แสดงกระทู้
หน้า: [1]
1  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / ให้หมั่นปั่น "ปีติ" ให้เกิดให้มีขึ้น...ในตัวเรา เมื่อ: เมษายน 18, 2010, 07:56:37 PM
   
                      ให้หมั่นปั่น "ปีติ" ให้เกิดให้มีขึ้น...ในตัวเรา
                      « เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2010, 04:03:35 PM »
                                 ขอขอบคุณเวบวัดถ้ำเมืองนะ                http://www.watthummuangna.com/home/community/index.php/topic,556.0.html#lastPost 

           

                   "เทคนิควิธีในการปฏิบัติ" อันหนึ่งที่หลวงปู่ดู่
        ท่านนำมาสอนลูกศิษย์ก็คือ  
        ให้หมั่น ปั่น "ปีติ" ให้เกิดให้มีขึ้น...ในตัวเรา

                  เพราะ "ปีติ" นี้ก็คือ ภักษาหาร (อาหาร) ของใจ
        ทำให้ "ใจ" ของเรา...อิ่มเอิบ มีกำลัง

                  จิต...ที่มีกำลังวังชา
        จะเอาไปใช้งาน คิดอ่านทางโลกก็ได้
        คิดอ่านทางธรรมก็ดี

                  แต่ทีนี้ จะทำให้ปีติเกิดขึ้น...ได้อย่างไร ?

                   หากประมวลคำสอนของหลวงปู่ดู่ ก็พอสรุปได้ว่า
        เราสามารถปั่น "ปีติ" ให้เกิดให้มีขึ้นได้ด้วย ๒ วิธี คือ

        ๑. ด้วยอำนาจแห่ง สมาธิ

        ๒. ด้วยอำนาจแห่ง ปัญญา

        ๑. การปั่นปีติด้วย...อำนาจแห่งสมาธิ

                  ทำโดยการ "แน่วแน่" อยู่ในกรรมฐาน หรือ คำบริกรรมภาวนา

        เหมือนเอาไม้แห้งมาสี จนกระทั่งเกิดความร้อน และเกิดไฟ

        จิตก็เหมือนกัน เมื่อได้อาศัย คำบริกรรมภาวนา...ต่อเนื่องมากเข้า ๆ
        ไม่ซัดส่ายไปทางอื่น จิตเริ่มอยู่เหนือนิวรณ์เครื่องรบกวนจิตต่าง ๆ
        โดยธรรมชาตินั้นเอง อาการแห่งปีติย่อมเกิดขึ้น

                  เป็นความเบากายเบาใจบ้าง
                  เป็นนิมิตแสงสว่างบ้าง
                  เป็นอาการน้ำตาไหลบ้าง
                  เป็นอาการขนลุกขนพองบ้าง ฯลฯ

        จิตเกิดปีติ จิตก็ย่อม...อิ่มเอิบ มีกำลัง

        ๒. การปั่นปีติด้วย...อำนาจแห่งปัญญา

                   ทำโดยการมองอะไร พิจารณาอะไร ๆ ให้เป็นธรรม กระทั่งเกิด

        "ธรรมสังเวช"

                   จิตยอมรับในภาวะแห่ง
                   ความไม่เที่ยง
                   ความเป็นทุกข์
                   ความที่ไม่อาจเป็นไปอย่างที่ใจคาดหวัง

        พิจารณากระทั่ง... ถึงจิตถึงใจ (แค่"เข้าใจ"ยังไม่พอ...ต้องให้"ถึงใจ")

                   แม้ในเรื่องร้าย ก็มองให้เป็นธรรมได้ เช่น

                   มีคนเข้าใจผิดมาว่าร้าย แทนที่จะคิดปรุงในทางสุมไฟ

        "โทสะ" ให้รุนแรง ก็กลับคิดไปในทาง
        "สงสาร" ผู้ว่าร้าย ที่กำลังจมอยู่ในไฟแห่ง โทสะ โมหะ ฯลฯ


                   หรือ พิจารณาให้ยิ่งกว่านี้
        ก็พิจารณาให้จิตยอมรับในความเป็น

        "ธรรมดาโลก" (โลกธรรม...เป็นของคู่โลก)

                   "การปั่นปีติ" จึงเป็นเทคนิคที่นำมาใช้ได้ ทั้งทางโลกและทางธรรม
        ที่หลวงปู่กรุณามอบให้แก่ลูกศิษย์ ซึ่งโดยอาศัยธรรมอื่น ๆ ประกอบ เช่น

                   การเจริญกรรมฐานอย่างต่อเนื่อง และ

                   การมองโลกในแง่ดี มองอะไร ๆ ให้เป็นธรรม เป็นต้น


        หมายเหตุ

        * ปีติ คือ ความอิ่มใจ , ความดื่มด่ำในใจ

        ** โลกธรรม คือ ธรรมดาของโลก มี ๘ อย่าง

        มีลาภ - เสื่อมลาภ
        มียศ - เสื่อมยศ
        สรรเสริญ - นินทา
        สุข - ทุกข์

        *** จากบทความของ คุณสิทธิ์
        ที่มา http://www.luangpordu.com/

             
2  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: การรักษาใจ กับ การข่มใจ โดย หลวงพ่อจรัญ เมื่อ: เมษายน 04, 2010, 02:42:02 PM

ขออนุญาต นำธรรมะของ พระมหาวุฒิชัย มา่ร่วมเสริมกระทู้

                การรักษาใจ กับ การข่มใจ  

                     

         ใจ ของเรานั้น ไม่ต่างอะไรกับห้องที่ว่างเปล่า

เมื่อเราใส่อะไรเข้าไปในห้องที่ว่างเปล่านั้น
 
สถานภาพของห้องก็จะเปลี่ยนไปทันที เป็นต้นว่า

เรามีห้องว่างเปล่าอยู่ห้องหนึ่ง เมื่อ - -


เราใส่น้ำเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องน้ำ

เราใส่พระพุทธรูปเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องพระ

เราใส่เครื่องมือปรุงอาหารเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องครัว

เราใส่เครื่องนอนเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องนอน

เราใส่ชุดรับแขกเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องรับแขก

เราใส่บุคคลสำคัญเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องวีไอพี

          

         ห้องแห่งหัวใจของเราก็ไม่ต่างอะไรกับห้องว่างเปล่าที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเลย

ทุกครั้งที่เราบรรจุอะไรเข้าไปในใจ ใจของเราก็จะเปลี่ยนสถานภาพเหมือนกัน


เราใส่ความเมตตาเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจดี

เราใส่ธรรมะเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจบุญ

เราใส่ความโกรธเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจร้อน

เราใส่ความเลวเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจทราม

เราใส่ความกลัวเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจเสาะ

เราใส่ความเป็นนักสู้เข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจสู้

เราใส่ความขาดสติเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจลอย

          

         เห็นด้วยหรือไม่ว่า ใจของเรานั้นเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือกาย

เป็นสิ่งที่คอยออกแบบชีวิตของเราให้เป็นไปอย่างไรก็ได้


         พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า

ใจเป็นนาย ใจเป็นผู้นำ ใจเป็นผู้สร้างสรรค์ ... หรือบางทีก็ตรัสว่า

จิตฺเตน นียติ โลโก แปลว่า โลกหมุนไปตามใจสั่งการ

โลกในที่นี้ หมายถึง ชีวิตของเรานั่นเอง โลกคือชีวิต จะหมุนซ้าย หมุนขวา

หมุนตรงหรือหมุนเอียง หมุนไปข้างหน้า หรือว่าหมุนไปข้างหลัง

ทั้งหลายทั้งปวงนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมขอ! งใจทั้งห มดทั้งสิ้น

         ใจของเราไม่ต่างอะไรกับห้องที่ว่างเปล่า เราบรรจุอะไรลงไป ชีวิตของเราก็เป็นไปตามสิ่งที่บรรจุนั้น

เราเคยถามตัวเองบ้างไหมว่า เราบรรจุอะไร ลงไปในห้องแห่งหัวใจของเราบ้าง ความรู้ ความงมงาย ความรัก  

ความเกลียด ความโลภ ความดี ความชั่ว ความริษยา ความหน้าด้าน ความสะอาด สว่าง สงบ หรือความตื่นรู้

ชีวิตจะเป็นอย่างไร รุ่งโรจน์หรือร่วงโรย ขึ้นสูงหรือลงต่ำ สำคัญที่เราบรรจุอะไรลงไปในใจของเราเอง ...


                 ว.วชิรเมธี
          

3  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / ธรรม ไม่ยากอย่างที่คิด หลักธรรม รวมย่อเป็น ไตรสิกขา เมื่อ: มีนาคม 22, 2010, 03:03:54 PM



มรรคมีองค์แปด สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา

    * ข้อ3-4-5 เป็น ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
    * ข้อ6-7-8 เป็น สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
    * ข้อ1-2 เป็น ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ) หลวงพ่อธี บอกว่าเป็นปัญญาที่ทำให้หลุดพ้นทุกข์


             ขอเข้ามาร่วมเสริม คุณ koh2001 ธรรม ไม่ยากอย่างที่คิด หลักธรรม รวมย่อเป็น ไตรสิกขา

         ประสบการณ์จริงที่เคยไปรับฟังเทศน์ งานสวดพระอภิธรรมเจ้าคณะตำบล

มีพระผู้ใหญ่จากกรุงเทพฯ มาเทศน์ เรื่อง

                   ศีล สมาธิ ปัญญา แนวใหม่ที่ไม่เคยได้ยินเทศน์แบบนี้มาก่อน  

         ท่านเทศน์ว่า ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นแ่ก่นรวมของคำสอนทางพุทธศาสนา

ศีล คือ ระเบียบอันดีงามที่สังคมยึดถือปฏิบัติ ทุกคนจะอยู่ในสังคมได้อย่างมีสุขต้องปฏิบัติตาม

สมาธิ คือ การตั้งมั่นที่จะปฏิบัติตามระเบียบอันดีงาม หรือ ศีล ของสังคมโดย มีความละอาย และ

เกรงกลัวต่อความเสียหาย หากไม่ปฏิบัติตาม ทำด้วยใจเอง

         บทลงโทษ ถึงมี ก็ไม่อึดอัด เพราะ มีไว้เพื่อป้องกันคนที่ไม่เกรงกลัวเท่านั้น

ปัญญา คือ การที่รู้จริงตาม ระเบียบ หรือ ศีล นั้น ว่าจะทำให้สังคมมีความสงบ

         ถ้าคนในสังคมยึดมั่นตามแนวทางไตรสิกขา ข้างต้น จะทำให้สังคมอยู่กันอย่างสงบสุข

ปฏิบัติตามกฏระเบียบ กฏหมาย วัฒนธรรม ฯลฯ โดยไม่มีการบังคับ ทำด้วยใจเอง

         ดังนั้น จึงอยากเชิญชวนทุก ๆ คนในสังคม มาเป็นคนดีตามแนวไตรสิกขา

ข้างต้น เพื่อสร้างสังคมของคนดี ที่ไม่มีขาย อยากได้ทุกคนต้องเป็นคนดี จึงได้สังคมของคนดี


                     
4  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / Re: การปฎิบัติสมาธิแนววิปัสนา เมื่อ: มีนาคม 19, 2010, 02:50:18 PM
เรียนถาม: การปฎิบัติสมาธิแนว วิปัสสนา ก่อนหน้านี้ ปฎิบัติสมาธิ ได้
ระยะหลังปฎิบัติสมาธิ ไม่ได้ และไม่ก้าวหน้าขึ้นเลยเป็นเพราะเหตุใดครับ?


มีปัญหาเรื่อง ธรรมปฏิบัติ เชิญเข้ามาที่เวบ หลวงพ่อชา

---------------------------------------------

                    

           หลวงพ่อชา สุภัทโท – ตอบปัญหาธรรม
                  (ตอบปัญหาธรรมแก่พระสงฆ์)

  http://mahamakuta.inet.co.th/practice/mk722.html#mk722_3

                          

5  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / Re: อริยมรรค 8 คืออะไร ประกอบด้วยอะไร สำคัญอย่างไร เมื่อ: มีนาคม 18, 2010, 10:35:21 PM



มรรคมีองค์แปด สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา

    * ข้อ3-4-5 เป็น ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
    * ข้อ6-7-8 เป็น สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
    * ข้อ1-2 เป็น ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ) หลวงพ่อธี บอกว่าเป็นปัญญาที่ทำให้หลุดพ้นทุกข์


             ประสบการณ์จริงที่เคยไปรับฟังเทศน์ งานสวดพระอภิธรรมเจ้าคณะตำบล

มีพระผู้ใหญ่จากกรุงเทพฯ มาเทศน์ เรื่อง

                   ศีล สมาธิ ปัญญา แนวใหม่ที่ไม่เคยได้ยินเทศน์แบบนี้มาก่อน  

         ท่านเทศน์ว่า ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นแ่ก่นรวมของคำสอนทางพุทธศาสนา

ศีล คือ ระเบียบอันดีงามที่สังคมยึดถือปฏิบัติ ทุกคนจะอยู่ในสังคมได้อย่างมีสุขต้องปฏิบัติตาม

สมาธิ คือ การตั้งมั่นที่จะปฏิบัติตามระเบียบอันดีงาม หรือ ศีล ของสังคมโดย มีความละอาย และ

เกรงกลัวต่อความเสียหาย หากไม่ปฏิบัติตาม ทำด้วยใจเอง

         บทลงโทษ ถึงมี ก็ไม่อึดอัด เพราะ มีไว้เพื่อป้องกันคนที่ไม่เกรงกลัวเท่านั้น

ปัญญา คือ การที่รู้จริงตาม ระเบียบ หรือ ศีล นั้น ว่าจะทำให้สังคมมีความสงบ

         ถ้าคนในสังคมยึดมั่นตามแนวทางไตรสิกขา ข้างต้น จะทำให้สังคมอยู่กันอย่างสงบสุข

ปฏิบัติตามกฏระเบียบ กฏหมาย วัฒนธรรม ฯลฯ โดยไม่มีการบังคับ ทำด้วยใจเอง

         ดังนั้น จึงอยากเชิญชวนทุก ๆ คนในสังคม มาเป็นคนดีตามแนวไตรสิกขา

ข้างต้น เพื่อสร้างสังคมของคนดี ที่ไม่มีขาย อยากได้ทุกคนต้องเป็นคนดี จึงได้สังคมของคนดี


        
6  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / บทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ / การปิดทองหลังพระ เป็นการปฏิบัติธรรมแบบใด เมื่อ: มีนาคม 18, 2010, 02:56:03 PM

                                    

         พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลาย ถึงการปฏิบัติธรรมะ ที่ได้รับผลต่างกัน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต พอสรุปใจความได้ว่า

๑. การปฏิบัติธรรม มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นผลต่อไป คือ

        ผู้ที่ไม่เห็นโทษของกาม ย่อมดื่มด่ำในกาม เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก ได้รับทุกข์เผ็ดร้อนสาหัส

๒. การปฏิบัติธรรม มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นผลต่อไป คือ

         ผู้ที่ประพฤติตนทรมานกายด้วยประการต่าง ๆ อย่างพวกเดียรถีย์ เป็นต้น เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก ได้รับทุกข์เผ็ดร้อนสาหัส

๓. การปฏิบัติธรรม มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นผลต่อไป คือ

         ผู้ที่มีราคะแรงกล้า มีโทสะแรงกล้า มีโมหะแรงกล้า แต่ต้องอดกลั้นอดทนเมื่อกระทบกับความทุกข์นั้น ต้องร้องไห้ น้ำตานองหน้า แต่รักษาศีลรักษาพรหมจรรย์ไว้ได้ อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติ โลก สวรรค์

๔ การปฏิบัติธรรม มีสุขในปัจจุบันและมีสุขเป็นผลต่อไป คือ

         ผู้ที่มีราคะไม่แรงกล้า มีโทสะไม่แรงกล้า มีโมหะไม่แรงกล้า ไม่ต้องได้รับทุกข์เวทนาในการประพฤติธรรม การปฏิบัติธรรม ก็ก้าวหน้าโดยลำดับ เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติ โลก สวรรค์.

         จูฬธรรมสมาทานสูตร

         พระสูตรนี้ เป็นหลักฐานแสดงว่า การปฏิบัติธรรมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผลกรรม ทั้งในอดีตและปัจจุบัน หรือที่เรียกว่า "บารมี” ที่อบรมบ่มนิสัยมาไม่เท่ากัน แต่จุดหมายปลายทางของผู้ปฏิบัติ ที่ได้รับผลแล้วก็ย่อมเท่ากัน คือละกิเลสตัณหาได้ พ้นทุกข์ได้เท่ากัน

         ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงไม่ควรท้อถอย ไม่ควรเปรียบเทียบกับคนที่เขามีบารมีสูงกว่า ถ้าจะเปรียบเทียบ ก็ควรจะเปรียบเทียบกับคนที่มีบารมีต่ำกว่าเรา แต่เขาสามารถเอาชนะอุปสรรค หรือสิ่งชั่วร้ายจนปลอดภัยมาได้

         เมื่อเราได้ยินหรือได้เห็นแล้ว ก็จะเกิดกำลังใจ ในการทำความดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะนอกจากเราจะเกิดกำลังใจที่เข้มแข็งแล้ว การทำดีของเรายังจะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนอีกด้วย.

พระไตรปิฏกฉบับ ดับทุกข์
โดย ธรรมรักษา

ที่มา : http://www.wadcherngpa.com

         การปิดทองหลังพระ ทำดีโดยไม่มีใครเห็น จะเป็นการปฏิบัติธรรมแบบใด

                  

         ถ้าตามบทความธรรมะ ข้างต้น น่าจะเป็นได้ ๒ แบบ คือ

๓. การปฏิบัติธรรม มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นผลต่อไป คือ

         ผู้ที่มีราคะแรงกล้า มีโทสะแรงกล้า มีโมหะแรงกล้า แต่ต้องอดกลั้นอดทนเมื่อกระทบกับความทุกข์นั้น ต้องร้องไห้ น้ำตานองหน้า แต่รักษาศีลรักษาพรหมจรรย์ไว้ได้ อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติ โลก สวรรค์

๔ การปฏิบัติธรรม มีสุขในปัจจุบันและมีสุขเป็นผลต่อไป คือ

         ผู้ที่มีราคะไม่แรงกล้า มีโทสะไม่แรงกล้า มีโมหะไม่แรงกล้า ไม่ต้องได้รับทุกข์เวทนาในการประพฤติธรรม การปฏิบัติธรรม ก็ก้าวหน้าโดยลำดับ เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติ โลก สวรรค์.

         จะเป็นแบบ ๓ หรือ แบบ ๔ ขึ้นกับ กิเลส ของแต่ละคน ถ้ามีมาก ก็เป็นแบบ ๓ ถ้ามีน้อย ก็เป็นแบบ ๔ แต่ผลเหมือนกันสุดท้ายที่ปฏิบัติธรรม คือ มีความสุข จากการทำดี เช่นกัน

         จึงขอเชิญชวนพวกเรา มาปิดทองหลังพระ ทำความดี ไม่แสดงตัว ไม่ว่าทำแบบ ๓ หรือ ๔ ก็ได้ผลเป็นความสุขเหมือนกัน


                  

          
7  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / บทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ / การทำใจ ให้มีความสุข ทุกปัจจุบันขณะ เมื่อ: มีนาคม 18, 2010, 12:39:35 PM

         ธรรมะวันอาทิตย์ช่อง ๗ สี

วันอาทิตย์ ที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๓ เวลา ประมาณ ๖.๐๐ น.

มีคติธรรมที่สำคัญ ใน เรื่อง

        "การทำใจ ให้มีความสุข ทุกปัจจุบันขณะ"

                  

         พระธรรมโกศาจารย์ (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต)

เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร,เจ้าคณะภาค ๒

อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ

คณะเลขานุการของคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

....................................................................

ขอความสุขสวัสดี จงมีต่อท่านสาธุชนทั้งหลาย

         การทำใจ ในทางพุทธศาสนา ทำให้ถูกต้อง เรียกว่า

                          "โยนิโสมนสิการ"

         เป็นหลักคิด ให้ทำใจให้ถูกต้อง อยู่กับปัจจุบัน จะพ้นทุกข์ได้

จากความจริงของโลก หรือ ความจริงที่เป็นจริง เรียก ปรมัตถสัจจะ

ไม่ใช่ ความจริงที่เกิดจากการสมมติขึ้น เรียก สมมติสัจจะ

         ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ภายใต้ โลกธรรม ๘ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ

เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ทุกข์ และ นินทา

         ทุกโลกธรรม ที่เกิดขึ้นนั้น เราบังคับให้เกิดตามใจไม่ได้

แต่เราสามารถเปลี่ยนวิธีคิด หรือ ทำใจ ให้ถูก หรือ โยนิโสมนสิการ ได้

         ตัวอย่างที่ ๑ ถูก ด่า

ทำใจผิด โกรธ จะหาทางแก้แค้น จะหาทางเอาชนะ คนด่า

ให้ได้ ทำให้ใจได้รับความทุกข์

ทำใจถูก วางเฉย เห็นเป็นธรรมดาของโลก แล้ว

ใช้สติ ปัญญา พิจารณา ว่า เพราะ อะไร แล้วแสดงออก

ให้ถูกต้อง เช่น ถ้าผิดขอโทษ ถ้าไม่ผิด ชี้แจง ให้ทราบ

         ตัวอย่างที่ ๒ ถูก กิเลส โลภ โกรธ หลง ครอบงำ

ทำใจ ผิด เห็นว่า ตายแล้วสูญ ไม่ต้องรับกรรมชั่ว ถ้าไม่มี

คนเห็น ทำตามกิเลส ได้ ชาติหน้าไม่มีตายแล้วจบกัน

แต่ความลับไม่มีในโลก สักวันหนึ่งความชั่ว ที่ทำย่อม

ปรากฏ ต้องรับผลกรรมในที่สุด ในชาตินี้

ทำใจ ถูก เห็นว่า มีชาตินี้ ชาติหน้า มี บาป บุญ นรก สวรรค์

ต้องรับผลกรรมที่ทำ จึงทำแต่ความดี ไม่ทำความชั่ว

ผลจากการทำ ดังกล่าว จิตใจ จะแจ่มใส

ทำความดี ชาตินี้ ก็จะได้รับผลกรรมดี ที่ได้สร้างไว้

ถ้า มีชาติหน้าจริง ก็จะได้รับผลกรรมดี เป็นของแถม

เป็นต้น

         ธรรมะ เหมือน เลนส์แว่นตา เอาไว้มองโลกให้ถูกต้อง

เพื่อทำใจได้ถูกตามที่เห็น มีธรรมะที่ ให้ไว้มากมายเพื่อนำมาใช้

ให้เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ได้


         จึงขอให้ ทุกท่าน จงทำใจให้ถูกต้อง ด้วยหลักธรรม

เพื่อพ้นทุกข์ได้โดยทั่วหน้ากัน

         ขอความสุขสวัสดี จงมีต่อสาธุชนทั้งหลาย

         kobnokkala ผู้ฟัง และ จดนำมาเผยแำพร่

                 
          
8  รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery / บทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะ / หลวงปู่ดู่สอนศิษย์ : เหยียบเรือสองแคม เมื่อ: มีนาคม 18, 2010, 07:04:34 AM

                                                เหยียบเรือสองแคม

                                 -----------------------------------------------

                      

         หลวงปู่ดู่แม้จะเป็นพระภิกษุชราซึ่งอยู่บ้านนอก แต่ท่านกลับเป็นผู้มีมุมมองที่กว้างขวางเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสอนคำเตือนที่ว่า

         "เรายังอยู่ทางโลก (เป็นฆราวาส) ต้องเหยียบเรือสองแคม คือทางโลกก็ต้องไม่ให้ช้ำ ทางธรรมก็ต้องไม่ให้เสีย"

         ดังนั้น ในสมัยก่อนที่หลวงปู่ยังหนุ่ม ๆ ท่านจึงเคี่ยวเข็ญลูกศิษย์ในเรื่องการศึกษาเล่าเรียน โดยท่านจะสอนเองทั้งการอ่านการเขียน รวมไปถึงคณิตศาสตร์

         ลุงแกละเคยเล่าว่า ลุงมาอาศัยอยู่วัดสะแกกับหลวงปู่ ได้รับการอบรมสั่งสอนจากหลวงปู่โดยตรง แต่ด้วยความที่อยูในวัยซน จึงเคยโดดเรียน แอบปีนรั้ววัดไปเที่ยวเล่น กลับมาค่ำ หลวงปู่รู้ เป็นได้โดนไม่เรียว ท่านดู ไม่เหมือนสมัยหลังนี้

         บัดนี้ทั้งผู้สอนคือ หลวงปู่ และ ผู้เรียนคือลุงแกละก็ละสังขารไปสิ้นแล้ว แต่สาระแนวทางการสอนของหลวงปู่ยังอยู่ว่า

         โลกต้องไม่ให้ช้ำ ธรรมต้องไม่ให้เสีย อย่าปฏิบัติตนสุดโต่ง ต้องปฏิบัติธรรมสมกับฐานะและสภาพของแต่ละบุคคล เช่น

         การจะทำทาน ก็ให้ดูคนข้างหลังด้วย จะเอาอย่างคนมีทรัพย์มาก ๆ ไม่ได้

         การจะรักษาศีลแปด ก็อาจไม่จำเป็นต้องรักษาในวันพระ แต่เลือกวันที่ไม่กระทบต่อการรับประทานอาหารเย็นร่วมกับครอบครัว เพราะเป็นกิจกรรมที่สำคัญ

         การภาวนาก็ไม่เน้นแต่เฉพาะนั่งหลับตาที่วัด เวลาทำการทำงาน เดินไปไหนมาไหน ก็พยายามมีสติระลึกรู้ จะปฏิบัติเก่งขนาดไหน แต่เพื่อนร่วมงานไม่คบ หรือมีแต่คนรังเกียจหรือนินทาลับหลัง จะมีประโยชน์อะไร

         โลกและธรรมสัมพันธ์กัน เราสามารถหาธรรมได้จากโลก ในขณะเดียวกันในทางธรรมก็มักมีเรื่องโลก ๆ แฝงอยู่

         จึงขึ้นกับสติปัญญาของเจ้าของ พิจารณาเลือกเฟ้นสิ่งอันเป็นสาระเอาเอง และ ไม่ลืมว่าต้องประคองทั้งโลกและธรรม บุคคลคนเดียวอยู่ในหลายฐานะหน้าที่ เราต้องเป็น

         ลูกที่ดี ศิษย์ที่ดี น้องที่ดี เพื่อนที่ดี เจ้านายที่ดี ลูกน้องที่ดี ฯลฯ ที่สำคัญ เป็นลูกพระตถาคตเจ้าที่ดีโดยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

         ***จากบทความของ คุณสิทธิ์
         http://www.watthummuangna.com/home/community/index.php/topic,683.0.html#lastPost

                                            
9  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / Re: อนัตตาที่แปลว่า ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน ไม่เป็นตัวตนแท้จริงแล้วหมายความว่าอย่างไร เมื่อ: มีนาคม 14, 2010, 03:54:15 PM

ถ้าผมเข้าใจ "อนัตตา" ว่าคือ  ว่างเปล่าได้ไหมครับ จะผิดคำสอนไหม?

ตามที่ผมเข้าใจ ผมเข้าใจแบบนี้นะ ซึ่งผมก็ยังเป็นนักปฏิบัติอยู่นะครับ

ไม่รู้ถูกหรือเปล่านะ รอไปบวชถามพระอาจารย์อยู่

                                         saferles

....................................................

ถ้าตามที่อาจารย์ไชยทรง จันทรอารีย์ สอน

             ท่านสอนว่า

อนัตตา แปลว่า มี ตัวตน แต่ ไม่ใช่ ตัวตน

เป็นปัจจัย สืบต่อ กันจึง ไม่ใช่ตัวตน

แต่ปัจจัยที่พร้อมให้เกิด ทำให้มี ตัวตน


                      
10  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / อนัตตาแปลว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ได้แปลว่า ไม่มีตัวตน ไชยทรง จันทรอารีย์ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2010, 02:38:42 PM
อนัตตาแปลว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ได้แปลว่า ไม่มีตัวตน

                

          โดย ไชยทรง จันทรอารีย์

         ผลของการสอนผิดๆว่าไม่มีตัวตน
เช่น บอกว่า ไม่มีสัตว์-บุคคล-ตัวตน-เรา-เขา
มรรค ๘ นั้นก็สักแต่ว่าเป็นทางเดิน แต่ไม่มีผู้เดิน
ส่วนนิพพานนั้นก็สักแต่ว่าเป็นนิพพาน แต่ผู้ถึงนิพพานไม่มี
จึงทำให้เข้าใจเลยออกไปได้ว่า
มีแต่การตีกันหัวแตกเท่านั้น แต่ผู้ตีไม่มี ดังนี้เป็นต้น.

         พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสกับพระอานนท์ซึ่งเป็นพระอริยะชั้นโสดาบันว่าดังนี้

ตสฺมา ตีหานนฺท อตฺตทีปา วิหรถ อตฺตสรณา อนญฺญสรณา

แปลว่า

ด้วยเหตุนี้แหละอานนท์ เธอจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง

         ทั้งนี้แสดงว่า พระองค์ทรงสอนเรื่องตัวตน
ถ้าไม่มีตัวตนจริงๆดังที่สอนกันอยู่ในปัจจุบันนี้แล้ว
พระองค์ย่อมนำมาตรัสสอนพระอานนท์ไม่ได้เลย

         พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธรูปนาม (อารมณ์และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์)
ว่าไม่ใช่ตัวตนไม่ควรยึดถือสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นอัตตาตัวตนที่เที่ยงแท้ถาวร

         ถ้าหากปล่อยวางเสียได้ จิตก็จะบรรลุเข้าสู่สภาพธรรมที่ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ
เป็นที่พึ่งอันเที่ยงแท้ถาวรอย่างแท้จริง

         มีพระบาลีในปัณฑิตวัคคแห่งพระธรรมบทกล่าวไว้ ดังนี้คือ

ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตกฺกิเลเสหิ ปณฺฑิโต

แปลว่า

บัณฑิตพึงชำระตนคือจิต ให้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลส

แสดงว่า

         จิตที่บริสุทธิ์นี้ คือ ตน
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกมาสอนพระอานนท์ดังกล่าวแล้วข้างต้นนี้


         ดังนั้นคำสอนที่ว่า ไม่มีตัวตน จึงย่อมขัดแย้งกับพุทธพจน์ข้อนี้อย่างไม่มีปัญหา

         ความจริงนั้นคำสอนเรื่องไม่มีตัวตน
เป็นคำสอนของปริพาชกจำพวกนัตถิกทิฐิ,ซึ่งอยู่นอกศาสนาพุทธนี้
ที่ทำให้ผู้ฟังธรรมะเข้าใจผิดว่าตายแล้วก็พินาศดับสูญหมด
ไม่มีตัวตนที่จะรับผลของกรรมดี กรรมชั่ว

ดังนั้น ผู้ที่เข้าใจว่าไม่มีตัวตนจึงปฏิเสธความเวียนว่ายตายเกิด
และไม่เชื่อว่ามีชีวิตในปรโลก คือ มีทิฐิว่าตายแล้วสูญ

          เมื่อมีทิฐิเกิดขึ้นเช่นนี้แก่ผู้ใด ผู้นั้นก็ย่อมไม่ละอายและไม่เกรงกลัวต่อผลบาปกรรม
จึงมักพากันทำงานและใช้ชีวิตโดยไม่คำนึงถึงศีลธรรมคิดแต่จะกอบโกยผลประโยชน์แบบ
มือใครยาวสาวได้สาวเอาใครจะประสบความเดือดร้อนยุ่งยากก็ช่าง

         สังคมทั้งหลายก็ย่อมประสบปัญหายุ่งยากร่วมกัน ถ้าปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม
ไม่ช่วยกันคิดแก้ไขปัญหายุ่งยากดังกล่าวนี้ เพราะถือว่าธุระไม่ใช่ของตัว สังคมก็ยิ่งยุ่งยากจมลึกลงไปอีก.

         ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าคำสอนที่แปลคำ

         “อนัตตา” ผิดว่า“ไม่มีตัวตน”นี้

         จึงมีพิษมีภัยแก่ความสงบสุขของสังคมนี้ฝ่ายเดียว
ถ้าไม่ศึกษาให้ดีก็จะไม่เห็นว่ามีพิษมีภัยอะไร.

สรุปความให้ชัดที่สุดแล้ว ตัวตนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำมาสอนก็คือ
จิตที่ได้ชำระให้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสแล้ว

         ถ้ายังไม่ได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์ เนื่องจากถูกอารมณ์ปรุงแต่งอยู่
จิตนั้นก็ยังไม่ใช่สภาพเดิมของตัวตน และเป็นทุกข์ตลอดไป
หมายความว่า จิตสังขารไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง.


        

         คัดลอกจากหนังสือธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nulek&month=03-08-2008&group=10&gblog=3

         นำมาเสนอพวกเรา ให้พิจารณากันว่า อนัตตา คือ อะไร กันแน่

                   
 
หน้า: [1]