกขเทวดาว่า

?หญิงเปรตนี้กินอุจจาระ ปัสสาวะ เลือด และหนองเช่นนี้ เพราะได้ทำกรรมอะไรไว้หรือ? ผ้าผืนใหม่ที่สวยงาม อ่อนนุ่ม บริสุทธิ์ มีขนอ่อนที่ท่านมอบให้แก่หญิงผู้นี้ ทำไมจึงกลายเป็น แผ่นเหล็กร้อนไปได้?

รุกขเทวดาได้เล่าให้ภิกษุรูปนั้นฟังว่า เมื่อก่อนหญิงเปรต นี้เป็นภรรยาของตน นางเป็นคนตระหนี่ไม่รู้จักให้ทาน และได้ด่าทอตอนที่ตนกำลังทำบุญอยู่ กรรมนี้เองทำให้นางมาเกิดเป็นเปรตกินแต่อุจจาระ ปัสสาวะ เลือดและหนอง ทนทุกข์ทรมานอยู่อย่างนี้นานแสนนาน

พอรุกขเทวดาเล่าบุพกรรม ของนางเปรตที่ได้กระทำไว้ในชาติก่อน ให้พระภิกษุฟังแล้ว จึงได้ถามว่าทำอย่างไรนางนี้จึงจะพ้นจากการเป็นเปรต ภิกษุจึงได้บอกวิธีการที่จะทำ ให้กรรมชั่วของนางเปรตหมดไปว่า

?ถ้าท่านอยากให้นางเปรต นี้พ้นจากกรรมชั่ว ท่านก็จงทำบุญถวายทานแก่พระพุทธเจ้า และแก่พระอริยสงฆ์ หรือแก่ภิกษุสักรูปหนึ่ง แล้วอุทิศให้แก่นางเปรตนี้ เมื่อนางเปรต นี้อนุโมทนากับบุญที่ท่านทำ นางก็จะได้บุญและพ้นจาก ความทุกข์ทรมานได้?

เมื่อรุกขเทวดาทราบวิธีช่วยเหลือนางเปรตแล้ว จึงได้ถวายภัตตาหารอันประณีตแก่ภิกษุรูปนั้น แล้วอุทิศบุญให้แก่นางเปรตอดีตภรรยา ทันทีที่นางเปรตอนุโมทนาบุญ จิตใจก็อิ่มเอิบ ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ท้องก็อิ่มด้วยอาหาร อันเป็นทิพย์ ต่อมารุกขเทวดาได้ถวายผ้าทิพย์ เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่นางเปรตอีก นางเปรตก็ได้นุ่งผ้าทิพย์พร้อม เครื่องประดับอันเป็นทิพย์ในขณะนั้นนั่นเอง เมื่อนางเปรต ได้สิ่งที่อยากได้ทุกอย่างแล้ว ร่างที่น่าเกลียดน่ากลัวก็กลาย เป็นสวยงามประดุจนางเทพอัปสร เพราะอานุภาพแห่งบุญ นั้นนั่นเอง
........
หากไม่มีบุญที่คนอื่นทำ อุทิศไปให้ นางเปรตคงต้องทุกข์ ทรมานไปอีกนานแสนนานกว่าจะพ้นจากความทุกข์ เมื่อเป็น เช่นนี้ คนที่ยังมีชีวิตอยู่จึงไม่ควรประมาท ต้องรีบขวนขวาย ทำความดีให้มาก ไม่เช่นนั้นจะต้องไปชดใช้กรรม ทนทุกข์ทรมานอยู่อย่างนางเปรตแน่นอน

ยุคปัจจุบันมีคนจำนวน มากที่ไม่กลัวบาปกรรม เพราะคิดว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีอยู่จริง จึงดำเนินชีวิตด้วยความประมาท กล้าทำความชั่วอย่างไม่ละอาย มีจิตใจหยาบกระด้าง คิด ไม่ถึงว่ากรรมชั่วนั้นจะย้อนกลับมาหาตนเอง ทำให้ต้องเดือดร้อนในภายหลัง ผู้มีปัญญาจึงควรมองถึงผลในระยะยาว มองชีวิตทั้งระบบทั้งกระบวน ชีวิตของเราไม่ได้สิ้นสุดเพียงชาตินี้ แต่ต้องดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ความดีความชั่วที่ทำไว้แล้ว ไม่มีสูญหาย ต้องตามให้ผลแก่ผู้ทำอย่างแน่นอน แต่อย่างน้อยคนที่ทำความดีก็ย่อมจะได้ผลดีตอบแทนทันทีทันใดในขณะที่ทำ นั่นก็คือทำให้เกิดความสุขใจขึ้นมาทันที ในทางตรงกันข้าม คนที่ทำชั่วก็จะได้รับความกระวนกระวายใจ ความทุกข์ใจในทันทีที่ทำความชั่ว ผู้มีปัญญาจึง ควรละกรรมชั่วทั้งหลายให้ได้อย่างสิ้นเชิง เพราะจะทำให้ชีวิตมีแต่ความสุขความเจริญตลอดไป
14  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / การสวดขอขมา เพื่อลดและปลดหนี้กรรม เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 02:21:14 AM
คนเราเกิดมา หลายภพชาติ ต่างมีเจ้ากรรมนายเวรต่างกัน แต่ก็มีการสวดบทสวดมนตร์ที่เชื่อว่าเป็นการสวดขอขมา เพื่อลดและปลดหนี้กรรม ให้น้อยลงได้ ....

อธิษฐานหน้าพระ พุทธรูป หรือสวดก่อนนอน
( นะโม 3 จบ )
" สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต "


      หากข้าพเจ้า จงใจหรือประมาทพลาดพลั้งล่วงเกิน บิดา-มารดา ครูบาอาจารย์ พระพุทธ พระธรรม พระอรหันต์ทุกพระองค์ พระอริยสงฆ์เจ้า
ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมถึงผู้มีพระคุณ และท่านเจ้ากรรมนายเวร
จะด้วย กาย วาจา ใจ ก็ดี ขอได้โปรดอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย

      หาก ข้าพเจ้ามีเจ้าของในตัวติดตามมาขออนุญาตมีคู่มีครอบครัว ได้เหมือนคนปกติทั่วไป ขอถอนคำอธิษฐานคำสาบานที่จะติดตามคู่ในอดีต ขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระต่อกัน ข้าพเจ้าจะประพฤติตนในทางที่ถูกที่ชอบที่ควร ขอบุญบารมีในอดีตกาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จงส่งผลให้ข้าพเจ้าและครอบครัวตลอดจนบริวารที่เกี่ยวข้อง จงเจริญด้วย อายุวรรณะ สุขะ พละ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ สติปัญญา ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ อุปสรรคใดๆโรคภัยใดๆ ขอให้มลายสิ้นไป ขอให้ข้าพเจ้ามีความสว่าง ทั้งทางโลก ทางธรรม ตั้งแต่บัดนี้ตราบเข้าสู่พระนิพพาน เทอญ

      หากมีผู้ใดเคย สร้างเวรสร้างกรรมกับข้าพเจ้า ไม่ว่าจะชาติใดภพใดก็ตาม ข้าพเจ้ายินดีอโหสิกรรมให้ ขอถอนความพยาบาท ความอาฆาตและคำสาปแช่งในทุกชาติทุกภพ ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากคำสาปแช่งของปวงชนของเจ้ากรรมนายเวร ขอให้พ้นนรกภูมิ พบแสงสว่างทั้งทางโลก ทางธรรม เทอญ
15  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / Re: ธรรมะในคำกลอน ลายมือท่าน พุทธทาสภิทขุ เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 02:19:31 AM






หน้า: [1] 2