แสดงกระทู้
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 65
31  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: ธันวาคม 21, 2016, 08:17:54 AM
ธรณินทร์  ล่วงลาพับ  ลับเหลี่ยมโลก       วิปโยค  โศกเศร้าเยือน  ทั่วถิ่นหล้า

ไทยทั้งผอง  ต่างกลืนกล้ำ  หลั่งน้ำตา        มหาราชา  ทรงสิ้นแล้ว  ธ แก้วใจ

 

สิ้นพ่อหลวง  ขาดดวงใจ  ไทยทั้งชาติ      ประชาราษฎร์  สิ้นเรี่ยวแรง  จะเคลื่อนไหว

พระภูมิพล  ส่องประทีป  จรดฟ้าไกล       ร่มโพธิ์ใหญ่  บารมี  โพธิสมภาร

 

ถวายส่ง   เสด็จสู่  สวรรคาลัย                   ร้อยดวงใจ  ร่วมตั้งจิต  อธิษฐาน


 
ภาวนา    เพื่อพระองค์ท่าน   สู่วิมาน        ทิพย์สถาน  ไอศวรรย์  นิรันด์เทอญ

32  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: ตุลาคม 08, 2016, 08:44:10 PM
 

ลองเข้าเว็บแล้วครับจากมือถือ โอเคครับใหญ่ดี สบายตา  ยิ้ม
33  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร / Re: สิ่งที่ควรทำอันดับแรก เพื่อการถึงที่สุดแห่งทุกข์ เมื่อ: ตุลาคม 08, 2016, 08:34:19 PM
ไปทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์กันเถอะ
34  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / แนะนำ สถานที่ปฏิบัติภาวนาธรรม ที่สัปปายะ ในประเทศไทย / Re: สถานที่ปฏิบัติธรรมในจังหวัดแพร่ สำนักปฏิบัติธรรมแพร่ธรรมจักร เมื่อ: ตุลาคม 08, 2016, 08:30:50 PM
 

อนุโมทนาครับ สาธุ
35  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: ตุลาคม 08, 2016, 08:29:20 PM
เยี่ยมมากครับน้องกอล์ฟเราต้องพัฒนาให้ร่วมสมัยบ้างครับ

นี่แหละคนมีปัญญา รู้จักโลก เข้าใจโลก
36  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร / Re: สิ่งที่ควรทำอันดับแรก เพื่อการถึงที่สุดแห่งทุกข์ เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2016, 11:41:54 AM
คิดถึงท่านพี่ the suffering จังเลย

ไม่ทราบว่ามุ่งมั่นปฏิบัติภาวนาเป็นอย่างไรบ้างแล้ว
37  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2016, 11:39:23 AM
อนุโมทนาสาธุครับน้องกอล์ฟ

ขอให้เจริญในทางโลกและในทางธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ
38  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2016, 12:40:06 PM
ครับน้องกอล์ฟ อนุโมทนาครับ สาธุ

เนื่องในวันวิสาขบูชา ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ขออัญเชิญ

พระปัจฉิมวาจา ก่อนปรินิพพาน

" สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด "

" หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว วะยะธัมมา สังขารา
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถาติ "


39  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: เมษายน 30, 2016, 09:22:52 PM
‎บริจาคโลหิต‬ ช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์

เป็นคำที่ผมได้ยินอยู่บ่อยๆตั้งแต่เด็กในสมัยตามคุณแม่ไปบริจาคโลหิต ที่โรงพยาบาลบ้าง หน่วยที่สภากาชาดมาตั้งบ้างฯ
วันนี้ได้มีโอกาสบริจาคโลหิต แล้วก็มีโอกาสได้เจอผู้ที่ร่างกายแข็งแรงจิตใจเสียสละหลายต่อหลายคน
 
การบริจาคโลหิตหรือการสละเลือดเพื่อผู้อื่น เอาไว้ใช้ในยามคับขันจำเป็น ระหว่างความเป็นความตาย เป็นการเสียสละหรือเป็นทานอันยิ่งใหญ่
การบริจาคโลหิต ลองมาเทียบดูในทางธรรมนี่บารมี 10 ทัศ มาทั้งหมดเลยทั้ง
๑ ทานบารมี
๒ ศีลบารมี
๓ เนกขัมมะบารมี
๔ ปัญญาบารมี
๕ วิริยะบารมี
๖ ขันติบารมี
๗ สัจจะบารมี
๘ อธิษฐานบารมี
๙ เมตตาบารมี
๑๐ อุเบกขาบารมี


บางทีอาจจะดูเหมือนมันจะใช่เหรอแล้ว ยกตัวอย่างบารมีตัวศีล(หรือข้ออื่นๆ)มันจะได้ศีลมาตรงไหน
มันก็จะได้มาตรงที่ จะต้องงดเครื่องดื่มที่มีอัลกอฮอล์ก่อนบริจาค 24 ชม./กรอกข้อความและประวัติด้วยความเป็นจริง/มาให้บริจาคไม่ได้มาเอาของของใคร/มาด้วยความเมตตาเกื้อกูลไม่เบียดเบียนหรือทำร้ายใคร แค่นี้ศีล 5 ก็มาหมดแล้วครับ
มาด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจเสียสละ โดยไม่หวังรับผลประโยชน์ใดๆตอบแทนเลย + ความกล้า ไม่กลัวเข็มฯ (ซึ่งเข็มในการบริจาคโลหิตนี่ก็ใหญ่กว่าเข็มฉีดยาหลายเท่าเลย)

แค่นี้ก็เท่ห์และรับบารมี 10 ทัศไปเต็มๆ
สำหรับบารมีที่โดดเด่นในครั้งนี้คงต้องยกให้ “ทานบารมี”ครับ

 
40  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: มีนาคม 27, 2016, 03:51:03 AM
พอดีผมมีโอกาสได้ไปฟังธรรม หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2558

ก่อนไปฝนตกกระหน่ำในสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อเวลา 12.25 น.ซึ่งเป็นเวลาใกล้จะเริ่มแสดงธรรม(12.30 น.)
ถ้าฝนตกหนักผมจะเดินต่อไปที่ OPC สถานที่แสดงธรรมไม่ได้
และถ้าฝนตกนานก็จะไปสายเข้าห้องแสดงธรรมไม่ทันไปด้วย
จึงอธิษฐานเอาไว้ในใจว่า....
ก็ให้พอดีฝนหยุดตกเดินต่อไป OPC การบินไทย ได้สบายเลยไม่เปียกปอน

ผมมาช้า 8 นาที บังเอิญเจอน้องที่ฝักใฝ่ในธรรมเหมือนกันมาเจอผมหน้าห้องแสดงธรรม
(น้องคนนี้เค้าลางานเพื่อเตรียมมาฟังธรรมหลวงพ่อปราโมทย์ในวันนี้โดยเฉพาะ ส่วนผมก็ยอมรับตามตรงว่าเอาเวลาช่วงพักทานอาหารกลางวันมาฟังธรรม อาหารกลางวันผมเลยต้องงดไว้ก่อน )
น้องยิ้ม..ดีใจ... มาเจอพี่ได้เข้าฟังธรรมแน่เลย...
และโชคดีที่ประตูยังเปิดให้เข้าได้อยู่

หลังจากรับซีดี,หนังสือธรรม,ทำบุญบริจาคสมทบแล้วเข้าห้องฟังธรรมด้วยกัน

จนหลวงพ่อแสดงธรรมจบและแนะนำคนส่งการบ้านเรียบร้อยแล้ว
หลวงพ่อรับไตรจีวรแล้วให้พรต่อจากนั้นจึงเดินทางกลับ.

มีเพื่อนมากระซิบว่า ตอนหลวงพ่อแสดงธรรมฝนตกอย่างหนัก พอหลวงพ่อแสดงธรรมจบแล้วฝนหยุดตกเลย...
โอ้...ครับ งั้นขากลับผมก็เดินกลับสบายไม่ต้องเปียกอีกน่ะสินะ...โชคดีจริง...
41  ปัญหาการใช้งานเว็บบอร์ด และแจ้งลิ้งเสีย ผู้ดูแลระบบบอกกล่าวผู้ใช้งาน / ชี้แจงการใช้งานเว็บบอร์ด วิธีการโฟสรูป แจ้งปัญหาการใช้งานเว็บบอร์ด และแจ้งลิ้งที่เสีย / Re: เพื่อนๆ สามารถใช้งาน upload clip เกี่ยวกับธรรมได้แล้วนะครับผม เมื่อ: มีนาคม 18, 2016, 11:19:21 PM
จิต สติ ความคิด

<a href="https://www.youtube.com/watch?v=yqjIzTchE2M" target="_blank" class="new_win">https://www.youtube.com/watch?v=yqjIzTchE2M</a>
42  พระไตรปิฏก : พระอภิธรรม พระสูตร พระคัมภีร์ / พระอภิธรรมปิฏก / Re: พระไตรปิฏกฉบับประชาชน โดยท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2016, 12:29:26 PM
 

พระไตรปิฎกสำคัญอย่างไร ?  

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อทรงใกล้เสด็จดับขันธปรินิพานได้ประทานคำสั่งสอนสำคัญมีบันทึกในพระไตรปิฎก ว่า

“พระธัมม์และพระวินัยที่เราตถาคตแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายเมื่อตถาคตล่วงลับไป”

ดังนั้น พระไตรปิฎกจึงเป็นนพระบรมศาสดาในปัจจุบันสมัยและจะเป็นหลักการสำคัญสูงสุดในพระพุทธศาสนาเถรวาทตลอดไปในอนาคต

การสืบทอดพระไตรปิฎก ด้วยการสร้างและเผยแผ่พระไตรปิฎกจึงเป็นการบำเพ็ญกุศลสูงสุด เพราะเป็นการสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดาโดยตรง
อานุภาพแห่งกุศลธัมมทานนี้ย่อมนำมาซึ่ง ความสุขและปัญญาบารมีทั้งในปัจจุบันและอนาคต.....  

 
43  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ / นวังคสัตถุศาสน์...เป็นไฉน...? เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2016, 12:20:25 PM
 
นวังคสัตถุศาสน์...เป็นไฉน...?
นวังคสัตถุศาสน์...เป็นไฉน...?

นวังคสัตถุศาสน์


หลักธรรมอันเป็นคำสอนของพุทธศาสนาที่รวมเรียกว่า “พระธรรมวินัย”  นั้นหากนำมาจัดเป็นประเภทแล้ว  ท่านแยกไว้ถึง 9  ประเภท  เรียกว่า“นวังคสัตถุศาสตร์” ซึ่งแปลตามรูปศัพท์ว่า  คำสอนของพระศาสดา  คือ พระพุทธเจ้ามีองค์  9 ประการ  ซึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้


1.  สุตตะ
สุตตะ  คือ  พระสูตร  แปลว่า  ด้าย   หมายความว่า  เรื่องที่นำมาผูกร้อยกรองเข้าด้วยกัน ได้แก่   อุภโตวิภังค์  นิเทส   ขันธกะ  ปริวาร  และสูตรต่าง ๆ   


ในสมัยพุทธกาล  คำว่า  “สุตตะ”  นี้  พระพุทธเจ้าทรงหมายถึง  กฎ  หลัก  หรือหัวข้อธรรมสั้น ๆ  มีตอนเดียวจบ  และมีความสมบูรณ์ในตัว    ซึ่งมักจะเอาเฉพาะตัวกฎปาติโมกข์ในพระวินัยปิฎก  มีข้อความปรากฏในจุลลวรรคว่า    หลักธรรมของพระพุทธเจ้าได้รวมอยู่ในรูปสุตตะอันภิกษุทั้งหลายต้องสวดทุก ๆ  กึ่งเดือน   และมีหัวข้อหนึ่งในพระวินัยปิฎก   คือ  “สุตตวิภังค์”  เป็นหัวข้อที่แสดงและวิเคราะห์ความหมายของคำและเนื้อหาในตัวหลักพระปาติโมกข์อย่างละเอียดซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับอรรถกถา  เมื่อคำว่า  “วิภังค์”   แปลว่า  การวิเคราะห์  แยกแยะ  ดังนั้น  คำว่า  “สุตตะ”  ในที่นั้นก็จะต้องหมายถึง ตัวหลักปาติโมกข์นั่นเอง


คำว่า  “สุตตะ”   ในนวังคสัตถุศาสตร์นี้  ไม่ได้มีความหมายเหมือนกับคำว่า  “สุตตันตะ”  กล่าวคือ  คำว่า  “สุตตันตะ”  มาจากคำว่า  สุตตะ+อันตะ  แปลว่า  ที่สุดหรือตอนปลายของสุตตะ  คือ  ส่วนที่อธิบายขยายความในสุตตะให้ละเอียดยิ่งขึ้น

2. คาถา
คาถา  คือ  คำสอนประเภทที่อยู่ในรูปของบทประพันธ์ที่เป็นร้อยกรอง  เช่น  บทประพันธ์ในเถรคาถา   เถรีคาถา   ธรรมบท   และคาถาที่ไม่เรียกว่า สูตรในสุตตนิบาต


บทประพันธ์ประเภทร้อยกรองที่เรียกว่า   “คาถา”   นี้ มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้วพระพุทธองค์ก็ทรงสนับสนุนงานการประพันธ์ประเภทนี้อย่างมาก  เช่น  พระองค์ทรงยกย่องพระวังคีสเถระว่าเป็นเลิศในด้านการกวีนิพนธ์   และพระพุทธองค์ทรงให้มีการกล่าวคาถาขึ้นในที่ประชุมสงฆ์   ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าสามารถกล่าวคาถาได้ดี  มีเสียงไพเราะ  มีอยู่ 2  ท่าน  คือ  พระโสณกุฏิกัณณะ   และอุบาสิกา  นันทมาตา


อนึ่งคำว่า  “คาถา”   นี้  นอกจากจะหมายถึงบทประพันธ์ประเภทร้อยกรองแล้ว   ยังมีความหมายเป็นทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองได้อีกด้วย  เช่น  ในคัมภีร์มีคำว่า


(2.1) สุทธิคาถา  หมายถึง  เรื่องบริสุทธิ์  คือ   คำสอนที่เกี่ยวกับสัจจะแห่งการดับทุกข์ จะอยู่ในรูปของร้อยแก้วและร้อยกรองก็ได้


(2.2)  เสทโมจนคาถา  คือ  คาถาเหงื่อแตก เป็นการซักถามเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ   เกี่ยวกับธรรมวินัย   โดยใช้วิธีการถามแบบร้อยแก้วธรรมดา   ซึ่งปรากฏอยู่ตอนท้ายของคัมภีร์ปริวารในพระวินัยปิฎก  คำถามดังกล่าวถามอย่างลุ่มลึกจนยากที่จะขบคิด  จนทำให้เหงื่อกาฬไหล


(2.3)  วัตถุคาถา  หมายถึง  เรื่องเล่าถึงเหตุการณ์ อันเป็นที่มาของคำสอน  ลักษณะการเล่ามีทั้งแบบร้อย แก้วและร้อยกรอง   ซึ่งช่วยให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านสามารถเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดีขึ้น เช่น
ปารายนวรรค  สุตตนิบาต    เป็นบทสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับปัญหาธรรมระหว่างพระพุทธเจ้า กับพราหมณ์  16  คน  ก่อนจะมีการสนทนานั้น  มีวัตถุคาถาเล่าถึงสาเหตุที่พราหมณ์ทั้ง  16  คน  จะเดินทางมาทูลถามปัญหากับพระพุทธองค์อย่างละเอียด


(2.4)  วยากรณคาถา  หมายถึง   เรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ของการตรัสรู้ของพระปัจเจกพุทธเจ้าหลายองค์  พระพุทธเจ้าเล่าให้ฟังที่ภูเขาคันธมาทนะ   การเล่านี้เป็นแบบร้อยแก้วกล่าวกันว่า  วยากรณคาถานี้   มีขึ้นหลัง สมัยพุทธกาล  คือ  ปรากฏครั้งแรกในอรรถกถาบาลีรจนาขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่  10

3. เคยยะ คำว่า  “เคยยะ”  แปลว่า  ขับ  ร้อง  สวด  เป็นการขับร้องเป็นทำนองคล้ายกับคาถา   แต่หมายเอาคำสอนที่มีอยู่ในรูปของร้อยแก้วและร้อยกรองในเรื่องเดียวกัน  ลักษณะของเคยยะ  คือ   บทร้อยกรองมักจะแทรกอยู่ตอนกลางหรือตอนท้ายของส่วนที่เป็นร้อยแก้วเป็นส่วนใหญ่

4. เวยยากรณะ
เวยยากรณะ  หมายถึง   คำสอนที่มีลักษณะเป็นคำตอบ  ท่านหมายเอาคำสอนในพระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด   สูตรที่ไม่มีคาถาปน  และพุทธพจน์ในลักษณะอื่นที่ไม่สงเคราะห์เข้าในองค์อีก  8  อย่าง  จัดเข้าในเวยยากรณะทั้งสิ้น 


เวยยากรณะนี้เป็นประเภทคำตอบปัญหาที่มีความสำคัญและมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษด้วยเหตุนี้  จึงถูกจัดไว้เป็นคำสอนอีกประเภทหนึ่ง  ในสมัยพุทธกาลนั้น  ผู้คนจำนวนมากได้เข้าไปถามปัญหากับพระพุทธเจ้าและพระสาวก   วัตถุประสงค์ในการถามก็มีต่าง ๆ  กันไป 


บางคนถามต้องการทราบความจริงแห่งชีวิต  เพื่อนำไปแก้ปัญหาชีวิตจริง ๆ 

บางคนสนใจต้องการถามเพื่อเอาความรู้  เพราะเป็นคนอยากรู้อยากเห็น 

แต่บางคนต้องการถามเพื่อจับผิดและหาช่องที่จะโจมตี   คัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้า 


ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย   มีข้อความกล่าวถึงสาวกกลุ่มหนึ่ง  ได้พากันไปทูลลาพระพุทธเจ้า  เพื่อเดินทางไปสอนธรรมในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง   และผู้คนในหมู่บ้านนี้มีความเฉลียวฉลาดมาก   และเป็นผู้ที่มีความสนใจที่จะถามปัญหา  พระพุทธองค์ทรงแนะสาวกเหล่านั้นให้ไปศึกษาวิธีการตอบคำถามจากพระสารีบุตรก่อน


ในอังคุตตรนิกาย  วิธีการตอบคำถามนั้น   พระพุทธเจ้าทรงแยกไว้  4  ประเภท   คือ


4.1 วิภัชชวยากรณ์   คือ   การตอบปัญหาด้วยวิธีวิเคราะห์หลักธรรมอย่างละเอียดจะนำไปตอบปัญหาโดยไม่ตอบรับหรือปฏิเสธ   แต่จำต้องวิเคราะห์แยกแยะประเด็นเหตุการณ์  เช่น  คำถามว่า  อะไร  คือผลของการกระทำด้วยกาย วาจา  ใจ   การตอบปัญหาเช่นนี้   เราจะตอบว่า  สุข  ทุกข์   หรือ  อะไรอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้   แต่ต้องวิเคราะห์ก่อนว่า  การทำด้วยกาย  วาจา ใจนั้นเป็นการกระทำอย่างไร  ดีหรือชั่ว   เป็นต้น


4.2  ปฏิปุจฉาวยากรณ์  คือ  วิธีตอบปัญหาด้วยการย้อนคำถาม  เพื่อให้ผู้ถามได้พิจารณาปัญหานั้นด้วยตนเอง  เช่น  ครั้งหนึ่ง   พระเจ้าปเสนทิ   ตรัสถามปัญหากับเขมาภิกษุณีว่า  ทำไมพระพุทธเจ้าจึงทรงปฏิเสธ   ที่จะตอบปัญหาเกี่ยวกับการดำรงอยู่หรือไม่ดำรงอยู่ของคถาคตหลังจากความตายมาถึง   นางเขมาภิกษุไม่ตอบปัญหานี้โดยตรง  แต่จะย้อนถามพระเจ้าปเสนทิว่า  เป็นไปได้หรือไม่ได้ที่คนเราจะสามารถนับจำนวนเม็ดทรายตามฝั่งแม่น้ำคงคาหรือวัดจำนวนน้ำในมหาสมุทร


4.3  เอกังสวยากรณ์  คือ   วิธีการตอบปัญหาโดยตรง  กล่าวคือ   เป็นวิธีที่ตอบอย่างใดอย่างหนึ่ง  คือ  การตอบรับหรือตอบปฏิเสธอย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่น  คำถามว่า  รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง  ตอบว่า  ไม่เที่ยง  สิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์หรือเป็นสุข   ตอบว่า  เป็นทุกข์  เมื่อสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอัตตาหรืออนัตตา  ตอบว่า  เป็นอนัตตา  เป็นต้น


4.4  ฐปนียวยากรณ์ คือ  วิธีการตอบปัญหาด้วยการวางคำถามไปเสียข้างหนึ่ง หมายถึง  การไม่ตอบคำถาม เพราะคำถามและคำตอบไม่เป็นประโยชน์ต่อการดับทุกข์  หรือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหยั่งรู้มีประสบการณ์ได้ด้วยตนเอง  แม้จะตอบไปผู้ถามก็ไม่อาจพิสูจน์ด้วยคำพูดได้  เช่นถามว่า  ชีวะกับสรีระเป็นสิ่งเดียวกันใช่หรือไม่  พึงยับยั้งเสียไม่ต้องตอบ  หรือคำถาม 10   ข้อ เรียกว่า  “อวยากตะ”    ที่เป็นคำถามที่พระพุทธองค์ไม่ทรงพยากรณ์  เช่น  โลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง  เป็นต้น

 5. อุทาน อุทาน หมายถึง คำพูดที่เปล่งออกมาจากลำคอ อันมาจากความประทับใจในบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือมาจากได้เห็นสัจธรรมบางอย่างอันเป็นภาวะที่น่าอัศจรรย์ หรือที่ทำให้เกิดการประจักษ์ชัดในความจริงของชีวิต คำอุทานนี้ออกมาทั้งในรูปของร้อยแก้วและร้อยกรอง ทั้งที่เป็นคำอุทานของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก เช่น ตอนที่พระพุทธเจ้าแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ ครั้นธรรมเทศนาจบลง พระพุทธองค์ทรงหยั่งรู้ว่าพราหมณ์โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว พระพุทธองค์ทรงปีติเปล่งอุทานออกมาว่า “อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ” โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เป็นต้น.....

6. อิติวุตตกะ อิติวุตตกะ คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า ที่พระสาวกหรือบุคคลบางคนได้ยกขึ้นมาอ้าง เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นหรือเป็นหลักฐาน เช่น ในมหาหัตถิปโทปมสูตร พระสารีบุตร แสดงเรื่องปฏิจจสมุปบาท ในตอนท้ายท่านได้ยกเอาพระพุทธพจน์ขึ้นมาอ้าง เพื่อสนับสนุนความเชื่อมั่นและให้เห็นจริงในหลักปฏิจจสมุปบาทว่า “วุตฺตํ โข ปเนตํ ภควา โย ปฏิจฺจสมุปฺปบาทํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ โส ปฏิจฺจสมุปฺบาทํ ปสฺสตีติ.” แปลว่า ก็ถ้อยคำนี้ อันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแลว่า ผู้ใดเห็นหลักปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้น (ได้ชื่อว่า) เห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น (ได้ชื่อว่า) เห็นหลักปฏิจจสมุปบาท

7. ชาดก ชาดก แปลตามรูปศัพท์ว่า เรื่องที่เคยเกิดขึ้นแล้ว เป็นเรื่องในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า แม้จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้อื่นบ้าง แต่ก็จะมีพระโพธิสัตว์อยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ ด้วยในการแสดงพระธรรมเทศนา พระพุทธเจ้าจะทรงยกขึ้นมาอธิบายประกอบ ในกรณีที่มีผู้ทูลถามหรือเป็นเรื่องเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล ชาดกมีทั้งหมด 547 เรื่อง แต่ชาวไทยมักเรียกกันว่าเรื่องพระเจ้า 500 ชาติ ตัวอย่างของชาดก เช่น ในกูฏทันตสูตร พระพุทธเจ้าทรงเล่าเรื่องที่พระองค์เคยเกิดเป็นปุโรหิตชื่อมหาวิชิต ในมหาโควินทสูตร พระพุทธองค์ทรงเล่าเรื่องว่าพระองค์เกิดเป็นพราหมณ์ มหาโควินทะ เป็นต้น..... 

8. อัพภูติธรรม อัพภูตธรรม คือ คำสอนหรือเรื่องน่าอัศจรรย์ใจ แยกได้ 3 ประเภท คือ
8.1 ธรรมที่เป็นสัจจะ คือ ความจริงเกี่ยวกับธรรมดาของชีวิต ซึ่งยังไม่มีผู้ใดเข้าใจและเข้าถึงสัจจะอันนี้อย่างถูกต้องและลึกซึ้ง จนกระทั่งพระพุทธเจ้าค้นพบความจริงเหล่านี้แล้วนำมาประกาศแก่ชาวโลก ผู้มีปัญญาฟังแล้ว ย่อมเห็นจริงตามคำสอนเหล่านั้น เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ใจ จึงมักจะเปล่งวาจาสรรเสริญว่า “อจฺฉริยํ อพฺภุตํ ภนฺเต ยาว สุภาสิตํ อิทํ.....” แปลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทศนานี้เป็นสุภาษิต เป็นสิ่งน่าอัศจรรย์เป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจ.......
8.2 เรื่องของพระโพธิสัตว์หรือเรื่องของพระพุทธเจ้า หมายถึง เรื่องที่น่าอัศจรรย์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้ ย้อนกลับไปตั้งแต่ครั้งที่เสด็จจากสวรรค์ชั้นดุสิตหยั่งลงสู่ครรภ์ของพระมารดา ระหว่างที่อยู่ในครรภ์นั้น จะประทับนั่งขัดสมาธิด้วยอาการสงบเวลาคลอดออกมาจากครรภ์ก็มิได้เอาศีรษะออกก่อนเหมือนทารกทั่ว ๆ ไป ตอนที่พระมารดาประสูติพระองค์ประทับยืน มิได้นอนคลอดเหมือนหญิงทั่ว ๆ ไป ตอนประสูติก็มีเทวดามาคอยรับพระวรกายด้วยน้ำร้อนและน้ำเย็นที่ไหลเป็นสายมาจากท้องฟ้า และหลังจากประสูติแล้วก็สามารถดำเนินไปได้ 7 ก้าว พร้อมกับมีดอกบัวรองรับ ขณะเดียวกันก็เปล่งพระสุรสีหนาทว่าพระองค์ทรงบันเกิดมาเพื่อประโยชน์ของมหาชน เป็นต้น
8.3 เรื่องเกี่ยวกับคุณสมบัติพิเศษของอริยบุคคลบางองค์ เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์ เช่น ในอังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสถึงธรรมที่น่าอัศจรรย์ใจ 4 ประการของพระอานนท์เถระ กล่าวคือ ไม่ว่าภิกษุหรือบุคคลทั่วไปต่างก็ชื่นชมเมื่อได้เห็นพระอานนท์ และรู้สึกยินดีเมื่อได้ฟังธรรมที่พระอานนท์สอน และรู้สึกพอใจในธรรมนั้น ในทางตรงกันข้าม แม้ภิกษุและคนทั่วไปไม่พอใจ พระอานนท์ก็เฉย ๆ ไม่หวั่นไหว เป็นต้น
 
9. เวทัลละ เวทัลละ คือ คำสอนประเภทที่แจกแจงความหมายอย่างละเอียด ซึ่งอาจทำโดยการอธิบายขยายความ หรือโดยการวิเคราะห์ความหมายทางไวยากรณ์ เช่น อธิบายว่า เวทนามาจากกิริยาศัพท์ เวทิตา แปลว่า รู้สึก ซึ่งปรากฏอยู่ในมหาเวทัลลสูตร เป็นต้น..... 
44  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: คุยกันสบาย...สบายครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2016, 09:13:21 PM
‪‎ตุ๊กตาเป็นเทพไม่ได้‬

เพราะตุ๊กตาไม่มีชีวิตไม่มีกายสังขาร ไม่มีจิตวิญญาณที่สามารถสั่งสมบุญกรรมได้
มีแต่คนเท่านั้นที่สามารถทำตนให้เป็นเทพได้ ด้วยทาน ศีล และภาวนาเพื่อให้เกิด"ปัญญารู้ถูกต้องในสัจจะธรรมความจริง"
"เทพ "ไม่มาสิงสู่อยู่ร่วมกับมนุษย์ที่มีแต่ความหลงเด็ดขาด
"เทพ"อยู่กับคนมีศีล มีธรรม มีกรรมที่สะอาดเท่านั้น
"เทพ" ไม่กินของเซ่น" เหมือนผีเหมือนเปรต "รับแต่บุญที่เราแผ่เมตตาให้
"เมื่อคนกราบไหว้บูชาสิ่งอัปมงคล ผลบุญจึงไม่มีวันเกิด ทำดีมากมายขนาดไหนถ้ามันไม่ถูกธรรม ถูกต้อง ผลไม่เกิด(โมฆะ)
สิ่งอันเป็นมงคลที่มนุษย์และเทวดาสักการะบูชา มีเพียงหนึ่งเดียวคือ
‪‎พระรัตนตรัย‬

มีพระพุทธองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมคำสอน และพระสงฆ์ซึ่ง"ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเท่านั้น" กุศลผลบุญจึงเกิด
เข้าใจตรงกันนะครับ อินเทรนต์กระแสตุ๊กตาลูกเทพ สักนิด .... ยิ้ม


 
45  การปฏิบัติของผู้ที่ได้ ฌาณ / ประสบการณ์ของผู้ที่ได้ไปสวรรค์ / Re: สวรรค์ ก็มีมุ้งต่างๆกันเหมือนพรรคการเมือง เมื่อ: มกราคม 07, 2016, 01:26:10 PM
สวรรค์ชั้นที่ 1 จาตุมหาราชิกา ก็มีเทวดา 4 จำพวกแล้วครับและมีรายละเอียดลงไปในแต่ละจำพวกอีก

สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา มีภพภูมิอยู่รายรอบเขาสิเนรุมาศ ตั้งแต่กลางเขา ลงมาเชิงเขา กินพื้นที่ครอบคลุมมหานทีสีทันดร ภูเขาสัตตบริภัณฑ์ ทวีปใหญ่ทั้ง 4 ไปจนจรดภูเขาจักรวาล รวมทั้งมีภพภูมิซ้อนอยู่กับมนุษย์ภูมินี้ด้วย อยู่ใกล้โลกมนุษย์มากกว่าสวรรค์ชั้นอื่น ๆ และเป็นเหมือนเมืองประเทศราช ของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ท้าวมหาราชทั้ง ๔
คำว่า จาตุมหาราชิกา ถ้าแปลตามรูปศัพท์แล้ว แปลว่า ...แห่งท้าวมหาราชทั้ง 4
ฉะนั้น โดยรวมจึงแปลว่าสวรรค์อันเป็นที่อยู่แห่งมหาราชทั้ง 4 ท่าน คือ

(1) ท้าวธตรฐ (จอมคนธรรพ์) เป็นมหาราชปกครองเทพนครทิศตะวันออกและพวกคันธัพพเทวดา คนธรรพ์ วิทยาธร และภูติ

(2) ท้าววิรุฬหก (จอมกุมภัณฑ์) เป็นมหาราชปกครองเทพนครทิศใต้และพวกกุมภัณฑ์และพวกรากษส
ยังมีเทพที่มีบุตร ธิดา ชาวฟ้าของพระองค์มากมายเลยทีเดียว อันเนื่องมาจากมนุษย์ที่มาจุติ ณ ตักของพระองค์ ซึ่งจะต้องกลายเป็นบุตร ธิดาของพระองค์นั่นเอง เทพในชั้นนี้ค่อนข้างจะมีฤทธิ์เดชมากมายเลยทีเดียว

(3) ท้าววิรูปักษ์ (จอมนาค) เป็นมหาราชปกครองเทพนครทิศตะวันตกและพวกนาค

(4) ท้าวกุเสรหรือท้าวเวสสุวัณณ์ (จอมยักษ์) เป็นมหาราชปกครองเทพนครทิศเหนือและพวกยักษ์
ท้าวมหาราชทั้ง 4 นี้ปกครองตั้งแต่บนสวรรค์ลงไปจนถึงพื้นมนุษย์
     เหล่าเทพยดาคนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาค และยักษ์ นั้นมีที่อาศัยอยู่รอบเขาสิเนรุ โดยทิศหนึ่งจะมีเทวดาหมู่หนึ่งเป็นส่วนใหญ่ มีเทวดาหมู่อื่นเป็นส่วนน้อย

ลองอ่านต่อได้ที่นี่หรือSearchหาอ่านเพิ่มเติมได้ครับ

http://pantip.com/topic/31955422
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 65