แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 239 240 [241] 242
3601  กิจกรรมที่ช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา แหล่งทำบุญ หรือ การช่วยเหลือสังคม จากทาง Kammatan.com / แจกcdธรรมะ+หนังสือ ปฏิบัติธรรมฟรี / Re: บ้านคุณครูน้อย ทิมกุล เมื่อ: กันยายน 05, 2007, 10:28:27 AM
เว็บไซท์ของ บ้านครูน้อย ครับ

http://www.moobankru.com/bankrunoi/bankrunoi.htm    ยิ้มเท่ห์

สังคมไทย ย่อมไม่ทอดทิ้งกัน ร่วมปันน้ำใจ เพื่อชีวิตที่สดใส ของเด็กไทย น่ะครับ
3602  กิจกรรมที่ช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา แหล่งทำบุญ หรือ การช่วยเหลือสังคม จากทาง Kammatan.com / แจกcdธรรมะ+หนังสือ ปฏิบัติธรรมฟรี / Re: บ้านคุณครูน้อย ทิมกุล เมื่อ: กันยายน 05, 2007, 10:25:00 AM
เพิ่มเติม เกี่ยวกับบ้านคุณครูน้อย ทิมกุล ครับ

ในขณะที่หลายๆ คนอาจช่วยเหลือผู้อื่นที่มีความเดือนร้อน ต่อเมื่อตนเองพร้อมทั้งกำลังกาย และกำลังทรัพย์ แต่คุณครู นวลน้อย ทิมกุล ซึ่งเป็นที่เรียกขานกันสั้นๆ ว่า "ครูน้อย" ได้หยิบยื่นความช่วยเหลือแก่เด็กด้อยโอกาส ทั้งที่ตนเองป่วยเป็นอัมพฤกษ์ และขาดแคลนทุนทรัพย์ ซ้ำยังได้สืบสานงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานับสิบปี จน "บ้านครูน้อย" ได้รับการรับรองจากรมประชาสงเคราะห์ ให้เป็นสถานสงเคราะห์เด็กยากจน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 และดำเนินการช่วยเหลือเด็กยากไร้ และเด็กด้อยโอกาส มาถึงปัจจุบัน

ครูน้อยเติบโตจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน จึงมีประสบการณ์ที่ช่วยให้เข้าใจความลำบากเดือดร้อนของเด็กๆ ที่ไม่มีโอกาสทางการศึกษา และขาดความพร้อม แม้เพียงปัจจัยพื้นฐานของชีวิต ครูน้อยมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสเหล่านี้ ให้พ้นจากสภาวะวิกฤตของชีวิต และเติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพของประเทศในวันข้างหน้า เธอจึงทุ่มเทแรงกาย และแรงใจในการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสเหล่านี้ โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและความกดดันรอบด้าน

ครูน้อยเริ่มการช่วยเหลือเด็กๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ในขณะที่ เธอป่วยเป็นอัมพฤกษ์ที่ขา ต้องพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน หลังเล็กๆ ในซอยราษฎร์บูรณะ 26 เขตธนบุรี ทำให้ได้เห็นลูกๆ ของกรรมกรที่วิ่งเล่นตามร่องสวน โดยไม่มีโอกาสรับการศึกษาภาคบังคับ เพราะฐานะยากจน และเพราะขาดหลักฐานที่จำเป็น เช่น สูติบัตร และทะเบียนบ้าน ครูน้อย จึงเปิดบ้านของตนให้เป็นที่พักพิงของเด็กๆ เหล่านี้ แบ่งปันอาหารให้อิ่มท้อง และสอนให้เรียน เขียน อ่าน ขั้นพื้นฐาน ความมีน้ำใจของครูน้อยเป็นสิ่งที่เล่าขานต่อๆ กัน ทำให้มีผู้นำลูกหลานมาฝากให้ "เลี้ยงดู" มากขึ้น เรื่อยๆ ทั้งที่ครอบครัวของเธอมีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายเป็นหลายร้อยเท่า ทำให้ครูน้อยมีภาระหนี้สิน เพื่อมาจ่าย ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ตามมาเป็นจำนวนมาก

ประมาณสิบปีให้หลัง เรื่องราวของครูน้อยเริ่มแพร่หลายโดยสื่อมวลชน องค์กร มูลนิธิ และกลุ่มบุคคลต่างๆ จึงเริ่มให้ความช่วยเหลือ "บ้านครูน้อย" ในด้านกำลังทรัพย์และสิ่งของและช่วยผลักดันให้สถานศึกษาภาครัฐให้โอกาส เด็กๆ ที่ขาดหลักฐานประกอบการศึกษา ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาภาคบังคับ โดยได้รับการยกเว้นในเรื่องหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับเอกสารต่างๆ

นับแต่ปี พ.ศ. 2523 ถึง ปัจจุบัน ครูน้อยได้ช่วยเหลือเด็กที่มีฐานะยากจน เด็กที่พ่อแม่ต้องโทษจำคุก และเด็กเร่ร่อน ให้มีโอกาสทางการศึกษา และมีสิทธิที่จะรับการศึกษาภาคบังคับเท่าเทียมกับเด็กอื่นๆ เป็นจำนวนถึง 800 กว่าคน ปัจจุบันมีเด็กในความดูแลของ "บ้านครูน้อย" จำนวน 128 คน มีทั้งหญิงและชาย ระหว่างอายุ 6-18 ปี ในจำนวนนี้มีเด็กที่กำลังเรียนในสถานศึกษาต่างๆ 98 คน นอกนั้นเป็นเด็กเล็ก หรือเด็กพิการซ้ำซ้อน หลายคนในจำนวนนี้กลับไปพักที่บ้านของตนในเวลากลางคืน แต่ก็ยังมีเด็กอีกจำนวนไม่น้อย ที่พักอาศัยที่ "บ้านครูน้อย" และที่บ้านเช่า ซึ่งครูน้อยรับภาระค่าเช่าบ้าน เพื่อให้เด็กๆ ได้มีที่นอนอย่างปลอดภัย

บุคลากรที่ช่วยครูน้อยดูแลเด็ก ปัจจุบันมีอยู่ 10 คน เป็นครู 4 คน และมีเจ้าหน้าที่บริการอีก 6 คน แบ่งเป็น 2 ผลัด

งานของครูน้อย มิได้จำกัด อยู่แต่ที่ "บ้านครูน้อย" แต่ยังมีการประสานความร่วมมือกับมูลนิธิ และองค์กรต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด เช่น มูลนิธิสิธาสินี โรงเรียนศรีนาถสยาม โรงเรียนศรีวรา เป็นต้น

ในวันธรรมดาหลังเวลาเรียน และวันสุดสัปดาห์ และวันนักขัตฤกษ์ รวมทั้งช่วงเวลาปิดภาคเรียน จะมีกลุ่มบุคคลมาบริจาคสิ่งของ และค่าใช้จ่าย หรือจัดเลี้ยงอาหารในวาระต่างๆ และมีกลุ่มอาสาสมัคร จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร มาจัดกิจกรรมบันเทิง และกิจกรรมวิชาการ แก่เด็กๆ ที่บ้านครูน้อย เช่น การสอนศิลปะ สอนดนตรี เช่น กีตาร์ สอนคอมพิวเตอร์ หรือสอนภาษาอังกฤษ รวมทั้งกิจกรรมเสริมวิชาชีพ เช่น การทำเทียน ให้แก่เด็กๆ ซึ่งถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์และการแบ่งปันน้ำใจและรอยยิ้ม ที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และทัศนคติให้เป็นเชิงบวก ซึ่งจะมีผลให้เขาทั้งหลายได้เติบโตเป็นคนดีของสังคมในวันข้างหน้า ตามเจตนารมณ์ของครูน้อย ที่มีจิตวิญญาณของความเป็นครู ผู้ปรารถนาให้ศิษย์มีความสุขความเจริญ โดยไม่เคยคาดหมายสิ่งใดเป็นการตอบแทน
3603  กิจกรรมที่ช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา แหล่งทำบุญ หรือ การช่วยเหลือสังคม จากทาง Kammatan.com / แจกcdธรรมะ+หนังสือ ปฏิบัติธรรมฟรี / บ้านคุณครูน้อย ทิมกุล เมื่อ: กันยายน 05, 2007, 09:19:48 AM
ธรรมะทอล์คโชว์-ธรรมะพลิกชีวิต "พระมหาสมปอง"เพื่อบ้านครูน้อย

คอลัมน์ สดจากหน้าพระ




ยิ่งหดหู่กับตัวเองและสังคมมากเท่าไหร่ คนเรายิ่งต้องการแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต ในบางครั้งเราต้องการสายตาอันเข้มแข็งและอ่อนโยน เพื่อให้มองเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข

แต่ถึงชีวิตจะวุ่นวายสับสน และสังคมจะย่ำแย่ขนาดไหน แรงบันดาลใจ ยังเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตอยู่เสมอ

เมื่อความสุขเป็นสิ่งที่เราทุกคนแสวงหา แต่ความสุขของเรา ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น

กลายเป็นที่มาของรายการสนทนาธรรมสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration Show) ในหัวข้อ "ธรรมะพลิกชีวิต" โดยวิทยากรชื่อดัง 2 ท่าน

"พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต" พระนักเทศน์ชื่อดังแห่งวัดสร้อยทอง กรุงเทพฯ เป็นพระหนุ่มไฟแรงเจ้าของแนวคิดธรรมะเดลิเวอรี่ ที่นำธรรมะเข้าถึงทุกเพศทุกวัย ด้วยลีลาการเทศน์ที่สนุกสนานทันสมัยและให้แง่คิดกับผู้ฟังได้ถึงแก่นธรรม



และ "คม สุวรรณพิมล" นักคิดด้านการบริหารชื่อดัง ผู้พัฒนาหลักสูตรพัฒนาตนเองในชื่อ "Coach for Goal"



"พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต" กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดการสนทนาธรรมสร้างแรงบันดาลใจ ในหัวข้อ "ธรรมะพลิกชีวิต" ว่า การสนทนาธรรมดังกล่าว เป็นการนำเสนอแนวคิดสู่ความสุขและความสำเร็จ พลิกมุมมองการใช้ชีวิต เพื่อให้ผู้ฟังได้สัมผัสความสุขในทุกกิจกรรมของชีวิต พร้อมทั้งสร้างหนทางสู่ความสำเร็จในชีวิตและการทำงาน

"ธรรมะพลิกชีวิต" นำเสนอพลิกมุมคิด

1.พลิกมุมการมองตัวเอง (เพิ่มศักยภาพตนเอง)

2.พลิกมุมการมองผู้อื่น (พัฒนาสัมพันธภาพ)

3.พลิกมุมการมองปัญหา (กำจัดอุปสรรคในชีวิต)

4.พลิกมุมการใช้ชีวิตให้มีความสุขและความสำเร็จ (สร้างสมดุลในชีวิต)



ส่วนรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการจัดงานดังกล่าว จะนำไปมอบให้บ้านครูน้อย ซอยราษฎร์บูรณะ 26 เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ

พระมหาสมปอง เล่าว่า "อาตมาได้มีโอกาสไปเยี่ยมบ้านครูน้อยเป็นประจำ เพื่อมอบเงินช่วยเหลือบ้าง แต่เป็นจำนวนไม่มากตามอัตภาพ ครูน้อยได้ช่วยเหลือเด็กที่มีฐานะยากจน เด็กที่พ่อแม่ต้องโทษจำคุก และเด็กเร่ร่อน ให้มีโอกาสทางการศึกษา และมีสิทธิ์ที่จะรับการศึกษาภาคบังคับเท่าเทียมกับเด็กอื่นๆ เป็นจำนวนถึง 800 กว่าคน ปัจจุบันมีเด็กในความดูแลของบ้านครูน้อย จำนวน 128 คน มีทั้งหญิงและชาย ระหว่างอายุ 6-18 ปี ในจำนวนนี้มีเด็กที่กำลังเรียนในสถานศึกษาต่างๆ นอกจากนี้ เป็นเด็กเล็ก หรือเด็กพิการซ้ำซ้อน หลายคนในจำนวนนี้กลับไปพักที่บ้านของตนในเวลากลางคืน แต่ก็ยังมีเด็กอีกจำนวนไม่น้อย ที่พักอาศัยที่บ้านครูน้อย และที่บ้านเช่า ซึ่งครูน้อยรับภาระค่าเช่าบ้าน เพื่อให้เด็กๆ ได้มีที่นอนอย่างปลอดภัย"

"ปัจจุบัน ทราบว่าครูน้อยมีหนี้สินมาก แม้จะมีผู้บริจาคนำมาช่วย พอให้หนี้ได้ลดลง แต่ค่าใช้จ่ายสำหรับเด็กๆ เป็นประจำทุกเดือน จะค่อยๆ พอกพูนเพิ่มขึ้น อาตมามีความตั้งใจช่วยเหลือครูน้อยปลดหนี้ให้ได้มากที่สุด จึงได้จัดงานสนทนาธรรม สร้างแรงบันดาลใจ เป็นการบรรยายธรรมให้สนุกผ่อนคลาย แต่ได้สาระแง่คิดดีๆ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัว"

ทั้งนี้ ถ้าเพื่อนๆ คนไหนต้องการช่้วยเหลือกองทุนบ้านครูน้อย ก็สามารถช่วยเหลือได้ทาง การบริจาคตามนี้ น่ะครับ

ช่วยโอน คนละเล็กละน้อยนะครับมาที่

ธนาคารกสิกรไทย สาขาราษฎร์บูรณะ ชื่อบัญชี กองทุนบ้านครูน้อย 745 2 114 33 4


หรือไม่ก็ไป บริจาคได้ตัวเองได้ที่

บ้านครูน้อย, 319 หมู่ 1 ถ.ราษฎร์บูรณะ ซ.ราษฎณ์บูรณะ 26 เขตราษฎร์บูรณะ
หรือถ้าจะโทรไปเยี่ยมให้กำลังใจกับ ครูน้อย ก็ เบอร์นี้ครับ  028713083 นะครับ

ช่วยกันน่ะครับ สังคมไทย พี่น้องคนไทย ด้วยกัน ช่วยเหลือกันไว้น่ะครับ  ยิ้มเท่ห์

นายวัฒนชัย เก๊กฮั้ว
http://golfreeze.packetlove.com
 
3604  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / รวมบทสวดมนต์ เพือทำสมาธิ ทำจิตใจให้สงบ / บทสวดคัมภีร์สัจจคาถาเมตเตยยะ สวดช่วงกินเจ เมื่อ: กันยายน 04, 2007, 10:30:25 AM


บทสวดคัมภีร์สัจจคาถาเมตเตยยะ ช่วงที่มีการถือศีลกินเจ  มีหมายเหตุข้างล่าง



ฝอซัวหมีเล่อจิ้วขู่จิง หมีเล่อเซี่ยซื่อปู้เฟยชิง
หลิ่งเป่าฉีหลู่หลิงซันตี้  เหนี่ยนฮวาอิ้นเจิ้งเข่าซันเฉิง
ลั่วไจ้จงเอวี๋ยนซันซิงตี้ ต้าเจิ้งซื่อชวนอวั๋งเถาซิน
เทียนเจินโซวเอวี๋ยนกว้าเซิ่งเฮ่า  เติ่งไต้สือจื้อเตี่ยนเสินปิง
อวิ๋นเหลยเจิ้นไคอู้จี๋ถู่  เทียนเซี่ยเสินกุ่ยปู้อันหนิง
ชินไจ้เหยินเทียนจงฮว๋าหมู่  จิ่วเหลียนเซิ่งเจี้ยวกุยซั่งเฉิง
เทียนฮวาเหลาหมู่ฉุยอวี้เซี่ยน โซวเอวี๋ยนเสี่ยนฮว่าไจ้กู่ตง
หนันเป่ยเหลี่ยงจี๋เหลียนจงซวี่ ฮุ่นเอวี๋ยนกู่เช่อไจ้จงอยัง
เหลาหมู่เจี้ยงเซี่ยทงเทียนเชี่ยว อู๋อิ่งซันเฉียนตุ้ยเหอถง 
อิงเอ๋อเหย้าเสี่ยงกุยเจียชวี่ ฉือเนี่ยนตังไหลหมีเล่อจิง 
ย่งซินฉือเนี่ยนฝอไหลจิ้ว ตั๋วตั่วจินเหลียนชวี่เชาเซิง
ซึเต๋อซีไหลไป๋หยังจื่อ เซี่ยงเอ๋อเตี๋ยนเถี่ยฮว่าเฉิงจิน
เหม่ยยื่อจื้อซินฉังฉือเนี่ยน  ซันไจปานั่นปู้ไหลซิน
เหย้าเสี่ยงเฉิงฝอฉินหลี่ไป้ ฉังฉือชงหมิงจื้อฮุ่ยซิน 
ซิวทิงเสียเหยินหูซัวฮว่า เหลาซวนอี้หม่าเนี่ยนอู๋เซิง 
เหลาหมู่เจี้ยงเซี่ยเจินเทียนโจ้ว  ย่งซินฉือเนี่ยนโหย่วเสินทง
หมั่นเทียนซิงโต่วโตวเซี่ยซื่อ  อู่ฟังเลี่ยเซียนเซี่ยเทียนกง
เก้อฟังเฉิงหวงไหลตุ้ยเฮ่า เป้าซื่อหลิงถงฉาเตอชิง
ซันกวนต้าตี้ฉือเปยจู้ เซ่อจุ้ยซันเฉาจิ้วจ้งเซิง
จิ้วขู่เทียนจุนไหลจิ้วซื่อ  ชินเตี่ยนเหวินปู้เจียตี้เสิน 
ปาต้าจินกังไหลฮู่ฝ่า  ซื่อเว่ยผูซ่าจิ้วจ้งเซิง 
จิ๋นหลิ่งซันซึลิ่วเอวี๋ยนเจี้ยง  อู๋ไป่หลิงกวนจิ่นสุยเกิน
ฝูจู้หมีเล่อเฉิงต้าเต้า เป่าอิ้วเซียงเอ๋อเต๋ออันหนิง 
เป่ยฟังเจินอู่เหวยเจี้ยงไซว่ ชิงเหลี่ยนหงฝ่าเสี่ยนเสินทง
เฉอฉี่เจ้าฉีเจอยื่อเอวี้ย โถวติ่งเซินหลัวชีเป่าซิง 
เวยเจิ้นเป่ยฟังเหวยโซว่โส่ว ซู่ฉิ่งจูเอ้อกว้าเจี่ยปิง
ตาจิ้วเอวี๋ยนเหยินเซียงเอ๋อหนวี่ หั่วกวงลั่วตี้ฮว่าเหวยเฉิน
ซื่อไห่หลงอวั๋งไหลจู้เต้า เก้อเจี้ยเสียงอวิ๋นชวี่เถิงคง
สือฟังเทียนปิงฮู่ฝอเจี้ย  เป่าอิ้วหมีเล่อชวี่เฉิงกง
หงหยังเหลี่ยวเต้ากุยเจียชวี่ จ่วนเต้าซันหยังหมีเล่อจุน
อู๋ฮวั๋งชื่อลิ่งจี้เซี่ยเซิง โซวฝูหนันเอี๋ยนกุยเจิ้งจง
ไหลอวั่งเจ้าเซี่ยเจินเอี๋ยนโจ้ว  ฉวนเซี่ยตังไหลต้าจั้งจิง
อิงเอ๋อช่าหนวี่ฉังฉือเนี่ยน เสียเสินปู้กั่นไหลจิ้นเซิน
ฉือเนี่ยนอี๋เปี้ยนเสินทงต้า  ฉือเนี่ยนเหลี่ยงเปี้ยนเต๋อเชาเซิง
ฉือเนี่ยนซันเปี้ยนเสินกุ่ยพ่า อวั่งเหลี่ยงเสียหมอฮว่าเหวยเฉิน
ซิวฉือเจี๋ยเน่ยสวินลู่จิ้ง เนี่ยนฉี่เจินเอี๋ยนกุยฝอลิ่ง
หนันอู๋เทียนเอวี๋ยนไท่เป่าอาหมีถัวฝอ
 
     หมายเหตุ คนที่จะสวดคัมภีร์สัจจคาถาเมตเตยยะ จะต้องถือศีลกินเจตลอดชีวิตจึงจะมีพุทธานุภาพที่ยิ่งใหญ่ หรือถ้าใครที่ยังไม่กินเจ หรือกินบ้างเป็นบางครั้ง ก่อนที่จะสวดก็ขอให้ท่านกินเจก่อน อย่างเช่นถ้าวันนี้จะสวดคัมภีร์สัจจคาถาเมตเตยยะก็ขอให้กินเจในวันนี้แล้วจึงจะสวด
3605  การปฏิบัติของผู้ที่ได้ ฌาณ / ประสบการณ์ของผู้ที่ได้ไปสวรรค์ / บทสัมภาษณ์ผู้ที่วิญญาณออกจากร่าง เมื่อ: สิงหาคม 31, 2007, 09:00:55 AM
บทสัมภาษณ์ผู้ที่วิญญาณออกจากร่างไปพบยมทูต

ขอขอบคุณ เว็บพลังจิต ด้วยน่ะครับ

http://golfreeze.packetlove.com/music/playmedia.php?id=25   

หรือที่ link นี้ก็ได้ครับ

http://golfreeze.packetlove.com/music/songs/AtTen1-1.wmv

คลิกที่ Link นี้ได้เลยครับ  ยิ้มเท่ห์
3606  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / รวมบทสวดมนต์ เพือทำสมาธิ ทำจิตใจให้สงบ / Re: ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก เมื่อ: สิงหาคม 30, 2007, 08:36:52 PM

--------------------------------------------------------------------------------


พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (แปล)




๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก


๒. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า


๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส


๔. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ

ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็น

ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า


๕. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว


๖. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ น้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ อากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์


๗. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ


๘. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน


๙. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ


๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค


๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติผล และ พระอรหัตตผล

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิผล และ พระอรหัตตผล

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล


๑๒. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระแห่งชมภูทวีป

ธรรมะฝ่ายกุศล ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎก

ด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และ นิพพานหนึ่ง ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ

ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร


๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต


๑๔. ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา

ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นยามา

ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยมของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต


๑๕. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต


๑๖. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี


๑๗. ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี


๑๘. ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน


๑๙. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด


๒๐. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด


๒๑. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด


๒๒. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น


๒๓. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว


๒๔. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว


๒๕. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว


๒๖. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว


๒๗. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง
3607  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / รวมบทสวดมนต์ เพือทำสมาธิ ทำจิตใจให้สงบ / บทสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก และคำแปล เมื่อ: สิงหาคม 30, 2007, 08:35:26 PM


ที่มา http://www.84000.org/pray/yodprakan.shtml
ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก ( คำแปลอยู่ด้านล่าง )

ยอดพระกัณฑ์ฉบับนี้ ได้มาจากต้นฉบับเดิมที่จารไว้บนใบลานเป็นอักษรขอม
ซึ่ง เปิดกรุครั้งแรกที่เมืองสวรรคโลก มีบันทึกเอาไว้ว่าผู้ใดสวดมนต์เป็นประจำทุกเช้าเย็น
จะป้องกันภัยอันตรายต่างๆได้รอบด้าน ภาวนาพระคาถาอื่นสัก ๑๐๐ปีก็ไม่เท่ากับ
อานิสงส์ของการสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกนี้เพียงครั้งเดียว
ผู้ใดที่สวดครบ ๗ วัน หรือครบอายุปัจจุบันของตัวเอง จะมีโชคลาภ ทำมาค้าขายรุ่งเรือง
ปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง

ก่อนสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฏก พึงคุกเข่าพนมมือตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย
นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า นมัสการพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
ขอให้ตั้งจิตมั่นในบทสวดมนต์จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการ
อย่าได้ทำเล่นจะเกิดโทษแก่ตัว


--------------------------------------------------------------------------------

คำบูชาพระรัตนตรัย
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ


นมัสการพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ


๑. พุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ


๒. ธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ


๓. สังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ


ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกมีดังนี้

๑.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวา

๒.
อะระหัง ตัง สะระณัง คัจฉามิ
อะระหัง ตัง สิระสา นะมามิ
สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ
สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ
สุคะตัง สิระสา นะมามิ
โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ
โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ

๓.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวา

๔.
อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ
ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ
ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
พุทธัง สิระสา นะมามิ

๕.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา

๖.
อิติปิ โส ภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๗.
อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๘.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมาฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๙.
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะเนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะอะรูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะอะรูปาวะ จะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะ อะรูปาวะ จะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๐.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน



๑๑.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๒.
กุสะลา ธัมมา
อิติปิ โส ภะคะวา
อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ชมภูทีปัญจะอิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
นะโม พุทธายะ
นะโม ธัมมายะ
นะโม สังฆายะ
ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง
อา ปา มะ จุ ปะ
ที มะ สัง อัง ขุ
สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ
อุ ปะ สะ ชะ สุ เห ปา สา ยะ
โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ
เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว
อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ ภุ พะ
อิ สวา สุ สุ สวา อิ
กุสะลา ธัมมา
จิตติวิอัตถิ

๑๓.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
สา โพธิ ปัญจะ อิสาะโร ธัมมา

๑๔.
กุสะลา ธัมมา
นันทะวิวังโก
อิติ สัมมาพุทโธ
สุ คะ ลา โน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน
อุ อุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตาวะติงสา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู
มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ยามา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
พรหมมาสัททะ
ปัญจะ สัตตะ
สัตตาปาระมี
อะนุตตะโร
ยะมะกะขะ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๕.
ตุสิตา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
ปุ ยะ ปะ กะ
ปุริสะทัมมะสาระถิ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๖.
นิมมานะระติ อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
เหตุโปวะ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง
ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๗.
ปะระนิมมิตะ อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
สังขาระขันโธ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
รูปะขันโธ พุทธะปะผะ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๘.
พรหมมา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
นัจจิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
นะโม พุทธัสสะ
นะโม ธัมมัสสะ
นะโม สังฆัสสะ
พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ

๑๙.
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ
อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

๒๐.
อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง
พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง
จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง
เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง
อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง
มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง
สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง
พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง
อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา
อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

๒๑.
สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง นิพพานัง
โมกขัง คุยหะกัง
ถานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง
สิริรูปัง จะตุวีสะติเสนัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

๒๒.
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม อิติปิโส ภะคะวา

๒๓.
นะโม พุทธัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

๒๔.
นะโม ธัมมัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

๒๕.
นะโม ธัมมัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

๒๖.
นะโม สังฆัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ
สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง

๒๗.
นะโม พุทธายะ
มะอะอุ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
ยาวะ ตัสสะ หาโย
นะโม อุอะมะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
อุ อะมะ อาวันทา
นะโม พุทธายะ
นะ อะ กะ ติ นิ สะ ระ นะ
อา ระ ปะ ขุ ธัง มะ อะ อุ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา




--------------------------------------------------------------------------------
3608  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / นั่งสมาธิ แนว กสิณ10 คืออะไร / Re: การภาวนา โดยการทำสมาธิ เมื่อ: สิงหาคม 29, 2007, 04:58:35 PM
สมาธิย่อมมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ ซึ่งผู้บำเพ็ญอาจจะใช้กรรมฐานบทใดบทหนึ่งตามแต่ที่ถูกแก่จริตนิสัยของตนก็ย่ อมได้ ส่วนวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียว คือมี ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เรียกสั้นๆว่า มีแต่รูปกับนามเท่านั้น ขันธ์ ๕ นั้นได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสภาวธรรมหรือสังขารธรรมเกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นไม่ได้ และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างใด อารมณ์ของวิปัสสนานั้น เป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผลในสังขารธรรมทั้งหลาย จนรู้แจ้งเห็นจริงว่าเป็นพระไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา และเมื่อใดที่จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาจริง เรียกว่าจิตตกกระแสธรรมตัดกิเลสได้ ปัญญาที่จะเห็นสภาพความเป็นจริงดังกล่าว ไม่ใช่แต่เพียงปัญญาที่นึกคิดและคาดหมายเอาเท่านั้น แต่ย่อมมีตาวิเศษหรือตาใน ที่พระท่านเรียกว่า "ญาณทัสสนะ" เห็นเป็นเช่นนั้นจริงๆ ซึ่งจิตที่ได้ผ่านการอบรมสมาธิมาจนมีกำลังดีแล้ว ย่อมมีพลังให้เกิดญาณทัสสะหรือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวได้ เรียกกันว่า "สมาธิอบรมปัญญา" คือสมาธิทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น และเมื่อวิปัสสนาญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถ่ายถอนกิเลสให้เบาบางลง จิตก็ย่อมจะเบาและใสสะอาดบางจากกิเลสทั้งหลายไปตามลำดับ สมาธิจิตก็จะยิ่งก้าวหน้าและตั้งมั่นมากยิ่งๆขึ้นไปอีก เรียกว่า "ปัญญาอบรมสมาธิ" ฉะนั้นทั้งสมาธิและวิปัสสนาจึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกันและอุปการะซึ่ง กันและกัน จะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นโดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลย อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของขณิกสมาธิเป็นบาทฐานในระยะแรกเริ่ม สมาธิจึงเปรียบเหมือนกับหินลับมีด ส่วนวิปัสสนานั้นเหมือนกับมีดที่ได้ลับกับหินคมดีแล้ว ย่อมมีอำนาจถากถางตัดฟันบรรดากิเลสทั้งหลายให้ขาดและพังลงได้ อันสังขารธรรมทั้งหลายนั้นล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใด ทุกสรรพสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นแค่ดิน น้ำ ลม และไฟ มาประชุมรวมกันชั่วคราวตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น ในเมื่อจิตได้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว จิตก็จะละคลายจากอุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่น โดยคลายกำหนัดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทั้งหลาย ความโลภ ความโกรธ และความหลงก็เบาบางลงไปตามลำดับปัญญาญาณจนหมดสิ้นจากกิเลสทั้งมวล บรรลุซึ่งพระอรหัตผล

ฉะนั้น การที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน หากทำสมาธิยังไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้น สมาธิจึงเป็นเพียงบันไดขั้นต้นที่จะก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้วว่า "ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจนจิตเป็นฌานได้นานถึ ง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม" ดังนี้ จะเห็นได้ว่า วิปัสสนาภาวนานั้น เป็นสุดยอดของการสร้างบุญบารมีโดยแท้จริง และการกระทำก็ไม่เหนื่อยยากลำบาก ไม่ต้องแบกหาม ไม่ต้องลงทุนหรือเสียทรัพย์แต่อย่างใด แต่ก็ได้กำไรมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบการให้ทานเหมือนกับกรวด และทราบ ก็เปรียบวิปัสสนาได้กับเพชรน้ำเอก ซึ่งทานย่อมไม่มีทางที่จะเทียบศีล ศีลก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับสมาธิ และสมาธิก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับวิปัสสนา แต่ตราบใดที่เราท่านทั้งหลายยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุกๆทางเพื่อความไม่ประมาท โดยทำทั้งทาน ศีล และภาวนา สุดแต่โอกาสจะอำนวยให้ จะถือว่าการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้นลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้กำไรมากที่สุด ก็เลยทำแต่วิปัสสนาอย่างเดียว โดยไม่ยอมลงทุนทำบุญให้ทานใดๆไว้เลย ก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่มีจะกินจะใช้ ก็เห็นจะเจริญวิปัสสนาให้ถึงฝั่งพระนิพพานไปไม่ได้เหมือนกัน

อนึ่ง พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ว่า "ผู้ใดมีปัญญาพิจารณาจนจิตเห็นความจริงว่า ร่างกายนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คน สัตว์ แม้จะนานเพียงชั่วช้างยกหูขึ้นกระดิก ก็ยังดีเสียกว่าผู้ที่มีอายุยืนนานถึง ๑๐๐ ปี แต่ไม่มีปัญญาเห็นความเป็นจริงดังกล่าว" กล่าวคือแม้ว่าอายุของผู้นั้นจะยืนยาวมานานเพียงใด ก็ย่อมโมฆะเสียเปล่าไปชาติหนึ่ง จัดว่าเป็น "โมฆบุรุษ" คือบุรุษที่สูญเปล่า

ขอขอบคุณข้อมูลจาก เว็บ http://larndham.net/index.php  ลานธรรมเสวนา เป็นอย่างสูงครับ
3609  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / นั่งสมาธิ แนว กสิณ10 คืออะไร / การภาวนา โดยการทำสมาธิ เมื่อ: สิงหาคม 29, 2007, 04:57:58 PM
 การภาวนา

การเจริญภาวนานั้น เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้น มี ๒ อย่าง คือ (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ) และ (๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) แยกอธิบายดังนี้ คือ

(๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ)

สมถภาวนา ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌาน ซึ่งก็คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่นๆ วิธีภาวนานั้น มีมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ ๔๐ ประการ เรียกกันว่า "กรรมฐาน ๔๐" ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจ ทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่ได้เคยสร้างสมอบรมมาแต่ในอดี ตชาติ เมื่อสร้างสมอบรมมาในกรรมฐานกองใด จิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่นๆ และการเจริญภาวนาก็ก้าวหน้าเร็วและง่าย แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อน คือหากเป็นฆราวาสก็จะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างน้อย หากเป็นสามเณรก็จะต้องรักษาศีล ๑๐ หากเป็นพระก็จะต้องรักษาศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาดและด่างพร้อย จึงจะสามารถทำจิตให้เป็นฌานได้ หากศีลยังไม่มั่นคง ย่อมเจริญฌานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐาน (เป็นกำลัง) ให้เกิดสมาธิขึ้น อานิสงส์ของสมาธินั้น มีมากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่วไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู" คำว่า "จิตสงบ" คำว่า "จิตสงบ" ในที่นี้หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า "ขณิกสมาธิ" คือสมาธิเล็กๆ น้อยๆ สมาธิแบบเด็กๆ ที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลง แล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่ ซึ่งเป็นอารมณ์จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น สงบวูบลงเล็กน้อยแล้วก็รักษาไว้ไม่ได้ ซึ่งยังห่างไกลต่อการที่จิตถึงขั้นเป็นอุปจารสมาธิและฌาน แม้กระนั้นก็ยังมีอานิสงส์มากมายถึงเพียงนี้ โดยหากผู้ใดจิตทรงอารมณ์อยู่ในขั้นขณิกสมาธิแล้วบังเอิญตายลงในขณะนั้น อานิสงส์นี้จะส่งผลให้ได้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นที่ ๑ คือชั้นจาตุมหาราชิกา หากจิตยึดไตรสรณคมน์ (มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันสูงสุดด้วย ก็เป็นเทวดาชั้น ๒ คือ ดาวดึงส์)

ส มาธินั้น มีหลายขั้นตอน ระยะก่อนที่จะเป็นฌาน (อัปปนาสมาธิ) ก็คือขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิ ซึ่งอานิสงส์ส่งให้ไปบังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น แต่ยังไม่ถึงชั้นพรหมโลก สมาธิในระดับอัปปนาสมาธิหรือฌานนั้น มีรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลให้ไปบังเกิดในพรหมโลกรวม ๒๐ ชั้น แต่จะเป็นชั้นใดย่อมสุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌานที่ได้ (เว้นแต่พรหมโลกชั้นสุทธาวาสคือ ชั้นที่ ๑๒ ถึง ๑๖ ซึ่งเป็นที่เกิดของพระอนาคามีบุคคลโดยเฉพาะ) รูปฌาน ๑ ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้น ๑ ถึงชั้น ๓ สุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌาน ๑ ส่วนอรูปฌานที่เรียกว่า "เนวสัญญา นาสัญญายตนะ" นั้น ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงสุด คือชั้นที่ ๒๐ ซึ่งมีอายุยืนยาวถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป เรียกกันว่านิพพานพรหม คือนานเสียจนเกือบหาเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดมิได้ จนเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นนิพพาน

การทำสมาธิเป็นการสร้างบุญกุศลที่ย ิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุด เพราะไม่ได้เสียเงินเสียทอง ไม่ได้เหนื่อยยากต้องแบกหามแต่อย่างใด เพียงแต่คอยเพียรระวังรักษาสติ คุ้มครองจิตมิให้แส่ส่ายไปสู่อารมร์อื่นๆ โดยให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น การทำทานเสียอีกยังต้องเสียเงินทอง การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาโรงธรรมยังต้องเสียทรัพย์ และบางทีก็ต้องเข้าช่วยแบกหามเหนื่อยกาย แต่ก็ได้บุญน้อยกว่าการทำสมาธิอย่างที่เทียบกันไม่ได้

อย่างไรก็ดี การเจริญสมถภาวนาหรือสมาธินั้น แม้จะได้บุญอานิสงส์มากมายมหาศาลอย่างไร ก็ยังไม่ใช่บุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบกับต้นไม้ก็เป็นเพียงเนื้อไม้เท่านั้น การเจริญวิปัสสนา (การเจริญปัญญา) จึงจะเป็นการสร้างบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบก็เป็นแก่นไม้โดยแท้

(๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)

เมื่อจิตของผู้บำเพ็ญตั้ง มั่นในสมาธิจนมีกำลังดีแล้ว เช่นอยู่ในระดับฌานต่างๆ ซึ่งจะเป็นฌานในระดับใดก็ได้ แม้แต่จะอยู่แค่เพียงอุปจารสมาธิ จิตของผู้บำเพ็ญเพียรก็ย่อมมีกำลังและอยู่ในสภาพที่นุ่มนวล ควรแก่การเจริญวิปัสสนาต่อไปได้ อารมณ์ของวิปัสสนานั้น แตกต่างไปจากอารมณ์ของสมาธิ เพราะสมาธินั้นมุ่งให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแต่อารมณ์เดียว โดยแน่นิ่งอยู่เช่นนั้น ไม่นึกคิดอะไรๆ แต่วิปัสสนาไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น แต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลาย และสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ "ขันธ์ ๕" ซึ่งนิยมเรียกกันว่า "รูป-นาม" โดยรูปมี ๑ ส่วน นามนั้นมี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เพราะแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าสภาวธรรม จึงทำให้เกิดความยึดมั่นด้วยอำนาจอุปาทานว่าเป็นตัวตนและของตน การเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า อันสภาวธรรมทั้งหลาย อันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้น ล้วนแต่มีอาการเป็นพระไตรลักษณ์ คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา โดย

๑. อนิจจัง
ค ือความไม่เที่ยง คือสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สมบัติ เพชร หิน ดิน ทราย และรูปกายของเรา ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ไม่อาจจะให้ตั้งมั่นทรงอยู่ในสภาพเดิมได้ เช่นคนและสัตว์ เมื่อมีการเกิดขึ้นแล้ว ก็มีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาว และเฒ่าแก่ จนตายไปในที่สุด ไม่มีเว้นไปได้ทุกผู้คน แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย พรหมและเทวดา ฯลฯ

สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ที่เรียกว่าอุปาทานขันธ์ ๕ เช่น รูปกาย ล้วนแต่เป็นแร่ธาตุต่างๆ มาประชุมรวมกันเป็นหน่วยเล็กๆของชีวิตขึ้นก่อน ซึ่งเล็กจนตาเปล่ามองไม่เห็น เรียกกันว่า "เซลล์" แล้วบรรดาเซลล์เหล่านั้นก็มาประชุมรวมกันเป็นรูปร่างของคนและสัตว์ขึ้น ซึ่งหน่วยชีวิตเล็กๆ เหล่านั้นก็มีการเจริญเติบโตและแตกสลายไป แล้วเกิดของใหม่ขึ้นแทนที่อยู่ตลอดเวลา ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้แน่นอน

๒. ทุกขัง
ได้แก่ "สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้" ทุกขัง ในที่นี้มิได้หมายความแต่เพียงว่าเป็นความทุกข์กายทุกข์ใจเท่านั้น แต่การทุกข์กายทุกข์ใจก็เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของทุกขังในที่นี้ สรรพสิ่งทั้งหลายอันเป็นสังขารธรรมเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจที่จะทนตั้งมั่นอยู่ในสภาพนั้นๆได้ตลอดไป ไม่อาจจะทรงตัว และต้องเปลี่ยนแปลงไป เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น เมื่อได้เกิดมาเป็นเด็กจะให้ทรงสภาพเป็นเด็กๆเช่นนั้นตลอดไปหาได้ไม่ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นหนุ่มและสาว แล้วก็เฒ่าแก่ จนในที่สุดก็ต้องตายไป แม้แต่ขันธ์ที่เป็นนามธรรมอันได้แก่เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ไม่มีสภาพทรงตัวเช่นเดียวกัน เช่นขันธ์ที่เรียกว่าเวทนา อันได้แก่ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความไม่สุข ไม่ทุกข์ ซึ่งเมื่อมีเกิดเป็นอารมณ์ดังกล่าวอย่างใดขึ้นแล้ว จะให้คงทรงอารมณ์เช่นนั้นให้ตลอดไปย่อมไม่ได้ นานไปอารมณ์เช่นนั้นหรือเวทนาเช่นนั้นก็ค่อยๆจางไป แล้วเกิดอารมณ์ใหม่ชนิดอื่นขึ้นมาแทน

๓. อนัตตา
ได้แก่ "ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ" โดยสรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็น "รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ" ล้วนแต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เช่น รูปขันธ์ย่อมประกอบขึ้นด้วยแร่ธาตุต่างๆ มาประชุมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นหน่อยชีวิตเล็กๆขึ้นก่อน เรียกในทางวิทยาศาสตร์ว่า "เซลล์" แล้วเซลล์เหล่านั้นก็ประชุมรวมกันเป็นรูปใหญ่ขึ้น จนเป็นรูปกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งพระท่านรวมเรียกหยาบๆ ว่าเป็นธาตุ ๔ มาประชุมรวมกัน โดยส่วนที่เป็นของแข็งมีความหนักแน่น เช่น เนื้อ กระดูก ฯลฯ เรียกว่า ธาตุดิน ส่วนที่เป็นของเหลว เช่น น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำดี น้ำปัสสาวะ น้ำไขข้อ น้ำมูก ฯลฯ รวมเรียกว่า ธาตุน้ำ ส่วนสิ่งที่ให้พลังงานและอุณหภูมิในร่างกาย เช่น ความร้อน ความเย็น เรียกว่า ธาตุไฟ ส่วนธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ความตั้งมั่น ความเคร่ง ความตึง และบรรดาสิ่งเคลื่อนไหวไปมาในร่างกาย เรียกว่า ธาตุลม (โดยธาตุ ๔ ดังกล่าวนี้มิได้มีความหมายอย่างเดียวกับคำว่า "ธาตุ" อันหมายถึง แร่ธาตุในทางวิทยาศาสตร์) ธาตุ ๔ หยาบๆเหล่านี้ได้มาประชุมรวมกันเป็นรูปกายของคน สัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลายขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อนานไปก็ย่อมเปลี่ยนแปลงแล้วแตกสลายกลับคืนไปสู่สภาพเดิม โดยส่วนที่เป็นดินก็กลับไปสู่ดิน ส่วนที่เป็นน้ำก็กลับไปสู่น้ำ ส่วนที่เป็นไฟก็กลับไปสู่ไฟ ส่วนที่เป็นลงก็กลับไปสู่ความเป็นลม ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของคนและสัตว์ที่ไหนแต่อย่างใด จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นรูปกายนี้ว่าเป็นตัวเราของเราให้เป็นที่พึ่งอันถาวรได้
3610  กิจกรรมที่ช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา แหล่งทำบุญ หรือ การช่วยเหลือสังคม จากทาง Kammatan.com / แจกcdธรรมะ+หนังสือ ปฏิบัติธรรมฟรี / กิจกรรมเลี้ยงข้าว บริจาคเสื้อผ้า เมื่อ: สิงหาคม 28, 2007, 02:49:43 PM
งานนี้ ไปกันตั้งแต่ 8.00 โมงครับไป ถึงที่มูลนิธิ ก็ประมาณ 10.30 พวกเราก็ไปทานข้าวกันก่อน 

แล้วไปเลี้ยงข้าวน้องๆ ก็ประมาณ 11.00 ที่มูลนิธิ แห่งนี้พี่ๆ ที่ดูแลเค้าบอกว่า เด็กทุกคน ที่นี่ไม่

ใช่เด็กกำพร้า แต่เนื่องด้วยทางพ่อ แม่ ของเด็กมีปัญหาทางครอบครัว จึงได้นำลูกๆ มาฝากไว้

และที่นี่ก็ ส่งเสีย เลี้ยงดู ตั้งแต่แลกเกิด ก็มีตั้งแต่เด็ก อายุ 1 ขวบ ถึง 6 ปี เลี้ยงข้าวน้องๆ เสร็จ

ก็มอบ เครื่องเขียน ปากกา สีไม้ ดินสอ สมุดวาดเขียน แล้วก็เสื้อผ้า ให้กับน้องๆ




ก่อตั้งมาตั้งแต่ ผมยังไม่เกิดเลย  ขยิบตา



ด้านหน้าสำนักงาน  ยิ้มเท่ห์



ห้องธุรการของมูลนิธิื ครับ จะมีพี่ๆ ที่น่ารักๆ ประจำอยู่ครับ



เจ๊อุ๋ย กำลัง เ้ล่นกับน้องสมชาย (อายุ 1 ขวบ) ....  น้องน่ารักดีครับ 



อุ้มหนู บ้างจิ ...  เศร้า



กินข้าวอิ่มแล้ว ครับ ..



ห้องนี้ เป็นเด็กอายุ 2-4 ปีครับ น้องๆ กำลังทานข้าวกันเลย น่ารักมากๆ ..



กินข้าวหมด แล้วกำลังจะ ทานขนมปัง ต่อครับ  แลบลิ้น



ผมขอ ออกกล้องด้วย คน ครับ



ชิมบ้าง ดี๊  จุมพิต



เหลือผม คนเดียว ... ยังไม่หมด เลย



น้องๆ อาบน้ำ กันเสร็จแล้ว กำลังจะนอน แล้วครับ

น้องๆ ที่นี่ น่ารักมากครับ เด็กตัวเด็กๆ ทานข้าวเองได้ เลย ใส่เสื้อผ้าได้ มรรยาทก็ดีด้วย ครับ

ยังไง สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการไป เยี่ยมน้องๆ ที่มูลนิธิแห่้งนี้

ผมจะ มาอัฟเดท ที่อยู่ให้ทราบอีกที น่ะครับ  ยิ้มเท่ห์
-----------------------------------------

Webmaster Kammatan.com 
[email protected]
3611  การปฏิบัติของผู้ที่ได้ ฌาณ / ประสบการณ์ของผู้ที่ได้ไปสวรรค์ / Re: สวรรค์อยู่ในอกนรกอยู่ในใจ เมื่อ: สิงหาคม 25, 2007, 10:53:07 PM
ครับ ถ้าวันไหนว่างๆ ก็มาแชร์ประสบการณ์ได้ น่ะครับท่าน อาจารย์ matteo  ยิ้มเท่ห์
3612  ความสำคัญของพระพุทธศาสนา และทุกอย่าง เกี่ยวกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า / ประวัติอุบาสก อุบาสิกา ฆราวาสผู้ประพฤติธรรม / แม่ชีพิมพา ทองเกลา และข้อมูลการเดินทางไป กุฏิประชาชื่น เมื่อ: สิงหาคม 24, 2007, 11:46:41 AM
นี่เป็นข้อมูลการเดินทางน่ะครับ ต้องขอบคุณข้อมูลจากพี่กล้า  http://kasin.packetlove.com มากครับ

****************************************************************

เส้นทางการเดินทางไปสู่ วัดกำแพงบางจาก มี 3 เส้นทาง คือ
            
              1. เข้าทางถนนจรัญสนิทวงศ์ 3
ให้ขึ้น รถโดยสารประจำทาง จาก สนามหลวง สาย 91, 80 ฝั่งด้านสนามหลวง ลงป้ายหน้าวัดท่าพระ    แล้วข้ามสะพานลอย
ไปฝั่งตรงข้าม และเข้าไปในซอยจรัญสนิทวงศ์ 3 จากนั้นให้โดยสารรถบริการ    รับ-ส่ง สองแถวประจำซอย หรือรถจักรยานยนต์
รับจ้าง ไปสุดซอย และให้ข้ามสะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่    และเดินตรงไปเล็กน้อย ให้เลี้ยวซ้าย และเดินตรงไปเรื่อย ๆ
ก็จะถึงกุฏิฝึกกรรมฐานประชาชื่น    (จุดสังเกต หน้ากุฏิจะมีต้นไม้ใหญ่น้อย ปลูกอยู่หน้ากุฏิมากมาย)
              (สายรถโดยสารประจำทางที่ผ่านเส้นทางนี้ คือ 42, 68, 108, 103, 80, 81, 91, ปอ.9,    และปอ.10)
            
             2. เข้าทาง ถนนเพชรเกษม 20
เข้าทางเชิงสะพานบางไผ่ ปากทางเข้า จะมีป้ายชื่อวัดทองศาลางาม อยู่ริมถนน ให้ผ่านมาตามเส้นทางนี้    ผ่านโรงเรียน
ผ่านวัดทองศาลางาม และจะถึงวัดกำแพงบางจาก กุฏิฝึกกรรมฐานประชาชื่น    จะอยู่หลังศาลาวัดหลังใหญ่
             (เส้นทางนี้ เหมาะสำหรับผู้ใช้รถยนต์) (สายรถประจำทางที่ผ่าน 80, 81, 84, 91, 15, ปอ.84, ปอ.90, ปอ.91)

             3. โดยสารเรือ จากบริเวณท่า ใกล้ ๆ สะพานพุทธยอดฟ้า
ปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร

**************************************************************
เส้นทางเป็นรูป ดังนี้ครับ



ถ้ามีข้อสอบถามติดต่อ

นายวัฒนชัย เก๊กฮั้ว
MSN : [email protected]
Tel : 085-1112287      ยิ้มเท่ห์
3613  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / นั่งสมาธิ แนว กสิณ10 คืออะไร / นิพพานมี คืออะไร มีกีั่แบบ เมื่อ: สิงหาคม 22, 2007, 11:10:31 PM
นิพพานว่าโดยลักษณะ มีอย่างเดียว คือ
สันติลักขณะ หมายความว่า  ธรรมชาติที่สงบจากกิเลสและขันธ์ 5
นิพพานว่าโดยสภาพความเป็นอยู่ มี 3 อย่าง คือ
1.   สุญญตนิพพาน  หมายความว่า ความเป็นอยู่ของพระนิพพานนั้น
สูญสิ้นจากกิเลสและขันธ์ 5  ไม่มีอะไรเหลืออยู่แล้ว
      2. อนิมิตตนิพพาน  หมายความว่า  ความเป็นอยู่ของพระนิพพานนั้น ไม่มีนิมิต เครื่องหมาย  หรือรูปร่างสัณฐาน สีสัน วรรณะ แต่อย่างใดเลย
      3. อัปปณิหิตนิพพาน  หมายความว่า  ความเป็นอยู่ของพระนิพพานนั้น
ไม่มีอารมณ์ที่น่าปรารถนาด้วยโลภะ และไม่มีตัณหาที่เป็นตัวต้องการอยู่ในพระนิพพานนั้น

ที่มา ? คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 6 รูปปรมัตถ์และนิพพานปรมัตถ์  อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย  พิมพ์เผยแพร่ครั้งที่ 2/2550  (หน้า 170-172)

ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก
หนังสือ ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ 1-2-6 จิต เจตสิก รูป นิพพาน หลักสูตร
ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะตรี (สำหรับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป)  รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ  ธัมมาจริยะ   รวบรวมโดย พระศรีคัมภีรญาณ (ถวัลย์  ญาณจารี ป.ธ.9 อภิธรรมมหาบัณฑิต)  มูลนิธิสหอภิธรรมิกะวิทยาลัย  วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร , พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2547
3614  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / นั่งสมาธิ แนว กสิณ10 คืออะไร / อะไรคือการ นั่งสมาธิแนว กสิณ10 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2007, 01:49:31 PM
************************************************************************
?ฝึกปฏิบัติพระกรรมฐาน แนว กสิณ รู้เรื่อง ภพภูมิ นรก  สวรรค์ มีจริง ตามแนวจากพระอภิธรรมปิฎก?

************************************************************************

ขอเชิญฝึกปฏิบัติพระกรรมฐาน แนววิธี กสิณ ได้ที่
อุบาสิกา พิมพา ทองเกลา
   กุฏิฝึกกรรมฐานประชาชื่น  วัดกำแพงบางจาก
ซอยเพชรเกษม 20  แขวงปากคลอง  เขตภาษีเจริญ
กรุงเทพมหานคร 10160  โทร. (02) ? 457-0958
ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00 ? 22.30 น.  แต่งกายปกติ
   (ควรเตรียมดอกไม้ธูปเทียน เพื่อบูชาพระ ด้วย)
   การฝึกปฏิบัติพระกรรมฐานนั้น ควรมีความตั้งใจจริงจัง ไม่ท้อถอย เอาจริงต่อการปฏิบัติ  และควรเคารพครูอาจารย์ผู้สอนอย่างนอบน้อม และกตัญญู

************************************************************************   


วิธีฝึกปฏิบัติกรรมฐาน แนว กสิณ

   ก่อนฝึกปฏิบัติกรรมฐาน  ให้ผู้ปฏิบัติ กราบ 5 ครั้ง 
   ขอบูชาพระพุทธเจ้า , ขอบูชาพระธรรม , ขอบูชาพระสงฆ์
ขอกราบพ่อ แม่ (ทุกชาติภพ) , ขอกราบครูอาจารย์ ครูอุปัชฌาย์
(ทุกชาติภพ)
   * กรณีผู้ปฏิบัติเป็นชาย ให้ระลึกถึงครูอุปัชฌาย์(ทุกภพทุกชาติ)  ด้วยนั่งสำรวมใจ ให้สงบ  หลับตามองตรงไกลออกไปข้างหน้า  โดยไม่ต้องใช้คำภาวนา หรือกำหนดลมหายใจ    ให้ถือปฏิบัติรอบละ 30 นาทีแล้วพัก 
(หากรู้สึกปวดเมื่อย ก็สามารถเปลี่ยนท่านั่ง  หรือผ่อนคลายอิริยาบถได้)

************************************************************************


สรุปความ

      อุบาสิกาพิมพา  แนะแนวการปฏิบัติสมถกรรมฐาน โดยใช้การเพ่ง กสิณ 10    เพื่อให้ได้โลกียอภิญญา 5 อย่าง    และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน (ขั้นโลกุตระ) เพื่อให้ได้บรรลุ อริยบุคคล 4 คือ  พระโสดาบัน  พระสกิทาคา  พระอนาคา  และพระอรหันต์  และให้ผู้ปฏิบัติเรียนพระอภิธรรมปิฎกควบคู่ไปด้วย

โลกียอภิญญา 5   อันได้แก

1.   ทิพพจักขุอภิญญา (ได้ตาทิพย์)
2.   ทิพพโสตอภิญญา (ได้หูทิพย์)
3.   ปุพเพนิวาสานุสติอภิญญา (ระลึกชาติได้)
4.   ปรจิตตวิชานนอภิญญา (รู้วาระจิตของผู้อื่นได้)
5.   อิทธิวิธอภิญญา (ทำฤทธิ์ปาฏิหาริย์ได้ต่าง ๆ)
(ที่มา ? ?อภิญญา 5?    หนังสือชื่อ ?ปรมัตถโชติกะ สมถกรรมฐานทีปนี? ในปริจเฉทที่ 9   ของพระสัทธัมมโชติกะ   ธัมมาจริยะ  รวบรวมโดย พระมหาถวัลย์  ญาณจารี  ป.ธ.9  อภิธรรมบัณฑิต , สำนักวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร  กรุงเทพมหานคร)
 (หมายเหตุ - หนังสือ ประวัติอุบาสิกา พิมพา ทองเกลา ?ครูของศิษย์?)


************************************************************************

หนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม
1.   ปรมัตถโชติกะ  สมถกรรมฐานทีปนี  ในปริจเฉทที่ 9  ของ พระสัทธัมมโชติกะ 
ธัมมาจริยะ  รวบรวมโดย พระมหาถวัลย์  ญาณจารี  ป.ธ.9  อภิธรรมบัณฑิต     
สำนักวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร  กรุงเทพมหานคร
2.   วิปัสสนากรรมฐานทีปนี  ในปริจเฉทที่ 9  หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธัมมิก โท  รวบรวมโดย พระมหาถวัลย์  ญาณจารี  ป.ธ.9  อภิธรรมบัณฑิต  สำนักวัดระฆัง-
โฆสิตารามวรมหาวิหาร  กรุงเทพมหานคร
3.   ปรมัตถโชติกะ  มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ 5 เล่ม 1    ?ภูมิจตุกกะ?  ของ พระสัทธัมมโชติกะ  ธัมมาจริยะ  รวบรวมโดย พระมหาถวัลย์  ญาณจารี  ป.ธ.9  อภิธรรมบัณฑิต  สำนักวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร  กรุงเทพมหานคร
4.   ปรมัตถโชติกะ  มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ 5 เล่ม 2   ?ภูมิจตุกกะ? ภาค 2  หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธัมมิกะตรี   รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ  ธัมมาจริยะ 

************************************************************************
เส้นทางการเดินทางไปสู่ วัดกำแพงบางจาก มี 3 เส้นทาง คือ

1.เข้าทางถนนจรัญสนิทวงศ์ 3
      ให้ขึ้น รถโดยสารประจำทาง จาก สนามหลวง  สาย 91, 80  ฝั่งด้านสนามหลวง  ลงป้ายหน้าวัดท่าพระ  แล้วข้ามสะพานลอยไปฝั่งตรงข้าม  และเข้าไปในซอยจรัญสนิทวงศ์ 3   จากนั้นให้โดยสารรถบริการ รับ-ส่ง สองแถวประจำซอย หรือรถจักรยานยนต์รับจ้าง ไปสุดซอย  และให้ข้ามสะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่  และเดินตรงไปเล็กน้อย  ให้เลี้ยวซ้าย  และเดินตรงไปเรื่อย ๆ  ก็จะถึงกุฏิฝึกกรรมฐานประชาชื่น  (จุดสังเกต  หน้ากุฏิจะมีต้นไม้ใหญ่น้อย  ปลูกอยู่หน้ากุฏิมากมาย)
(สายรถโดยสารประจำทางที่ผ่านเส้นทางนี้ คือ   42, 175, 91, 80, 81, 580, 157, 68, 108, 510, 509, 189, 103)

2.เข้าทาง ถนนเพชรเกษม 20
               เข้าทางเชิงสะพานบางไผ่  ปากทางเข้า จะมีป้ายชื่อวัดทองศาลางาม อยู่ริมถนน  ให้ผ่านมาตามเส้นทางนี้  ผ่านโรงเรียน  ผ่านวัดทองศาลางาม  และจะถึงวัดกำแพงบางจาก   กุฏิฝึกกรรมฐานประชาชื่น  จะอยู่หลังศาลาวัดหลังใหญ่  (เส้นทางนี้ เหมาะสำหรับผู้ใช้รถยนต์) (สายรถประจำทางที่ผ่าน 80, 81, 84, 91, 15, ปอ.84, ปอ.90, ปอ.91)

3.โดยสารเรือ จากบริเวณท่า  ใกล้ ๆ สะพานพระพุทธยอดฟ้า 
                ปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร (แถวสะพานพุทธฯ) เดินทางมาตามเส้นทาง เมื่อผ่านวัดประดู่ฉิมพลี ผ่านวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ  และลอดใต้สะพานบางไผ่  ผ่านโป๊ะขึ้นลง ของวัดทองศาลางาม ก็จะถึงโป๊ะขึ้นลงของวัดกำแพงบางจาก  เดินขึ้นมองเห็นเส้นทางสัญจร ให้เลี้ยวขวา เดินตรงไป กุฏิกรรมฐานประชาชื่น จะอยู่ด้านหลังศาลาหลังใหญ่ มีต้นไม้ร่มครึ้มหน้ากุฏิฯ

************************************************************************
3615  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / ธรรมะจากพระสงฆ์ผู้เจริญธรรม ตอนที่ 19-20 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2007, 01:41:20 PM
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
         
                ต้องขอขอบพระคุณผู้ รวบรวบเอาไว้ คือ พันตรี เกรียงศักดิ์ ชัยชนะกิจพงษ์  Smiley

                 [email protected] หรือ MSN - [email protected]

จาก เว็บมาสเตอร์ เว็บธรรมะพุทธองค์  เพื่อนบ้านเราจากเว็บ http://kasin.saiyaithai.org เป็นอย่างสูงครับ

สำหรับผมเอง นายวัฒนชัย เก๊ํกฮั้ว เพิ่งเริ่มหัดนั่งสมาธิแนวกสิณ ได้ไม่นาน เพื่อต้องการที่จะ พิสูจน์ว่า นรก และ

สวรรค์ จะมีอยู่จริงหรือไม่ และอีกเหตุผล 1 คือต้องการจะไปเยี่ยมญาติ บนสวรรค์ จึงได้เริ่มหัดนั่ง ซึ่งถ้าหากเพื่อน

มีข้อสงสัย อะไรก็สามารถ แอด MSN : [email protected]  ได้น่ะครับ หรือจะศึกษาจาก กระทู้ใน บอร์ด

แห่งนี้ ก็ได้ ขอบพระคุณอย่างสูง ครับ  Wink

ในส่วนนี้ อยากให้ทุกท่านได้ อ่านเพื่อเป็นเรื่องแง่คิดในการทำความดี ทำบุญ เพื่อดำรงชีวิืตของท่านด้วยความสุข สบาย

ถ้าหาก มีข้อผิดพลาด ณ จุดใด ทางผู้จัดก็ขอ อภัยไว้ ณ ที่นี้ ด้วยน่ะครับ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ครั้งที่ 19    วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2548  (วันพระ)
?หนี้กรรม   ผลบุญ?
(คำสอนจาก หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ ต.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี)

      ?หนี้กรรม? ?ผลบุญ?  สองคำนี้ อาตมาอยากจะอธิบายให้ทุกคนได้เข้าใจว่าเป็นอย่างไร
      ?หนี้กรรม? หมายถึง กรรมที่ท่านได้กระทำไว้ต่อผู้อื่น ได้เคยมีพันธะกรรมระหว่างกัน  ผลกรรมยังไม่สิ้นสุด จะต้องรับผลของบาปที่ก่อ
      ?ผลบุญ? หมายถึง ผลของการทำความดี ที่กระทำแล้วมีความสุข เช่น ความกตัญญู  การเลี้ยงดูพ่อแม่ให้มีความสุข  การบำรุงพระศาสนา  การรักษาความดี  การสร้างความดีให้กับประเทศชาติ  การตอบแทนคุณผืนแผ่นดินเกิด กตัญญูต่อพระมหากษัตริย์ของตน เหล่านี้ คือ ตัวอย่างการทำความดีที่ควรกระทำยิ่ง
      การปฏิบัติตนให้เป็นคนดีนั้น จะต้องระลึกถึงธรรมะมาครองใจให้มั่น และเชื่อมั่นว่าตนทำสิ่งดี ย่อมได้ผลที่ดีคุ้มกับสิ่งที่ตนได้ก่อ    หากตนเลือกทำสิ่งที่ไม่ชอบ ผลกรรมนั้นก็จะให้ผลหนัก หนักมากกว่ากรรมที่ได้สร้างไว้  นี่แหละเรื่องของหนี้กรรมและผลบุญ
      เจริญพร...


ครั้งที่ 20    วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2550  (วันพระ)
?ธรรมะของคนดี?
(คำสอนจาก หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ ต.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี)

      ธรรมะของคนดี คือสิ่งที่อาตมาอยากจะบอกกับทุกคนว่า การทำความดีสามารถทำได้ทุกขณะ และการสร้างความดีสามารถเลือกสิ่งดี ๆ ได้ตลอด  การรักพ่อแม่ รักญาติ รักตนเอง รักพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองประเทศ  รักญาติสนิท ก็มีผลดีทุกสิ่ง  การให้ความดีแก่ผู้อื่น  ให้โดยไม่ต้องลงทุน  ให้ด้วยใจที่คิดจะทำ
      ตลอดเวลาที่หายใจ  ทุกคนมีโอกาสที่จะสร้างบุญ และกรรมได้  ตานี้คอยมองว่าจะทำความดีได้อย่างไร  จิตตนนั้นกำหนดไว้ว่าจะเลือกกระทำอย่างไร  นี่แหละวิธีแห่งจิตของผู้ปรารถนาสร้างกุศล
      จิตของตนนี้มีความละเอียด หรือหยาบก็มองเห็นกันได้ง่าย  ถ้าจิตใจสะอาด จิตใจจะเย็นนิ่งและมีสุข  ไม่ต่างกับสายน้ำที่เย็นและนิ่ง
      คนที่ทำบุญอยู่เสมอ จะมีจิตที่สงบและมีสุขได้ง่ายด้วยกุศลนั้นน้อมนำจิตของตนให้เป็นสุขได้ตลอดขณะที่ระลึก  ด้วยการระลึกถึงความดีนี่เอง ทำให้ใจมีสุข
      หากเรารู้จักเลือกสร้างความดีแล้ว  จิตของตนก็จะไม่ทุกข์ ลำบากอะไรมาก  คิดทำในสิ่งที่ดีเถิด
      เจริญพร...


หน้า: 1 ... 239 240 [241] 242