KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับ

รวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Gallery => แนะนำวัดเก่า พาเที่ยววัด และตำนาน ประวัติของวัด => ข้อความที่เริ่มโดย: golfreeze ที่ กันยายน 29, 2009, 01:14:56 PM



หัวข้อ: วัดเทวราชกุญชร เขตเทเวศน์ กรุงเทพมหานคร (ทำบุญปล่อยปลา)
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กันยายน 29, 2009, 01:14:56 PM
สภาพฐานะและที่ตั้งวัด

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20090929115429_img_5751.jpg)

      วัดเทวราชกุญชร  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี  ชนิด วรวิหาร  ตั้งอยู่เลขที่  ๙๐        ถนนศรีอยุธยา  แขวงวชิรพยาบาล  เขตดุสิต  กรุงเทพมหานคร
      อาณาเขต  ทิศเหนือติดกับถนนศรีอยุธยา  ตอนโค้งลงแม่น้ำเจ้าพระยาและเขตท่าวาสุกรี  ทิศใต้ติดกับปากคลองผดุงกรุงเกษม  และตลาดเทวราชของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  ทิศตะวันออกติดกับถนนศรีอยุธยา  และตลาดเทวราชของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  ทิศตะวันตกติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาและเขตอภัยทานท่าน้ำวัดเทวราชกุญชรที่ดิน ที่ตั้งวัดมีจำนวน  ๒๐  ไร่  และยังมีที่ธรณีสงฆ์แปลงที่แขวงวชิรพยาบาล  เขตดุสิต  กรุงเทพมหานคร  มีเนื้อที่  ๑  ไร่  ๑  งาน  ๙๔  ตารางวา  มีหนังสือกรรมสิทธิ์  คือ  โฉนดที่ดินเลขที่  ๘๙๐๒

นามวัดเทวราชกุญชร

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20090929113638_img_5724.jpg)

      วัดเทวราชกุญชร  นามเดิมว่า  “สมอแครง”  เป็นวัดเก่าแก่โบราณ  มีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์  สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  รัชกาลที่  ๑  ปฐมกษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์  ได้ทรงสถาปนาใหม่  ต่อมาเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี  (ต้นสกุลมนตรีกุล)  พระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี  ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์  จากนั้น  กรมพระพิทักษ์เทเวศร  (ต้นสกุลกุญชร  ณ  อยุธยา)  พระนามเดิมว่า  “พระองค์เจ้ากุญชร”  พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงบูรณ์ปฏิสังขรณ์
      วัดเทวราชกุญชร  ตั้งเมื่อ  พ.ศ. ๑๘๕๐  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ  พ.ศ. ๒๔๐๐  เดิมเป็นวัดราษฎร์สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  เหตุที่เรียกกันว่าวัดสมอแครง  เล่ากันว่าเพราะมีต้นสมอร่องแร่งมาก  แต่บางท่านสันนิษฐานว่า  คำว่าสมอ  เพี้ยนมาจาก  คำว่า ถมอ  (ถะมอ)  เป็นภาษาเขมรแปลว่า  หิน  วัดนี้คงเรียกกันครั้งแรกว่า ถมอแครง  แปลว่า  หินแกร่งหรือหินแข็งต่อมาในสมัยรัชกาลที่  ๔  พระองค์ทรงรับเป็นพระอารามหลวงและพระราชทานนามว่า  “วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร”  พระองค์ทรงนำคำว่า  เทวราช มานำหน้าพระนามของพระองค์เจ้ากุญชร  ซึ่งเป็นพระนามเดิมของกรมพระพิทักษ์เทเวศรผู้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20090929113949_img_5730.jpg)

      พระอุโบสถ  มีขนาดใหญ่และสูง  กว้าง  ๑๗  เมตร  ยาว  ๓๖  เมตร  กรมพระพิทักษ์เทเวศรทรงสร้างมีเขตพัทธสีมา  กว้าง  ๒๖  เมตร  ยาว  ๔๓.๕๐  เมตร  มีกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ  ที่มุมกำแพงแก้วมีเจดีย์อยู่ทั้ง  ๔  มุม  ภายในกำแพงแก้วด้านทิศเหนือมีวิหารก่ออิฐถือปูน  หลังคามุงกระเบื้องดินเผาด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเป็นศาลารายก่อ อิฐถือปูนหลังคามุงกระเบื้องดินเผา
      ผนัง พระอุโบสถมีภาพจิตรกรรม  ผนังด้านข้างทั้ง  ๒  ด้าน  เหนือช่องหน้าต่างเขียนภาพเหตุการณ์ตอนเหล่าเทพยดามาชุมนุมกัน  ขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดวงดึงส์  ส่วนผนังตอนล่างด้านหน้าระหว่างช่องประตูเป็นภาพทศชาติ  เรื่อง  สุวรรณสาม  ด้านข้างทั้ง  ๒  ด้านเป็นภาพภิกษุกำลังปลงอสุภกรรมฐาน  และด้านหลังเป็นภาพกิจวัตรประจำวันของพระสงฆ์

พระพุทธเทวราชปฏิมากร  พระประธานประจำพระอุโบสถ

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20090929115348_img_5748.jpg)

      พระ ประธานในพระอุโบสถ  เป็นพระพุทธรูปโลหะหล่อลงรักปิดทอง  ปางมารวิชัย  ฝีมือช่างสมัยทวารวดี  ประดิษฐานบนฐานชุกชี  หน้าตักกว้าง  ๔.๓๕  เมตร  สูงตั้งแต่  พระเพลาถึงยอดเปลวรัศมี  ๕.๖๕  เมตร  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  พระราชทานนามพระประธานประจำพระอุโบสถ  นามว่า  “พระพุทธเทวราชปฏิมากร”  เมื่อวันที่  ๑๕  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๔๖
      ประวัติ ของพระพุทธรูปองค์นี้  คุณหลวงวรศักดิ์ภูบาล  เล่าว่า  ในหลวงรัชกาลที่  ๓  ทรงทราบว่า  กรุงศรีอยุธยาพบพระทององค์ใหญ่โปรดเกล้าฯ  ให้กรมหมื่นพระพิทักษ์เทเวศรไปอัญเชิญลงมายังพระนคร  ในกรมได้ทรงต่อแพเชิญพระพุทธรูปองค์ใหญ่ล่องลงมา  ครั้งถึงปากคลองเทเวศร์  แพเกิดดื้อฉุดเท่าไรก็ไม่มายังตำหนักแพจึงโปรดเกล้าฯ  ให้กรมหมื่นพิทักษ์เทเวศรอัญเชิญพระพุทธรูปนี้ขึ้นที่วัดสมอ แครง                            
      ถนน ศรีอยุธยา  ตัดจากสวนจิตรลา  พุ่งลงแม่น้ำเจ้าพระยา  ตั้งใจจะผ่าตัดเทวราชกุญชรออกเป็นสองซีก  โดยจะรื้อพระอุโบสถ  เพราะคิดว่าพระประธานเป็นพระก่อด้วยอิฐแต่ปรากฏว่าพระประธานเป็นพระทองทาง การเลยตัดถนนเลี้ยวขวาไปลงแม่น้ำเจ้าพระยา

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20090929115230_img_5746.jpg)
ความศักดิ์สิทธิ์แห่งพระพุทธเทวราชปฏิมากร

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20091012150318_img_5913.jpg)
ความศักดิ์สิทธิ์แห่งพระพุทธเทวราชปฏิมากร

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20091012150340_img_5914.jpg)
ความศักดิ์สิทธิ์แห่งพระพุทธเทวราชปฏิมากร

      การ กราบนมัสการและถวายเครื่องสักการะแด่องค์พระพุทธเทวราชปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถของวัดเทวราชกุญชรนับว่าแปลกกว่าวัดอื่นใด  เนื่องจากพุทธศาสนิกชนนิยมถวาย  “ผ้าไตร”  แทนดอกไม้ธูปเทียน  ได้สร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่การกราบขอพรพระศักดิ์สิทธิ์องค์นี้เป็นเท่า ทวีคูณ  และนับเป็นวัดแรกในประเทศไทยที่นำผ้าไตรมาเป็นเครื่องสักการะที่ได้รับความ ศรัทธาสูงสุดมาจนทุกวันนี้
      ความ ศักดิ์สิทธิ์แห่งการถวายผ้าไตรแด่องค์พระพุทธเทวราชปฏิมากร  มีเรื่องเล่ามาว่าเมื่อครั้งพระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์พระวรชายา  ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ  สยามมกุฎราชกุมาร  เสด็จทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธีพุทธาภิเสกพระพุทธเทวราชปฏิมากร  ขนาดบูชา  ๙  นิ้ว  เมื่อวันอาทิตย์ที่  ๑๓  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๔๘  เวลา  ๑๕.๐๐  น.  ณ  พระอุโบสถวัดเทวราชกุญชร  สมเด็จพระมหาธีราจารย์วัดชนะสงครามประธานสงฆ์จุดเทียนชัย
      รุ่ง ขึ้นวันจันทร์ที่  ๑๔  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๔๘  เวลา  ๑๖.๐๐ น. มีการสมโภชพระพุทธเทวราชปฏิมากร  พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถาและอธิษฐานจิต  ต่อมามีผู้นำผ้าไตรจีวรมาถวาย  เพราะประสบความสำเร็จตามที่อธิษฐานขอพรไว้  อาศัยเหตุอันเป็นมงคลนี้  จึงเริ่มต้นถวายผ้าไตรจีวรพระพุทธเทวราชปฏิมากร  ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่  ๑  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙  ถึงปัจจุบัน
      พุทธ ศาสนิกชนสามารถถวายผ้าไตรจีวรแด่พระพุทธเทวราชปฏิมากรได้ทุกวันโดยทางวัดได้ จัดเตรียมผ้าไตรไว้สำหรับสาธุชนได้ทำบุญตามกำลังศรัทธาในเวลา  ๐๘.๐๐-๑๘.๐๐ น.

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20090929115148_img_5743.jpg)

      ศาลาราย ภายในบริเวณพระอุโบสถ

      ศาลารายสุชาดา ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์
        
      ศาลารายเภาลีนา ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิเป็นสถานที่สวดมนต์
และปฏิบัติธรรมสำหรับนักเรียนนักศึกษาและผู้ที่สนใจทั่วไป

      พระวิหาร  เป็น สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลปะสมัยต่างๆ  จำนวน  ๙  องค์  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ  สยามมกุฎราชกุมาร  พระราชทานเมื่อวันที่  ๑๔  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๔๘

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20090929114914_img_5739.jpg)




ขอขอบพระคุณข้อมูลดีๆ จาก : http://www.watdevaraj.com/


หัวข้อ: Re: วัดเทวราชกุญชร เขตเทเวศน์ กรุงเทพมหานคร (ทำบุญปล่อยปลา)
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กันยายน 29, 2009, 01:16:19 PM
สามารถนั่งเรือด่วน มาลงที่ท่า เทเวศน์ ได้ครับ จะมีร้านจำหน่ายขนมปัง ให้อาหารปลา เยอะแยะมากมายเลย

และก็มีปล่อยปลา ด้วยครับผม

ปลาเยอะมากๆ

(http://www.kammatan.com/gallary/images/20090929113337_img_5719.jpg)     :o


หัวข้อ: Re: วัดเทวราชกุญชร เขตเทเวศน์ กรุงเทพมหานคร (ทำบุญปล่อยปลา)
เริ่มหัวข้อโดย: teenggg1 ที่ พฤษภาคม 29, 2010, 11:32:36 AM
ขอบคุณครับ