แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 237 238 [239] 240 241 242
3571  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 คืออะไร สำคัญอย่างไร / Re: สติปัฏฐาน 4 คืออะไร เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2007, 03:20:41 PM
(ต่อครับ)



                 ส่วนบุคคลบางประเภท พระพุทธองค์ก็ทรงใช้อุบายเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ง่ายๆ เช่นพระจูฬปันถกะผู้มีวาสนาบารมีแก่กล้า ใกล้จะได้เป็นพระอรหันต์อยู่แล้ว แถมไม่ใช่อรหันต์ธรรมดา ยังจัดเป็นอสีติมหาสาวกองค์หนึ่งอีกด้วย ทว่าอกุศลกรรมเก่ามาขวางปัญญา พูดง่ายๆคือท่านหัวทึบเป็นอย่างยิ่ง ใช้เวลา 4 เดือนท่องคาถาเดียวยังไม่สำเร็จ กระทั่งพระพี่ชายไล่ให้สึกไปเสีย แต่ด้วยพุทธญาณเล็งเห็นนิสัยอรหัตต์ในท่าน พระพุทธองค์จึงมาห้ามปรามไว้ ปลอบประโลมจนคลายโศก และอนุเคราะห์ธรรมด้วยการประทานผ้าเช็ดพระบาท กับทั้งตรัสสั่งให้ลูบไปโดยทำไว้ในใจเรื่อยๆว่าผ้าสำหรับเช็ดสิ่งสกปรก พระจูฬปันถกะท่านเล่าเองว่าเมื่อฟังพระดำรัสแล้วก็เกิดความยินดีในศาสนา พอปฏิบัติตามก็เกิดสมาธิ จิตตั้งมั่นอยู่กับความเห็นผ้าขาวหมองไปเพราะสิ่งสกปรกคือกายของท่านนั้นเอง กระทั่งเกิดความปล่อยวางถึงระดับอรหัตตภูมิในเวลาไม่เนิ่นช้า กลายสภาพจากพระผู้มีปัญญาทึบเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญายิ่งใหญ่ กลับจากหลังมือเป็นหน้ามือไปจนได้

               เมื่อแก่นสารของพุทธศาสนาคือทำให้จิตหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นระดับที่เกิดปรากฏการณ์ผลาญกิเลสเป็นมรรคเป็นผล กับทั้งอุบายเฉพาะอันจะทำให้มรรคผลเกิดกับแต่ละบุคคลก็มีอยู่ เราจึงควรพิจารณาอย่างดีว่าตรงไหนที่เหมือน ตรงไหนที่ต่าง ตรองแล้วจะพบว่าแม้รูปแบบแตกต่างกันภายนอก แต่ภายในนั้นก็คืออาการที่จิตสลัดหลุดจากอุปาทานว่าโน่นคือตัวนี่คือตนเหมือนๆกันนั่นเอง

คุณภาพของจิตที่สลัดอุปาทานอันเหนียวแน่นว่านี่เป็นเรานั่นเป็นท่านได้อย่างเด็ดขาดนั้น แน่นอนว่าต้องไม่ธรรมดา ไม่ใช่แค่ระดับ คิดได้ หรือ เห็นคล้อยตามจริง จากการอ่าน การฟัง แต่ต้องเป็นจิตในระดับ ใหญ่ และ มีความประจักษ์แจ้งลึกซึ้ง ซึ่งของพรรณนี้ย่อมไม่มาหาเราเอง ไม่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่ต้องมีเหตุปัจจัย มีการสั่งสมอันพอดีกับธรรม

             สำหรับเราท่านที่ไม่มีวาสนาพอจะรับ ทางลัด จากพระพุทธองค์โดยตรง ก็คงต้องค่อยเป็นค่อยไป ค่อยคืบคลานสู่การเข้าถึงธรรมตาม ทางตรง อันได้แก่แนวปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้อย่างรัดกุมเพื่อให้พระสัทธรรมยั่งยืน และแผ่ออกไปในหมู่ชนอย่างกว้างขวาง แน่นอนว่าเพื่อความรัดกุมนั้น จะไม่มีอะไรง่ายแบบพลิกมือก็สำเร็จหรือเอื้อมหน่อยก็คว้าได้ จะไม่มีอะไรสั้นแบบอยู่ดีๆใครเคาะศีรษะหรือทะลวงจุดทึบให้แล้วกิเลสหลุดทันใจ


เราจำเป็นต้องศึกษาอย่างรอบคอบจากหลักแหล่งที่เชื่อได้มากสุดว่าเป็นพระพุทธวจนะจริง ถึงแม้มีครู มีอาจารย์ที่รู้สึกเคารพนับถือสักเพียงไหน ก็ต้องทำไว้ในใจว่าครูของเรา อาจารย์ของเราก็ต้องพึ่งพระพุทธบารมีเหมือนกัน พูดตามพระพุทธเจ้าเหมือนกัน พูดเองเออเองไม่ได้เหมือนกัน ทุกคนจะสบายใจได้ว่าไม่หลงทาง ถ้าตามรอยคนนำทางแรกสุดที่ทุกคนเห็นพ้องว่าท่านถึงจุดหมายมาแล้ว

           บางคนอาจด่วนสรุปว่าอย่างนี้เห็นทีรอเกิดในพุทธกาลหน้าจะดีกว่า จะได้มีทางลัด ไม่ต้องเหนื่อย ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก นี่นับว่าเป็นความคิดประมาทประการหนึ่ง ความทุกข์มีอยู่ในปัจจุบันก็ปล่อยปละละเลย ทางดับทุกข์มีอยู่ในปัจจุบันก็ทอดธุระเสียแล้ว ทุกข์ข้างหน้าจะยิ่งกว่านี้หรือเปล่าก็ไม่ทราบ หนทางดับทุกข์จะมาถึงเราในอนาคตแน่หรือเปล่าก็ไม่รู้



             อันที่จริงแล้วใช่แต่คนยุคเราหรอกที่ต้องขวนขวาย ต้องดิ้นรน ต้องเพียรพยายามไต่เต้ากันทุลักทุเลในการดำเนินตามทางสู่ความพ้นทุกข์ คนยุคพุทธกาลส่วนใหญ่ก็ดำเนินตามวิถีทางปฏิบัติเช่นเดียวกัน จะเห็นได้จากหลักฐานมากมายในพระไตรปิฎก ว่ามีภิกษุและภิกษุณีจำนวนหนึ่ง ขอรับแนวทางปฏิบัติจากพระพุทธองค์แล้วหลีกเร้นไปเก็บตัวตามป่าเขา ใช้เวลาบำเพ็ญกันนาน ใช้ชีวิตเป็นเดิมพัน หลายรายเกิดความท้อแท้ ซมซาน โอดครวญ อยากสึกหาลาเพศ ซึ่งพิจารณาแล้วก็หาได้ต่างจากที่เกิดขึ้นตามจริงในปัจจุบันเลย

             ยุคเราลำบากกว่าพุทธกาลหน่อยหนึ่ง ตรงที่ไม่มีพระพุทธเจ้าแบบเป็นตัวบุคคลมาชี้ถูกชี้ผิด หรือระบุตรงๆว่าใครปฏิบัติมาถึงไหน ควรจะพัฒนาให้ก้าวหน้ากว่าที่เป็นอยู่ได้อย่างไร แม้พระศาสดาจะตรัสสั่งเสียให้คำสอนของพระองค์เป็นตัวแทนสืบไป ก็หาชาวพุทธได้น้อยนักที่จะอ่านคำสอนดั้งเดิมของท่านอย่างทั่วถึงด้วยความเคารพ แถมอ่านคัมภีร์เล่มเดียวกันก็อาจตีความแตกต่างกัน คิดเห็นไม่ลงรอยกัน

สติปัฏฐาน 4 และความเบิกบาน 4 แง่มุม

เพื่อให้เข้าใจง่ายและเห็นภาพของจิตที่เข้าถึงแก่นของพระศาสนา เราลองตั้งมุมมองแบบรวบรัดกันทีเดียว คือคิดว่าจิตของพระอรหันต์ก็คือสภาวะหนึ่ง ถ้าบรรยายให้พออนุมานได้ ควรจะมีคุณสมบัติหรือภาพลักษณ์ประการใด

ก่อนจะอนุมานก็ต้องมีเกณฑ์ในการอนุมาน เช่นสภาวะอันเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ซึ่งสภาวะเหล่านี้พอจะทำความเข้าใจจากประสบการณ์แบบหยาบได้ในปุถุชนทั่วไป

แต่หากจะทำความเข้าใจความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานของพระอรหันต์ ก็ควรมีหลักเกณฑ์มาซ้อน มาซอยให้ละเอียดลออยิ่งขึ้นไป เกณฑ์นั้นน่าจะได้แก่ผลอันเกิดจากทางดำเนินเข้ามรรคเข้าผลเป็นข้อๆ คือทาน ศีล สมาธิ และปัญญา

ถ้าหากตกลงกันว่าจะอนุมานสภาพจิตอันสมบูรณ์แบบของพระอรหันต์ตามแนวนี้ ก็ควรกล่าวดังนี้

แง่มุมแรก จิตนั้นควรมีความเปิดกว้าง ไม่ปิดแคบ ไม่รู้สึกอึดอัดคับข้องด้วยพิษความเห็นแก่ตัว นอกจากเปิดกว้างแล้วควรมีคุณสมบัติคู่ขนานกัน คือความเยือกเย็นไม่รุ่มร้อนจากการผูกเจ็บ คิดอาฆาตพยาบาทจองเวร อันนี้เข้าข่ายของความมีกระแสจิตไหลไปทางเดียวกับกระแสของทาน เรียกว่าทรัพยทานบ้าง อภัยทานบ้าง ธรรมทานบ้าง เห็นออกมาจากภายในว่าจิตตนเป็นทานจิตอยู่โดยปกติ แง่มุมที่สอง จิตนั้นควรมีความสะอาดผ่องใส ไม่สกปรกรุงรังด้วยความคิดอันเป็นอกุศลประการต่างๆ ไม่มีความอยากทำร้ายใคร อย่าต้องให้ถึงขั้นอยากฆ่า ไม่มีความโลภอยากได้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นสมบัติ อย่าต้องให้ถึงขั้นอยากลักขโมย ไม่มีความอยากในกามหลงเหลือ อย่าต้องให้ถึงขั้นอยากลักลอบเป็นชู้ ไม่มีความอยากพูดอย่างไร้ประโยชน์ อย่าต้องให้ถึงขั้นอยากโป้ปดมดเท็จ ไม่มีความอยากบริโภคเกินจำเป็น อย่าต้องให้ถึงขั้นอยากกินเหล้าเมายา เห็นออกมาจากภายในว่าจิตตนเป็นศีลจิตอยู่โดยปกติ

แง่มุมที่สาม จิตนั้นควรมีความตั้งมั่น นิ่มนวล ไม่ซัดส่าย ไม่แข็งกระด้าง เพราะจิตขาดจากเหตุแห่งความเคลื่อน อันได้แก่กิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียดเสียแล้ว จิตจึงจับอยู่เฉพาะสภาวะที่รู้ได้ในปัจจุบัน หรือแม้จะต้องคิด ก็ไม่ติด ไม่หลงเตลิดไปเอาเงาในอดีตหรือภาพลวงในอนาคตมารบกวนคุณภาพจิตได้อีก

แง่มุมสุดท้าย จิตนั้นควรมีสติสมบูรณ์ เบิกบาน เป็นอิสระเต็มที่ เพราะรู้เองโดยไม่ต้องพิจารณา รู้เองโดยไม่ต้องระวังจะหลงไปว่ามีสภาวะใดสภาวะหนึ่งเป็นตัวเป็นตน เป็นที่น่าคาดหวัง เป็นที่น่าพิศวาส แม้กระทั่งความหมายรู้หมายจำ ความรู้สึกนึกคิดและตัวของจิตเอง ยังแจ่มแจ้งแทงตลอดว่าเป็นอนัตตา จะยังมีภาวะใดให้ยึดมั่นถือมั่นได้อีก

ลองอนุมานตามมีตามเกิด ว่าถ้ารวมเอาทุกแง่มุมที่กล่าวมาข้างต้น มารวมไว้ในจิตของบุคคลผู้หนึ่ง ซึ่งไม่เคลื่อนจากความเป็นเช่นนั้นเลย จะน่าปรารถนาและคู่ควรแก่การเพียรทำให้ถึงพร้อมหรือไม่

ขณะเดียวกันเราก็สามารถใช้ความเบิกบานอันเป็นคุณสมบัติของจิตพระอรหันต์ในแต่ละข้อมาตรวจสอบตนเองได้ด้วย ว่าเราเองใกล้ความจริงเข้าไปหรือยัง ทั้งในส่วนของความสามารถที่จะตั้งเจตนางดเว้นสิ่งที่เป็นโทษ และในส่วนของความสามารถที่จะตั้งสติรู้สิ่งที่เป็นอนัตตา

สรุป

ถ้าหากจะเริ่มต้นปฏิบัติธรรมกันด้วยการ ตั้งมุมมอง เราก็ควรมองให้เห็นว่าจุดหมายปลายทางอยู่ที่ไหน การปฏิบัติธรรมก็คล้ายการออกเดินทาง ถ้าเริ่มผิดทิศ ก็จะเสียแรง เสียเวลาเปล่า แต่ถ้าเริ่มถูกทิศ แม้ช้าเหมือนเต่าคลาน ก็ได้ชื่อว่าเขยิบเข้าใกล้จุดหมายปลายทางเข้าไปทุกที

ในการเดินทางนั้น เราเห็นด้วยตาเปล่าว่าภูมิประเทศใกล้เคียงกับจุดหมายหรือยัง แต่ในการปฏิบัติธรรมเราต้องเห็นด้วยจิตซื่อว่ากิเลสคือโลภะ โทสะ และโมหะนั้น ลดลงบ้างหรือยัง
3572  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 คืออะไร สำคัญอย่างไร / สติปัฏฐาน 4 คืออะไร ประกอบด้วยอะไร สำคัญอย่างไร เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2007, 03:18:44 PM
ขอบคุณเว็บ http://dungtrin.com

พุทธพจน์
ในจูฬสาโรปมสูตร พระสุตตันตปิฎกเล่ม 4 มีข้อความสำคัญที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพราหมณ์ชื่อปิงคลโกจฉะ เรียบเรียงสรุปได้คือ



            การประพฤติพรหมจรรย์ในพุทธศาสนามิใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ พรหมจรรย์นี้มีความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบ เป็นประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด

           พูดให้ง่ายคือที่สุดของพุทธศาสนานั้น ดีแค่ไหน เก่งปานใด ก็ไม่ชื่อว่าดีพร้อมหรือเก่งพอ ตราบใดจิตยังไม่หลุดพ้นจากกิเลส ยังมีโลภ ยังมีโกรธ ยังมีความหลงเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นตัวเป็นตน เนื่องด้วยตน ว่าน่ายึดมั่นถือมั่นอยู่ แม้บางครั้งกิเลสเหมือนเบาบางลง หรือกระทั่งเหมือนสาบสูญไป ถ้ายังคงถูกกระทบกระทั่งให้กิเลสกลับกำเริบด้วยประการใดๆ ก็ชื่อว่าจิตยังไม่หลุดพ้นจริง และเมื่อไม่หลุดพ้นจริง ก็ยังต้องเป็นทุกข์ ยังต้องเดือดเนื้อร้อนใจได้ไม่ต่างจากส่ำสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นก็ยังต้องศึกษา ยังต้องเพียรอยู่ในขอบเขตการปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์อยู่

           พระพุทธเจ้าท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนบุรุษที่เที่ยวหาแก่นไม้ แต่เจอกิ่งใบ เจอสะเก็ด เจอเปลือก หรือเจอกระพี้ แล้วสำคัญว่าเป็นแก่น ก็ได้แค่ส่วนนั้นๆของต้นไม้ติดมือกลับบ้านไป เพราะไม่ทำความรู้จักให้ดี ให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าแก่นเป็นอย่างไร

           สรุปว่าความหลุดพ้นย่อมเกิดขึ้นที่จิต แก่นสารอันเป็นที่สุดของพุทธศาสนาจึงอยู่ที่จิตที่ใจ เวลาเราจะมองว่าตนเองกำลังอยู่ตรงไหน หรือมาถึงไหนแล้ว ก็ให้ดูที่จิตที่ใจนั่นแหละ ไม่ใช่ดูที่กาย เช่นรอให้คนอื่นทักว่าหน้าต่างผ่องใสมีราศีดีอยู่ไหม แต่ดูเวลาที่จิตของตัวเองเกิดปฏิกิริยาตอบสนองสิ่งกระทบทั้งหลาย ดูว่ายังยึดมั่นถือมั่นมากน้อยเพียงใด ดูเวลาที่จิตปลอดจากสิ่งกระทบภายนอก เหลือแต่ความรู้สึกนึกคิดในภายในต่างๆนานา จิตยังออกอาการซัดส่าย ฟุ้งไปยึด ฟุ้งไปมั่นหมายสะเปะสะปะหรือเปล่า

ความสำคัญของการรู้จักแก่นสารให้ขึ้นใจในโมคคัลลานสูตร พระสุตตันตปิฎกเล่ม 15 พระโมคคัลลาน์ซึ่งเป็นอัครสาวกฝ่ายซ้ายของพระพุทธเจ้าทูลถามพระองค์ว่า ?ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงไรหนอ ภิกษุจึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา ซึ่งก็หมายถึงถามว่าถ้าให้รวบรัดตัดความเอาโดยย่อที่สุดแล้ว จะให้ปฏิบัติอย่างไรเพื่อเข้าถึงแก่นสารของศาสนา พระพุทธองค์ประทานคำตอบคือ?

ธรรมทั้งปวงไม่ควรถือมั่น



             เท่ากับว่าตอนนี้เราทราบทั้ง เป้าหมาย และ วิธีการ ของพระพุทธศาสนาอย่างชัดเจนแล้ว เป้าหมายอันเป็นแก่นสารแท้จริงคือความหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ ส่วนกุญแจหรือวิธีการสู่เป้าหมายคือไม่ยึดมั่นถือมั่นในธรรมทั้งปวง ซึ่งพระพุทธองค์แจกแจงต่ออีกนิดด้วยว่าไม่ใช่แค่คิดๆเอาว่าจะไม่ยึดมั่นถือมั่น แต่ต้องมีสติกำหนดรู้ธรรมทั้งหลายที่ปรากฏต่อหน้าต่อตาตามจริง ซึ่งเมื่อมีสติอยู่เช่นนั้น จะเสวยสุข เสวยทุกข์ หรือรู้สึกเฉยๆ ก็เห็นความไม่เที่ยงของสุข ทุกข์ เฉย ผลคือความสลัดคืน ความยึดมั่นถือมั่นออกมาจากส่วนลึกที่สุดของจิตใจ เพราะเห็นแจ้งแล้วว่าสรรพสิ่งมีค่าอย่างที่สุดแค่ให้สุขอยู่ครู่หนึ่ง ให้ทุกข์อยู่ครู่หนึ่ง ให้เฉยอยู่ครู่หนึ่ง แล้วกลับแปรปรวนดับสูญไปหมด หาค่าอื่นกว่านั้นให้จดจารึกไว้ไม่ได้เลย

               การทำไว้ในใจอย่างถูกต้องแต่ต้นมือ จะช่วยลดปัญหาระยะยาวลงได้มาก ดูกันที่ความยึดมั่นถือมั่นของจิตเป็นหลัก จะได้ไม่ต้องเถียง ไม่ต้องเกี่ยงเรื่องการปฏิบัติแบบใด สายใด ลัทธิใด หรือกระทั่งศาสนาใด ว่าจะส่งผลให้ถึงที่สุดทุกข์ได้สำเร็จแน่กว่ากัน เหมือนตั้งกติกาไว้อย่างชัดเจนว่าใครวิ่งมาถึงกรุงเทพฯก็ขึ้นชื่อว่ามาเป็นส่วนหนึ่งของชาวกรุงเทพฯ ไม่ต้องแบ่งแยกว่ามาจากภาคไหน ก้าววิ่งด้วยลีลาใด ช้าเร็วต่างกันอย่างไร ขอให้มาถูกทิศจริงเถอะ ขอให้รู้ว่าใกล้ถึงกรุงเทพฯจริงเถอะ ขอให้ประจักษ์ว่าถึงกรุงเทพฯแน่แล้วตรงตามที่เขาร่ำลือกันว่าเป็นกรุงเทพฯเถอะ

              อีกนัยหนึ่ง การทำไว้ในใจอย่างกระจ่างแต่เริ่มแรก ว่าแก่นสารอันเป็นที่สุดของพุทธศาสนานั้น ผลจะได้อย่างนี้ เป็นการป้องกันความหลงเข้าใจผิด เพราะจิตใจคนเราอาจถูกยกระดับได้จากหลายแนวทาง อย่างเช่นระดับตื้นคือถูกยกขึ้นด้วยการสดับตรับฟัง การคลุกคลีอยู่ในโลกของโวหารอันงดงามลึกซึ้งของปราชญ์ หรือระดับสูงขึ้นมาหน่อยคือถูกยกขึ้นเพราะมีโอกาสใกล้ชิด ซึมซับรับกระแสจากคนแสนดี เลยพลอยจูงจิตให้ดีตาม หรือระดับสูงขึ้นมาอีกหน่อยคือถูกยกขึ้นเพราะปฏิบัติภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดคุณวิเศษเหนือมนุษย์เป็นอเนก หรือกระทั่งระดับที่ร่ำๆจะสูงสุดคือถูกยกขึ้นด้วยการเรียนรู้บัญญัติอันล้ำค่าในขอบเขตของพุทธศาสนาเอง

เมื่อจิตใจถูกยกสูงขึ้น บางทีก็เกิดมุมมองแปลกใหม่แตกต่างจากเดิม เช่นเห็นคนอื่นยืนอยู่ในที่ต่ำกว่า เห็นตนเองยืนอยู่ในที่สูงส่ง ล้วนแล้วแต่เป็นกับดักของธรรมชาติอันไม่ใช่แก่นสารของพุทธศาสนา เราจะผ่านด่าน ผ่านกับดักไปได้ ก็เพียงด้วยสติอันปลูกแล้วจากเมล็ดพันธุ์แห่งสัมมาทิฏฐิ คือมีความเห็นชอบ เห็นถูกตรงในตัวแก่นสาร และในหนทางเข้าถึงแก่นสาร การเติบโตขึ้นของสติจึงจะเหมือนโพธิ์ใหญ่ที่ประกอบพร้อมด้วยใบบังร่มเย็น กิ่งก้านสาขากว้างขวาง เปลือกงามชวนชม กับทั้งทรงแก่นแท้ที่แข็งแรงมั่นคง ตั้งตรงอย่างสง่างามบนพื้นอันเป็นประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน

ลำดับแห่งการเข้าถึงแก่นสารของพระพุทธศาสนา

              ดังที่เห็นจากพระพุทธวจนะโดยตรงว่าการได้แก่นของงานปฏิบัติธรรมนั้น พุ่งเป้าไปที่จิตอันหลุดพ้นจากการครอบงำของกิเลส พ้นจากการเห็นกายใจและสภาวธรรมใดๆเป็นตัวเป็นตน กับทั้งเป็นการพ้นในระดับเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติของจิต ชนิดที่ล้างผลาญเชื้อกิเลสจนสิ้นซาก อย่างที่เรียกว่า มรรคผล

             เพราะฉะนั้นถ้ามีอะไรก็ตาม จะเป็นคำพูดหรือผัสสะกระทบ จะง่ายหรือยาก จะหยาบหรือประณีต จะสูงส่งหรือต่ำต้อย จะเป็นปาฏิหาริย์หรือเรื่องสามัญ ขอเพียงสามารถกระทบกระแทกจิตให้หลุดพ้น ก็เป็นอันว่าใช้ได้ ดังจะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงยอมใช้อุบายทุกชนิดเพื่อสะกิดคนประเภทต่างๆให้เข้าถึงมรรคผล




อย่างเช่นในการแสดงธรรมครั้งแรกสุด ก็ทรงแจกแจงมรรค 8 อย่างยืดยาวละเอียดลออกระทั่งท่านโกณฑัญญะบรรลุโสดาปัตติผล เป็นพยานรายแรกให้กับพระศาสดา ว่าสังขารทั้งปวงเป็นอนัตตา รวมทั้งประจักษ์ว่านิพพานมีจริง คนธรรมดาเข้าถึงมรรคผลได้จริง

แต่กับบางบุคคลที่ควรแก่ธรรมพระพุทธองค์ท่านก็เทศน์เพียงสั้น เช่นทำให้ท่านพาหิยทารุจีริยะบรรลุอรหัตตผลด้วยการแนะให้เห็นสักแต่เห็น ได้ยินสักแต่ได้ยิน ทราบสักแต่ทราบ รู้แจ้งสักแต่รู้แจ้ง กระทำจิตไม่ให้เหลือที่ยืนของตัวตน ไม่ว่าในโลกนี้หรือโลกอื่นไหน

และกับบุคคลบางประเภท พระพุทธองค์ก็ทรงใช้ฤทธิ์เป็นเครื่องทุ่นแรงให้เกิดปัญญาเห็นธรรม อย่างเช่นพระนางเขมาผู้ติดใจยินดีในรูปลักษณ์อันงดงามแห่งตน พระพุทธเจ้าก็นิรมิตสาวน้อยที่แลดูในคราวแรกเลอโฉม พิศแล้วสะคราญตากว่าพระนางเขมาอันร่ำลือกันว่าเลิศหล้าเองเสียอีก แต่ต่อมาร่างเนรมิตนั้นค่อยๆสูงวัยขึ้นจนล่วงเข้ากลางคน ล่วงเข้าสู่ความแก่หง่อม กระทั่งที่สุดกลายเป็นซากอสุภะน่าสะอิดสะเอียนชวนคลื่นเหียนไป พอพระนางเขมาย้อนมารู้สึกตัว รู้สึกในสังขารอันหลงนึกว่างามของตนอีกครั้ง ก็บังเกิดความสลดอย่างแรง ละพยศอันเกิดแต่ความหลงรูป หลงศักดิ์เสียได้ จึงพร้อมฟังเทศนาธรรม และเกิดความเห็นแจ้งบรรลุมรรคผลและได้บวชเป็นภิกษุณีในเวลาต่อมา

                





            

3573  กิจกรรมที่ช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา แหล่งทำบุญ หรือ การช่วยเหลือสังคม จากทาง Kammatan.com / แจกcdธรรมะ+หนังสือ ปฏิบัติธรรมฟรี / Re: CD การปฏิบัติสมาธิ เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2007, 04:41:27 PM
วิภาวี วิรานันท์
8 ซ.นวมินทร์163 แยก 12-2 ถ.นวมินทร์
กทม.10230
.....
..

ขอบคุณค่ะ ท่านเพื่อน  ยิ้มกว้างๆ

อนุโมทนาสาธุ ขอให้ผลบุญเจริญ ๆ ขึ้นไปนะคระ ยิ้มเท่ห์

จะรีบจัดส่งไปให้น่ะครับ
3574  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / ไตรลักษณ์ คืออะไร สำคัญอย่างไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2007, 04:35:22 PM


ไตรลักษณ์ แปลว่า "ลักษณะ ๓ อย่าง" หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ๓ อย่าง ได้แก่

   1. อนิจจตา (อนิจจัง) - ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป
   2. ทุกขตา (ทุกขัง) - ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว
   3. อนัตตตา (อนัตตา) - ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร

ลักษณะ ๓ อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิกาย คือกฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร
3575  กิจกรรมที่ช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา แหล่งทำบุญ หรือ การช่วยเหลือสังคม จากทาง Kammatan.com / แจกcdธรรมะ+หนังสือ ปฏิบัติธรรมฟรี / Re: แจก CD การปฏิบัติสมาธิ ฟรีๆ เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2007, 01:30:24 PM
สรัลพร รักษาสัตย์
17/300 หมู่ 5 ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
ส่งมาด่วนๆเลย  ยิงฟันยิ้ม

ส่งไปให้แล้วน่ะครับ
3576  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / นั่งสมาธิ แนว กสิณ10 คืออะไร / Re: นิพพาน คืออะไร? มีกีั่แบบ? เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2007, 11:44:52 AM
แล้ววิธี ไปให้ถึงพระนิพพานหละ ทำอย่างไร?

สำหรับหลักในการ บรรลุคือ การเจริญสติ ได้แก่การระลึกรู้ กาย ระลึกรู้ใจ จนเห็นว่าร่างกายนี้ เป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง จะทำให้เห็นว่าตัวเราไม่มีตัวตนจริงๆ บนโลกใบนี้
เป็นเพียงแค่ธาตุ แค่ขรรถ์ ที่มารวมกันเป็นก้อนเท่านั้น เมื่อร่างกายไม่ยึดถือว่าเป็นตัวเป็นกายเรา เมื่อนั้นจิตจะปล่อยวาง แต่สำหรับการปฏิบัติสมถะสมาธิ ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

เปรียบได้ว่า  ทางที่เราจะขับรถไปถึงจุดหมายนั้น ก็ย่อมมีเหยียบเบรคบ้าง เหยียบคันเร่งบ้าง
ซึ่งมองง่ายๆ การเหยียบเบรคก็คือ การปฏิบัติสมถะ สมาธิ
การเหยียบคันเร่งก็คือ การปฏิบัติการเิจริญสติ ให้ระลึกรู้กายรู้ใจ นั่นเอง

ซึ่งสามารถอ่านวิธิ http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=25.0
3577  กิจกรรมที่ช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา แหล่งทำบุญ หรือ การช่วยเหลือสังคม จากทาง Kammatan.com / แจกcdธรรมะ+หนังสือ ปฏิบัติธรรมฟรี / Re: แจก CD การปฏิบัติสมาธิ ฟรีๆ เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2007, 01:34:56 PM
สรัลพร รักษาสัตย์
17/300 หมู่ 5 ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
ส่งมาด่วนๆเลย  ยิงฟันยิ้ม

จะรีบจัดไปให้น่ะเจ๊
3578  กิจกรรมที่ช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา แหล่งทำบุญ หรือ การช่วยเหลือสังคม จากทาง Kammatan.com / แจกcdธรรมะ+หนังสือ ปฏิบัติธรรมฟรี / Re: แจก CD การปฏิบัติสมาธิ ฟรีๆ เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2007, 01:34:41 PM
ชื่อ นาย ศักย์ปณชัย  เกศสิชาปกรณ์

49 หมู่ 2 ต.xxxxxxx อ.xxxx จ.xxxxx xxxxxx

จัดส่งเรียบร้อยน่ะครับ น้อง

3579  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / มหาสติปัฏฐานสูตร สำคัญอย่างไร ประกอบด้วยอะไร คืออะไร เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2007, 09:12:14 AM
มหาสติปัฏฐานสูตร สำคัญอย่างไร



รู้ความเคลื่อนไหวต่างๆ ขั้นที่สามของการฝึกมีสติอยู่กับกาย


             แม้ฝึกมีสติอยู่กับกายผ่านอิริยาบถต่างๆ กระทั่งร่างกายปรากฏดุจหุ่นกลที่ถูกเราเฝ้าดูจากเบื้องหลัง ก็ขอให้สังเกตว่าจังหวะที่ขยับเปลี่ยนจากอิริยาบถเดิม หันซ้ายแลขวา กลอกตาหรือยืดตัวไปต่างๆ ก็จะเกิดความรู้สึกว่ากิริยานั้นๆเป็นตัวเราในทันที อิริยาบถเดิมที่ถูกดูอยู่หายไปแล้ว

    ดังนั้นแค่รู้อิริยาบถยังไม่พอ เราต้องรู้ครอบคลุมไปถึงความเคลื่อนไหวปลีกย่อยต่างๆด้วย เพื่อปิดโอกาสการเกิดอุปาทานว่า ตัวเราขยับ แต่ให้ทุกการเคลื่อนไหวเป็นที่ตั้งของการระลึกรู้ว่า ร่างกายขยับ ซึ่งหากทำได้ก็จะนับว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัว (สัมปชัญญะ) ตามพุทธบัญญัติ

    กล่าวอย่างย่นย่อในเบื้องต้น เราจะฝึกทำความรู้สึกตัวด้วยการสังเกตความเคลื่อนไหวปลีกย่อยต่างๆทางกาย ซึ่งต้องทำความเข้าใจให้ดี เพราะเมื่อเริ่มต้นฝึกนั้น นักเจริญสติส่วนใหญ่จะกำหนดเพ่งเล็งไปยังอวัยวะที่กำลังเคลื่อนไหว เช่น เมื่อยื่นมือไปหยิบแก้วน้ำขึ้นมาดื่ม ก็จะตั้งสติอย่างเจาะจงลงไปที่มือหรือแขน จิตจึงรับรู้ได้เพียงในขอบเขตแคบๆแค่มือหรือแขน อันนั้นไม่นับเป็นความรู้สึกตัวที่จะพัฒนาก้าวหน้าขึ้นได้

    ที่เป็นเช่นนั้นเพราะตามธรรมชาติของจิตแล้ว เมื่อเพ่งเล็งสิ่งใดย่อมยึดสิ่งนั้น เพ่งมือก็รู้สึกว่านั่นมือของเรา เพ่งแขนก็รู้สึกว่านั่นแขนของเรา เรากำลังยื่นมือไปหยิบแก้วน้ำขึ้นดื่ม ต่อให้ผสมความคิดลงไปว่ามือไม่ใช่เรา แขนไม่ใช่เรา ใจที่มีอาการ เพ่งยึด อยู่ก็บอกตัวเองว่าใช่อยู่ดี

    หากฝึกมาตามขั้นตอนก็จะไม่พลาด กล่าวคือมีอิริยาบถเป็นหลักตั้งเสียก่อน จากนั้นจึงค่อยรู้ต่อไปว่าภายในอิริยาบถนั้นๆมีอวัยวะใดเคลื่อนไหว เช่น เมื่อนั่งก็รู้ว่านั่ง แล้วค่อยรู้สึกตัวว่าในท่านั่งนั้นมีการยืดแขนออกไปข้างหน้าเพื่อจับแก้วน้ำ เป็นต้น

    ความเข้าใจตรงนี้มีส่วนสำคัญมาก ถ้าทราบแต่แรกว่ารู้สึกตัวอย่างไรจึงถูกทาง ยิ่งเจริญสติจิตก็จะยิ่งเงียบลงและเปิดกว้างสบายขึ้น เพียงในเวลาไม่กี่วันก็เหมือนมีสติรู้สึกตัวได้เองเรื่อยๆ แต่หากไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิด นึกว่าการรู้อิริยาบถและความเคลื่อนไหวต่างๆคือการเพ่งจ้อง ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของกาย ก็อาจต้องเสียเวลาเป็นสิบปีเพื่อย่ำอยู่กับที่ เห็นกายเป็นก้อนอะไรทึบๆ และไม่อาจผ่านเข้าไปรู้สิ่งละเอียดกว่านั้นได้เลย

    หลักการทำความรู้สึกตัวตามสูตรมีดังนี้

    ๑) ทำความรู้สึกตัวในการก้าว


    ในการเดินจงกรมหรือเดินเท้าธรรมดาในระหว่างวัน หากตั้งสติรู้เท้ากระทบไปเรื่อยๆแล้ว ตอนแรกจะรู้แค่เท้ากระทบแปะๆ แต่เมื่อยังระลึกรู้อยู่กับเท้ากระทบไม่ขาดสายกระทั่งสติไม่แวบหายไปไหน นานเข้าเราจะรับรู้ละเอียดขึ้นเอง คือเห็นแข้งขาสลับกันก้าวเดินอย่างสม่ำเสมอ

    อันที่จริงเราไม่ได้ย้ายสติมาจดจ่ออยู่กับการสลับขาย่างก้าว สติของเรายังตั้งไว้ที่เท้ากระทบตามเดิม แต่ความรู้สึกตัวขยายขอบเขตออกไปเองตามธรรมชาติของจิตที่เปิดกว้างขึ้น ไม่เพ่งเล็งคับแคบเหมือนช่วงเริ่มต้น

    ความรู้สึกตัวในการก้าวเดินอาจไม่สม่ำเสมอ แต่ขอให้สังเกตว่ายิ่งความรู้สึกตัวเกิดถี่ขึ้นเท่าใด จิตก็จะไวต่อการรับรู้ความเคลื่อนไหวส่วนอื่นของกายมากขึ้นเท่านั้น จะนับว่าการทำความรู้สึกตัวขณะก้าวเดินเป็นแม่แบบที่ดีก็ได้

    ๒) ทำความรู้สึกตัวในการแลและการเหลียว

    การแลและการเหลียวเกิดขึ้นได้ในทุกอิริยาบถ แม้เดินจงกรมก็ต้องมีช่วงที่เราอยากผินหน้ามองรอบข้าง หากไม่ตั้งใจจะสังเกตไว้ล่วงหน้า ก็มักเผลอแบบเลยตามเลย ปล่อยใจเหม่อตามสายตา แต่ถ้าตั้งใจสังเกตไว้ก่อนก็จะรู้สึกตัว เช่น ทราบว่าขณะเดินหรือยืนนิ่งอยู่นั้น ลูกนัยน์ตากลอกไปแล้ว หรือใบหน้าเหลียวซ้ายแลขวาไปแล้ว อาการรู้สึกตัวเช่นนั้นจะปิดช่องไม่ให้เกิดการเหม่อลอยได้อย่างดี

   ๓) ทำความรู้สึกตัวในการงอและการเหยียด

    การงอและการเหยียดมักเกิดขึ้นในอิริยาบถนั่งและอิริยาบถยืนบ่อยๆ เช่น หยิบของเก็บเข้าที่ ยกมือเกาศีรษะ และยกแก้วน้ำขึ้นดื่ม เป็นต้น นั่นหมายความว่าถ้าฝึกรู้สึกตัวในการงอและการเหยียดได้ เราก็จะมีโอกาสเจริญสติกันทั้งวันทีเดียว

     ๔) ทำความรู้สึกตัวในการใส่เสื้อผ้า

    การใส่เสื้อผ้ามักเกิดขึ้นในอิริยาบถยืน และมีความเคลื่อนไหวปลีกย่อยมากมาย จึงกลายเป็นแบบฝึกที่มีความซับซ้อนขึ้น แต่ขอเพียงเราจับหลักได้คือไม่ลืมท่ายืน แม้ต้องยืนสองขาบ้าง สลับยืนขาเดียวบ้าง ก็จะสามารถรู้สึกตัวได้ตลอดเวลาจนใส่เสื้อผ้าเสร็จ

     ๕) ทำความรู้สึกตัวในการกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม

    การกินและการดื่มมักเกิดขึ้นในอิริยาบถนั่ง และมีความเคลื่อนไหวปลีกย่อยมากมายเช่นกัน ตั้งแต่อ้าปาก หุบปาก ขบเคี้ยว ตลอดจนกลืนล่วงผ่านลำคอลงท้องไป การกลืนแต่ละครั้งก็มีรายละเอียดแตกต่างกัน เช่น อาหารหรือน้ำเป็นก้อนเล็กหรือก้อนใหญ่ เป็นต้น เมื่อรู้ก็จะเห็นความแตกต่างเหล่านั้น แต่ถ้าไม่รู้ก็คล้ายจะเหมือนๆกันไปหมด

    ๖) ทำความรู้สึกตัวในขณะถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ

    การถ่ายของเสียมักเกิดขึ้นในอิริยาบถนั่งหรือยืน ช่วงเข้าส้วมมักเป็นจังหวะที่เราเผลอเหม่อไม่มีอะไรทำกันมากที่สุด เพราะดูเหมือนไม่เหมาะกับการตามรู้วิธีถ่ายของเสียออกจากกาย แต่หากเราต้องการมีสติอยู่กับกายเสมอๆ ก็จำเป็นต้องรู้แม้ขณะแห่งกิจกรรมชนิดนี้ โดยเห็นตั้งแต่ของเสียเริ่มจะออกจากกาย จนกระทั่งล่วงพ้นกายไปทีเดียว เราจะได้รู้ว่าร่างกายมีกล้ามเนื้อภายในจัดการขับถ่ายของเสียโดยให้ความรู้สึกอย่างไร

   ๗) ทำความรู้สึกตัวในขณะหลับและตื่น

    การหลับและตื่นมักเกิดขึ้นในอิริยาบถนอน ขณะใกล้ก้าวลงสู่ความหลับ สติเหมือนจะดับไป ใช้การอะไรไม่ได้ ต่อเมื่อเจริญสติรู้กระทั่งแข็งแรงพอจะรู้แม้จวนเจียนม่อยหลับ จะพบว่าแม้ยามตื่นเราก็ตื่นด้วยความรู้สึกตัวไปด้วย และถ้ารู้สึกตัวยามตื่นได้ทุกวัน เราจะทราบชัดว่าการเจริญสติเริ่มต้นกันได้ตั้งแต่ลืมตาตื่นนอนทีเดียว

     ๘) ทำความรู้สึกตัวในการพูดและนิ่ง

    การพูดคุยมักเกิดขึ้นในอิริยาบถนั่งและยืน ปกติคนเรามีสติอยู่กับเรื่องที่อยากพูดอยากฟัง ซึ่งแตกต่างกันกับความรู้สึกตัวในข้อนี้ เพราะเราจะพูดหรือฟังทั้งรู้ว่ากำลังนั่งหรือยืน หากฝึกได้ก็แปลว่าเรามีโอกาสเจริญสติแม้ทำธุระในชีวิตประจำวัน ไม่จำเป็นต้องปลีกตัวจากสังคมเสมอไป

    การฝึกทำความรู้สึกตัวที่ได้ผล จะเหมือนกายใจเริ่มแบ่งแยกจากกัน ตัวหนึ่งแสดงท่าทางกระดุกกระดิก อีกตัวหนึ่งเฝ้าดูเฉยๆโดยไม่รู้สึกว่าอาการกระดุกกระดิกเป็นตัวตน ถึงจุดนั้นเราจะพบว่าความถือมั่นทั้งภายนอกและภายในยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ จิตเริ่มตั้งมั่นแข็งแรงจนอาจเข้าไปรู้เห็นธรรมชาติละเอียดอ่อนที่แต่ก่อนไม่เคยสามารถสัมผัส นับว่าพร้อมกับการเจริญสติขั้นสูงยิ่งๆขึ้นไปไม่จำกัดแล้ว

    เห็นกายโดยความเป็นของสกปรก
    ขั้นที่สี่ของการฝึกมีสติอยู่กับกาย

    ปกติกายจะเป็นตัวแทนของเรา คือถ้ารู้สึกถึงความมีกายเมื่อใด เมื่อนั้นกายก็จะเหนี่ยวนำให้มั่นหมายว่านี่แหละตัวเรา กระทั่งกายปรากฏชัดอย่างที่มันเป็นจริงๆ คือสักแต่มีลมหายใจเข้าออก สักแต่ปรากฏตั้งเป็นอิริยาบถหนึ่งๆ สักแต่มีความเคลื่อนไหวหนึ่งๆ เกิดขึ้นแล้วแปรไปเรื่อยๆ ความมั่นหมายว่ากายเป็นตัวเราจึงค่อยลดระดับลง

    นอกจากนั้น การฝึกสติยังบ่มเพาะกำลังความสามารถที่จะรู้ได้มากขึ้น เราจะรู้สึกว่าแค่ระลึกถึงความเคลื่อนไหวของกายนับเป็นเรื่องเล็กไปเสียแล้ว ภาวะทางกายที่กำลังตั้งอยู่เดี๋ยวนี้ ยังมีรายละเอียดน่าเรียนรู้น่าติดตามอีกมาก นั่นเองเป็นโอกาสอันดีที่เราจะค้นลึกลงไป เพราะตามธรรมชาติแล้ว ยิ่งรู้จักกายดีขึ้นเท่าไร ใจจะยิ่งถอนออกมาจากความเข้าใจผิดว่ากายเป็นเรามากขึ้นเท่านั้น




    ความจริงในกายอันใดที่ควรรู้เป็นอันดับแรก ความจริงนั้นได้แก่ กายนี้เป็นของสกปรก นั่นเอง เพราะรู้กายโดยความเป็นนั้นแล้วจิตตีตัวออกห่างจากกายได้อย่างรวดเร็ว

    ก็เมื่อเป็นความจริงที่กายนี้สกปรก แล้วเหตุใดใจเราจึงถูกห่อหุ้มอยู่ด้วยความหลงผิด สำคัญมั่นหมายว่ากายเป็นของสะอาด ของหอม ของน่าใคร่ น่าชื่นชมอภิรมย์เล่า เหตุผลมีอยู่ ๒ ประการใหญ่ๆ ได้แก่

   ๑) ความตรึกนึกทางกาม

    อารมณ์เพศจะทำให้เรามองข้ามข้อรังเกียจเกี่ยวกับกลิ่นจากหน่อเหม็นแนวเหม็นต่างๆ กับทั้งอยากกระโจนเข้าหา ยอมเสียเงินเสียทอง หรือกระทั่งยอมเหนื่อยยากลำบากแทบต้องทิ้งชีวิต เพียงเพื่อให้ได้สัมผัสหน่อเหม็นแนวเหม็นของเพศตรงข้าม นี่คือฤทธิ์ของความกำหนัดยินดี

    ความกำหนัดยินดีใคร่เสพกามมีสาเหตุมาจากความตรึกนึกเป็นสำคัญ ถ้าเพียงหมั่นรู้สติ เฝ้าตามดูกายตามจริง เห็นความเสื่อม เห็นความสกปรกในกายนี้ ไม่ปล่อยให้ความตรึกนึกทางกามกำเริบ ก็เพียงพอจะทำให้จิตใสใจเบา ไม่เมามืดด้วยความรู้สึกทางเพศได้แล้ว

    ๒) การทำความสะอาด


    ทุกวันเราเคยชินกับการชำระล้างร่างกายทุกส่วน กระทั่งเวลาส่วนใหญ่มีตัวแห้งสบายไร้กลิ่น ชินเข้าก็หลงนึกทึกทักว่ากายนี้สะอาดอยู่เอง ไม่ใช่สิ่งเหม็นเน่าน่ารังเกียจแต่อย่างใด

    ช่วงที่กายถึงเวลาสกปรก ก็มักเป็นช่วงที่เราเลือกอาบน้ำสะสางนั่นเอง ดังนั้นขณะอยู่ในห้องน้ำจึงควรพิจารณาดูให้รู้สึกถึงความจริงไปด้วย เพื่อปลุกสติให้ตื่นขึ้นยอมรับสภาพได้ถูกต้องตรงจริงเสียที

    ขณะอาบน้ำ ให้ทำความรู้สึกตัว เมื่อมีสติทราบว่ากำลังอยู่ในอิริยาบถใด ท่าทางเคลื่อนไหวแบบไหน เราก็จะสามารถรู้สึกถึงกายส่วนที่เกี่ยวข้องได้ ขอให้พิจารณาดังนี้

    ขณะสระผม เส้นผมและหนังศีรษะจะปรากฏให้รู้สึกผ่านฝ่ามือที่ขยี้อยู่ ขณะฟอกสบู่ ผิวหนังจะปรากฏให้รู้สึกผ่านมือที่ลูบถู เพียงใส่ใจพิจารณาประกอบเข้าไปก็จะรู้ว่าเส้นผมและผิวหนังเป็นสิ่งสกปรก เพราะถ้าไม่สกปรกจะต้องทำความสะอาดทำไม แล้วก็เห็นๆอยู่ว่าน้ำที่เคยสะอาดกลับกลายเป็นน้ำดำเมื่อถูกใช้ล้างตัว

    ขณะแปรงฟัน ฟันจะปรากฏให้รู้สึกผ่านมือที่จับแปรง ฟันทำหน้าที่ขบเคี้ยวซากพืชและศพสัตว์มามาก ไม่มีทางที่จะสะอาดอยู่ได้

    ขณะชายโกนหนวดหรือหญิงโกนขนรักแร้ เส้นขนจะปรากฏให้รู้สึกผ่านอุปกรณ์การโกน ขนเป็นสิ่งที่งอกเงยแทงทะลุผ่านผิวหนังสกปรกออกมาเรียงกัน เมื่อโผล่จากผิวหนังสกปรก เส้นขนย่อมมีส่วนแห่งความสกปรก เป็นเรื่องรกที่รบกวนให้เรากำจัดทิ้งร่ำไป

    ขณะตัดเล็บ เล็บจะปรากฏให้รู้สึกผ่านกรรไกรตัดเล็บ เมื่อตัดแล้วจะส่งกลิ่นอ่อนๆ ฟ้องตัวเองว่ามาจากความสกปรก และถูกตัดทิ้งให้กลายเป็นขยะของโลกอีกกองหนึ่ง ทั้งที่เดิมเป็นเสมือนเครื่องประดับของร่างกายแท้ๆ

    การพิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนังดังกล่าว เป็นเพียงตัวจุดชนวนให้ เกิดความรู้สึก ว่ากายสกปรก เรายังพิจารณาให้ลึกเข้าไปในกายได้ โดยเริ่มจากอุจจาระปัสสาวะ ซึ่งเราเคยฝึกทำความรู้สึกตัวขณะขับถ่ายพวกมันมาแล้ว

    อุจจาระเป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับว่าน่ารังเกียจ เราสามารถเห็นด้วยตา ได้กลิ่นด้วยจมูกเมื่อมันถูกปลดปล่อยออกมากองข้างนอกกาย ดังนั้นพอทำความรู้สึกตัวขณะขับถ่าย รู้สึกถึงกายในท่านั่ง เราก็อาจเห็นกายเหมือนถุงใส่อึ ที่ต้องปล่อยส่วนเกินให้เล็ดไหลออกมาจากทวารหนักวันละรอบเป็นอย่างน้อย หากไม่มีส้วมมารองรับ กายก็จะสำแดงความเรี่ยราดเลอะเทอะ ส่งกลิ่นฟุ้งกระจายเป็นแน่




ขอบพระคุณข้อมูลดีๆ จากพี่ตุลย์ เว็บ http://www.dungtrin.com/  ครับผม


3580  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / นั่งสมาธิ แนว กสิณ10 คืออะไร / Re: นิพพาน คืออะไร? มีกีั่แบบ? เมื่อ: ตุลาคม 28, 2007, 08:43:47 PM
แล้ววิธี ไปให้ถึงพระนิพพานหละ ทำอย่างไร?

ขอบคุณท่าน top ที่เข้ามาช่วยตอบ น่ะครับ ผมจะโฟสรายละเอียด ให้ต่อไปน่ะครับ
3581  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / นั่งสมาธิ แนว กสิณ10 คืออะไร / Re: สมาธิมีกี่แบบ เมื่อ: ตุลาคม 28, 2007, 08:43:02 PM
หัวข้อน่าจะเป็น วิธีการทำสมาธิ มากกว่า สมาธิมีกี่แบบนะครับ

ครับผม
3582  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / นั่งสมาธิ แนว กสิณ10 คืออะไร / Re: นักวิทยาศาสตร์ทึ่งการนั่งสมาธิ เมื่อ: ตุลาคม 28, 2007, 08:42:25 PM
สมาธิ อย่างเดียว ไม่เพียงพอ หรอกนะครับท่าน
ต้อง ศีล สมาธิ ปัญญา เดี๋ยวจะนึกว่าสมาธิวิเศษวิโส อย่าลืม สมาธิมีมาก่อนพุทธเจ้าประสูติอีก แต่ไม่สามารถดับทุกข์ได้ พระพุทธเจ้าตรัสรู้มากกว่าคำว่าสมาธิ

อ่าครับ ใช่
3583  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / นั่งสมาธิ แนว กสิณ10 คืออะไร / Re: การภาวนา โดยการทำสมาธิ เมื่อ: ตุลาคม 28, 2007, 08:41:46 PM
กรรมฐาน 40 มีสมาธิ เป็นอารมณ์ นะครับ
ไม่ใช่สมาธิ มีกรรมฐาน 40 เป็นอารมณ์ เป็นไปไม่ได้ครับ เพราะท่านทำสมาธิได้ ต้องมาจากฐานใดฐานหนึ่งก่อน ต้องเข้าใจตรงนี้ให้ได้

ครับผม ขอบคุณมากครับ
3584  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / นั่งสมาธิ แนว กสิณ10 คืออะไร / Re: อะไรคือการ นั่งสมาธิแนว กสิณ10 เมื่อ: ตุลาคม 28, 2007, 08:41:07 PM
กรรมฐานมี 40 กอง, ใครมีจริตทางไหน ก็ฝึกทางนั้น, มีพระพุทธเจ้าเป็นครูบาอาจารย์สูงสุด ท่านไม่เคยบอกว่า ต้องนับถือท่าน เพียงบอกให้มาพิสูจน์ และท่านไม่ต้องการความกตัญญูอะไร? นอกจากต้องการให้ผู้ปฏิบัติตามท่านได้พ้นทุกข์เท่านั้น

ครับผม ขอบคุณทีช่วยแนะนำ ครับ
3585  การปฏิบัติของผู้ที่ได้ ฌาณ / ประสบการณ์ของผู้ที่ได้ไปสวรรค์ / Re: บทสัมภาษณ์ผู้ที่วิญญาณออกจากร่างไปพบ เมื่อ: ตุลาคม 28, 2007, 08:40:17 PM
Link ไปไม่เห็นบทความเลย ช่วยแก้ไข Link ด้วย

จะมีไฟล์อยู่น่ะครับ จะเป็นไฟล์แรก เลยครับท่าน top ดูดีๆน่ะ ครับ  ยิ้มเท่ห์
หน้า: 1 ... 237 238 [239] 240 241 242