KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับ

ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน => ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา => ข้อความที่เริ่มโดย: golfreeze ที่ กันยายน 27, 2012, 10:06:05 AM



หัวข้อ: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กันยายน 27, 2012, 10:06:05 AM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20120927100538_ajhan_fhun.jpg)

'อริยประเพณี อริยปฏิปทา'

"..ผู้ใดตั้งใจและมีความปรารถนา
ความเพียรอย่างแรงกล้าเด็ดเดี่ยว
ให้เดินทางไปลำพังแต่เพียงผู้เดียว
เดินทางเที่ยววิเวก อย่าได้ใกล้ชิดคลุกคลีกับผู้ใด
หากแต่ให้มีความยินดีกับความสงบ
อย่าได้มีความอยากมักมาก
หากแต่ให้มีความยินดีกับของๆ เรา
มักน้อย ถือสันโดษ และยินดีในความสันโดษ

ให้มีความยินดีพอใจในปัจจัยสี่
เฉพาะแต่ของที่ตนเองมีอยู่แล้ว
และได้ครอบครองมาโดยชอบธรรม
นี่คือสิ่งที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา
และเป็น 'อริยประเพณี อริยปฏิปทา' ที่มีมาแต่กาลก่อน
และคงดำรงสืบต่อมาไม่ได้ขาดในหมู่วงศ์พระอริยะ
ตั้งแต่อดีต..ปัจจุบัน..และสืบต่อไปในอนาคตข้างหน้า.."


หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร


หัวข้อ: Re: อริยประเพณี อริยปฏิปทา โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 05, 2012, 09:10:20 PM
"..บุญเป็นอย่างนี้
ลักษณะของบุญคือใจเราดี, ใจเรามีความสุข,
ใจเรามีความสบาย เย็นอกเย็นใจ,
ไม่ทุกข์ไม่ร้อน ไม่วุ่นไม่วาย
นี่แหล่ะบุญ มีหรือยัง..."

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร


หัวข้อ: Re: อริยประเพณี อริยปฏิปทา โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 04, 2012, 02:34:11 PM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20121104143333_ajan_funt.jpg)

เราจะรู้ได้ยังไง กรรมดีกรรมชั่ว กัลยาณังวา คือกรรมอันดี ได้แก่จิตของเราสงบ
เป็นสมาธิ จิตตั้งอยู่ภายใน มันว่างโม๊ด เย็นอกเย็นใจ หายทุกข์หายยาก
หายลำบากหายรำคาญ สะบ๊ายสบาย เบาตนเบาตัว กายะละหุตา จิตตะ ลหุลาเบา
 มีกายะมุทุตา จิตตะมุทุตา ความอ่อนนิ่มนุ่มนวล ไม่ใช่อ่อนแอ นี่แหละจิตสงบเป็นสมาธิ
เรียกว่ากรรมอันดี ให้รู้จักไว้ เราไม่ต้องห่วงอดีตอนาคตเราจะเป็นยังไงต่อไป
เรานั่งดูเดี๋ยวนี้หละ จิตของเรามีความสุขความสบ๊าย ก็นั่นหละ เราก็จะได้รับความสบาย
จะไปชาติไหนภพไหนก็เห็นอยู่เดี๋ยวนี้หละ ปาปกัง คือกรรมอันชั่ว คือจิตของเราไม่ดี
จิตทุกข์จิตยาก จิตวุ่นจิตวาย จิตไม่สงบ จิตไม่เป็นสมาธิ มันทะเยอทะยานอยู่
ทำให้ทุกข์ให้ยาก ให้หนักให้หน่วง ให้ง่วงให้เหงา ให้มืดให้มัว ให้วุ่นให้วาย
จิตอย่างนี้แหละนำสัตว์ทั้งหลายให้ตกทุกข์ได้ยาก พึงทราบเสียแต่เดี๋ยวนี้

ต่อไปเราไม่ต้องสงสัยว่ากรรมมันมาจากไหน ใครเป็นผู้ทำล่ะ เดี๋ยวนี้เรารู้
เราเป็นผู้ทำเอาเอง ไม่ใช่เทวบุตรเทวดาทำให้ พระอินทร์พระพรหมทำให้
พ่อแม่พี่น้องทำให้ ชาวบ้านร้านตลาดทำให้ เราทำเอาเอง ที่นั่งอยู่เดี๋ยวนี้หละเราทำ
บุญ บุญอันนี้เป็นอย่างเลิศอย่างประเสริฐแท้ คือเราให้ทานร้อยหนพันหนก็ตาม
อานิสงส์ไม่เท่า เรานั่งสมาธินี้มีผลานิสงส์เหมือนทำบุญอย่างที่สุดแล้ว ปฏิปติบูชา
บูชาอย่างเลิศอย่างประเสริฐแท้ เราเห็นตัวบุญคือกุศลตัวสุข เห็นตัวบาปคือตัวทุกข์จริง ๆ
ไม่ได้ว่าเล่นนะ พระพุทธเจ้าไม่ได้โกหกผู้ใด ไม่ได้หลอกลวงผู้ใด ใครเป็นสุขล่ะเดี๋ยวนี้
ใครดีใครไม่ดีก็ดูซิ ไม่ใช่ข้าวของเงินทองดี ไม่ใช่ข้าวของเงินทองสุข
ไม่ใช่ข้าวของเงินทองทุกข์ เราก็ดูซิ ตึกร้านอาหารมันสุดมันทุกข์เรอะ มันก็ไม่ใช่ ใจ

นั่นแหละมันทุกข์ ใจนั่นหละมันสุข สุขเพราะเหตุใด สุขเพราะใจสงบ ทุกข์เพราะเหตุใด
ทุกข์เพราะใจไม่สงบ มันไปก่อกรรมก่อเวรไม่หมดซักที กรรมเก่าก็ไม่หมด
กรรมใหม่ก็เติมเรื่อยเข้าไป มันจะหมดได้เรอะ หยุดเสียทีซี่ กรรมน่ะ อย่าไปยึดเอากรรมซี่
ยึดเอาอันใดมันก็เป็นกรรมอันนั้น วางให้หมด ปล่อยให้หมด ละให้หมด ให้เหลือแต่พุทโธ ผู้รู้อันเดียวเท่านี้

เอ้าต่อไปจะไม่อธิบายละ ต่างคนต่างฟังใจของตัว ให้มันแน่นอนลงไป
เชื่อมั่นลงไป ให้มันได้หลักได้ฐานของตน


หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร



ขอบพระคุณข้อมูลจาก : ชมรมพุทธธรรมกรรมฐาน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ http://www.kammatan.com


หัวข้อ: Re: อริยประเพณี อริยปฏิปทา โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
เริ่มหัวข้อโดย: keroro ที่ พฤศจิกายน 23, 2012, 09:12:29 PM
ขอบพระคุณมากๆครับ


หัวข้อ: Re: อริยประเพณี อริยปฏิปทา โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 12, 2013, 09:51:20 AM
(http://www.kammatan.com/gallary/images/20130212095027_luangpu_fhan22.jpg)

“..ดวงดีมันเป็นยังไง ดวงดีรวมมาสั้น ๆ
คือใจเราดี มีความสุขความสบาย
เมื่อใจเราสุข ใจเราสบาย
แล้วทำอะไร ๆ มันก็สบาย การงานมันก็สบาย
ประเทศชาติมันก็สบาย นี่เรียกว่าดวงดี

ดวงไม่ดี คือใจเราไม่ดี ใจเราทุกข์ยาก
วุ่นวาย เดือดร้อน นี่หละดวงไม่ดี
ทำอะไรมันก็ไม่ดี หาอะไรมันก็ไม่ดี ดูเอาตรงนี้
จะให้ใครดูให้ ดูเอาซิทุกคน ที่มานั่งอยู่นี่
ทั้งพระทั้งเณร ทั้งอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย
ดวงดีตรงนี้ อย่าไปพิจารณาอื่น...”

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร


หัวข้อ: Re: อริยประเพณี อริยปฏิปทา โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 03, 2013, 09:12:55 PM
บุญ คือ ความสุข
บุญ คือ ความเจริญ
บุญ คือ คุณงามความดี

มันตรงไหนล่ะ เงินเขาก็ไม่ได้ว่าเขามีความสุข ถามดูซิ
เงินเจ้ามีความสุขไม๊ เขาเฉย ไม่ใช่เรอะ นี่แหละ
ถ้าใจเราไม่สงบมันก็ไม่มีความสุขล่ะ ถ้าใจเราไม่มีความดีก็ไม่มีซี้

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร


หัวข้อ: Re: อริยประเพณี อริยปฏิปทา โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
เริ่มหัวข้อโดย: sutaepku ที่ พฤษภาคม 08, 2013, 01:23:38 AM
ได้อ่านทุกคำสอน ได้อะไร ๆ เยอะมาก ขอบคุณสำหรับข้อมูลคำสอนดี ๆ ครับ  ;D


หัวข้อ: Re: อริยประเพณี อริยปฏิปทา โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 08, 2013, 09:54:08 PM
(http://kammatan.com/gallary/images/20120927100538_ajhan_fhun.jpg)

"..บุญบาปสิ่งใดๆ ใจถึงก่อน
ใจเป็นรากฐาน ใจเป็นประธาน
มันสำเร็จที่ "ดวงใจ"

มันอยู่กับดวงใจ ของเรานี่หละ
ดวงใจของเรา เป็นผู้ปรุง ผู้แต่ง
เป็นผู้ก่อภพ ก่อชาติ เป็นผู้ก่อกรรม
ก่อเวร ก่อภัย เราก็มาเห็น ดวงใจของเรา
แล้วก็มาแก้ ที่ดวงใจนี้

เมื่อใจไม่สงบ ใจไม่ดี มันก็ทุกข์ยาก
วุ่นวาย เดือดร้อน นี่ล่ะ นำสัตว์ทั้งหลาย
ให้ตกทุกข์ได้ยาก ในปัจจุบันและเบื้องหน้า.."

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร




ขอบคุณข้อมูลจาก : FB เครือข่ายกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต


หัวข้อ: Re: อริยประเพณี อริยปฏิปทา โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
เริ่มหัวข้อโดย: sutaepku ที่ พฤษภาคม 08, 2013, 10:54:45 PM
เชื่อครับและปฎิบัติตามคำสอนอยู่ครับ จะสุข หรือ จะทุกข์ อยู่ที่ "ใจ"
ทุกข์อยู่ที่ใด ก็ดับทุกข์ที่นั้น ใจทำให้เกิดทุกข์ก็ดับทุกข์ที่ใจ ทุกอย่างมีเหตุและผล เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป

สาธุ......


หัวข้อ: Re: อริยประเพณี อริยปฏิปทา โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มิถุนายน 05, 2013, 07:50:59 PM
พระราชปุจฉาธรรม ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
ณ วัดป่าอุดมสมพร
ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร



พระราชปุจฉา : ทำอย่างไรประเทศชาติประชาชน จะอยู่ดีกินดี มีความสามัคคีปรองดองกัน

หลวงปู่ฝั้น : ให้เข้าหาพระศาสนา เพราะศาสนาสอนให้ละชั่ว กระทำความดี ทำใจให้ผ่องใส

พระราชปุจฉา : คนส่วนมากทำดี คนส่วนน้อยทำชั่ว
จะทำให้คนส่วนมากเดือดร้อนไหม ทำอย่างไรจึงจะแก้ไขได้

หลวงปู่ฝั้น : ขอถวายพระพร ทุกวันนี้คนไม่รู้ศาสนาจึงเบียดเบียนกัน
ถ้าคนเรานึกถึงตนแล้วก็ไม่เบียดเบียนกัน เพราะต้องการความสุขความเจริญ
คนอื่นก็เช่นกัน คนทุกวันนี้เข้าใจว่าศาสนาอยู่กับวัด อยู่ในตู้ ในหีบ ในใบลาน
อยู่กับพระพุทธเจ้าประเทศอินเดียโน่น จึงไม่สนใจ บ้านเมืองจึงเดือดร้อนวุ่นวาย
มองหน้ากันไม่ได้ ถ้าคนเราถือกันเป็นบิดามารดา เป็นพี่เป็นน้องกันแล้วก็สบาย
ไปมาหาสู่กันได้ เพราะใจเราไม่มีเวร เวรก็ไม่มีใจ เราไม่มีกรรม กรรมก็ไม่มี ฉะนั้น
ให้มีพรหมวิหารธรรม อย่างมหาบพิตรเสด็จมานี้ ทุกอย่างเรียบร้อยหมด

(จากหนังสืออนุสรณ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร)


หัวข้อ: Re: อริยประเพณี อริยปฏิปทา โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 21, 2014, 06:55:21 PM
ไฟเผาใจ ภัยมาจากไหน เวรมาจากไหน
มันมาจากราคะ โลภะ โทสะ โมหะนี่เอง

โลภัคคิ ความโลภ มันเป็นไฟ
โทสัคคิ ความโกรธ มันเป็นไฟ
โมหัคคิ ความหลง มันเป็นไฟ

ไฟนี่แหละมาไหม้หัวใจเราให้วุ่นวายเดือนร้อนหมดทั้งประเทศชาติบ้านเมือง

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร


หัวข้อ: Re: อริยประเพณี อริยปฏิปทา โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 07, 2014, 10:47:49 PM
"ข อ ง มั น เ ห็ น ๆ กั น อ ยู่"
"...ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ ผู้ที่เห็นทุกข์เหล่านั้นจึงขวนขวายหาหนทางพ้นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์แล้ว จงเร่งความเพียรภาวนาเรื่อยไป เพื่อให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง ให้เชื่อเรื่องบุญ เรื่องบาป ว่าเป็นของมีจริง โดยมากคนมักไม่เชื่อ
ศาสนา ศาสนาก็คือคำสอน สอนให้คนละชั่ว ทำความดี เพื่อขจัดทุกข์ให้ประสบความสุข ถ้าผลบุญผลบาปไม่มีจริงแล้ว จะมีคนร่ำรวย มียศถาบรรดาศักดิ์ และมีคนทุกข์ยากกระจอกงอกง่อย ขี้ทูดกุดถังได้อย่างไร...
ของมันเห็น ๆ กันอยู่ แต่ไม่รู้จักพิจารณาก็ย่อมไม่เข้าใจ ให้เข้าใจว่าที่มีศาสนา ที่มีผู้สอนให้ ก็เพื่อประโยชน์ของผู้ศรัทธาปฏิบัติตาม จะได้พ้นทุกข์พ้นยาก
แต่ถ้าไม่เชื่อก็แล้วแต่ ให้รู้จักภาวนา พุทโธ ทำดวงจิตให้ผ่องใส จะได้เป็นที่พึ่งของเราได้แน่นอน ให้ทราบว่าในโลกนี้ไม่มีแก่นสารอันใด เกิดมาแล้วก็ต้องตาย เอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง ที่จะเอาได้ก็เป็นเรื่องของดวงจิตเท่านั้น...
ฉะนั้น...จึงให้รู้จักทำจิตคลายจากความชั่ว ความเศร้าหมอง ทำจิตใจให้เป็นบุญเป็นกุศล เป็นจิตที่สงบผ่องใส เป็นสมาธิ ให้รู้จักใช้ปัญญา พิจารณารูปนาม ให้เห็นตามความเป็นจริงของสังขาร จนสามารถละวางตัณหาอุปทานทั้งหลายได้..." โอวาทธรรมคำสอนหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
_/\_ _/\_ _/\_



ขอบพระคุณข้อมูลจาก : FB ท่องถิ่นธรรม พระกรรมฐาน


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 16, 2015, 03:42:21 PM
" ศีลบารมีล่ะ คนเราเพียงแต่รับศีลไม่ได้รักษาศีล เข้าใจว่า ศีลนั้นเป็นของพระถ้าพระไม่ให้แล้ว ก็ว่าเราไม่ได้ ศีลอย่างนี้ เป็นสีลัพพตปรามาส เพียงแต่ลูบคลำศีลแท้ที่จริงนั้น ศีลของเรา เกิดมาพร้อมกับเรา ศีลห้าบริบูรณ์ตั้งแต่เกิดขาสอง แขนสอง ศีรษะหนึ่ง อันนี้คือตัวศีลห้า เราได้จากมารดาของเรา เกิดมาก็มีพร้อมแล้ว เมื่อเรามีศีลห้าบริสุทธิ์อย่างนี้ ก็ให้เรารักษาอันนี้หละ รักษากายของเรา รักษาวาจา รักษาใจให้เรียบร้อยอย่าไปกระทำโทษน้อยใหญ่ ทางกาย ทางวาจา ทางใจของเรา โทษห้าคืออะไร คือ ปาณาติปาตา ท่านให้งดเว้น อย่าไปทำ นั่นเป็นโทษ ไม่ใช่ศีลอทินนาทานา นั่นก็เป็นโทษ ไม่ใช่ศีลกาเมสุมิจฉาจารา นั่นก็ไม่ใช่ศีล เป็นแต่โทษมุสาวาทา ท่านให้งดเว้น มันเป็นโทษ ไม่ใช่ศีลสุราเมรยมชฺชฯอันนี้ก็เป็นแต่โทษถ้าเราไม่ได้ทำความผิดห้าอย่างนี้ อยู่ที่ไหนเราก็มีศีล อยู่ในป่าในดง ก็มีศีล อยู่ในรถในรา เราก็มีศีลให้เข้าใจศีลตามนี้ ที่คอยจะรับจากพระ นั่นไม่ใช่ ท่านก็บอกว่า อย่าไปทำ ห้าอย่างนั้นให้ละเว้น เมื่อเราละเว้นแล้ว อยู่ที่ไหนก็มีศีล เราก็เป็นคนบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ศีลห้า อย่างนั้น เราไม่อยากได้ ไม่ปรารถนาเหตุฉันใด จึงว่าไม่อยากได้ พิจารณาดูซี่ สมมติว่ามีคนมาฆ่า หรือ มาฆ่าพี่ฆ่าน้อง ญาติพงษ์ ของเรา เราดีใจไหมล่ะ เราไปฆ่าเขาล่ะ เขาดีใจไหม พิจารณาดูซี่ เราไม่ต้องการอย่างนั้นไม่ใช่เหรอถ้าเราไม่ทำอย่างนั้นแล้ว โทษของเรา ก็ไม่มี เกิดมาอายุก็ยืนนาน ไม่ตายแต่น้อย แต่หนุมก็เพราะเราไม่ได้ทำปาณาติบาตไว้ ในหลายภพหลายชาติแม้ในชาตินี้ก็เหมือนกัน เราฟังธรรม ก็ฟังในชาตินี้ แล้วก็ปฏิบัติในปัจจุบันนี้ เราไม่ต้องคำนึงถึงอดีตอนาคต เรากำหนดให้รู้เดี๋ยวนี้ เรานั่งอยู่นี่ ก็เป็นศีลอยู่ นี่ข้อสำคัญ "
....หลวงปู่ฝั้น อาจาโร


หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 16, 2015, 03:51:16 PM
" บุญกุศลนั้นก็ไม่ใช่อื่นไกล ก็ได้แก่ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมีนี้แหละทาน
ก็รู้อยู่แล้ว คือการสละ หรือ การละการวางผู้ใดละมาก วางได้มาก ก็เป็นผลานิสงส์มากผู้ใดวางได้น้อย
ละได้น้อย ก็มีผลานิสงส์น้อย ละได้น้อย ก็มีผลานิสงส์น้อยมัจฉริยะความตระหนี่เหนียวแน่น
นี้หละ คือความโลภ ต้องสละเสีย ให้เป็นผู้บริจาค ก็บริจาคทรัพย์สมบัติ วัตถุทั้งหลายเหล่านั้นหละ
ไม่ใช่อื่นไกลแปลว่า ทะนุบำรุงตน เหมือน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ท่านจะสำเร็จมรรคผล
ท่านก็ได้สร้างบารมีมา คือทานบารมีอันนี้ นี่ให้เข้าใจไว้ ทานเป็นเครื่องสะเบียงของเรา
 เมื่อเราได้ทำไว้พอแล้วเราจะเดินทางไกล เราก็ไม่ต้องกลัวอดกลัวอยาก
กลัวทุกข์กลัวยากของเก่าเราได้ทำมาไว้ ถ้าอะไรเราไม่ได้ทำไว้ อยากได้ มันก็ไม่ได้
ถ้าได้ทำไว้แล้ว สร้างไว้แล้ว ไม่อยากได้ มันก็ได้ นี่แหละทานบารมี เหตุนี้ ให้พากันเข้าใจ "

....หลวงปู่ฝั้น อาจาโร